ก่อนอื่นบอกเลยพี่ก็ยังไม่ได้จบ ไม่ได้เข้าใจอะไรในวงการแพทย์มากนัก แต่มีข้อมูลที่อยากให้น้องศึกษาก่อนที่จะสมัครเข้าเรียน
ในโครงการต่างๆ
เรื่องทั่วไป
1. มหาวิทยาลัยต่างๆผลิตแพทย์เพิ่มขึ้น มีมหาวิทยาลัยเปิดใหม่มากขึ้น ล่าสุดน่าจะประมาณ 2200 ในปีที่พี่กำลังจบ (ปีหน้า)
และพอถึงปีของน้องๆ น่าจะหลัก 3000 แต่ตำแหน่งในการเรียนแพทย์เฉพาะทางมีเท่าเดิม คือประมาณ 1000 คน
จริงอยู่ว่าไม่จำเป็นต้องเรียนเฉพาะทาง ไปรักษาคนไข้อยู่ในชนบท มีอะไรก็ส่งต่อ ก็เป็นทางเดินชีวิตอีกแบบหนึ่ง
แต่ชีวิตหมอแบบในละครที่ เข้างาน 8 โมงเช้า เลิกงาน 4 โมงเย็น เสาร์อาทิตย์ไม่ต้องทำงาน เวรอยู่เดือนละไม่กี่ครั้ง
เป็นชีวิตหมอที่จบเฉพาะทาง/เฉพาะทางต่อยอดแล้วทั้งนั้น การสมัครจึงมีอัตราการแข่งขันสูงมาก โดยเฉพาะสาขายอดฮิต หมอตา หมอผิวหนัง เก่งอย่างเดียวไม่พอนะจ๊ะ
2. การเรียนในปีต่างๆ ต้องทุ่มเทกำลัง แรงกาย แรงใจ และค่าใช้จ่ายพอสมควร
อย่างน้อยก็ต้องตื่นเช้า นอนดึก เข้าเวร เวรถึงเที่ยงคืนก็มี เวรถึงเช้าก็มี
หนังสือที่ควรอ่านมีเป็นตั้งๆ และต้องอ่านไปอีกหลายปี รับไม่ได้อย่ามาเรียน ชีวิตมันเศร้า
อุปกรณ์การเรียนที่ควรมีได้แก่โน้ตบุ๊ก ปริ๊นเตอร์ อุปกรณ์พกพาต่างๆ พี่ว่าถ้ามี ที่บ้านจัดให้ได้ก็ควรมี
เรียนแค่ 6 ปี จบแล้วต้องใช้ทุน การใช้ทุนก็ทำงานหนัก ไม่ได้สะดวกสบาย
หลังจากนั้นต้องมาต่อเฉพาะทาง 3-5 ปี
และเฉพาะทางต่อยอดอีก 2-3 ปี
รวมแล้ว 6-3-3-2 = 14 ปีนับจากน้องจบ ม.ปลาย ก็เป็นชีวิตแห่งการเรียน/และทำงานหนัก
ถ้าเป็นผู้หญิงก็ระวังรังไข่จะฝ่อก่อนจะได้มีลูก และลูกก็อาจมีความเสี่ยงต่อดาวน์ซินโดรมนะ (เกิดมากขึ้นในแม่อายุมากขึ้น)
3. รายได้ไม่ได้เป็นแสนนะ ถ้าไม่ได้ทำเอกชน/มีนอกมีในกับบริษัทยา
แพทย์จบใหม่เต็มที่ก็ได้เจ็ดหมื่นเท่านั้นแหละ แต่ต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อและแรงงาน อยู่เวรเดือนละ 15 เวร เป็นต้น
(การอยู่เวร ตัวอย่างเช่นเวรวันที่ 15 หมายความว่า ทำงานตามปกติวันที่ 15 (7-16) และอยู่เวร ทำงานเช่นในห้องฉุกเฉิน
ห้องไอซียูถึงเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วมาทำงานตามปกติวันที่ 16 (7-16) กว่าจะได้กลับไปนอน
อยู่เวรวันเว้นวัน หมายความว่า ทำงาน 36 ชั่วโมง เว้น 12 ชั่วโมง สลับกันไปเรื่อยๆทั้งเดือน นะ
4. เดี๋ยวนี้สังคมไม่ได้นับถือแพทย์เหมือนแต่ก่อนแล้ว หลายครั้งที่ประชาชนจ้องจับผิดแพทย์และพร้อมที่จะฟ้องตลอดเวลา
และการทำงานก็ตั้งอยู่บนความเสี่ยงขึ้นเรื่อยๆ ความรู้เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน แพทย์ต้องตาม บางครั้งก็ตามไม่ทัน
เอาความรู้เก่ามารักษา ประชาชนเอาจุดนั้นมาร้องเรียน/ฟ้องร้องการทำงานของแพทย์ได้นะ
5. สถาบันที่เลือกเรียนมีผลพอสมควร - ในการเรียนต่อเฉพาะทาง และในแง่ของวิธีการเรียน วิธีการปฏิบัติงาน และวัฒนธรรมองค์กร
บางที่จะ strict มาก ไม่มีความยืดหยุ่น แต่เมื่อมีปัญหาก็ดูแลนักศึกษาไปตลอดรอดฝั่ง
ในขณะที่บางที่ก็ยืดหยุ่น เด้งดึ๋ง อยากทำอะไรทำ ต้องควบคุมตัวเองให้ดี แต่เมื่อมีปัญหาก็ retire อะไรกันไปไม่ได้ช่วยกันมาก
เรื่องสำหรับน้องที่จะสมัครโครงการต่างๆ ศึกษาข้อมูลให้แน่ใจว่าเงื่อนไขการชดใช้ทุนเป็นอย่างไร
จะยกตัวอย่างคร่าวๆนะ
1. โครงการปกติ ใช้ทุนกับกระทรวงสาธารณสุข 3 ปี จึงจะหมดพันธะ
แต่สามารถสมัครใช้ทุนกับกระทรวงอื่นๆ เช่นเป็นแพทย์ทหารบก เรือ อากาศได้
และสามารถไปสมัครโครงการที่นับเอาเวลาใช้ทุนเป็นเวลาเรียนต่อไปเลยได้ (fix ward สอบบอร์ดได้)
และสามารถสมัครเป็นแพทย์พี่เลี้ยง คือมาใช้ทุนในสาขาที่ตัวเองต้องการเรียน จะทำงานเฉพาะในสาขานั้น
ในช่วงใช้ทุนปี 2-3 ใน รพศูนย์ (fix ward สอบบอร์ดไม่ได้)
2. โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท CPIRD
- ต้องเรียนปี 4-6 ในโรงพยาบาลศูนย์ในต่างจังหวัด
- ต้องชดใช้ทุนใน รพ.ศูนย์ 1 ปี และ รพ ชุมชน ที่กำหนดให้อีก 2 ปี
- ไม่สามารถสมัครโครงการอื่นๆได้
- สามารถเรียนต่อก่อนใช้ทุนครบ 3 ปีได้ในบางสาขา แต่อาจต้องมีทุนมาเรียนเฉพาะทาง (หมายความว่าจบแล้วต้องไปทำงานหลังจบเฉพาะทางอีก)
3. โครงการแพทย์ ODOD 1 อำเภอ 1 หมอ
- ได้ทุนระหว่างเรียนแพทย์ เดือนละเท่าไรไม่แน่ใจ ยกเว้นค่าเทอม
- ต้องใช้ทุน 1 ปี ในโรงพยาบาลศูนย์ และปฏิบัติงานใน รพ ชุมชนอีก 11 ปี!!
- ไม่สามารถสมัครโครงการอื่นๆได้
- สามารถเรียนต่อก่อนครบใช้ทุน 12 ปีได้ในบางสาขา แต่ต้องปฏิบัติงานไปแล้วอย่างน้อย 5-6 ปี
- ไม่ใช้ทุนเสียเงิน 2 ล้าน!
สรุปคร่าวๆ ก็ประมาณนี้ แต่ก็ควรศึกษาให้ดี เพราะพี่ก็ไม่รู้ข้อมูลใดๆก่อนที่จะสมัคร
เพียงแต่ว่าบ้านอยู่ในเขตที่สมัครโครงการอะไรไม่ได้เลย ก็เลยต้องสอบกับส่วนกลาง ซึ่งยืดหยุ่นในการชดใช้ทุนมากสุด
สุดท้ายนี้
การสอบเข้าแพทย์เป็นการข้ามภูเขาลูกหนึ่งเท่านั้น ยังมีภูเขาอีกหลายลูกที่สูงอีกมากให้เดินข้ามนะ ถ้าคิดดีแล้วก็เข้ามาเถอะ เพราะมันก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสีย
ถึงน้องๆ โดยเฉพาะ ม.6 ที่อยากเรียนหมอ และอยากสมัครแต่ละโครงการ
ในโครงการต่างๆ
เรื่องทั่วไป
1. มหาวิทยาลัยต่างๆผลิตแพทย์เพิ่มขึ้น มีมหาวิทยาลัยเปิดใหม่มากขึ้น ล่าสุดน่าจะประมาณ 2200 ในปีที่พี่กำลังจบ (ปีหน้า)
และพอถึงปีของน้องๆ น่าจะหลัก 3000 แต่ตำแหน่งในการเรียนแพทย์เฉพาะทางมีเท่าเดิม คือประมาณ 1000 คน
จริงอยู่ว่าไม่จำเป็นต้องเรียนเฉพาะทาง ไปรักษาคนไข้อยู่ในชนบท มีอะไรก็ส่งต่อ ก็เป็นทางเดินชีวิตอีกแบบหนึ่ง
แต่ชีวิตหมอแบบในละครที่ เข้างาน 8 โมงเช้า เลิกงาน 4 โมงเย็น เสาร์อาทิตย์ไม่ต้องทำงาน เวรอยู่เดือนละไม่กี่ครั้ง
เป็นชีวิตหมอที่จบเฉพาะทาง/เฉพาะทางต่อยอดแล้วทั้งนั้น การสมัครจึงมีอัตราการแข่งขันสูงมาก โดยเฉพาะสาขายอดฮิต หมอตา หมอผิวหนัง เก่งอย่างเดียวไม่พอนะจ๊ะ
2. การเรียนในปีต่างๆ ต้องทุ่มเทกำลัง แรงกาย แรงใจ และค่าใช้จ่ายพอสมควร
อย่างน้อยก็ต้องตื่นเช้า นอนดึก เข้าเวร เวรถึงเที่ยงคืนก็มี เวรถึงเช้าก็มี
หนังสือที่ควรอ่านมีเป็นตั้งๆ และต้องอ่านไปอีกหลายปี รับไม่ได้อย่ามาเรียน ชีวิตมันเศร้า
อุปกรณ์การเรียนที่ควรมีได้แก่โน้ตบุ๊ก ปริ๊นเตอร์ อุปกรณ์พกพาต่างๆ พี่ว่าถ้ามี ที่บ้านจัดให้ได้ก็ควรมี
เรียนแค่ 6 ปี จบแล้วต้องใช้ทุน การใช้ทุนก็ทำงานหนัก ไม่ได้สะดวกสบาย
หลังจากนั้นต้องมาต่อเฉพาะทาง 3-5 ปี
และเฉพาะทางต่อยอดอีก 2-3 ปี
รวมแล้ว 6-3-3-2 = 14 ปีนับจากน้องจบ ม.ปลาย ก็เป็นชีวิตแห่งการเรียน/และทำงานหนัก
ถ้าเป็นผู้หญิงก็ระวังรังไข่จะฝ่อก่อนจะได้มีลูก และลูกก็อาจมีความเสี่ยงต่อดาวน์ซินโดรมนะ (เกิดมากขึ้นในแม่อายุมากขึ้น)
3. รายได้ไม่ได้เป็นแสนนะ ถ้าไม่ได้ทำเอกชน/มีนอกมีในกับบริษัทยา
แพทย์จบใหม่เต็มที่ก็ได้เจ็ดหมื่นเท่านั้นแหละ แต่ต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อและแรงงาน อยู่เวรเดือนละ 15 เวร เป็นต้น
(การอยู่เวร ตัวอย่างเช่นเวรวันที่ 15 หมายความว่า ทำงานตามปกติวันที่ 15 (7-16) และอยู่เวร ทำงานเช่นในห้องฉุกเฉิน
ห้องไอซียูถึงเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วมาทำงานตามปกติวันที่ 16 (7-16) กว่าจะได้กลับไปนอน
อยู่เวรวันเว้นวัน หมายความว่า ทำงาน 36 ชั่วโมง เว้น 12 ชั่วโมง สลับกันไปเรื่อยๆทั้งเดือน นะ
4. เดี๋ยวนี้สังคมไม่ได้นับถือแพทย์เหมือนแต่ก่อนแล้ว หลายครั้งที่ประชาชนจ้องจับผิดแพทย์และพร้อมที่จะฟ้องตลอดเวลา
และการทำงานก็ตั้งอยู่บนความเสี่ยงขึ้นเรื่อยๆ ความรู้เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน แพทย์ต้องตาม บางครั้งก็ตามไม่ทัน
เอาความรู้เก่ามารักษา ประชาชนเอาจุดนั้นมาร้องเรียน/ฟ้องร้องการทำงานของแพทย์ได้นะ
5. สถาบันที่เลือกเรียนมีผลพอสมควร - ในการเรียนต่อเฉพาะทาง และในแง่ของวิธีการเรียน วิธีการปฏิบัติงาน และวัฒนธรรมองค์กร
บางที่จะ strict มาก ไม่มีความยืดหยุ่น แต่เมื่อมีปัญหาก็ดูแลนักศึกษาไปตลอดรอดฝั่ง
ในขณะที่บางที่ก็ยืดหยุ่น เด้งดึ๋ง อยากทำอะไรทำ ต้องควบคุมตัวเองให้ดี แต่เมื่อมีปัญหาก็ retire อะไรกันไปไม่ได้ช่วยกันมาก
เรื่องสำหรับน้องที่จะสมัครโครงการต่างๆ ศึกษาข้อมูลให้แน่ใจว่าเงื่อนไขการชดใช้ทุนเป็นอย่างไร
จะยกตัวอย่างคร่าวๆนะ
1. โครงการปกติ ใช้ทุนกับกระทรวงสาธารณสุข 3 ปี จึงจะหมดพันธะ
แต่สามารถสมัครใช้ทุนกับกระทรวงอื่นๆ เช่นเป็นแพทย์ทหารบก เรือ อากาศได้
และสามารถไปสมัครโครงการที่นับเอาเวลาใช้ทุนเป็นเวลาเรียนต่อไปเลยได้ (fix ward สอบบอร์ดได้)
และสามารถสมัครเป็นแพทย์พี่เลี้ยง คือมาใช้ทุนในสาขาที่ตัวเองต้องการเรียน จะทำงานเฉพาะในสาขานั้น
ในช่วงใช้ทุนปี 2-3 ใน รพศูนย์ (fix ward สอบบอร์ดไม่ได้)
2. โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท CPIRD
- ต้องเรียนปี 4-6 ในโรงพยาบาลศูนย์ในต่างจังหวัด
- ต้องชดใช้ทุนใน รพ.ศูนย์ 1 ปี และ รพ ชุมชน ที่กำหนดให้อีก 2 ปี
- ไม่สามารถสมัครโครงการอื่นๆได้
- สามารถเรียนต่อก่อนใช้ทุนครบ 3 ปีได้ในบางสาขา แต่อาจต้องมีทุนมาเรียนเฉพาะทาง (หมายความว่าจบแล้วต้องไปทำงานหลังจบเฉพาะทางอีก)
3. โครงการแพทย์ ODOD 1 อำเภอ 1 หมอ
- ได้ทุนระหว่างเรียนแพทย์ เดือนละเท่าไรไม่แน่ใจ ยกเว้นค่าเทอม
- ต้องใช้ทุน 1 ปี ในโรงพยาบาลศูนย์ และปฏิบัติงานใน รพ ชุมชนอีก 11 ปี!!
- ไม่สามารถสมัครโครงการอื่นๆได้
- สามารถเรียนต่อก่อนครบใช้ทุน 12 ปีได้ในบางสาขา แต่ต้องปฏิบัติงานไปแล้วอย่างน้อย 5-6 ปี
- ไม่ใช้ทุนเสียเงิน 2 ล้าน!
สรุปคร่าวๆ ก็ประมาณนี้ แต่ก็ควรศึกษาให้ดี เพราะพี่ก็ไม่รู้ข้อมูลใดๆก่อนที่จะสมัคร
เพียงแต่ว่าบ้านอยู่ในเขตที่สมัครโครงการอะไรไม่ได้เลย ก็เลยต้องสอบกับส่วนกลาง ซึ่งยืดหยุ่นในการชดใช้ทุนมากสุด
สุดท้ายนี้
การสอบเข้าแพทย์เป็นการข้ามภูเขาลูกหนึ่งเท่านั้น ยังมีภูเขาอีกหลายลูกที่สูงอีกมากให้เดินข้ามนะ ถ้าคิดดีแล้วก็เข้ามาเถอะ เพราะมันก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสีย