กม. ค่าก่อสร้าง 7 หมื่นล้าน เวนคืนกว่า 1 หมื่นไร่พาดยาว 4 จังหวัดภาคเหนือ และสายอีสานตัดผ่าน 6 จังหวัดจาก "บ้านไผ่-นครพนม" ระยะทาง 347 กม. ค่าก่อสร้างกว่า 4.2 หมื่นล้าน เตรียมประมูลต้นปี"58 เสริมการเดินทางและระบบโลจิสติกส์สู่ภาคอีสาน เผยเวนคืนกว่า 17,500 ไร่ จุดพลุ "มุกดาหาร-นครพนม" ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้ารับการค้าชายแดนไทย-ลาว
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เซ็นสัญญาจ้างบริษัทที่ปรึกษามาสำรวจ ออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมและจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการรถไฟสายใหม่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาหลักโครงการ ค่าจ้าง 200 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 15 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 ถึงเดือนตุลาคม 2557
ลงทุน 4.2 หมื่นล้าน
NOWChoose news
รมว.คมนาคม คาดปี′57 เริ่มลงทุนรถไฟทางคู่ได้ก่อน หาก พ.ร.บ.2 ล้านลบ.ผ่าน
ค้นหา
เวนคืน3หมื่นไร่ตัดรถไฟ2สายใหม่ เปิดพท.10จังหวัดเหนือ-อีสานเชื่อมโลจิสติกส์ลาว
Prev1 of 1Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 16 ก.ค. 2556 เวลา 13:00:59 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เปิด แนวก่อสร้างรถไฟสายใหม่ 2 เส้นทาง เวนคืนที่ดินเฉียด 3 หมื่นไร่ ใช้เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้าน ร.ฟ.ท.ประเดิมปี"57ประมูลสาย "เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ" ระยะทาง 323 กม. ค่าก่อสร้าง 7 หมื่นล้าน เวนคืนกว่า 1 หมื่นไร่พาดยาว 4 จังหวัดภาคเหนือ และสายอีสานตัดผ่าน 6 จังหวัดจาก "บ้านไผ่-นครพนม" ระยะทาง 347 กม. ค่าก่อสร้างกว่า 4.2 หมื่นล้าน เตรียมประมูลต้นปี"58 เสริมการเดินทางและระบบโลจิสติกส์สู่ภาคอีสาน เผยเวนคืนกว่า 17,500 ไร่ จุดพลุ "มุกดาหาร-นครพนม" ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้ารับการค้าชายแดนไทย-ลาว
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เซ็นสัญญาจ้างบริษัทที่ปรึกษามาสำรวจ ออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมและจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการรถไฟสายใหม่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาหลักโครงการ ค่าจ้าง 200 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 15 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 ถึงเดือนตุลาคม 2557
ลงทุน 4.2 หมื่นล้าน
"โครงการนี้อยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะใช้เงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 42,106 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 38,070 ล้านบาท ค่าเวนคืน 3,293 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษา 743 ล้านบาท จะเริ่มประมูลต้นปี"58 ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี หรือเสร็จเปิดให้บริการได้ในปี 2560-2561"
นายประภัสร์กล่าวอีกว่า รถไฟสายนี้ได้ศึกษาไว้เมื่อปี 2537 แต่ไม่มีงบประมาณก่อสร้าง จนมาเมื่อปี 2554 ร.ฟ.ท.ได้นำผลการศึกษามาทบทวนเส้นทางใหม่ จนได้แนวเส้นทางที่เหมาะสมดังกล่าว และปีนี้ได้รับงบฯมาออกแบบรายละเอียดโครงการ
โดยจะออกแบบเป็นระบบทางคู่ขนาดความกว้าง 1 เมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจประมาณ 12.3% จะเป็นเส้นทางตัดใหม่ และเปิดพื้นที่การพัฒนาใหม่ใน 6 จังหวัดที่แนวโครงการตัดผ่าน
ผ่าน 6 จว. จอดป้าย 14 สถานี
ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น จะมีจุดเริ่มต้นที่ อ.บ้านไผ่ ผ่านมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร (จะตัดผ่านพื้นที่ตอนบนเล็กน้อย จะไม่มีสถานีจอด) มุกดาหาร และนครพนม เบื้องต้นมี 14 สถานี ได้แก่ สถานีบ้านไผ่ กุดรัง บรบือ มหาสารคาม สถานีร้อยเอ็ด เชียงขวัญ โพนทอง หนองพอก นิคมคำสร้อย มุกดาหาร หว้านใหญ่ ธาตุพนม เรณูนคร และนครพนม
"จะช่วยเปิดโครงข่ายการเดินทางและการค้าการขนส่งกระจายไปทางกลุ่มภาคอีสานได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น พร้อมลดต้นทุนโลจิสติกส์ เพราะจะมีเส้นทางเชื่อมต่อกับทางคู่สายขอนแก่น-หนองคาย และเชื่อมทางรถไฟที่ฝั่ง สปป.ลาว"
เวนคืนที่ดิน 17,500 ไร่
นายนิรัตน์ ตันสวัสดิ์ กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่า เนื่องจากเป็นรถไฟสายใหม่จะต้องเวนคืนที่ดินกว้าง 80 เมตร ตลอดเส้นทางเพื่อกันเขตทางไว้ก่อสร้าง โดยแนวเส้นทางจะตัดผ่านพื้นที่ชานเมืองห่างจากตัวเมืองของแต่ละจังหวัดประมาณ 5 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่โล่งและเกษตรกรรม คาดว่าจะเวนคืนที่ดิน 17,500 ไร่
โดยจุดใหญ่ที่มีการเวนคืน เป็นบริเวณสถานีที่จะต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างประมาณ 70-120 ไร่ต่อสถานี และจุดที่ตั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่จ.นครพนมและมุกดาหาร เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าข้ามเขตแดนที่บริเวณสะพานมิตรภาพแม่น้ำโขง จะเชื่อมกับสปป.ลาว ที่สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต และแห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน
ขยับแนวเลี่ยงพระธาตุชัยมงคล
"จะมีขยับแนวลงมาด้านล่างเล็กน้อยตรงบริเวณพื้นที่ อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด เพราะใกล้พระธาตุเจดีย์ชัยมงคลและอาจจะเพิ่ม 1 สถานีที่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแนวเส้นทางที่กลุ่มบริษัท ทีม คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้คัดเลือกไว้ จะตัดผ่านพื้นที่ 14 อำเภอ 5 จังหวัด มีจุดเริ่มต้นที่สถานีบ้านไผ่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ไปตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม จากนั้นเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันออกบริเวณบ้านหนองลุมพุก ผ่านที่โล่งเกษตรกรรม ขนานไปกับทางหลวงหมายเลข 23 เลียบผ่าน อ.บรบือ แล้วเบี่ยงแนวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านที่โล่งเข้าทางทิศใต้ของ อ.เมือง จ.มหาสารคาม แล้วแนวเส้นทางขนานกับถนนทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง จ.มหาสารคาม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 3041 และผ่าน อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด อ.เชียงขวัญ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 2046แล้วเลี้ยวขวาไปทางอ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด และ อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 2370 จะเบี่ยงไปทางทิศเหนือเลียบกับแม่น้ำโขง ผ่าน อ.เมือง และ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม และสิ้นสุดปลายทางที่บริเวณบ้านโพนบก อ.เมือง จ.นครพนม
ใช้เงินลงทุนรวม 42,086 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 3,293 ล้านบาท งานระบบราง 13,972 ล้านบาท งานดิน 3,404 ล้านบาท ระบบอาณัติสัญญาณ 7,840 ล้านบาท งานสถานีรถไฟ 1,190 ล้านบาท งานกระจายสินค้า 1,160 ล้านบาท งานระบบระบายน้ำ 1,004 ล้านบาท งานแก้ปัญหาจุดตัดทางผ่านเสมอระดับ 9,500 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษา 723 ล้านบาท โดยมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 12.4%
นายนิรัตน์กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันบริษัทได้ศึกษารถไฟสายใหม่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างรอการอนุมัติอีไอเอเนื่องจากตัดผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ ตามแผนทาง ร.ฟ.ท.จะใช้เงินกู้ใน 2 ล้านล้านบาท มาก่อสร้าง เงินลงทุนรวม 79,419 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้างกว่า 71,000 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 3,808 ล้านบาท จะเปิดประมูลปี 2557
แนวเส้นทางมีระยะทาง 323.10 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย มี 26 สถานี แยกเป็น 1.จังหวัดแพร่ มีระยะทาง 77.20 กิโลเมตร มี 6 สถานี คือ สถานีเด่นชัย สูงเม่น แพร่ แม่คำมี หนองเสี้ยว สอง 2.จังหวัดลำปาง มีระยะทาง 52.40 กิโลเมตร มี 3 สถานี คือสถานีแม่ตีบ งาว ปงเตา 3.จังหวัดพะเยา ระยะทาง 54.10 กิโลเมตร จำนวน 6 สถานี มีสถานีมหาวิทยาลัยพะเยา บ้านโทกกวาก พะเยา ดงเจน บ้านร้อง บ้านใหม่ 4.จังหวัดเชียงราย ระยะทาง 139.40 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี มีสถานีป่าแดด ป่าแงะ บ้านโป่งเกลือ สันป่าเหียง เชียงราย ทุ่งก่อ เวียงเชียงรุ้ง ชุมทางบ้านป่าซาง บ้านเกี๋ยง ศรีดอนชัย และเชียงของ
การก่อสร้างใช้เขตทางกว้าง 50 เมตร มีเวนคืนที่ดินประมาณ 10,000 ไร่ และมีเจาะอุโมงค์ 4 แห่ง รวม 13 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างเฉลี่ย 1,500 ล้านบาทต่อกิโลเมตร
ที่มาประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เวนคืน3หมื่นไร่ตัดรถไฟ2สายใหม่ เปิดพท.10จังหวัดเหนือ-อีสานเชื่อมโลจิสติกส์ลาว
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เซ็นสัญญาจ้างบริษัทที่ปรึกษามาสำรวจ ออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมและจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการรถไฟสายใหม่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาหลักโครงการ ค่าจ้าง 200 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 15 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 ถึงเดือนตุลาคม 2557
ลงทุน 4.2 หมื่นล้าน
NOWChoose news
รมว.คมนาคม คาดปี′57 เริ่มลงทุนรถไฟทางคู่ได้ก่อน หาก พ.ร.บ.2 ล้านลบ.ผ่าน
ค้นหา
เวนคืน3หมื่นไร่ตัดรถไฟ2สายใหม่ เปิดพท.10จังหวัดเหนือ-อีสานเชื่อมโลจิสติกส์ลาว
Prev1 of 1Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 16 ก.ค. 2556 เวลา 13:00:59 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เปิด แนวก่อสร้างรถไฟสายใหม่ 2 เส้นทาง เวนคืนที่ดินเฉียด 3 หมื่นไร่ ใช้เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้าน ร.ฟ.ท.ประเดิมปี"57ประมูลสาย "เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ" ระยะทาง 323 กม. ค่าก่อสร้าง 7 หมื่นล้าน เวนคืนกว่า 1 หมื่นไร่พาดยาว 4 จังหวัดภาคเหนือ และสายอีสานตัดผ่าน 6 จังหวัดจาก "บ้านไผ่-นครพนม" ระยะทาง 347 กม. ค่าก่อสร้างกว่า 4.2 หมื่นล้าน เตรียมประมูลต้นปี"58 เสริมการเดินทางและระบบโลจิสติกส์สู่ภาคอีสาน เผยเวนคืนกว่า 17,500 ไร่ จุดพลุ "มุกดาหาร-นครพนม" ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้ารับการค้าชายแดนไทย-ลาว
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เซ็นสัญญาจ้างบริษัทที่ปรึกษามาสำรวจ ออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมและจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการรถไฟสายใหม่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาหลักโครงการ ค่าจ้าง 200 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 15 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 ถึงเดือนตุลาคม 2557
ลงทุน 4.2 หมื่นล้าน
"โครงการนี้อยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะใช้เงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 42,106 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 38,070 ล้านบาท ค่าเวนคืน 3,293 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษา 743 ล้านบาท จะเริ่มประมูลต้นปี"58 ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี หรือเสร็จเปิดให้บริการได้ในปี 2560-2561"
นายประภัสร์กล่าวอีกว่า รถไฟสายนี้ได้ศึกษาไว้เมื่อปี 2537 แต่ไม่มีงบประมาณก่อสร้าง จนมาเมื่อปี 2554 ร.ฟ.ท.ได้นำผลการศึกษามาทบทวนเส้นทางใหม่ จนได้แนวเส้นทางที่เหมาะสมดังกล่าว และปีนี้ได้รับงบฯมาออกแบบรายละเอียดโครงการ
โดยจะออกแบบเป็นระบบทางคู่ขนาดความกว้าง 1 เมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจประมาณ 12.3% จะเป็นเส้นทางตัดใหม่ และเปิดพื้นที่การพัฒนาใหม่ใน 6 จังหวัดที่แนวโครงการตัดผ่าน
ผ่าน 6 จว. จอดป้าย 14 สถานี
ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น จะมีจุดเริ่มต้นที่ อ.บ้านไผ่ ผ่านมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร (จะตัดผ่านพื้นที่ตอนบนเล็กน้อย จะไม่มีสถานีจอด) มุกดาหาร และนครพนม เบื้องต้นมี 14 สถานี ได้แก่ สถานีบ้านไผ่ กุดรัง บรบือ มหาสารคาม สถานีร้อยเอ็ด เชียงขวัญ โพนทอง หนองพอก นิคมคำสร้อย มุกดาหาร หว้านใหญ่ ธาตุพนม เรณูนคร และนครพนม
"จะช่วยเปิดโครงข่ายการเดินทางและการค้าการขนส่งกระจายไปทางกลุ่มภาคอีสานได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น พร้อมลดต้นทุนโลจิสติกส์ เพราะจะมีเส้นทางเชื่อมต่อกับทางคู่สายขอนแก่น-หนองคาย และเชื่อมทางรถไฟที่ฝั่ง สปป.ลาว"
เวนคืนที่ดิน 17,500 ไร่
นายนิรัตน์ ตันสวัสดิ์ กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่า เนื่องจากเป็นรถไฟสายใหม่จะต้องเวนคืนที่ดินกว้าง 80 เมตร ตลอดเส้นทางเพื่อกันเขตทางไว้ก่อสร้าง โดยแนวเส้นทางจะตัดผ่านพื้นที่ชานเมืองห่างจากตัวเมืองของแต่ละจังหวัดประมาณ 5 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่โล่งและเกษตรกรรม คาดว่าจะเวนคืนที่ดิน 17,500 ไร่
โดยจุดใหญ่ที่มีการเวนคืน เป็นบริเวณสถานีที่จะต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างประมาณ 70-120 ไร่ต่อสถานี และจุดที่ตั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่จ.นครพนมและมุกดาหาร เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าข้ามเขตแดนที่บริเวณสะพานมิตรภาพแม่น้ำโขง จะเชื่อมกับสปป.ลาว ที่สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต และแห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน
ขยับแนวเลี่ยงพระธาตุชัยมงคล
"จะมีขยับแนวลงมาด้านล่างเล็กน้อยตรงบริเวณพื้นที่ อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด เพราะใกล้พระธาตุเจดีย์ชัยมงคลและอาจจะเพิ่ม 1 สถานีที่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแนวเส้นทางที่กลุ่มบริษัท ทีม คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้คัดเลือกไว้ จะตัดผ่านพื้นที่ 14 อำเภอ 5 จังหวัด มีจุดเริ่มต้นที่สถานีบ้านไผ่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ไปตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม จากนั้นเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันออกบริเวณบ้านหนองลุมพุก ผ่านที่โล่งเกษตรกรรม ขนานไปกับทางหลวงหมายเลข 23 เลียบผ่าน อ.บรบือ แล้วเบี่ยงแนวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านที่โล่งเข้าทางทิศใต้ของ อ.เมือง จ.มหาสารคาม แล้วแนวเส้นทางขนานกับถนนทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง จ.มหาสารคาม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 3041 และผ่าน อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด อ.เชียงขวัญ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 2046แล้วเลี้ยวขวาไปทางอ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด และ อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 2370 จะเบี่ยงไปทางทิศเหนือเลียบกับแม่น้ำโขง ผ่าน อ.เมือง และ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม และสิ้นสุดปลายทางที่บริเวณบ้านโพนบก อ.เมือง จ.นครพนม
ใช้เงินลงทุนรวม 42,086 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 3,293 ล้านบาท งานระบบราง 13,972 ล้านบาท งานดิน 3,404 ล้านบาท ระบบอาณัติสัญญาณ 7,840 ล้านบาท งานสถานีรถไฟ 1,190 ล้านบาท งานกระจายสินค้า 1,160 ล้านบาท งานระบบระบายน้ำ 1,004 ล้านบาท งานแก้ปัญหาจุดตัดทางผ่านเสมอระดับ 9,500 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษา 723 ล้านบาท โดยมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 12.4%
นายนิรัตน์กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันบริษัทได้ศึกษารถไฟสายใหม่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างรอการอนุมัติอีไอเอเนื่องจากตัดผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ ตามแผนทาง ร.ฟ.ท.จะใช้เงินกู้ใน 2 ล้านล้านบาท มาก่อสร้าง เงินลงทุนรวม 79,419 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้างกว่า 71,000 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 3,808 ล้านบาท จะเปิดประมูลปี 2557
แนวเส้นทางมีระยะทาง 323.10 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย มี 26 สถานี แยกเป็น 1.จังหวัดแพร่ มีระยะทาง 77.20 กิโลเมตร มี 6 สถานี คือ สถานีเด่นชัย สูงเม่น แพร่ แม่คำมี หนองเสี้ยว สอง 2.จังหวัดลำปาง มีระยะทาง 52.40 กิโลเมตร มี 3 สถานี คือสถานีแม่ตีบ งาว ปงเตา 3.จังหวัดพะเยา ระยะทาง 54.10 กิโลเมตร จำนวน 6 สถานี มีสถานีมหาวิทยาลัยพะเยา บ้านโทกกวาก พะเยา ดงเจน บ้านร้อง บ้านใหม่ 4.จังหวัดเชียงราย ระยะทาง 139.40 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี มีสถานีป่าแดด ป่าแงะ บ้านโป่งเกลือ สันป่าเหียง เชียงราย ทุ่งก่อ เวียงเชียงรุ้ง ชุมทางบ้านป่าซาง บ้านเกี๋ยง ศรีดอนชัย และเชียงของ
การก่อสร้างใช้เขตทางกว้าง 50 เมตร มีเวนคืนที่ดินประมาณ 10,000 ไร่ และมีเจาะอุโมงค์ 4 แห่ง รวม 13 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างเฉลี่ย 1,500 ล้านบาทต่อกิโลเมตร
ที่มาประชาชาติธุรกิจออนไลน์