เนื่องจากมีประเด็นในพันทิพย์ ในเรื่องของการเลือกซื้อเครื่องสำอาง เราจะทราบได้อย่างไรว่า ที่ขายๆกันเกลื่อนไม่ว่าจะช่องทางจัดจำหน่ายใดก็ตาม เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า สินค้าที่ใช้ ปลอดภัย
ผมจึงขอทำความเข้าใจก่อนเริ่มอธิบาย
1.เนื้อหาทั้งหมดที่ได้พิมพ์ขึ้น ผมจะพยายามเน้นไปด้านประสบการณ์ องค์ความรู้ และอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดโดยหลีกเลี่ยงวิชาการ และ เป็นข้อเท็จจริงทุกประการ สิ่งใดไม่แน่ใจผมจะไม่พิมพ์
2.เนื้อหาทั้งหมดจะไม่พาดพิงยี่ห้อ หรือ แบรนด์ใดทั้งสิ้น และขอสงวนสิทธิ์ในการถามแต่ละยี่ห้อ
3.ผมจะหลีกเลี่ยงคำว่าส่วนมาก ส่วนน้อย เพราะ ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆกับเนื้อหา หากจำเป็นจะใช้คำว่า บางกลุ่ม
4.จุดประสงค์ของเนื้อหานี้ต้องการให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์เป็นสิ่งสำคัญ โดยจะไม่กล่าวหาใดๆแก่เจ้าของแบรนด์ และ ผู้ผลิตทั้งสิ้น
ขอเริ่มเข้าเนื้อหาเลย
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการซื้อเครื่องสำอาง โดยไม่แน่ใจในผลิตภัณฑ์ (ผมไม่ขอพูดถึงประสิทธิภาพเป็นหลัก ขอเน้นที่ความปลอดภัย) ผมให้น้ำหนักการเลือกซื้อดังนี้
1. ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์โดยการตรวจสอบ 30%
2. ความปลอดภัยของกระบวนการผลิต และ สถานที่ผลิตโดยการตรวจสอบ 40%
3. ปัจจัยส่วนบุคคล 30% หรือบางคนอาจเอาตรงนี้ 100%
1. ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
ตามกฎหมายเครื่องสำอาง (ประกาศ) ให้เครื่องสำอางทุกชนิดต้องมีเลขที่จดแจ้ง ไม่ว่าจะผลิตภายในประเทศ หรือ นำเข้า โดยเลขที่จดแจ้งจะเป็นเลข 10 หลัก แต่ละหลักจะมีความหมาย (ซึ่งคงไม่จำเป็นมากนักสำหรับผู้บริโภคในการรู้ความหมาย)
ดังนั้นใน1 ผลิตภัณฑ์ต้องมี 1 เลขที่จดแจ้งเท่านั้น
เพราะอะไร
กรณีที่ 1 หากคุณจ้างโรงงานผลิตที่มีใบประกอบการ (จะอธิบายเพิ่มเติมในข้อ 2.) หรือทำการผลิตทั้งผสม และ บรรจุเอง คุณต้องแจ้งอย. เพื่อขอเลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ อยู่แล้ว
กรณีที่ 2 หากคุณนำเข้า หรือ ซื้อ Bulk ( Bulk คือผลิตภัณฑ์ที่ผสมแล้วรอการบรรจุ เช่นครีมกิโลที่เข้าใจกัน) คุณต้องจดแจ้งเลขที่ผลิตภัณฑ์ใหม่เช่นกัน ซึ่งคุณก็ต้องมีใบประกอบการ (ซึ่งต้องใช้ตอนจดแจ้งผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว) แต่คุณสามารถเก็บเลขที่จดแจ้งของผู้ผสม Bulk ได้เพื่อใช้เป็น Reference กรณีสินค้าคุณมีปัญหา แต่ทางโรงงานผสม Bulk จะเป็นจำเลยต่อๆไป จำเลยแรกคือผู้แบ่งบรรจุ (เพราะหากคิดเล่นๆ ผู้แบ่งบรรจุอาจแอบไปเติมสารใดๆก็ได้) โดยคุณสามารถเคลมข้างฉลากได้เลยในเรื่องของเป็นผู้ผลิต
กรณีที่ 2 นี่แหละที่เป็นที่มาของครีมกิโล ในตลาดดอนเมือง ยังมีร้านที่ผลิตเครื่องสำอางที่ได้รับมาตราฐาน GMP และ มีเลขที่จดแจ้ง ที่นี่แหละ แม่ค้าต่างหากที่พยายามหลีกเลี่ยง ซึ่งคุณก็สามารถตรวจสอบได้ว่าเค้า สวมเลขที่จดแจ้งหรือไม่ หรือต่อให้ใช้เลขเดียวกัน ชื่อเดียวกันก็สามารถตรวจสอบในเวปด้านล่างได้ ร้านในตลาดดอนเมืองที่ดี เค้าก็พยายามรับจดแจ้งให้
ตรวจสอบอย่างไร
เข้าเวป
http://wwwapp1.fda.moph.go.th/logistics/cosmetic/CSerch.asp?id=cos&consumer=0
ท่านสามารถคีย์เลขที่จดแจ้ง และ ชื่อผู้ประกอบการ (ในข้อ2.) ชื่อเครื่องสำอาง ตลอดจนเครื่องหมายการค้า
โดยชื่อ เครื่องหมายการค้า ในผลิตภัณฑ์ต้องตรงกับเลขที่จดแจ้ง หากพบพิรุธ หรือไม่ตรงแม้นแต่ตัวอักษรเดียวให้หยุดคิดก่อน
(แต่ตัวอักษรเดียวก็อาจเกิดจากการพิมพ์ที่ผิดพลาดได้ ควรใช้ข้อ2.+3. เพิ่มเอง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรผิดอยู่ดี)
ถึงตรงนี้ หากข้อมูลตรงกันทั้งหมดเชื่อในระดับหนึ่งก่อนว่า เอาหละ สินค้าท่าน เค้าแจ้งไว้แล้วนะ มีตัวตน มีสถานประกอบการ (ต้องไปต่อข้อ2.) ไม่ทำตัวแอบๆ และที่สำคัญไม่มีส่วนประกอบที่อาจก่อ หรือเป็นอันตราย เพราะ อย. เค้าตรวจสอบให้แล้ว ไม่ใช่ส่งแล้วได้เลขจดแจ้งเลยนะครับ
ต่อมาคือรายละเอียดในฉลาก ต้องมีดังนี้
1.ต้องมีชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้าของเครื่องสำอาง ซึ่งต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น
2.ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง
3.ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง เรียงลำดับตามปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย
4.วิธีใช้เครื่องสำอาง
5.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ
ชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้า และชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางนำเข้า
6.ปริมาณสุทธิ
7.เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต
8.เดือน ปีที่ผลิต หรือ ปี เดือน ที่ผลิต
9.เดือน ปีที่หมดอายุ หรือ ปี เดือนที่หมดอายุ ในกรณีที่เป็นเครื่องสำอางที่มีอายุการใช้น้อยกว่า 30 เดือน หรือ อาจเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงหมดอายุหลังเปิดกี่เดือนเช่น ครีม ระบุ 2 ปี เป็นต้น (คงต้องดูวันเดือนปีที่ผลิตประกอบ)
10.คำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่ออนามัยของบุคคล (ถ้ามี)
11.เลขที่ใบรับแจ้ง หรือ เลขที่จดแจ้ง
2.ความปลอดภัยของกระบวนการผลิต และ สถานที่ผลิตโดยการตรวจสอบ
สถานที่ผลิตที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการเครื่องสำอางนั้น จะมีรายชื่ออยู่ใน อย. ซึ่งจะต้องมีสถานที่ผลิตที่ตั้งอยู่ชัดเจน และ อาจมีการถูกสุ่มตรวจได้ เสมอ
พอไหม?
ส่วนตัวไม่พอ หากสถานที่ผลิตที่ดี ควรมีการทำ GMP (แต่ก็ต้องลงทุนในระดับนึง) และ หากผลิตภัณฑ์ท่านทำในบริษัทที่มี GMP มีหรือจะไม่เคลม
GMP คืออะไร แล้วเกี่ยวอะไรกับความปลอดภัย
GMP คือกระบวนการผลิตที่ดี ที่ต้องผ่านมาตราฐานการตรวจสอบจากอย. เหมือนต้องผ่านกฎ ข้อบังคับ ที่ถูกกำหนดไว้ หลักการ GMP จะเป็นในเรื่องการป้องกันการปนเปื้อนเป็นหลัก พร้อมมีการบันทึกในแต่ละกระบวนการอย่างถูกต้อง เพื่อใช้ในการตรวจสอบกลับได้ (สุขอนามัย / สถานที่ / การแต่งกาย / การป้องกัน / การตรวจสอบ / การสอบกลับ เป็นต้น)
GMP พอไหม?
ก็คงไม่พออีก ความน่าเชื่อถือของบริษัท จรรยาบรรณ จำนวนลูกค้า และ อายุของบริษัท ท่านคงต้องให้น้ำหนักเอง แต่ในส่วนของผมที่รู้จักมา โรงงานที่ได้ GMP ทั้งหมด (ย้ำที่ผมรู้จัก และ ได้การประเมินที่ดี จึงมีการตรวจ 2 ปี/ครั้ง) จะไม่ทำการใดๆที่เสี่ยงต่อชื่อเสียง และ การยึดใบอนุญาตเป็นแน่ เพราะคงไม่เอาสินค้าเจ้า 2 เจ้า มาทำให้ตัวเองต้องปิดโรงงาน
เพราะหากมีการจดแจ้งที่ไม่ตรงกับการผลิตจริง GMP จะตรวจสอบกลับได้ครับ
เพิ่มอะไรอีกละ
ระบบมาตรฐานอื่นๆที่ควรมีได้แก่ ISO , HACCP เป็นต้น แต่ถ้าเน้นพวกนี้เป็นหลัก โรงงานระดับกลาง – ล่าง โอกาสรอดจะยาก เพราะการทำ ISO ผู้ประกอบการหลายท่านคงทราบ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
ปริมาณเลขที่จดแจ้ง
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ หากคุณหากข้อมูลจากเวป อย. แล้วพบว่ามีการจดแจ้งหลายรายการ ก็น่าจะเสริมความน่าเชื่อถือของโรงงานได้อีกในระดับหนึ่ง แต่ หากน้อย ใช่ว่าไม่น่าเชื่อ อาจเกิดจากเป็นโรงงานใหม่ หรือ มีปริมาณการผลิตน้อยก็เป็นได้
ถึงตรงนี้ ผลิตภัณฑ์ของท่านจะมีตัวตน ตรวจสอบกลับได้ มีที่มาที่ไปชัดเจน ท่านคงมั่นใจในระดับนึง (70% จากการประเมินส่วนตัว) แล้วว่า อย่างน้อยเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีตัวตน หากมีปัญหาเตรียมโดนตามจับ และ ฟ้องร้องได้ ตลอดจน โรงงานเตรียมหนาว (ต้นทุนการสร้างโรงงานไม่ได้ต่ำๆนะครับถ้าคิดว่าทำไม่ดีก็ระวัง)
3.ปัจจัยส่วนบุคคล
นี่แหละครับปัญหาใหญ่ หากท่านเน้นไปทาง Big Brand มีเคาน์เตอร์ มีหน้าร้าน มีบริษัท ผมคงไม่เถียงเผลอๆคงไม่ต้องดูข้อ 1 และ 2 เลย
ขอไม่พาดพิงการทำงานของเจ้าใหญ่ เพราะเค้ามีระบบอยู่แล้ว ชื่อเสียงเป็นประกัน แต่มันติดอยู่ในใจส่วนตัวผม คือต้นทุน และ แนวทางการทำการตลาดนั่นเอง (ซึ่งเนื้อหาคงไม่เกี่ยวกับการเลือกซื้อ ผมขอข้าม)
แต่ของดี ที่ไม่ใช่เจ้าใหญ่ที่เหมาะสมกับผิวแต่ละคนก็ไม่ใช่ไม่มี เพราะส่วนผสมเครื่องสำอาง ส่วนมากก็มาจากแหล่งเดียวกันทั้งนั้น มันอยู่กับการเลือกผสมผสานให้เหมาะ และ ทำการตลาดในรูปแบบของตัวเอง
ผมรู้จัก RD หลายท่านที่เก่ง แล้วไปทำแบรนด์ของตัวเอง แต่ ไม่รอด เพราะทำการตลาดไม่ได้ สูตรดีไหม ดี ถ้าท่านถามว่าทำไมไม่ขายบริษัทใหญ่ ท่านคิดว่าบริษัทใหญ่ขายได้เพราะสูตร หรือ ชื่อเสียงละครับ (ผมทิ้งไว้ให้คิด)
เครื่องสำอางใดๆไม่ครอบจักรวาล ไม่ได้เหมาะกับทุกสภาพผิวเสมอไป แต่ ทุกสูตรที่คิดค้นมักให้คนใช้ส่วนใหญ่เห็นผล
คงเริ่มเข้าใจยาก เอาเป็นว่าหลังจากผลิตภัณฑ์ผ่านข้อ 1 และ 2 แล้วในส่วน ข้อนี้
ท่านต้องใช้น้ำหนักความคิดตัวท่านเอง วิเคราะห์ ลอง(หากลองได้) และตัดสินใจในสิ่งที่ท่านคิดว่าเหมาะกับท่าน
ทิ้งท้ายเรื่องการลอง
1.หากท่านมีกระต่าย จับมาโกนขนขนาด 2นิ้ว * 2นิ้ว แล้วทาลงไปเช้าเย็น ดูอาการของผิว หากทำใจไม่ได้ข้ามไป (ขำๆนะครับ)
2.ทาท้องแขน เช้า-เย็น แต่ไม่พอ ให้ทำข้อ3. ด้วย
3.หากข้อ 2. ไม่พบอาการใดๆ หากท่านคิดว่าอยากใช้ละ ทาบางๆ ย้ำบางๆ และ บริเวณเล็ก ตรงโหนกแก้ม และ หน้าผาก หรือส่วนที่ท่านพร้อม ลงไปขนาดเหรียญบาท พอ หากไม่มั่นใจ เลิกใช้ครับ
สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าจะทำให้ผู้บริโภคทุกท่าน เลือกซื้อได้อย่างมั่นใจ และ ได้สินค้าปลอดภัย ส่วนประสิทธิภาพที่เห็นผลท่านคงต้องพิจารณาเอง
การเลือกซื้อเครื่องสำอางที่ถูกต้อง และ มั่นใจได้โดยไม่พาดพิงผู้ใด
ผมจึงขอทำความเข้าใจก่อนเริ่มอธิบาย
1.เนื้อหาทั้งหมดที่ได้พิมพ์ขึ้น ผมจะพยายามเน้นไปด้านประสบการณ์ องค์ความรู้ และอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดโดยหลีกเลี่ยงวิชาการ และ เป็นข้อเท็จจริงทุกประการ สิ่งใดไม่แน่ใจผมจะไม่พิมพ์
2.เนื้อหาทั้งหมดจะไม่พาดพิงยี่ห้อ หรือ แบรนด์ใดทั้งสิ้น และขอสงวนสิทธิ์ในการถามแต่ละยี่ห้อ
3.ผมจะหลีกเลี่ยงคำว่าส่วนมาก ส่วนน้อย เพราะ ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆกับเนื้อหา หากจำเป็นจะใช้คำว่า บางกลุ่ม
4.จุดประสงค์ของเนื้อหานี้ต้องการให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์เป็นสิ่งสำคัญ โดยจะไม่กล่าวหาใดๆแก่เจ้าของแบรนด์ และ ผู้ผลิตทั้งสิ้น
ขอเริ่มเข้าเนื้อหาเลย
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการซื้อเครื่องสำอาง โดยไม่แน่ใจในผลิตภัณฑ์ (ผมไม่ขอพูดถึงประสิทธิภาพเป็นหลัก ขอเน้นที่ความปลอดภัย) ผมให้น้ำหนักการเลือกซื้อดังนี้
1. ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์โดยการตรวจสอบ 30%
2. ความปลอดภัยของกระบวนการผลิต และ สถานที่ผลิตโดยการตรวจสอบ 40%
3. ปัจจัยส่วนบุคคล 30% หรือบางคนอาจเอาตรงนี้ 100%
1. ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
ตามกฎหมายเครื่องสำอาง (ประกาศ) ให้เครื่องสำอางทุกชนิดต้องมีเลขที่จดแจ้ง ไม่ว่าจะผลิตภายในประเทศ หรือ นำเข้า โดยเลขที่จดแจ้งจะเป็นเลข 10 หลัก แต่ละหลักจะมีความหมาย (ซึ่งคงไม่จำเป็นมากนักสำหรับผู้บริโภคในการรู้ความหมาย)
ดังนั้นใน1 ผลิตภัณฑ์ต้องมี 1 เลขที่จดแจ้งเท่านั้น
เพราะอะไร
กรณีที่ 1 หากคุณจ้างโรงงานผลิตที่มีใบประกอบการ (จะอธิบายเพิ่มเติมในข้อ 2.) หรือทำการผลิตทั้งผสม และ บรรจุเอง คุณต้องแจ้งอย. เพื่อขอเลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ อยู่แล้ว
กรณีที่ 2 หากคุณนำเข้า หรือ ซื้อ Bulk ( Bulk คือผลิตภัณฑ์ที่ผสมแล้วรอการบรรจุ เช่นครีมกิโลที่เข้าใจกัน) คุณต้องจดแจ้งเลขที่ผลิตภัณฑ์ใหม่เช่นกัน ซึ่งคุณก็ต้องมีใบประกอบการ (ซึ่งต้องใช้ตอนจดแจ้งผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว) แต่คุณสามารถเก็บเลขที่จดแจ้งของผู้ผสม Bulk ได้เพื่อใช้เป็น Reference กรณีสินค้าคุณมีปัญหา แต่ทางโรงงานผสม Bulk จะเป็นจำเลยต่อๆไป จำเลยแรกคือผู้แบ่งบรรจุ (เพราะหากคิดเล่นๆ ผู้แบ่งบรรจุอาจแอบไปเติมสารใดๆก็ได้) โดยคุณสามารถเคลมข้างฉลากได้เลยในเรื่องของเป็นผู้ผลิต
กรณีที่ 2 นี่แหละที่เป็นที่มาของครีมกิโล ในตลาดดอนเมือง ยังมีร้านที่ผลิตเครื่องสำอางที่ได้รับมาตราฐาน GMP และ มีเลขที่จดแจ้ง ที่นี่แหละ แม่ค้าต่างหากที่พยายามหลีกเลี่ยง ซึ่งคุณก็สามารถตรวจสอบได้ว่าเค้า สวมเลขที่จดแจ้งหรือไม่ หรือต่อให้ใช้เลขเดียวกัน ชื่อเดียวกันก็สามารถตรวจสอบในเวปด้านล่างได้ ร้านในตลาดดอนเมืองที่ดี เค้าก็พยายามรับจดแจ้งให้
ตรวจสอบอย่างไร
เข้าเวป
http://wwwapp1.fda.moph.go.th/logistics/cosmetic/CSerch.asp?id=cos&consumer=0
ท่านสามารถคีย์เลขที่จดแจ้ง และ ชื่อผู้ประกอบการ (ในข้อ2.) ชื่อเครื่องสำอาง ตลอดจนเครื่องหมายการค้า
โดยชื่อ เครื่องหมายการค้า ในผลิตภัณฑ์ต้องตรงกับเลขที่จดแจ้ง หากพบพิรุธ หรือไม่ตรงแม้นแต่ตัวอักษรเดียวให้หยุดคิดก่อน
(แต่ตัวอักษรเดียวก็อาจเกิดจากการพิมพ์ที่ผิดพลาดได้ ควรใช้ข้อ2.+3. เพิ่มเอง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรผิดอยู่ดี)
ถึงตรงนี้ หากข้อมูลตรงกันทั้งหมดเชื่อในระดับหนึ่งก่อนว่า เอาหละ สินค้าท่าน เค้าแจ้งไว้แล้วนะ มีตัวตน มีสถานประกอบการ (ต้องไปต่อข้อ2.) ไม่ทำตัวแอบๆ และที่สำคัญไม่มีส่วนประกอบที่อาจก่อ หรือเป็นอันตราย เพราะ อย. เค้าตรวจสอบให้แล้ว ไม่ใช่ส่งแล้วได้เลขจดแจ้งเลยนะครับ
ต่อมาคือรายละเอียดในฉลาก ต้องมีดังนี้
1.ต้องมีชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้าของเครื่องสำอาง ซึ่งต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น
2.ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง
3.ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง เรียงลำดับตามปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย
4.วิธีใช้เครื่องสำอาง
5.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ
ชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้า และชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางนำเข้า
6.ปริมาณสุทธิ
7.เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต
8.เดือน ปีที่ผลิต หรือ ปี เดือน ที่ผลิต
9.เดือน ปีที่หมดอายุ หรือ ปี เดือนที่หมดอายุ ในกรณีที่เป็นเครื่องสำอางที่มีอายุการใช้น้อยกว่า 30 เดือน หรือ อาจเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงหมดอายุหลังเปิดกี่เดือนเช่น ครีม ระบุ 2 ปี เป็นต้น (คงต้องดูวันเดือนปีที่ผลิตประกอบ)
10.คำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่ออนามัยของบุคคล (ถ้ามี)
11.เลขที่ใบรับแจ้ง หรือ เลขที่จดแจ้ง
2.ความปลอดภัยของกระบวนการผลิต และ สถานที่ผลิตโดยการตรวจสอบ
สถานที่ผลิตที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการเครื่องสำอางนั้น จะมีรายชื่ออยู่ใน อย. ซึ่งจะต้องมีสถานที่ผลิตที่ตั้งอยู่ชัดเจน และ อาจมีการถูกสุ่มตรวจได้ เสมอ
พอไหม?
ส่วนตัวไม่พอ หากสถานที่ผลิตที่ดี ควรมีการทำ GMP (แต่ก็ต้องลงทุนในระดับนึง) และ หากผลิตภัณฑ์ท่านทำในบริษัทที่มี GMP มีหรือจะไม่เคลม
GMP คืออะไร แล้วเกี่ยวอะไรกับความปลอดภัย
GMP คือกระบวนการผลิตที่ดี ที่ต้องผ่านมาตราฐานการตรวจสอบจากอย. เหมือนต้องผ่านกฎ ข้อบังคับ ที่ถูกกำหนดไว้ หลักการ GMP จะเป็นในเรื่องการป้องกันการปนเปื้อนเป็นหลัก พร้อมมีการบันทึกในแต่ละกระบวนการอย่างถูกต้อง เพื่อใช้ในการตรวจสอบกลับได้ (สุขอนามัย / สถานที่ / การแต่งกาย / การป้องกัน / การตรวจสอบ / การสอบกลับ เป็นต้น)
GMP พอไหม?
ก็คงไม่พออีก ความน่าเชื่อถือของบริษัท จรรยาบรรณ จำนวนลูกค้า และ อายุของบริษัท ท่านคงต้องให้น้ำหนักเอง แต่ในส่วนของผมที่รู้จักมา โรงงานที่ได้ GMP ทั้งหมด (ย้ำที่ผมรู้จัก และ ได้การประเมินที่ดี จึงมีการตรวจ 2 ปี/ครั้ง) จะไม่ทำการใดๆที่เสี่ยงต่อชื่อเสียง และ การยึดใบอนุญาตเป็นแน่ เพราะคงไม่เอาสินค้าเจ้า 2 เจ้า มาทำให้ตัวเองต้องปิดโรงงาน
เพราะหากมีการจดแจ้งที่ไม่ตรงกับการผลิตจริง GMP จะตรวจสอบกลับได้ครับ
เพิ่มอะไรอีกละ
ระบบมาตรฐานอื่นๆที่ควรมีได้แก่ ISO , HACCP เป็นต้น แต่ถ้าเน้นพวกนี้เป็นหลัก โรงงานระดับกลาง – ล่าง โอกาสรอดจะยาก เพราะการทำ ISO ผู้ประกอบการหลายท่านคงทราบ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
ปริมาณเลขที่จดแจ้ง
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ หากคุณหากข้อมูลจากเวป อย. แล้วพบว่ามีการจดแจ้งหลายรายการ ก็น่าจะเสริมความน่าเชื่อถือของโรงงานได้อีกในระดับหนึ่ง แต่ หากน้อย ใช่ว่าไม่น่าเชื่อ อาจเกิดจากเป็นโรงงานใหม่ หรือ มีปริมาณการผลิตน้อยก็เป็นได้
ถึงตรงนี้ ผลิตภัณฑ์ของท่านจะมีตัวตน ตรวจสอบกลับได้ มีที่มาที่ไปชัดเจน ท่านคงมั่นใจในระดับนึง (70% จากการประเมินส่วนตัว) แล้วว่า อย่างน้อยเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีตัวตน หากมีปัญหาเตรียมโดนตามจับ และ ฟ้องร้องได้ ตลอดจน โรงงานเตรียมหนาว (ต้นทุนการสร้างโรงงานไม่ได้ต่ำๆนะครับถ้าคิดว่าทำไม่ดีก็ระวัง)
3.ปัจจัยส่วนบุคคล
นี่แหละครับปัญหาใหญ่ หากท่านเน้นไปทาง Big Brand มีเคาน์เตอร์ มีหน้าร้าน มีบริษัท ผมคงไม่เถียงเผลอๆคงไม่ต้องดูข้อ 1 และ 2 เลย
ขอไม่พาดพิงการทำงานของเจ้าใหญ่ เพราะเค้ามีระบบอยู่แล้ว ชื่อเสียงเป็นประกัน แต่มันติดอยู่ในใจส่วนตัวผม คือต้นทุน และ แนวทางการทำการตลาดนั่นเอง (ซึ่งเนื้อหาคงไม่เกี่ยวกับการเลือกซื้อ ผมขอข้าม)
แต่ของดี ที่ไม่ใช่เจ้าใหญ่ที่เหมาะสมกับผิวแต่ละคนก็ไม่ใช่ไม่มี เพราะส่วนผสมเครื่องสำอาง ส่วนมากก็มาจากแหล่งเดียวกันทั้งนั้น มันอยู่กับการเลือกผสมผสานให้เหมาะ และ ทำการตลาดในรูปแบบของตัวเอง
ผมรู้จัก RD หลายท่านที่เก่ง แล้วไปทำแบรนด์ของตัวเอง แต่ ไม่รอด เพราะทำการตลาดไม่ได้ สูตรดีไหม ดี ถ้าท่านถามว่าทำไมไม่ขายบริษัทใหญ่ ท่านคิดว่าบริษัทใหญ่ขายได้เพราะสูตร หรือ ชื่อเสียงละครับ (ผมทิ้งไว้ให้คิด)
เครื่องสำอางใดๆไม่ครอบจักรวาล ไม่ได้เหมาะกับทุกสภาพผิวเสมอไป แต่ ทุกสูตรที่คิดค้นมักให้คนใช้ส่วนใหญ่เห็นผล
คงเริ่มเข้าใจยาก เอาเป็นว่าหลังจากผลิตภัณฑ์ผ่านข้อ 1 และ 2 แล้วในส่วน ข้อนี้
ท่านต้องใช้น้ำหนักความคิดตัวท่านเอง วิเคราะห์ ลอง(หากลองได้) และตัดสินใจในสิ่งที่ท่านคิดว่าเหมาะกับท่าน
ทิ้งท้ายเรื่องการลอง
1.หากท่านมีกระต่าย จับมาโกนขนขนาด 2นิ้ว * 2นิ้ว แล้วทาลงไปเช้าเย็น ดูอาการของผิว หากทำใจไม่ได้ข้ามไป (ขำๆนะครับ)
2.ทาท้องแขน เช้า-เย็น แต่ไม่พอ ให้ทำข้อ3. ด้วย
3.หากข้อ 2. ไม่พบอาการใดๆ หากท่านคิดว่าอยากใช้ละ ทาบางๆ ย้ำบางๆ และ บริเวณเล็ก ตรงโหนกแก้ม และ หน้าผาก หรือส่วนที่ท่านพร้อม ลงไปขนาดเหรียญบาท พอ หากไม่มั่นใจ เลิกใช้ครับ
สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าจะทำให้ผู้บริโภคทุกท่าน เลือกซื้อได้อย่างมั่นใจ และ ได้สินค้าปลอดภัย ส่วนประสิทธิภาพที่เห็นผลท่านคงต้องพิจารณาเอง