บอกได้เลยว่า การทำอีคอมเมิร์ซ หรือซื้อขายของออนไลน์ จะมาแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ใครที่มีธุรกิจและยังไม่ได้เริ่มต้นทำเว็บไซต์ เปิดช่องทางออนไลน์ ลงมือได้เลยครับ
ธุรกิจนี้ยิ่งใหญ่มาก และทำให้ลูกค้าจากทั่วโลกเข้าถึงร้านค้าเราได้
ดูได้จาก มีทุนจากต่างประเทศหลายราย เจรจาอยากจะเข้ามาซื้อกิจการเว็บอีคอมเมิร์ซของไทยอยู่นะครับ
อ่านจากที่นี่ครับ
+ + +
เว็บขายของไทยเนื้อหอม ยักษ์รองญี่ปุ่นแห่ซื้อ
เว็บไซต์ทางด้านอีคอมเมิร์ชของไทย เหลียวซ้ายแลขวาไปมาก็เห็นว่ารายที่ประสบความสำเร็จจริงๆ มีไม่มากนัก ยิ่งเป็นเว็บไซต์สัญชาติไทยโดยตรงยิ่งแล้วใหญ่ ขาใหญ่อย่างตลาดดอทคอมก็เรียบร้อยโรงเรียนเจแปน ขายเว็บให้กับเบอร์หนึ่งจากญี่ปุ่นได้เงินไปจำนวนมาก แต่ดูเหมือนตลาดเว็บขายของบ้านเราจะยังเป็นที่หอมหวานเสียเกิน
หลังจากที่ราคูเทน เบอร์หนึ่งของญี่ปุ่นมาลงทุนกันขนานใหญ่ แต่นั่นก็ถือว่าไม่ใช่เม็ดเงินมากมายอะไรเท่าไรนัก การลงทุนครั้งนี้กลายเป็นช่องทางให้คู่แข่งของราคูเทนไม่ว่าจะเป็นเบอร์สอง เบอร์สาม พาเหรดเดินเข้ามาในตลาดอีคอมเมิร์ชเมืองไทยอย่างคึกคัก
ล่าสุด บรรดามือสองมือสามจากญี่ปุ่นได้เข้ามาเจรจาต่อรองกับเว็บไซต์ของไทย และเริ่มทำ Deal Intelligence กันแล้ว มูลค่าที่อยากซื้อขายเว็บนั้นเกือบถึงหลักร้อยล้านกันเลยทีเดียว แต่ข่าววงในกระแซะกันมาแล้วว่า มีบางเว็บที่ดื้อแพ่งไม่ยอมขาย และคิดว่าหากทำเองมูลค่าตลาดจะมีโอกาสเติบโตได้มากกว่านี้
แน่นอนมีบางเว็บโดยเฉพาะเว็บน้องใหม่มาแรงบางแห่งก็ตัดสินใจใช้วิธีร่วมทุนกัน แต่การเจรจาใช้เวลาไปมากโข สุดท้ายไม่รู้จะหัวหรือก้อย แต่ที่รู้แน่ๆ คือ คนทำเว็บเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ชไทยนั้นเนื้อหอมสุดๆ ของก็ขายได้ นักลงทุนก็สนใจ
แต่ประเภทของเว็บที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ของเรากำลังเมินก็คือ เว็บหรือแอพพลิเคชั่นทางด้านคูปอง ซึ่งในตลาดมีรายใหญ่อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นเอ็นโซโก้ หรือว่าจะเป็นเจ้าของคอนเซปต์โดยตรงอย่าง Group-On เพราะเว็บประเภทนี้พอรายใหญ่ฝังรากลึกแล้ว โอกาสที่รายเล็กจะมาแย่งกินส่วนแบ่งการตลาดทำได้ยากมาก จึงทำให้รายเล็กตัดสินใจถอย และหายไปจากตลาดในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา
เป็นที่คาดการณ์กันต่ออีกว่า ความสนใจในแอพฯ ประเภทนี้น่าจะลดบทบาทลงไปด้วย อันเนื่องจากความอิ่มตัวของตลาดไทยต่อการซื้อคูปอง เนื่องจากไม่มีอะไรใหม่ และรูปแบบมีความยุ่งยาก อีกทั้งเจ้าของสินค้าที่มาร่วมลดราคา ก็เป็นแค่ช่วงแรกเพื่อเน้นการทำตลาด แต่การลดราคาไม่ใช่การทำตลาดระยะยาว ดังนั้นจึงเห็นจำนวนสินค้าลดน้อยลง ไม่มีความหลากหลาย ทำให้เสื่อมความนิยมไปในที่สุด
+ + +
ที่มานะครับ
http://www.itspacebar.com/2013/07/ecommerce-3/
มีอีกหลายบทความน่าสนใจครับ
รู้หรือไม่ว่า เว็บขายของออนไลน์ของไทยหลายแห่ง กำลังเนื้อหอมมีต่างชาติอยากซื้อกิจการด้วย
ใครที่มีธุรกิจและยังไม่ได้เริ่มต้นทำเว็บไซต์ เปิดช่องทางออนไลน์ ลงมือได้เลยครับ
ธุรกิจนี้ยิ่งใหญ่มาก และทำให้ลูกค้าจากทั่วโลกเข้าถึงร้านค้าเราได้
ดูได้จาก มีทุนจากต่างประเทศหลายราย เจรจาอยากจะเข้ามาซื้อกิจการเว็บอีคอมเมิร์ซของไทยอยู่นะครับ
อ่านจากที่นี่ครับ
+ + +
เว็บขายของไทยเนื้อหอม ยักษ์รองญี่ปุ่นแห่ซื้อ
เว็บไซต์ทางด้านอีคอมเมิร์ชของไทย เหลียวซ้ายแลขวาไปมาก็เห็นว่ารายที่ประสบความสำเร็จจริงๆ มีไม่มากนัก ยิ่งเป็นเว็บไซต์สัญชาติไทยโดยตรงยิ่งแล้วใหญ่ ขาใหญ่อย่างตลาดดอทคอมก็เรียบร้อยโรงเรียนเจแปน ขายเว็บให้กับเบอร์หนึ่งจากญี่ปุ่นได้เงินไปจำนวนมาก แต่ดูเหมือนตลาดเว็บขายของบ้านเราจะยังเป็นที่หอมหวานเสียเกิน
หลังจากที่ราคูเทน เบอร์หนึ่งของญี่ปุ่นมาลงทุนกันขนานใหญ่ แต่นั่นก็ถือว่าไม่ใช่เม็ดเงินมากมายอะไรเท่าไรนัก การลงทุนครั้งนี้กลายเป็นช่องทางให้คู่แข่งของราคูเทนไม่ว่าจะเป็นเบอร์สอง เบอร์สาม พาเหรดเดินเข้ามาในตลาดอีคอมเมิร์ชเมืองไทยอย่างคึกคัก
ล่าสุด บรรดามือสองมือสามจากญี่ปุ่นได้เข้ามาเจรจาต่อรองกับเว็บไซต์ของไทย และเริ่มทำ Deal Intelligence กันแล้ว มูลค่าที่อยากซื้อขายเว็บนั้นเกือบถึงหลักร้อยล้านกันเลยทีเดียว แต่ข่าววงในกระแซะกันมาแล้วว่า มีบางเว็บที่ดื้อแพ่งไม่ยอมขาย และคิดว่าหากทำเองมูลค่าตลาดจะมีโอกาสเติบโตได้มากกว่านี้
แน่นอนมีบางเว็บโดยเฉพาะเว็บน้องใหม่มาแรงบางแห่งก็ตัดสินใจใช้วิธีร่วมทุนกัน แต่การเจรจาใช้เวลาไปมากโข สุดท้ายไม่รู้จะหัวหรือก้อย แต่ที่รู้แน่ๆ คือ คนทำเว็บเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ชไทยนั้นเนื้อหอมสุดๆ ของก็ขายได้ นักลงทุนก็สนใจ
แต่ประเภทของเว็บที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ของเรากำลังเมินก็คือ เว็บหรือแอพพลิเคชั่นทางด้านคูปอง ซึ่งในตลาดมีรายใหญ่อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นเอ็นโซโก้ หรือว่าจะเป็นเจ้าของคอนเซปต์โดยตรงอย่าง Group-On เพราะเว็บประเภทนี้พอรายใหญ่ฝังรากลึกแล้ว โอกาสที่รายเล็กจะมาแย่งกินส่วนแบ่งการตลาดทำได้ยากมาก จึงทำให้รายเล็กตัดสินใจถอย และหายไปจากตลาดในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา
เป็นที่คาดการณ์กันต่ออีกว่า ความสนใจในแอพฯ ประเภทนี้น่าจะลดบทบาทลงไปด้วย อันเนื่องจากความอิ่มตัวของตลาดไทยต่อการซื้อคูปอง เนื่องจากไม่มีอะไรใหม่ และรูปแบบมีความยุ่งยาก อีกทั้งเจ้าของสินค้าที่มาร่วมลดราคา ก็เป็นแค่ช่วงแรกเพื่อเน้นการทำตลาด แต่การลดราคาไม่ใช่การทำตลาดระยะยาว ดังนั้นจึงเห็นจำนวนสินค้าลดน้อยลง ไม่มีความหลากหลาย ทำให้เสื่อมความนิยมไปในที่สุด
+ + +
ที่มานะครับ http://www.itspacebar.com/2013/07/ecommerce-3/
มีอีกหลายบทความน่าสนใจครับ