การเมือง : ข่าวทั่วไป
วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2556
หลังการเผยแพร่ข้อมูลโครงการรับจำนำข้าวว่าใช้สารเคมีจำนวนมหาศาล เพื่อรมควันข้าวที่เก็บไว้ในโกดัง จนสร้างความหวาดผวาให้แก่ผู้บริโภคนั้น กรมการค้าภายในได้สุ่มเก็บตัวอย่างข้าวสารจากโครงการรับจำนำข้าว ที่บรรจุถุงวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป รวมถึงห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ เพื่อส่งให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบทางเคมี จากนั้นได้แถลงข่าวว่าไม่มีสารฟอสฟินตกค้างจากการรมควันป้องกันแมลงและมอด!!
อย่างไรก็ตาม เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคดูเหมือนยังไม่มั่นใจในการพิสูจน์ข้างต้น เนื่องจากไม่ได้ตรวจละเอียดข้าวทุกถุง ยิ่งไปกว่านั้นแม้สารตกค้างจะไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด แต่หากกินต่อเนื่องสารเคมีพิษจะค่อยๆ สะสมอยู่ในร่างกายระยะยาว อาจทำให้เกิดมะเร็งตับ ระบบประสาทผิดปกติ ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ ฯลฯ
ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีเกษตรให้ข้อมูลว่า สารเคมีที่นิยมใช้รมข้าวเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชในไทย อยู่มี 3 ชนิด คือ "อลูมิเนียมฟอสไฟด์" (Aluminium Phosphide) "เมทิลโบรไมด์" (Methyl bromide) และ "คลอโรพิคริน" (Chloropicrin) โดย อลูมิเนียมฟอสไฟด์ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า "ฟอสฟิน" เป็นสารเคมีใช้ผสมกับอาหารเพื่อฆ่าหนู หรือนำมาใช้รมควันพืชผลทางการเกษตรฆ่าแมลง ฆ่าเชื้อรา และใช้อบรมควันในเรือพาณิชย์ที่ใช้ขนส่งอาหารต่างๆ เป็นหนึ่งในสารเคมีที่มีพิษสูงมาก ทำลายระบบหลอดเลือดและหัวใจและอวัยวะภายใน ทำให้หมดสติหรือเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เคยให้สัตว์ทดลองสูดดมแล้วตายทันทีถึงร้อยละ 50
วงการแพทย์ในประเทศอิหร่านเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้สารฟอสฟิน เพราะคนนิยมกินฆ่าตัวตาย มีสถิติบันทึกไว้ถึง 471 คน ส่วนคนอินเดียกินเพื่อฆ่าตัวตายมากถึงร้อยละ 68 แม้กระทั่งมหาเศรษฐีเจ้าของสายการเดินเรือพาณิชย์ของประเทศอังกฤษ "เซอร์ ดีเร็ค บิบบี้" ก็เสียชีวิตเพราะสารเคมีตัวนี้เช่นกันเมื่อปี 2545 แต่ข่าวที่สร้างความสลดใจคือ เด็กเล็กวัย 6 ขวบ กับ 10 ขาว ชาวเดนมาร์ค เสียชีวิตเพราะเพื่อนบ้านฉีดสารฟอสฟิน และครอบครัวหนึ่งในมลรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา ที่สูญเสียลูกสาววัย 15 เดือน กับวัย 4 ปี เพราะบริษัทกำจัดหนูที่จ้างมาใช้สารฟอสฟินฉีดพ่นรอบบ้าน
ส่วน "เมทิลโบรไมด์" มีอันตรายไม่น้อยกว่าตัวแรก พิษร้ายทำลายอวัยวะภายใน ปอด หากได้รับปริมาณมาก อาจทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว หรือส่งผลให้ระบบประสาทเสียหายแบบถาวร งานวิชาการชี้ชัดว่าสารเคมีตัวนี้มีฤทธิ์ทำลายสารพันธุกรรมมนุษย์และสัตว์ นักวิจัยสหรัฐอเมริกาทำวิจัยโดยติดตามเกษตรกรและคู่สมรส 7,814 คน ช่วงระหว่างปี 2536-2550 พบว่า ผู้ใช้เมทิลโบรไมด์มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าคนที่ไม่ได้สัมผัสสารตัวนี้สูงถึง 1.4-3 เท่า ยิ่งใช้มากยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น นอกจากนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังมีมติให้ยกเลิกใช้สารตัวนี้เพราะทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศส่งผลให้โลกร้อน
สำหรับ "คลอโรพิคริน" มีบันทึกว่าเป็นหนึ่งในสารพิษที่เคยใช้เป็นอาวุธเคมีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 บางครั้งใช้ผสมในแก๊สน้ำตาสำหรับปราบจลาจล ด้วยฤทธิ์ร้ายแรงทำให้สามารถฆ่าแมลงที่มาทำลายผลิตผลเกษตร เมืองไทยนิยมใช้ร่วมกับเมทิลโบรไมด์ สารเคมีตัวนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางการหายใจ กิน และดูดซึมเข้าทางผิวหนัง หากใครสัมผัสใกล้ชิดจะปวดแสบดวงตาอย่างมาก บางกรณีกระจกตาลอก ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วง ฯลฯ หากสูดดมเข้าไปแค่เพียง 119 ส่วนในล้านส่วนในเวลา 30 นาที อาจทำให้เสียชีวิตได้จากภาวะปอดบวมน้ำ ถ้าไม่เสียชีวิตจะมีอาการทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อนานต่อเนื่องหลายสิบวัน
นพ.ปัตพงษ์ ยอมรับว่าที่ผ่านมา สารรมควันพิษไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนัก จนกระทั่งมีการรับจำนำข้าวทำให้ต้องใช้สารเคมีเหล่านี้จำนวนมาก เพื่อช่วยเก็บรักษาข้าวในโกดังจำนวนมหาศาลรอดพ้นจากมอดแมลงต่างๆ ยิ่งใช้ปริมาณมากแค่ไหน โอกาสทำร้ายผู้ใช้และผู้บริโภคก็มากขึ้นเท่านั้น วิธีการแก้ปัญหาระยะสั้นที่ดีสุดคือเร่งระบายข้าวออกสู่ท้องตลาด ส่วนระยะยาวควรหันมาใช้เกษตรอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีในการปลูกข้าวหรือปลูกพืชผลอื่นๆ ผลผลิตทางการเกษตรที่ไร้สารพิษจะแข็งแรงอายุยืนยาวกว่า ไม่ต้องใช้สารเคมีจำนวนมากในการเก็บรักษา
ขณะที่ นพ.พิบูล อิสระพันธ์ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข อธิบายเพิ่มเติมว่า สารรมควันเหล่านี้ แม้ว่าจะระเหยไปได้ในอากาศ แต่ถ้าใช้จำนวนมากและใช้ผิดวิธี จะมีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เคยมีตัวอย่างผู้เสียชีวิตในเรือขนส่งสินค้า เพราะใช้สารรมควันแล้วสูดดมเข้าไป
"ในไซโลหรือโกดังเก็บข้าว จะพ่นรมควันสารเหล่านี้แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ ผ่านไปไม่กี่วันก็เอาผ้าออก สารเหล่านี้จะระเหยขึ้นไปในอากาศแทน ใครที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ใกล้โกดังเก็บข้าวอาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากสารเคมีพิษทางเกษตรส่วนใหญ่จะค่อยๆ สะสมในร่างกายหลายปี กว่าจะทำให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานผิดปกติ เวลาที่ชาวบ้านเจ็บป่วยแล้วไปหาหมอ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองเจ็บป่วยจากสาเหตุอะไร โครงการรับจำนำข้าวทำให้ต้องเก็บข้าวไว้นานๆ ปกติเคยรมควันครั้งเดียวก็ส่งขาย แต่ตอนนี้หลายโกดังต้องรมควันซ้ำหลายครั้ง เพื่อเก็บข้าวไว้ให้นานที่สุด ผมเห็นแล้วเหมือนเขากำลังทำมัมมี่ข้าว ไม่มีใครรู้ว่าสารพิษเหล่านี้จะตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมหรือร่างกายคนที่สัมผัสใกล้ชิดนานแค่ไหน" นพ.พิบูลกล่าวเตือน
โกดังข้าว17.5 ล้านตัน
6 มิ.ย.2556 องค์การคลังสินค้าระบุสต็อกข้าวสารมีประมาณ 17.5 ล้านตัน
- โครงการรับจำนำปี 2554 - 2555 ประมาณ 2.3 ล้านตัน
- โครงการรับจำนำนาปี ปี 2555-2556 ประมาณ 8 ล้านตัน
- โครงการรับจำนำนาปรัง ปี 2555 ประมาณ 7.2 ล้านตัน
รายจ่าย"ค่าเก็บข้าว"
1. ค่าเบี้ยประกัน ซึ่งคิด 10% ของมูลค่าราคาข้าวที่จำนำ (ประมาณ 1,700-1,800 บาท/ตัน)
2. ค่าเก็บรักษาข้าวประมาณเดือนละ 100 บาทต่อตัน เช่น
- ค่าแบกหามกรรมกร 30 บาท/ตัน
- ค่าผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าว 16 บาท/ตัน
- ค่ารมยา-อบยา 6 บาท/ตัน (รมยาทุก 2 เดือน)
- ค่าเช่าโกดัง 20 บาท/ตัน
คาดการณ์ว่ารัฐบาลจ่ายค่าเก็บรักษาข้าวนาปรังและนาปี 2555 ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 1,800 ล้านบาท ขณะนี้ อคส.ยื่นเรื่องขอเงินเพิ่มอีก 2,000 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายเก็บข้าวต่อจนกว่าจะระบายหมด
.......................................
(หมายเหตุ : เตือนภัย'ข้าวปนพิษ' ตาย-ทำลายประสาท : ทีมข่าวรายงานพิเศษ)
================================
ทำกันได้ เมื่ออำนาจของพวกพร้อง
ไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นว่า มีผลต่อประเทศอย่างไร
เตือนภัย 'ข้าวปนพิษ'ตาย-ทำลายประสาท เตือนภัย'ข้าวปนพิษ' ตาย-ทำลายประสาท : ทีมข่าวรายงานพิเศษ
การเมือง : ข่าวทั่วไป
วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2556
หลังการเผยแพร่ข้อมูลโครงการรับจำนำข้าวว่าใช้สารเคมีจำนวนมหาศาล เพื่อรมควันข้าวที่เก็บไว้ในโกดัง จนสร้างความหวาดผวาให้แก่ผู้บริโภคนั้น กรมการค้าภายในได้สุ่มเก็บตัวอย่างข้าวสารจากโครงการรับจำนำข้าว ที่บรรจุถุงวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป รวมถึงห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ เพื่อส่งให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบทางเคมี จากนั้นได้แถลงข่าวว่าไม่มีสารฟอสฟินตกค้างจากการรมควันป้องกันแมลงและมอด!!
อย่างไรก็ตาม เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคดูเหมือนยังไม่มั่นใจในการพิสูจน์ข้างต้น เนื่องจากไม่ได้ตรวจละเอียดข้าวทุกถุง ยิ่งไปกว่านั้นแม้สารตกค้างจะไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด แต่หากกินต่อเนื่องสารเคมีพิษจะค่อยๆ สะสมอยู่ในร่างกายระยะยาว อาจทำให้เกิดมะเร็งตับ ระบบประสาทผิดปกติ ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ ฯลฯ
ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีเกษตรให้ข้อมูลว่า สารเคมีที่นิยมใช้รมข้าวเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชในไทย อยู่มี 3 ชนิด คือ "อลูมิเนียมฟอสไฟด์" (Aluminium Phosphide) "เมทิลโบรไมด์" (Methyl bromide) และ "คลอโรพิคริน" (Chloropicrin) โดย อลูมิเนียมฟอสไฟด์ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า "ฟอสฟิน" เป็นสารเคมีใช้ผสมกับอาหารเพื่อฆ่าหนู หรือนำมาใช้รมควันพืชผลทางการเกษตรฆ่าแมลง ฆ่าเชื้อรา และใช้อบรมควันในเรือพาณิชย์ที่ใช้ขนส่งอาหารต่างๆ เป็นหนึ่งในสารเคมีที่มีพิษสูงมาก ทำลายระบบหลอดเลือดและหัวใจและอวัยวะภายใน ทำให้หมดสติหรือเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เคยให้สัตว์ทดลองสูดดมแล้วตายทันทีถึงร้อยละ 50
วงการแพทย์ในประเทศอิหร่านเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้สารฟอสฟิน เพราะคนนิยมกินฆ่าตัวตาย มีสถิติบันทึกไว้ถึง 471 คน ส่วนคนอินเดียกินเพื่อฆ่าตัวตายมากถึงร้อยละ 68 แม้กระทั่งมหาเศรษฐีเจ้าของสายการเดินเรือพาณิชย์ของประเทศอังกฤษ "เซอร์ ดีเร็ค บิบบี้" ก็เสียชีวิตเพราะสารเคมีตัวนี้เช่นกันเมื่อปี 2545 แต่ข่าวที่สร้างความสลดใจคือ เด็กเล็กวัย 6 ขวบ กับ 10 ขาว ชาวเดนมาร์ค เสียชีวิตเพราะเพื่อนบ้านฉีดสารฟอสฟิน และครอบครัวหนึ่งในมลรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา ที่สูญเสียลูกสาววัย 15 เดือน กับวัย 4 ปี เพราะบริษัทกำจัดหนูที่จ้างมาใช้สารฟอสฟินฉีดพ่นรอบบ้าน
ส่วน "เมทิลโบรไมด์" มีอันตรายไม่น้อยกว่าตัวแรก พิษร้ายทำลายอวัยวะภายใน ปอด หากได้รับปริมาณมาก อาจทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว หรือส่งผลให้ระบบประสาทเสียหายแบบถาวร งานวิชาการชี้ชัดว่าสารเคมีตัวนี้มีฤทธิ์ทำลายสารพันธุกรรมมนุษย์และสัตว์ นักวิจัยสหรัฐอเมริกาทำวิจัยโดยติดตามเกษตรกรและคู่สมรส 7,814 คน ช่วงระหว่างปี 2536-2550 พบว่า ผู้ใช้เมทิลโบรไมด์มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าคนที่ไม่ได้สัมผัสสารตัวนี้สูงถึง 1.4-3 เท่า ยิ่งใช้มากยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น นอกจากนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังมีมติให้ยกเลิกใช้สารตัวนี้เพราะทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศส่งผลให้โลกร้อน
สำหรับ "คลอโรพิคริน" มีบันทึกว่าเป็นหนึ่งในสารพิษที่เคยใช้เป็นอาวุธเคมีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 บางครั้งใช้ผสมในแก๊สน้ำตาสำหรับปราบจลาจล ด้วยฤทธิ์ร้ายแรงทำให้สามารถฆ่าแมลงที่มาทำลายผลิตผลเกษตร เมืองไทยนิยมใช้ร่วมกับเมทิลโบรไมด์ สารเคมีตัวนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางการหายใจ กิน และดูดซึมเข้าทางผิวหนัง หากใครสัมผัสใกล้ชิดจะปวดแสบดวงตาอย่างมาก บางกรณีกระจกตาลอก ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วง ฯลฯ หากสูดดมเข้าไปแค่เพียง 119 ส่วนในล้านส่วนในเวลา 30 นาที อาจทำให้เสียชีวิตได้จากภาวะปอดบวมน้ำ ถ้าไม่เสียชีวิตจะมีอาการทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อนานต่อเนื่องหลายสิบวัน
นพ.ปัตพงษ์ ยอมรับว่าที่ผ่านมา สารรมควันพิษไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนัก จนกระทั่งมีการรับจำนำข้าวทำให้ต้องใช้สารเคมีเหล่านี้จำนวนมาก เพื่อช่วยเก็บรักษาข้าวในโกดังจำนวนมหาศาลรอดพ้นจากมอดแมลงต่างๆ ยิ่งใช้ปริมาณมากแค่ไหน โอกาสทำร้ายผู้ใช้และผู้บริโภคก็มากขึ้นเท่านั้น วิธีการแก้ปัญหาระยะสั้นที่ดีสุดคือเร่งระบายข้าวออกสู่ท้องตลาด ส่วนระยะยาวควรหันมาใช้เกษตรอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีในการปลูกข้าวหรือปลูกพืชผลอื่นๆ ผลผลิตทางการเกษตรที่ไร้สารพิษจะแข็งแรงอายุยืนยาวกว่า ไม่ต้องใช้สารเคมีจำนวนมากในการเก็บรักษา
ขณะที่ นพ.พิบูล อิสระพันธ์ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข อธิบายเพิ่มเติมว่า สารรมควันเหล่านี้ แม้ว่าจะระเหยไปได้ในอากาศ แต่ถ้าใช้จำนวนมากและใช้ผิดวิธี จะมีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เคยมีตัวอย่างผู้เสียชีวิตในเรือขนส่งสินค้า เพราะใช้สารรมควันแล้วสูดดมเข้าไป
"ในไซโลหรือโกดังเก็บข้าว จะพ่นรมควันสารเหล่านี้แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ ผ่านไปไม่กี่วันก็เอาผ้าออก สารเหล่านี้จะระเหยขึ้นไปในอากาศแทน ใครที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ใกล้โกดังเก็บข้าวอาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากสารเคมีพิษทางเกษตรส่วนใหญ่จะค่อยๆ สะสมในร่างกายหลายปี กว่าจะทำให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานผิดปกติ เวลาที่ชาวบ้านเจ็บป่วยแล้วไปหาหมอ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองเจ็บป่วยจากสาเหตุอะไร โครงการรับจำนำข้าวทำให้ต้องเก็บข้าวไว้นานๆ ปกติเคยรมควันครั้งเดียวก็ส่งขาย แต่ตอนนี้หลายโกดังต้องรมควันซ้ำหลายครั้ง เพื่อเก็บข้าวไว้ให้นานที่สุด ผมเห็นแล้วเหมือนเขากำลังทำมัมมี่ข้าว ไม่มีใครรู้ว่าสารพิษเหล่านี้จะตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมหรือร่างกายคนที่สัมผัสใกล้ชิดนานแค่ไหน" นพ.พิบูลกล่าวเตือน
โกดังข้าว17.5 ล้านตัน
6 มิ.ย.2556 องค์การคลังสินค้าระบุสต็อกข้าวสารมีประมาณ 17.5 ล้านตัน
- โครงการรับจำนำปี 2554 - 2555 ประมาณ 2.3 ล้านตัน
- โครงการรับจำนำนาปี ปี 2555-2556 ประมาณ 8 ล้านตัน
- โครงการรับจำนำนาปรัง ปี 2555 ประมาณ 7.2 ล้านตัน
รายจ่าย"ค่าเก็บข้าว"
1. ค่าเบี้ยประกัน ซึ่งคิด 10% ของมูลค่าราคาข้าวที่จำนำ (ประมาณ 1,700-1,800 บาท/ตัน)
2. ค่าเก็บรักษาข้าวประมาณเดือนละ 100 บาทต่อตัน เช่น
- ค่าแบกหามกรรมกร 30 บาท/ตัน
- ค่าผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าว 16 บาท/ตัน
- ค่ารมยา-อบยา 6 บาท/ตัน (รมยาทุก 2 เดือน)
- ค่าเช่าโกดัง 20 บาท/ตัน
คาดการณ์ว่ารัฐบาลจ่ายค่าเก็บรักษาข้าวนาปรังและนาปี 2555 ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 1,800 ล้านบาท ขณะนี้ อคส.ยื่นเรื่องขอเงินเพิ่มอีก 2,000 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายเก็บข้าวต่อจนกว่าจะระบายหมด
.......................................
(หมายเหตุ : เตือนภัย'ข้าวปนพิษ' ตาย-ทำลายประสาท : ทีมข่าวรายงานพิเศษ)
================================
ทำกันได้ เมื่ออำนาจของพวกพร้อง
ไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นว่า มีผลต่อประเทศอย่างไร