ดิฉันคือจขกท. คนเดียวกับที่ตั้งกระทู้เรื่องข้อมูลรายการแฟนพันธุ์แท้ ตอน นางในวรรณคดีไทย เองนะคะ พอดีดิฉันได้อ่านความเห็นของเพื่อนสมาชิกท่านอื่นๆ ในกระทู้ และพบว่ามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่บางประเด็น ความจริงดิฉันได้ตอบกลับความเห็นของท่านเหล่านั้นในกระทู้ไปบ้างแล้ว แต่เห็นว่าควรตั้งอีกกระทู้หนึ่งเพื่อชี้แจงข้อมูลให้ท่านอื่นได้ทราบด้วยในประเด็นต่อไปนี้ค่ะ
๑) เพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งเห็นว่า เสถาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นผลงานของกวีหลายท่านแต่งต่อๆ กัน
ที่จริงแล้วความเข้าใจนี้คลาดเคลื่อนไปสักนิดหนึ่งนะคะ ต้องขอเล่าภูมิหลังของวรรณคดีเรื่องนี้ว่า เดิมเรื่องขุนช้างขุนแผนมีหลายสำนวน (แต่ไม่ได้แปลว่าทุกสำนวนมีเรื่องจบครบสมบูรณ์ทุกตอนนะคะ) แต่ "เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ" ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงคัดเลือกตอนที่ไพเราะเหมาะสมของกวีท่านต่างๆ มาเรียบเรียงไว้รวมกัน ทำนองเดียวกับว่าทรงเป็นบรีณาธิการนั่นแหละค่ะ
๒) ส่วนเพื่อนอีกท่านหนึ่งให้ข้อมูลว่า หนังสือเล่าเรื่องพระอภัยมณีของ "สำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง" เรียกนางเงือกมารดาของสุดสาครว่า "นางสุวรรณมัจฉา" ดิฉันขอชี้แจงนะคะว่า ข้อมูลนี้ "ผิด" เพราะในนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีไม่มีการเรียกชื่อนางเงือกด้วยชื่อนี้เลยค่ะ แม้แต่ตอนที่แต่งต่อจากของสุนทรภู่ก็ไม่มี
๓) ประเด็นเรื่องว่านางพิมพิลาไลย (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง) จะนับว่าได้เสียกับพลายแก้ว (ภายหลังมียศเป็นขุนแผน) หรือไม่นั้น ดิฉันว่าเป็นเรื่องแล้วแต่จะตีความค่ะ เพราะในสายตาคนนอก (หมายถึงตัวละครอื่นๆ ในเรื่อง) พลายแก้วยังมีสถานภาพเป็น "เณรแก้ว" อยู่ แต่พฤตินัยไม่ใช่ "เณร" แล้วค่ะ
๔) มีหลานท่านพูดถึง "ความเลวของขุนแผน" ดิฉันจึงอยากจะกล่าวเลยไปสักนิดหนึ่งว่า ความดีงามของวรรณคดีไทย "ไม่ใช่" อยู่ที่การสั่งสอนศีลธรรมอย่สงตรงไปตรงมา ในทำนองเดียวกับหนังสือธรรมะหรือนิทานอีสป แต่อยู่ที่ความงามสอดคล้องกันของเนื้อหากับลีลางทางวรรณศิลป์ และหน้าที่ในการ "จำลองชีวิตจิตใจคน" คล้ายกับเป็น "ประสบการณ์จำลอง" ให้ผู้เสพวรรณคดีได้พินิจพิจารณาทั้ง "แง่งาม" และ "แง่ลบ" ของโลกและมนุษย์ เพื่อขัดเกลาจิตใจของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นด้วยศิลปกรรมแขนงนี้ค่ะ
แตกประเด็นจากกระทู้ "แฟนพันธุ์แท้นางในวรรณคดี" เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องวรรณคดีค่ะ
๑) เพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งเห็นว่า เสถาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นผลงานของกวีหลายท่านแต่งต่อๆ กัน
ที่จริงแล้วความเข้าใจนี้คลาดเคลื่อนไปสักนิดหนึ่งนะคะ ต้องขอเล่าภูมิหลังของวรรณคดีเรื่องนี้ว่า เดิมเรื่องขุนช้างขุนแผนมีหลายสำนวน (แต่ไม่ได้แปลว่าทุกสำนวนมีเรื่องจบครบสมบูรณ์ทุกตอนนะคะ) แต่ "เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ" ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงคัดเลือกตอนที่ไพเราะเหมาะสมของกวีท่านต่างๆ มาเรียบเรียงไว้รวมกัน ทำนองเดียวกับว่าทรงเป็นบรีณาธิการนั่นแหละค่ะ
๒) ส่วนเพื่อนอีกท่านหนึ่งให้ข้อมูลว่า หนังสือเล่าเรื่องพระอภัยมณีของ "สำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง" เรียกนางเงือกมารดาของสุดสาครว่า "นางสุวรรณมัจฉา" ดิฉันขอชี้แจงนะคะว่า ข้อมูลนี้ "ผิด" เพราะในนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีไม่มีการเรียกชื่อนางเงือกด้วยชื่อนี้เลยค่ะ แม้แต่ตอนที่แต่งต่อจากของสุนทรภู่ก็ไม่มี
๓) ประเด็นเรื่องว่านางพิมพิลาไลย (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง) จะนับว่าได้เสียกับพลายแก้ว (ภายหลังมียศเป็นขุนแผน) หรือไม่นั้น ดิฉันว่าเป็นเรื่องแล้วแต่จะตีความค่ะ เพราะในสายตาคนนอก (หมายถึงตัวละครอื่นๆ ในเรื่อง) พลายแก้วยังมีสถานภาพเป็น "เณรแก้ว" อยู่ แต่พฤตินัยไม่ใช่ "เณร" แล้วค่ะ
๔) มีหลานท่านพูดถึง "ความเลวของขุนแผน" ดิฉันจึงอยากจะกล่าวเลยไปสักนิดหนึ่งว่า ความดีงามของวรรณคดีไทย "ไม่ใช่" อยู่ที่การสั่งสอนศีลธรรมอย่สงตรงไปตรงมา ในทำนองเดียวกับหนังสือธรรมะหรือนิทานอีสป แต่อยู่ที่ความงามสอดคล้องกันของเนื้อหากับลีลางทางวรรณศิลป์ และหน้าที่ในการ "จำลองชีวิตจิตใจคน" คล้ายกับเป็น "ประสบการณ์จำลอง" ให้ผู้เสพวรรณคดีได้พินิจพิจารณาทั้ง "แง่งาม" และ "แง่ลบ" ของโลกและมนุษย์ เพื่อขัดเกลาจิตใจของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นด้วยศิลปกรรมแขนงนี้ค่ะ