ที่ปรึกษาสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุขการ
ถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน เป็นการปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมที่หลายคนยังคงตั้งคำถามถึงเหตุผล ที่มาที่ไป และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติ ซึ่งบทความชิ้นนี้มีคำตอบในทางการแพทย์ อันสะท้อนให้เห็นว่าหลักศาสนานั้นไม่เคยสวนทางกับหลักของธรรมชาติ...
การถือศีลอด เป็นศาสนบัญญัติหนึ่งในหลักการอิสลาม (รุกุ่นอิสลาม) ทั้ง 5 ประการ ได้ถูกบัญญัติลงมาในวันที่ 2 เดือนชะอบาน ปีที่ 2 แห่งฮิจเราะห์ศักราช ดังคำตรัส ของอัลลอฮ์ ในบทที่ 2 (อัลบะกอเราะฮ์) โองการที่ 183 มีใจความว่า
“โอ้บรรดา ผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดได้บัญญัติแก่พวกเจ้า ดังเช่นได้ถูกบัญญัติแก่ ประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้าเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง”
การถือศีลอดในภาษามลายูจะเรียกว่า “ปูวาซา” แต่คนพื้นเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะกล่าวเพี้ยนว่า “ปอซอ” ส่วนในภาษาอาหรับจะเรียกว่า “อัศศาม” หรือ “ อัศศิยาม” ซึ่งมีความหมายว่า การละเว้น การระงับ หรือการอดกลั้น
ส่วนความหมายทางด้านบัญญัติศาสนา คือการระงับหรือการละเว้นจากการกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาและการพูดจาไร้สาระ ตลอดจนการกระทำที่ขัดต่อคุณธรรม ตั้งแต่รุ่งอรุณจนกระทั่งตะวันลับขอบฟ้า ด้วยเจตนาเพื่อพระองค์อัลลอฮ์ เคล็ดลับ (ฮิกมะฮ์) การถือศีลอด
เราได้อะไรจากการถือศีลอด เป็นคำถามที่ตอบยาก ขึ้นอยู่กับความศรัทธา ความรู้ความเข้าใจของแต่ละคนเกี่ยวกับการถือศีลอด โดยเฉพาะเข้าใจถึงหลักการปฏิบัติของท่านศาสดามุฮัมหมัดที่ได้กระทำเป็นแบบ อย่างให้เราได้ปฏิบัติตาม เป็นกระบวนการหนึ่งที่ประกอบทั้งศาสนกิจในภาคกลางวันและภาคกลางคืนเป็นเวลา 1 เดือน
ในแง่ของศาสนา หวังว่าผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม การทดสอบในเดือนรอมฎอนนี้ทุกคน จะเป็นผู้ที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ส่วนในแง่ทางการแพทย์หรือสุขภาพ ท่านศาสดามุฮัมหมัด ได้กล่าวสั้นๆว่า
“จงถือศีลอด เพื่อสูเจ้าจะได้มีสุขภาพที่ดี” รายงานโดย อิบนุ ซุนนี และอาบู นาอีม
การที่เราไม่กินไม่ดื่มเป็นเวลาประมาณ 13 ชั่วโมงเศษ เราจะมีสุขภาพที่ดีได้อย่างไร อาจเป็นหลักสูตรใหม่ที่ตรงกันข้ามกับหลักสูตรที่เน้นการบริโภค วันละ 3 มื้อ แต่หลักสูตรนี้จะสอดคล้องกับสำนักการแพทย์ธรรมชาติบำบัด ที่จะเน้นการบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการอดอาหารเป็นหลัก
การถือศีลอดในทัศนะการแพทย์
ถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน เป็นการปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมที่หลายคนยังคงตั้งคำถามถึงเหตุผล ที่มาที่ไป และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติ ซึ่งบทความชิ้นนี้มีคำตอบในทางการแพทย์ อันสะท้อนให้เห็นว่าหลักศาสนานั้นไม่เคยสวนทางกับหลักของธรรมชาติ...
การถือศีลอด เป็นศาสนบัญญัติหนึ่งในหลักการอิสลาม (รุกุ่นอิสลาม) ทั้ง 5 ประการ ได้ถูกบัญญัติลงมาในวันที่ 2 เดือนชะอบาน ปีที่ 2 แห่งฮิจเราะห์ศักราช ดังคำตรัส ของอัลลอฮ์ ในบทที่ 2 (อัลบะกอเราะฮ์) โองการที่ 183 มีใจความว่า
“โอ้บรรดา ผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดได้บัญญัติแก่พวกเจ้า ดังเช่นได้ถูกบัญญัติแก่ ประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้าเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง”
การถือศีลอดในภาษามลายูจะเรียกว่า “ปูวาซา” แต่คนพื้นเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะกล่าวเพี้ยนว่า “ปอซอ” ส่วนในภาษาอาหรับจะเรียกว่า “อัศศาม” หรือ “ อัศศิยาม” ซึ่งมีความหมายว่า การละเว้น การระงับ หรือการอดกลั้น
ส่วนความหมายทางด้านบัญญัติศาสนา คือการระงับหรือการละเว้นจากการกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาและการพูดจาไร้สาระ ตลอดจนการกระทำที่ขัดต่อคุณธรรม ตั้งแต่รุ่งอรุณจนกระทั่งตะวันลับขอบฟ้า ด้วยเจตนาเพื่อพระองค์อัลลอฮ์ เคล็ดลับ (ฮิกมะฮ์) การถือศีลอด
เราได้อะไรจากการถือศีลอด เป็นคำถามที่ตอบยาก ขึ้นอยู่กับความศรัทธา ความรู้ความเข้าใจของแต่ละคนเกี่ยวกับการถือศีลอด โดยเฉพาะเข้าใจถึงหลักการปฏิบัติของท่านศาสดามุฮัมหมัดที่ได้กระทำเป็นแบบ อย่างให้เราได้ปฏิบัติตาม เป็นกระบวนการหนึ่งที่ประกอบทั้งศาสนกิจในภาคกลางวันและภาคกลางคืนเป็นเวลา 1 เดือน
ในแง่ของศาสนา หวังว่าผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม การทดสอบในเดือนรอมฎอนนี้ทุกคน จะเป็นผู้ที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ส่วนในแง่ทางการแพทย์หรือสุขภาพ ท่านศาสดามุฮัมหมัด ได้กล่าวสั้นๆว่า
“จงถือศีลอด เพื่อสูเจ้าจะได้มีสุขภาพที่ดี” รายงานโดย อิบนุ ซุนนี และอาบู นาอีม
การที่เราไม่กินไม่ดื่มเป็นเวลาประมาณ 13 ชั่วโมงเศษ เราจะมีสุขภาพที่ดีได้อย่างไร อาจเป็นหลักสูตรใหม่ที่ตรงกันข้ามกับหลักสูตรที่เน้นการบริโภค วันละ 3 มื้อ แต่หลักสูตรนี้จะสอดคล้องกับสำนักการแพทย์ธรรมชาติบำบัด ที่จะเน้นการบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการอดอาหารเป็นหลัก