ที่มา
http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/view/id/51e66a27150ba02f0a000288#.UefPSFPIZXY
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รายการโลกกว้างทางไม่แคบ
ช่วงมองชีวิตมีชีวา กับ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์
ดำเนินรายการ โดย กนกวรรณ กนกวนาวงศ์
ได้หยิบยก กรณีซีรี่ยวัยรุ่น “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น” ที่ถูกกล่าวถึงอย่างแพร่หลายและกำลังโด่งดังในขณะนี้
จึงถามคุณหมอถึงพฤติกรรมของวัยรุ่น แท้จริงแล้วฮอร์โมนต่างๆ เหล่านั้น มีผลต่อพฤติกรรมวัยรุ่น มากน้อยแค่ไหน?
คุณหมออัมพร ให้ความรู้ว่า เป็นช่วงที่ฮอร์โมนทั้งหลายเบิกบานกันมาก เพราะเขาจะมาเป็นใหญ่ในพื้นที่ของวัยรุ่น ไม่นับอารมณ์พื้นฐาน ประเภทความดีใจ ความเสียใจ ความโกรธต่างๆ นาๆ โดยสภาพฮอร์โมนมีได้เรื่อยๆ อยู่แล้ว กลไกเรียนรู้ที่จะควบคุมฮอร์โมนเหล่านั้นของวัยรุ่น อาจมีความกระพร่องกระแพร่ง จะเห็นได้ว่า ความตื่นเต้นจาก Adrenaline พอเป็นวัยรุ่นก็ดูจะตื่นเต้นมากมาย กว่าสมัยเด็ก เพราะว่ากลไกการควบคุมการแสดงออกของ Adrenaline ยังไม่ลงตัว นอกจากนี้ ยังมีเจ้าตัวฮอร์โมนที่ดูเหมือนว่า จะมาปูพื้นฐานให้ตัวอื่นๆ พลอยร่าเริงขึ้นมาด้วย นั่นคือ เจ้าฮอร์โมนเพศทั้งหลาย ช่วงวัยรุ่นเครื่องเพศของเขา สำคัญที่สุด ก็คือเครื่องเพศที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของฝ่ายชาย คืออัณฑะที่ผลิตTestosterone ถือว่าเป็นยอดฮอร์โมนแห่งเพศชายโดยแท้ ความห้าวทั้งหลาย ความคึกคะนอง ความกล้าบ้าบิ่นTestosterone เป็นตัวพามา และยังทำให้ Adrenaline หรือตัวอื่นๆ ที่เป็นฮอร์โมนในเชิงพื้นฐานเชิงอารมณ์ของคนทั่วไปคึกคักร่วมไปด้วย ควบคุมยากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันในฝั่งผู้หญิง จะมีรังไข่ รังไข่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนทางเพศให้กับผู้หญิง ฮอร์โมนทางเพศของผู้หญิงก็ร้ายกาจไม่ใช่เล่น จะทำให้ตัวผู้หญิงคนนั้น มีการเปลี่ยนแปลงของสรีระร่างกาย บางครั้งก็นำมาซึ่งความอ่อนหวาน ความอ่อนโยนตามแบบเพศหญิง แต่ว่าเจ้า Estrogen กับ Progesterone ซึ่งสูสีคู่คี่กันมา มีระดับสูงๆ ต่ำๆ ในแต่ละวันของเดือน แต่ละวันใน Estrogen กับ Progesterone สูงต่ำไม่เท่ากัน เป็นไปตามกลไกของการตกไข่ การฝ่อสลายของไข่ และอัตราส่วนเปรียบเทียบของ Estrogen กับ Progesterone เหล่านี้ จะเป็นตัวกำหนดให้ผู้หญิง มีความแกว่งของอารมณ์ ช่วงไหน Estrogen เยอะ จะดูสดใส ผุดผ่อง สวยงาม และเวลาที่เขาหล่นลงมา กลับเศษกลับส่วนกับ Progesterone บางครั้งก็จะอยู่ในอารมณ์ซึมเศร้า เหวี่ยงไปมา สารพัด ในแบบของผู้หญิงโดยแท้ และตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้อารมณ์พื้นฐาน ส่งผลต่อ Adrenaline ฮอร์โมนแห่งความตื่นเต้น บางครั้งดูรุนแรง บางครั้งเงียบเฉย แล้วแต่ว่าฮอร์โมนพื้นฐานทางเพศจะไปขยับเขยื้อนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งกลไกเหล่านี้มันมีความละเอียดอ่อนมาก
มีการพยายามตั้งข้อสังเกต ที่เกิดอาการเศร้า อาจเป็นเพราะฮอร์โมนมันลดต่ำลง หรือเป็นเพราะอารมณ์ไปทำให้ฮอร์โมนลดต่ำกันแน่ ในรายละเอียด บางครั้งเราพบว่า เรื่องหนึ่งเป็นเหตุ แต่บางครั้งในทางกลับกัน เรื่องที่เคยเป็นเหตุ กลายเป็นผลซะเฉยๆ สองเรื่องนี้ ฮอร์โมนกับอารมณ์มันสัมพันธ์กันใกล้ชิดมาก
ส่วนพ่อแม่จำเป็นต้องเรียนรู้ฮอร์โมนหรือไม่นั้น?
คุณหมอแนะนำว่า การที่เรามองอย่างเข้าใจ ว่าฮอร์โมนพลุ่งพล่านนี่เอง จะช่วยทำให้พ่อแม่โกรธและขุ่นเคืองน้อยลง การใช้กลไก มุมมองแบบวิทยาศาสตร์ จะทำให้ไม่มีอารมณ์เข้าไปปะปนนัก เวลาไปจัดการกับวัยรุ่นทั้งหลาย ก็เหมือนกับเวลาที่เรารู้สึกว่าคนๆ นี้เขาไม่สบาย เขาปวดท้อง เขากินอาหารไม่ได้ อ๋อ เขาปวดท้อง ลำไส้ไม่ดี ทำให้เขากินอาหารไม่ได้ เราก็จะยอมรับว่าเขากินอาหารไม่ได้ เช่นเดียวกัน ขี้โมโหเพราะฮอร์โมนตัวนี้ร่าเริงเหลือเกิน กำลังกระโดดโลดเต้นในชีวิต เป็นเพราะฮอร์โมนนี่เอง แทนที่เราจะโกรธในความฉุนเฉียวของเจ้าหนูวัยรุ่น ก็จะยอมรับเขามากขึ้น มีสติต่อการจัดการกับเขามากขึ้น
"หมอต้องย้ำนะคะว่า เป็นการยอมรับในรูปแบบของความเข้าใจ แต่ไม่ใช่เป็นการยอมรับแล้วตามใจ ปล่อยให้ผ่านเลยไป ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนทั้งร้อยเปอร์เซ็นเลย ถึงแม้ฮอร์โมนจะมาแรง แต่พ่อแม่ที่เข้าใจพฤติกรรม ก็ต้องสามารถที่จะดูแลพฤติกรรมนั้นได้ เพราะฉะนั้นรู้จักฮอร์โมนเพื่อเริ่มต้นทำความเข้าใจ แต่ลงเอยแล้ว แก่นที่สำคัญ คือเรื่องของรูปแแบบอารมณ์ความรู้สึกของลูกและที่มาในการเลี้ยงดู เป็นประเด็นที่พ่อแม่ต้องให้ความสนใจมากที่สุด"
เมื่อถามว่าฮอร์โมนกับการเลี้ยงดู อะไรมีอิทธิพลมากกว่ากัน?
คุณหมออัมพรกล่าวว่า ระยะแรกๆ ของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ต้องยอมรับว่า ด้วยความที่มันเป็นประสบการณ์ใหม่ วัยรุ่นเองหรือแม้แต่คนแวดล้อม อย่างเช่นคุณพ่อคุณแม่ ก็อาจจะคาดการณ์ไม่ถึง และไม่สามารถจะจัดการได้นัก สังเกตได้ว่าพอลูกๆ เข้าสู่ความเป็นวัยรุ่นมือใหม่ เจ้าวัยรุ่นมือใหม่จะโมโหฉุนเฉียว จะปรี๊ดง่ายมาก มันเป็นของใหม่สำหรับเขาและเขาก็ยังไม่ทันตั้งตัว แต่บางครั้งเจ้าของใหม่ตัวนั้น ทำให้เกิดความเสียหาย เช่นทะเลาะกับเพื่อน ทะเลาะกับคุณพ่อคุณแม่ แล้วบรรดาวัยรุ่นทั้งหลายได้มีโอกาสตั้งหลักคิด อาจจะคิดได้ ด้วยการให้โอกาสของคนรอบข้าง หรือด้วยการมีสติของตนเองก็แล้วแต่ เพราะว่าฮอร์โมนมันเริ่มเบาลงบ้างแล้ว แต่การตั้งหลักคิด จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ว่าเมื่อครู่นี้ที่ปรี๊ดไปมากๆ นั้นเกิดอะไรขึ้น การเรียนรู้ ทำให้การปรี๊ดอันเนื่องมาจากฮอร์โมนชุดเดิม และระดับใกล้เคียงอันเดิมมากๆ แต่จะไม่เกิดผลกระทบที่หนักหนาเหมือนเดิมแล้ว เพราะว่ากลไกทางจิตใจได้มีการเตรียมการ พร้อมละสำหรับการเผชิญกับพายุของฮอร์โมนในรอบถัดไป เช่นเดียวกันกับคุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่าน เห็นลูกๆ ก็คิดว่าเอ๊ะเกิดอะไรขึ้น ของใหม่นะเนี่ย เพราะฮอร์โมนชุดใหม่เริ่มทำงาน แต่พอเห็นปุ๊บ ตั้งหลัก แล้วรู้ว่ามีวิธีจะพูดคุยกับเขายังไงถึงจะสงบฮอร์โมนที่ร้อนแรงเหล่านั้นได้ คุณพ่อคุณแม่ก็จะดูแลเขาได้ดีขึ้นในที่สุด
ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถควบคุมลูกได้เลย ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จำเป็นต้องใช้ยาปรับฮอร์โมนหรือไม่?
คุณหมออัมพรบอกว่า สำหรับกลุ่มที่มีปัญหาก็จะมาปรึกษาและจะเยอะขึ้นทุกวัน ความรุนแรงที่ว่านั้นน่าสนใจมากว่า เกือบทั้งร้อยเปอร์เซ็น เราสามารถจัดการด้วยความเข้าใจ และก็ดูแลทางความรู้สึก มีน้อยเหลือเกินที่จะต้องดูแลด้วยฮอร์โมน จะว่าไปแล้วกลุ่มที่ต้องดูแลด้วยฮอร์โมนนั้น มักจะไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากฮอร์โมนปกติของวัย อาจจะเป็นกลุ่มที่มีฮอร์โมนผิดปกติ เป็นเรื่องของความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ อันเนื่องมาจากโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับฮอร์เพศบางตัว เช่น กลุ่มเด็กผู้ชายที่มีโคโมโซม แทนที่จะเป็น xy แต่เป็น xyy คือตัวy จะเป็นตัวกำหนดความเป็นผู้ชาย ถ้าเป็น xy ธรรมดา เขาก็จะเป็นผู้ชายธรรมดา แต่ถ้าเป็น y สองตัว y เข้มข้นเหลือเกิน ความห้าวหาญในแบบชายมันจะหนักหน่วงเป็นพิเศษ หรือโรคการควบคุมทางอารมณ์บางอย่าง ซึ่งทำให้กลไกการดูแลฮอร์โมนของเด็กคนนั้นไม่เป็นไปตามธรรมชาติได้ง่ายนัก เช่น เด็กๆ ที่มีความบกพร่องทางสมอง เนื้อสมองที่เอาไว้ควบคุมกิริยาอาการและความรู้สึกทำงานได้น้อยมาก จนกระทั่งสัญชาตญาณทางเพศ แสดงตัวอย่างรุนแรงกลุ่มนี้ เราอาจจะต้องพึงพิงยาเกี่ยวกับฮอร์โมน ช่วยปรับระดับความก้าวร้าวหรือความรุนแรงทางเพศของเขาบ้าง อันนี้มีแต่น้อยมาก ต้องบอกว่า คือกลุ่มของพวกที่ผิดปรกติจริงๆ แต่คนที่โคโมโซม xy ธรรมดา ไม่ได้มีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือโรคที่ควบคุมเกี่ยวกับการรับรู้หรือการแสดงออกใดๆ เราไม่ใช้ฮอร์โมนปรับในเรื่องของอารมณ์และพฤติกรรมเขา แต่เราใช้ความรักความเข้าใจ เอาความรักความเข้าใจตรงนี้ไปสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับเนื้อสมองที่เรียนรู้ความรักของเขา ใช้ตรงนี้เป็นต้นทุนในการทำให้เขาเป็นคนที่ดีขึ้น อ่อนโยนขึ้น มีพฤติกรรมที่เหมาะสมขึ้นกับสังคม
ถ้าต้องมาเชื่อมโยงกับซีรี่ย์เรื่อง “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น” ประเด็นที่มีการหยิบยกฮอร์โมนมาเป็นจุดเดินเรื่อง สะท้อนให้เห็นว่า เอาล่ะ เวลาที่เกิดอารมณ์ชนิดหนึ่งขึ้น อันเนื่องมาจาก Testosterone ฮอร์โมนทางเพศมีความฮึกเหิม ถึงแม้เขาเกิดอารมณ์เช่นนั้นขึ้นมา จากฮอร์โมนเป็นตัวพื้นฐาน แต่ความรักความเข้าใจของคุณพ่อคุณแม่ ก็จะเป็นเหมือนกับภูมิคุ้มกันปกป้องพวกเขา ตั้งหลัก และดูแลอิทธิฤทธิ์ของฮอร์โมนตัวนี้ให้ดี เขาจะต้องรู้จักรักให้เป็น มีความสนใจทางเพศให้เหมาะสม และก็ดูแลตัวเองให้แสดงโดยที่ไม่ทำร้ายคนอื่น และก็ไม่ทำร้ายจิตใจของพ่อแม่ด้วย ต่อให้ Testosterone มันพลุ่งพล่านแค่ไหนก็แล้วแต่ การยึดมั่นในความรักของพ่อแม่ และก็การมีพ่อแม่เข้าอกเข้าใจคอยประคองความรักอย่างต่อเนื่อง เขาก็จะผ่านช่วงหวือหวาของ Testosterone มาได้โดยที่ไม่ต้องอาศัยหยูกยาไปจำกัดออร์โมนแต่ประการใด
ส่วนเรื่องท้องไม่พร้อมนั้นเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของวัยรุ่น คุณหมอมีคาถาศักดิ์สิทธิ์ฝากคุณพ่อคุณแม่ให้ท่องไว้เลยว่า จะมาห้ามกันตอนที่พร้อมจะท้อง มันห้ามกันไม่ได้ มาบอกกล่าวตอนที่หนูเป็นสาวแล้วไม่ทัน ตรงกันข้าม ความรักความเข้าใจ การเติมเต็มค่านิยมความเชื่อ ตั้งแต่บรรดาเด็กๆ เหล่านั้นยังเป็นเด็กหญิงอยู่ ให้เขารู้ว่าการดูแลตนเอง การปกป้องตนเองนั้น ส่วนหนึ่งไม่ได้เป็นการปกป้องตนเองเท่านั้น เรากำลังปกป้องสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพ่อแม่ ที่สำคัญที่สุดสำหรับคนที่สำคัญที่สุด ความเกรงอกเกรงใจไม่อยากให้พ่อแม่เสียใจ เป็นภูมิปกป้องพื้นฐานในเด็กผูหญิงทุกคนเลย นอกจากนี้ยังให้เขาจัดการกับ Estrogen กับ Progesterone ของตนเองได้ในช่วงเวลาที่ตกไข่ ก็คือการเติมเต็มความเฉลียวฉลาดทางสติปัญญา สอนให้บรรดาเด็กหญิงทั้งหลายคิดให้เป็น คิดล่วงหน้า คิดคาดการณ์ คิดเผื่อ สถานการณ์ที่อาจพลาดพลั้งได้ สมมติว่า เราเกิดพึงพอใจใคร ชอบใคร และไว้วางใจเขามาก ในความไว้วางใจเขามากจะมีความเสี่ยงอะไรตามมาบ้าง ความเสี่ยงที่ว่านั้นจะหมายถึงหายนะ
คุณพ่อคุณแม่สามารถพูดคุยกับลูกได้ เป็นการติดอาวุธทางปัญญา ก่อนที่ฮอร์โมนของเขาจะทำงานอย่างร้อนรนรุนแรงเกินไปจนเอาไม่อยู่ ถ้าคิดให้เป็น รักพ่อแม่ให้เป็น รักตัวเองให้เป็น เวลาที่ฮอร์โมนมาเคาะประตูทักทาย เขาสนใจใคร เขาก็จะมีต้นทุนทางอารมณ์ความรู้สึกและสติปัญญาที่จะจัดการตัวเองได้ดีกว่าในชีวิตใครบ้าง
คุณหมอฝากและย้ำว่า การเข้าใจฮอร์โมนของลูกในวัยรุ่นนั้น มีไว้เพื่อเข้าใจชีวิตของเขา เข้าใจความรู้สึกของเขา และก็เพิ่มความยืดหยุ่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ฮอร์โมนของเพศกำลังมาแรง ปล่อยๆ มันไปเถอะ ไม่ใช่แบบนั้นเด็ดขาด!
จากซีรี่ย์ "ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น" กับคำแนะนำดีๆ จากคุณหมอ อัมพร เบญจพลพิทักษ์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รายการโลกกว้างทางไม่แคบ
ช่วงมองชีวิตมีชีวา กับ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์
ดำเนินรายการ โดย กนกวรรณ กนกวนาวงศ์
ได้หยิบยก กรณีซีรี่ยวัยรุ่น “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น” ที่ถูกกล่าวถึงอย่างแพร่หลายและกำลังโด่งดังในขณะนี้
จึงถามคุณหมอถึงพฤติกรรมของวัยรุ่น แท้จริงแล้วฮอร์โมนต่างๆ เหล่านั้น มีผลต่อพฤติกรรมวัยรุ่น มากน้อยแค่ไหน?
คุณหมออัมพร ให้ความรู้ว่า เป็นช่วงที่ฮอร์โมนทั้งหลายเบิกบานกันมาก เพราะเขาจะมาเป็นใหญ่ในพื้นที่ของวัยรุ่น ไม่นับอารมณ์พื้นฐาน ประเภทความดีใจ ความเสียใจ ความโกรธต่างๆ นาๆ โดยสภาพฮอร์โมนมีได้เรื่อยๆ อยู่แล้ว กลไกเรียนรู้ที่จะควบคุมฮอร์โมนเหล่านั้นของวัยรุ่น อาจมีความกระพร่องกระแพร่ง จะเห็นได้ว่า ความตื่นเต้นจาก Adrenaline พอเป็นวัยรุ่นก็ดูจะตื่นเต้นมากมาย กว่าสมัยเด็ก เพราะว่ากลไกการควบคุมการแสดงออกของ Adrenaline ยังไม่ลงตัว นอกจากนี้ ยังมีเจ้าตัวฮอร์โมนที่ดูเหมือนว่า จะมาปูพื้นฐานให้ตัวอื่นๆ พลอยร่าเริงขึ้นมาด้วย นั่นคือ เจ้าฮอร์โมนเพศทั้งหลาย ช่วงวัยรุ่นเครื่องเพศของเขา สำคัญที่สุด ก็คือเครื่องเพศที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของฝ่ายชาย คืออัณฑะที่ผลิตTestosterone ถือว่าเป็นยอดฮอร์โมนแห่งเพศชายโดยแท้ ความห้าวทั้งหลาย ความคึกคะนอง ความกล้าบ้าบิ่นTestosterone เป็นตัวพามา และยังทำให้ Adrenaline หรือตัวอื่นๆ ที่เป็นฮอร์โมนในเชิงพื้นฐานเชิงอารมณ์ของคนทั่วไปคึกคักร่วมไปด้วย ควบคุมยากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันในฝั่งผู้หญิง จะมีรังไข่ รังไข่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนทางเพศให้กับผู้หญิง ฮอร์โมนทางเพศของผู้หญิงก็ร้ายกาจไม่ใช่เล่น จะทำให้ตัวผู้หญิงคนนั้น มีการเปลี่ยนแปลงของสรีระร่างกาย บางครั้งก็นำมาซึ่งความอ่อนหวาน ความอ่อนโยนตามแบบเพศหญิง แต่ว่าเจ้า Estrogen กับ Progesterone ซึ่งสูสีคู่คี่กันมา มีระดับสูงๆ ต่ำๆ ในแต่ละวันของเดือน แต่ละวันใน Estrogen กับ Progesterone สูงต่ำไม่เท่ากัน เป็นไปตามกลไกของการตกไข่ การฝ่อสลายของไข่ และอัตราส่วนเปรียบเทียบของ Estrogen กับ Progesterone เหล่านี้ จะเป็นตัวกำหนดให้ผู้หญิง มีความแกว่งของอารมณ์ ช่วงไหน Estrogen เยอะ จะดูสดใส ผุดผ่อง สวยงาม และเวลาที่เขาหล่นลงมา กลับเศษกลับส่วนกับ Progesterone บางครั้งก็จะอยู่ในอารมณ์ซึมเศร้า เหวี่ยงไปมา สารพัด ในแบบของผู้หญิงโดยแท้ และตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้อารมณ์พื้นฐาน ส่งผลต่อ Adrenaline ฮอร์โมนแห่งความตื่นเต้น บางครั้งดูรุนแรง บางครั้งเงียบเฉย แล้วแต่ว่าฮอร์โมนพื้นฐานทางเพศจะไปขยับเขยื้อนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งกลไกเหล่านี้มันมีความละเอียดอ่อนมาก
มีการพยายามตั้งข้อสังเกต ที่เกิดอาการเศร้า อาจเป็นเพราะฮอร์โมนมันลดต่ำลง หรือเป็นเพราะอารมณ์ไปทำให้ฮอร์โมนลดต่ำกันแน่ ในรายละเอียด บางครั้งเราพบว่า เรื่องหนึ่งเป็นเหตุ แต่บางครั้งในทางกลับกัน เรื่องที่เคยเป็นเหตุ กลายเป็นผลซะเฉยๆ สองเรื่องนี้ ฮอร์โมนกับอารมณ์มันสัมพันธ์กันใกล้ชิดมาก
ส่วนพ่อแม่จำเป็นต้องเรียนรู้ฮอร์โมนหรือไม่นั้น?
คุณหมอแนะนำว่า การที่เรามองอย่างเข้าใจ ว่าฮอร์โมนพลุ่งพล่านนี่เอง จะช่วยทำให้พ่อแม่โกรธและขุ่นเคืองน้อยลง การใช้กลไก มุมมองแบบวิทยาศาสตร์ จะทำให้ไม่มีอารมณ์เข้าไปปะปนนัก เวลาไปจัดการกับวัยรุ่นทั้งหลาย ก็เหมือนกับเวลาที่เรารู้สึกว่าคนๆ นี้เขาไม่สบาย เขาปวดท้อง เขากินอาหารไม่ได้ อ๋อ เขาปวดท้อง ลำไส้ไม่ดี ทำให้เขากินอาหารไม่ได้ เราก็จะยอมรับว่าเขากินอาหารไม่ได้ เช่นเดียวกัน ขี้โมโหเพราะฮอร์โมนตัวนี้ร่าเริงเหลือเกิน กำลังกระโดดโลดเต้นในชีวิต เป็นเพราะฮอร์โมนนี่เอง แทนที่เราจะโกรธในความฉุนเฉียวของเจ้าหนูวัยรุ่น ก็จะยอมรับเขามากขึ้น มีสติต่อการจัดการกับเขามากขึ้น
"หมอต้องย้ำนะคะว่า เป็นการยอมรับในรูปแบบของความเข้าใจ แต่ไม่ใช่เป็นการยอมรับแล้วตามใจ ปล่อยให้ผ่านเลยไป ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนทั้งร้อยเปอร์เซ็นเลย ถึงแม้ฮอร์โมนจะมาแรง แต่พ่อแม่ที่เข้าใจพฤติกรรม ก็ต้องสามารถที่จะดูแลพฤติกรรมนั้นได้ เพราะฉะนั้นรู้จักฮอร์โมนเพื่อเริ่มต้นทำความเข้าใจ แต่ลงเอยแล้ว แก่นที่สำคัญ คือเรื่องของรูปแแบบอารมณ์ความรู้สึกของลูกและที่มาในการเลี้ยงดู เป็นประเด็นที่พ่อแม่ต้องให้ความสนใจมากที่สุด"
เมื่อถามว่าฮอร์โมนกับการเลี้ยงดู อะไรมีอิทธิพลมากกว่ากัน?
คุณหมออัมพรกล่าวว่า ระยะแรกๆ ของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ต้องยอมรับว่า ด้วยความที่มันเป็นประสบการณ์ใหม่ วัยรุ่นเองหรือแม้แต่คนแวดล้อม อย่างเช่นคุณพ่อคุณแม่ ก็อาจจะคาดการณ์ไม่ถึง และไม่สามารถจะจัดการได้นัก สังเกตได้ว่าพอลูกๆ เข้าสู่ความเป็นวัยรุ่นมือใหม่ เจ้าวัยรุ่นมือใหม่จะโมโหฉุนเฉียว จะปรี๊ดง่ายมาก มันเป็นของใหม่สำหรับเขาและเขาก็ยังไม่ทันตั้งตัว แต่บางครั้งเจ้าของใหม่ตัวนั้น ทำให้เกิดความเสียหาย เช่นทะเลาะกับเพื่อน ทะเลาะกับคุณพ่อคุณแม่ แล้วบรรดาวัยรุ่นทั้งหลายได้มีโอกาสตั้งหลักคิด อาจจะคิดได้ ด้วยการให้โอกาสของคนรอบข้าง หรือด้วยการมีสติของตนเองก็แล้วแต่ เพราะว่าฮอร์โมนมันเริ่มเบาลงบ้างแล้ว แต่การตั้งหลักคิด จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ว่าเมื่อครู่นี้ที่ปรี๊ดไปมากๆ นั้นเกิดอะไรขึ้น การเรียนรู้ ทำให้การปรี๊ดอันเนื่องมาจากฮอร์โมนชุดเดิม และระดับใกล้เคียงอันเดิมมากๆ แต่จะไม่เกิดผลกระทบที่หนักหนาเหมือนเดิมแล้ว เพราะว่ากลไกทางจิตใจได้มีการเตรียมการ พร้อมละสำหรับการเผชิญกับพายุของฮอร์โมนในรอบถัดไป เช่นเดียวกันกับคุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่าน เห็นลูกๆ ก็คิดว่าเอ๊ะเกิดอะไรขึ้น ของใหม่นะเนี่ย เพราะฮอร์โมนชุดใหม่เริ่มทำงาน แต่พอเห็นปุ๊บ ตั้งหลัก แล้วรู้ว่ามีวิธีจะพูดคุยกับเขายังไงถึงจะสงบฮอร์โมนที่ร้อนแรงเหล่านั้นได้ คุณพ่อคุณแม่ก็จะดูแลเขาได้ดีขึ้นในที่สุด
ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถควบคุมลูกได้เลย ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จำเป็นต้องใช้ยาปรับฮอร์โมนหรือไม่?
คุณหมออัมพรบอกว่า สำหรับกลุ่มที่มีปัญหาก็จะมาปรึกษาและจะเยอะขึ้นทุกวัน ความรุนแรงที่ว่านั้นน่าสนใจมากว่า เกือบทั้งร้อยเปอร์เซ็น เราสามารถจัดการด้วยความเข้าใจ และก็ดูแลทางความรู้สึก มีน้อยเหลือเกินที่จะต้องดูแลด้วยฮอร์โมน จะว่าไปแล้วกลุ่มที่ต้องดูแลด้วยฮอร์โมนนั้น มักจะไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากฮอร์โมนปกติของวัย อาจจะเป็นกลุ่มที่มีฮอร์โมนผิดปกติ เป็นเรื่องของความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ อันเนื่องมาจากโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับฮอร์เพศบางตัว เช่น กลุ่มเด็กผู้ชายที่มีโคโมโซม แทนที่จะเป็น xy แต่เป็น xyy คือตัวy จะเป็นตัวกำหนดความเป็นผู้ชาย ถ้าเป็น xy ธรรมดา เขาก็จะเป็นผู้ชายธรรมดา แต่ถ้าเป็น y สองตัว y เข้มข้นเหลือเกิน ความห้าวหาญในแบบชายมันจะหนักหน่วงเป็นพิเศษ หรือโรคการควบคุมทางอารมณ์บางอย่าง ซึ่งทำให้กลไกการดูแลฮอร์โมนของเด็กคนนั้นไม่เป็นไปตามธรรมชาติได้ง่ายนัก เช่น เด็กๆ ที่มีความบกพร่องทางสมอง เนื้อสมองที่เอาไว้ควบคุมกิริยาอาการและความรู้สึกทำงานได้น้อยมาก จนกระทั่งสัญชาตญาณทางเพศ แสดงตัวอย่างรุนแรงกลุ่มนี้ เราอาจจะต้องพึงพิงยาเกี่ยวกับฮอร์โมน ช่วยปรับระดับความก้าวร้าวหรือความรุนแรงทางเพศของเขาบ้าง อันนี้มีแต่น้อยมาก ต้องบอกว่า คือกลุ่มของพวกที่ผิดปรกติจริงๆ แต่คนที่โคโมโซม xy ธรรมดา ไม่ได้มีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือโรคที่ควบคุมเกี่ยวกับการรับรู้หรือการแสดงออกใดๆ เราไม่ใช้ฮอร์โมนปรับในเรื่องของอารมณ์และพฤติกรรมเขา แต่เราใช้ความรักความเข้าใจ เอาความรักความเข้าใจตรงนี้ไปสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับเนื้อสมองที่เรียนรู้ความรักของเขา ใช้ตรงนี้เป็นต้นทุนในการทำให้เขาเป็นคนที่ดีขึ้น อ่อนโยนขึ้น มีพฤติกรรมที่เหมาะสมขึ้นกับสังคม
ถ้าต้องมาเชื่อมโยงกับซีรี่ย์เรื่อง “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น” ประเด็นที่มีการหยิบยกฮอร์โมนมาเป็นจุดเดินเรื่อง สะท้อนให้เห็นว่า เอาล่ะ เวลาที่เกิดอารมณ์ชนิดหนึ่งขึ้น อันเนื่องมาจาก Testosterone ฮอร์โมนทางเพศมีความฮึกเหิม ถึงแม้เขาเกิดอารมณ์เช่นนั้นขึ้นมา จากฮอร์โมนเป็นตัวพื้นฐาน แต่ความรักความเข้าใจของคุณพ่อคุณแม่ ก็จะเป็นเหมือนกับภูมิคุ้มกันปกป้องพวกเขา ตั้งหลัก และดูแลอิทธิฤทธิ์ของฮอร์โมนตัวนี้ให้ดี เขาจะต้องรู้จักรักให้เป็น มีความสนใจทางเพศให้เหมาะสม และก็ดูแลตัวเองให้แสดงโดยที่ไม่ทำร้ายคนอื่น และก็ไม่ทำร้ายจิตใจของพ่อแม่ด้วย ต่อให้ Testosterone มันพลุ่งพล่านแค่ไหนก็แล้วแต่ การยึดมั่นในความรักของพ่อแม่ และก็การมีพ่อแม่เข้าอกเข้าใจคอยประคองความรักอย่างต่อเนื่อง เขาก็จะผ่านช่วงหวือหวาของ Testosterone มาได้โดยที่ไม่ต้องอาศัยหยูกยาไปจำกัดออร์โมนแต่ประการใด
ส่วนเรื่องท้องไม่พร้อมนั้นเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของวัยรุ่น คุณหมอมีคาถาศักดิ์สิทธิ์ฝากคุณพ่อคุณแม่ให้ท่องไว้เลยว่า จะมาห้ามกันตอนที่พร้อมจะท้อง มันห้ามกันไม่ได้ มาบอกกล่าวตอนที่หนูเป็นสาวแล้วไม่ทัน ตรงกันข้าม ความรักความเข้าใจ การเติมเต็มค่านิยมความเชื่อ ตั้งแต่บรรดาเด็กๆ เหล่านั้นยังเป็นเด็กหญิงอยู่ ให้เขารู้ว่าการดูแลตนเอง การปกป้องตนเองนั้น ส่วนหนึ่งไม่ได้เป็นการปกป้องตนเองเท่านั้น เรากำลังปกป้องสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพ่อแม่ ที่สำคัญที่สุดสำหรับคนที่สำคัญที่สุด ความเกรงอกเกรงใจไม่อยากให้พ่อแม่เสียใจ เป็นภูมิปกป้องพื้นฐานในเด็กผูหญิงทุกคนเลย นอกจากนี้ยังให้เขาจัดการกับ Estrogen กับ Progesterone ของตนเองได้ในช่วงเวลาที่ตกไข่ ก็คือการเติมเต็มความเฉลียวฉลาดทางสติปัญญา สอนให้บรรดาเด็กหญิงทั้งหลายคิดให้เป็น คิดล่วงหน้า คิดคาดการณ์ คิดเผื่อ สถานการณ์ที่อาจพลาดพลั้งได้ สมมติว่า เราเกิดพึงพอใจใคร ชอบใคร และไว้วางใจเขามาก ในความไว้วางใจเขามากจะมีความเสี่ยงอะไรตามมาบ้าง ความเสี่ยงที่ว่านั้นจะหมายถึงหายนะ
คุณพ่อคุณแม่สามารถพูดคุยกับลูกได้ เป็นการติดอาวุธทางปัญญา ก่อนที่ฮอร์โมนของเขาจะทำงานอย่างร้อนรนรุนแรงเกินไปจนเอาไม่อยู่ ถ้าคิดให้เป็น รักพ่อแม่ให้เป็น รักตัวเองให้เป็น เวลาที่ฮอร์โมนมาเคาะประตูทักทาย เขาสนใจใคร เขาก็จะมีต้นทุนทางอารมณ์ความรู้สึกและสติปัญญาที่จะจัดการตัวเองได้ดีกว่าในชีวิตใครบ้าง
คุณหมอฝากและย้ำว่า การเข้าใจฮอร์โมนของลูกในวัยรุ่นนั้น มีไว้เพื่อเข้าใจชีวิตของเขา เข้าใจความรู้สึกของเขา และก็เพิ่มความยืดหยุ่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ฮอร์โมนของเพศกำลังมาแรง ปล่อยๆ มันไปเถอะ ไม่ใช่แบบนั้นเด็ดขาด!