กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 3
ต่อจาก
กรรมทันตา อาชีพเชฟ..อาชีพทรหด 1
http://ppantip.com/topic/30683816
กรรมทันตา อาชีพเชฟ..อาชีพทรหด 2
http://ppantip.com/topic/30685306
พอขึ้นเรียน ปี 2
ในสมัยนั้นนะ ก่อนที่จะมีการพัฒนาหลักสูตรไปอย่างปัจจุบัน
ก็เริ่มมีการเข้าครัวปฏิบัติจริง และทั้งทฤษฎีอีกมากมายก่ายกอง
เรียนเรื่องการจัดการครัวมาตรฐาน ความรู้เกี่ยวกับผัก พืชหัว ธัญพืช
ความรู้เกี่ยวกับสต๊อก ซุป ซอส และการปรุง
ความรู้เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก สัตว์น้ำ
หลักการประกอบอาหารไทยและการปรุง
การแกะสลักผักและผลไม้เพื่อการตกแต่ง
เรียนรู้ระบบงานตั้งแต่ แผนผังห้องครัว ระบบท่อน้ำ สายไฟ แสงสว่าง
ถ่ายเทอากาศ ทางเดินแก๊ส การควบคุมความร้อน
การใช้งานอุปกรณ์จริง ๆ สารพัดสารพันของครัวสมัยใหม่
รวมถึงเครื่องมือแปลก ๆ ที่ไม่เคยรู้เคยเห็น
การจัดซื้อ การคำนวนละเอียดยิบ
แล้วในปีนี้ยังจะต้องเลือกเอก ว่าจะเน้นไปทางไหน
มีให้เลือก คือ อาหารเอเซีย , อาหารยุโรป และเบเกอรี่
ส่วนบาร์แอนด์เบเวอร์เรจ เป็นของที่ต้องรู้ไว้ทุกคน
แต่ถึงแม้จะเลือกเน้นหนักไปทางเอกไหน ก็ยังต้องเรียนพื้นฐานของทั้งหมดอยู่ดี
แล้วก็ค่อยลงลึกซึ้งในเอกที่ตัวเลือก
ลูกสาวของผม เค้าชอบพวกเส้นสปาเก็ตตี้ นมเนย ชีส
ใจชอบไปทางอาหารยุโรป เลยเลือก...อาหารยุโรป
แต่บางวันผมถามว่าเรียนอะไร ก็ได้คำตอบแปลก ๆ เช่น
วันนี้เรียน ดำรงชีวิต
ผมก็นึก...เอ๊ มันจะพวกดำรงชีวิตในป่า เหมือนพวกทหารพรานหรือเปล่า วะ
วันนี้เรียนน้ำพริก เรียนแกง ผัดทอด ยำลาบพล่า ว่างหวานไทย หวานจีน
อันนี้ฟังแล้วพอเข้าใจ
บางวันตอบสั้น ๆ ...จีน
บางวันก็ ...ญี่ปุ่น
บางวันตอบ...เกาหลี อินโด เวียตนาม
แม่เค้าก็ งง...เฮ้ยย ทำไมต้องเรียนภาษา อินโดนีเซีย ด้วยเหรอ
แกบอก...ม่าย.ย ช่าย.ย..ย อาหารจีน อาหารเกาหลี อาหารอินโดนีเซีย ต่างหาก
ปั๊ดดด โธ่...ใครจะไปรู้ หลงนึกว่าลูกเราเก่ง เรียนภาษามันครบทั้งอาเซียน
บางวันก็เรียน วิชาบาร์...ต้องชิม เหล้า ไวน์ สูตรต่าง ๆ
มีอยู่ครั้งหนึ่งอาจารย์ต้องสอนเบิ้ลชดเชยวันที่หยุดไป
เลยต้องชิมกันหลายสูตรไปหน่อย เล่นเอามึน ตึ๊บบ.บ..บ เดินขาขวิด
ผมละออกจะสงสารลูกเหมือนกัน
แต่วิชาแกะสลักนี่ ไม่มีแววเอาซะเล๊ยยย
ปีนี้มีวิชาเรียนที่ต้องเริ่มเข้าครัวกันจริง ๆ ทำอาหารกันจริง ๆ
ต้องมีการใช้วัตถุดิบกันจริง ๆ
ของหลายอย่างทาง มหาลัยฯ ก็เตรียมให้
แต่อีกหลาย ๆ อย่างก็ต้องไปหาซื้อกันมาเอง
ลูกสาวผมและเพื่อน ๆ ต้องเฉลี่ยเงินไปซื้ออาทิตย์ละประมาณ 200 บาทต่อคน
ผลัดกันกับเพื่อนในกลุ่มไปหาซื้อที่ตลาด
ซึ่งมีทั้งตลาดสด เช่นตลาดเทเวศน์ ปากคลองตลาด หรือตลาดวงเวียนใหญ่
และตามห้างพวก แมคโคร ฟู๊ดแลนด์ วิลล่ามาร์เก็ต
ใครที่ขยันอาสาไปซื้อบ่อย ก็จะได้เรียนรู้จากการเลือกซื้อของจริง
สด หรือไม่สด ของเกรดดี หรือเกรดต่ำ
อย่างเช่นปลาชนิดเดียวกัน ไซด์เดียวกัน สดเหมือนกัน
แต่ราคาต่างกันเป็นเท่าตัว
มันถูกกว่าเพราะเป็นปลาเลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ตามบ่อดิน...มันจะมีกลิ่นสาปดินในเนื้อปลา
แต่ที่มันแพงกว่าเพราะเป็นปลาเลี้ยงในกระชัง สดสะอาดกว่ากันเยอะ
พืชผักก็เหมือนกัน ผักไทยใบเล็ก หัวเล็ก...แต่แพงกว่า
ผักจากเมืองจีน ใบใหญ่สวย หัวใหญ่ แต่ไม่อร่อย กลิ่นไม่หอม แต่ราคาก็ถูกกว่ามาก
ตลาดวงเวียนใหญ่ จะดีเรื่องเนื้อสัตว์ เนื้อปลา
โดยเฉพาะอาหารทะเล...สดใหม่มาก ราคาก็ถู๊ก..ถูก
ถ้าพวกพืชผัก ต้องปากคลองตลาด
ที่สำคัญมองข้ามไม่ได้ก็คือ...คน แม่ค้าทั้งหลายนี่แหละ
เด็กนักศึกษา เรียนเป็นเชฟ มาพูดจาอ่อนน้อม ถามโน่นถามนี่
มือไม้อ่อนยกมือไหว้เรียกน้า เรียกป้า...
แม่ค้าก็ใจอ่อนขายให้ราคาไม่แพง ขายบ้างแถมบ้าง ขอแบ่งซื้อก็ยอม
แถมช่วยสอน ช่วยอธิบายละเอียดละออ
บางทีมีบอกเคล็ดลับอีกต่างหาก
การสร้างคอนเนคชั่น ผูกสัมพันธ์กับพ่อค้า แม่ค้า นี่สำคัญนะครับ
เพราะเราต้องเติบโตไปในวันข้างหน้า....
ยังไงซะเราก็ยังต้องมาซื้อเนื้อ ซื้อผัก วัตถุดิบ กับพวกเค้าอีกเป็นสิบปี
แต่ถ้าเป็นพวกอาหารยุโรป วัตถุดิบหลายอย่างมันจะมีแต่ในห้าง หรือวิลล่ามาร์เก็ต
ราคาไม่ต้องพูดถึง...แพงแทบขาดใจ
ต้นกระเทียม ลีค...ต้นละหลายสิบ
ไชเท้าฝรั่ง ขีดละเป็นร้อย
อกเป็ด ก็มีทั้งเป็ดไทย เป็ดนอก เป็ดอ่อน เป็ดแก่ อกเล็ก อกใหญ่หลากหลายราคา
บอกได้เลยนะครับ....นักเรียนคนไหนที่ขี้เกียจไปซื้อ
หรือไม่สะดวกไม่พร้อมในการไปตลาดก็เสียเปรียบไปเยอะ
ผมเองก็ต้องช่วยลูกด้วยการขี่มอเตอร์ไซค์ซ้อนท้ายไปถึงไหนถึงกัน
บางครั้งต้องไปขอซื้อ...เหล้าไวน์ ที่แผนกเหล้าในวันหยุดทางศาสนา
เพราะมันต้องเอาไปใช้เรียนในวันนั้นพอดี... ดันลืมซื้อไว้ล่วงหน้า
ต้องไปยืนอธิบายกับผู้จัดการเค้าตั้งนาน กว่าจะยอมขายให้
พูดแล้วนึกได้ พวกนักศึกษาที่เป็นเด็กต่างจังหวัดก็น่าเห็นใจนะ
เกือบทั้งนั้นฐานะไม่ได้ร่ำรวย พ่อแม่ก็พยายามกัดฟันส่งเงินมาให้
ค่าเทอมค่าหน่วยกิต ก็เกือบสองหมื่น
ค่าชุดเชฟ ค่ามีด ค่าอุปกรณ์สารพัด
ยังจะค่ากินอยู่ ค่าหอพัก น้ำ ไฟ ค่าครองชีพในเมืองหลวง
แล้วยังมาเจอค่าวัตถุดิบ เหล้าไวน์ พืชผักบางอย่าง
ยิ่งพวกที่เลือกเรียน อาหารยุโรป วัตถุดิบก็ยิ่งแพง
บางคนที่มีไฟอยากจะเก่งอย่างคนอื่น...อยากลงแข่งขันกับเค้าบ้าง
แต่...มันก็ติดเรื่องเงินนี่แหละ สงสารพ่อ แม่ ไม่กล้าขอเงินเพิ่ม
บางคนอยากจะหัดไปซื้อวัตถุดิบที่ตลาดกับเค้าบ้าง...แต่กลัวหลงทาง
โธ่...กรุงเทพฯ มันช่างวกวน สับสนอลหม่าน
รถก็โคตะระติด นั่งไปนาน ๆ ก็เมารถเวียนหัวอีกต่างหาก...เฮ้ออ..อ
ลูกสาวผม สงสารเพื่อน ๆ ต้องอาสาซื้อมาให้แทน
ผมนี่แหละต้องขี่มอเตอร์ไซค์ไปกับลูกแต่เช้ามืด ตีห้า หกโมง
บางครั้งต้องขนกระดูกวัว ซี่โครงไก่ ปลา ทีละเป็นสิบ ๆ กิโลฯ
หอบกันพะรุงพะรัง
แล้วก็ แหม...ตลาดสดนี่มันช่างเลือะเทอะเฉอะแฉะ ซะเหลือเกิ้นน..น
คนที่ไม่เคยก็ทำใจลำบากเหมือนกัน
ด้วยใจที่อยากจะเป็น...เชฟมือหนึ่ง
นอกจากเป็นผู้ช่วยสอนใน ร.ร.การอาหารนานาชาติ ทุกวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์
ยังต้องผลักดันตัวเองลง...แข่งขันการทำอาหาร
จะมีการแข่งคัดเลือกตัวที่มหาลัยฯ ก่อน ถ้าชนะก็ได้เข้าคอร์สเก็บตัวฝึกซ้อม
โดยมีท่านอาจารย์ หรือเชฟดังๆ มาสอนมาติวให้อย่าง...เข้มงวด ดุดันน..น
ซึ่งการลงแข่งแต่ละครั้ง ต้องฝึกซ้อมกันอย่างหนักมาก ๆ
อาชีพนี้...ต้องยืนทำงานติดต่อกัน 5 – 6 ชั่วโมง หรือกว่านั้น เป็นประจำ
ต้องทนปวดหลัง ปวดขา น่องตึง .......
ใช้ทั้งเวลา ทั้งวัตถุดิบ แน่นอนใช้สตางค์มากด้วยแหละ
แข่งแต่ละครั้ง จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มประมาณ 3,000 – 5,000 บาท
ผมกับภรรยา กัดฟันควักกันกระเป๋าแฟบบบ
จำได้ว่าลูกสาว ลงแข่งครั้งแรกที่ พารากอน
เมนูเป็น พิซซ่า แม้จะฝึกซ้อมมาอย่างดี แต่ด้วยความตื่นเต้น
บวกกับไม่คุ้นเคยกับเตาของสนามแข่ง ทำให้ไหม้เกรียมไปหน่อย
กลายเป็นพิซซ่าหน้าดำ แก่ไฟไปนิด แต่ก็ยังได้เหรียญทองแดง
หลังจากนั้นก็ลงแข่งอีกหลายครั้งได้แค่ ใบประกาศนียบัตร ก็มี
บางครั้งก็ได้เหรียญเงิน
ครั้งล่าสุดทั้งอาจารย์ ทั้งเชฟมือโปร. ช่วยกันผลักดันเคี่ยวกรำ
จนได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่ง แบทเทิ้ล ออฟ เชฟ 2013 ที่ปีนัง
ได้มา... 2 เหรียญทอง กับอีก...1 เหรียญทองแดง
แหม...ที่เล่านี่ผมไม่ได้เห่ออ.อ..อ ลูกนะครับ
ไม่ ม่ายย...ม่าย...เห่อออ
นักศึกษาสายงานนี้ พอปี 2 นี่ต้องมีการออกไปฝึกงานนอก มหาลัยฯ
อาจจะเป็นตามโรงแรมใหญ่ หรือร้านอาหารหรูๆ ที่ต้องใช้พนักงานเยอะๆ
ฝึกเป็นลูกมือ หั่นผัก แล่เนื้อ ล้างปลา หรืออะไรก็แล้วแต่เค้าจะใช้งาน
ต้องยืนทำงานติดต่อกัน 5 – 6 ชั่วโมง
ซึ่งกว่าครัวจะปิดก็ประมาณ 4 ทุ่ม กว่าจะเก็บล้างเสร็จก็ 5 ทุ่มกว่า
กว่าจะกลับถึงบ้านก็โน่น 2 ยาม ตี 1
เหนื่อยสายตัวแทบขาด พอหัวถึงหมอนแทบสลบทุกวัน ทุกคืน
เป็นอย่างนี้...เป็นเดือน
พ่อ แม่ ก็ถ่างตารอด้วยความเป็นห่วงเหลือหลาย
แต่ก็ต้องเข้าใจ...อาชีพนี้ ก็เป็นอย่างนี้แหละ
...หนทางสบาย มันไปลำบาก
หนทางลำบาก มันไปสบาย...
สู้...สู้...นะลูก
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 4
http://ppantip.com/topic/30686911
อนณ 093-149-9564
tobeteam@yahoo.com
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 3
ต่อจาก
กรรมทันตา อาชีพเชฟ..อาชีพทรหด 1
http://ppantip.com/topic/30683816
กรรมทันตา อาชีพเชฟ..อาชีพทรหด 2
http://ppantip.com/topic/30685306
พอขึ้นเรียน ปี 2
ในสมัยนั้นนะ ก่อนที่จะมีการพัฒนาหลักสูตรไปอย่างปัจจุบัน
ก็เริ่มมีการเข้าครัวปฏิบัติจริง และทั้งทฤษฎีอีกมากมายก่ายกอง
เรียนเรื่องการจัดการครัวมาตรฐาน ความรู้เกี่ยวกับผัก พืชหัว ธัญพืช
ความรู้เกี่ยวกับสต๊อก ซุป ซอส และการปรุง
ความรู้เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก สัตว์น้ำ
หลักการประกอบอาหารไทยและการปรุง
การแกะสลักผักและผลไม้เพื่อการตกแต่ง
เรียนรู้ระบบงานตั้งแต่ แผนผังห้องครัว ระบบท่อน้ำ สายไฟ แสงสว่าง
ถ่ายเทอากาศ ทางเดินแก๊ส การควบคุมความร้อน
การใช้งานอุปกรณ์จริง ๆ สารพัดสารพันของครัวสมัยใหม่
รวมถึงเครื่องมือแปลก ๆ ที่ไม่เคยรู้เคยเห็น
การจัดซื้อ การคำนวนละเอียดยิบ
แล้วในปีนี้ยังจะต้องเลือกเอก ว่าจะเน้นไปทางไหน
มีให้เลือก คือ อาหารเอเซีย , อาหารยุโรป และเบเกอรี่
ส่วนบาร์แอนด์เบเวอร์เรจ เป็นของที่ต้องรู้ไว้ทุกคน
แต่ถึงแม้จะเลือกเน้นหนักไปทางเอกไหน ก็ยังต้องเรียนพื้นฐานของทั้งหมดอยู่ดี
แล้วก็ค่อยลงลึกซึ้งในเอกที่ตัวเลือก
ลูกสาวของผม เค้าชอบพวกเส้นสปาเก็ตตี้ นมเนย ชีส
ใจชอบไปทางอาหารยุโรป เลยเลือก...อาหารยุโรป
แต่บางวันผมถามว่าเรียนอะไร ก็ได้คำตอบแปลก ๆ เช่น
วันนี้เรียน ดำรงชีวิต
ผมก็นึก...เอ๊ มันจะพวกดำรงชีวิตในป่า เหมือนพวกทหารพรานหรือเปล่า วะ
วันนี้เรียนน้ำพริก เรียนแกง ผัดทอด ยำลาบพล่า ว่างหวานไทย หวานจีน
อันนี้ฟังแล้วพอเข้าใจ
บางวันตอบสั้น ๆ ...จีน
บางวันก็ ...ญี่ปุ่น
บางวันตอบ...เกาหลี อินโด เวียตนาม
แม่เค้าก็ งง...เฮ้ยย ทำไมต้องเรียนภาษา อินโดนีเซีย ด้วยเหรอ
แกบอก...ม่าย.ย ช่าย.ย..ย อาหารจีน อาหารเกาหลี อาหารอินโดนีเซีย ต่างหาก
ปั๊ดดด โธ่...ใครจะไปรู้ หลงนึกว่าลูกเราเก่ง เรียนภาษามันครบทั้งอาเซียน
บางวันก็เรียน วิชาบาร์...ต้องชิม เหล้า ไวน์ สูตรต่าง ๆ
มีอยู่ครั้งหนึ่งอาจารย์ต้องสอนเบิ้ลชดเชยวันที่หยุดไป
เลยต้องชิมกันหลายสูตรไปหน่อย เล่นเอามึน ตึ๊บบ.บ..บ เดินขาขวิด
ผมละออกจะสงสารลูกเหมือนกัน
แต่วิชาแกะสลักนี่ ไม่มีแววเอาซะเล๊ยยย
ปีนี้มีวิชาเรียนที่ต้องเริ่มเข้าครัวกันจริง ๆ ทำอาหารกันจริง ๆ
ต้องมีการใช้วัตถุดิบกันจริง ๆ
ของหลายอย่างทาง มหาลัยฯ ก็เตรียมให้
แต่อีกหลาย ๆ อย่างก็ต้องไปหาซื้อกันมาเอง
ลูกสาวผมและเพื่อน ๆ ต้องเฉลี่ยเงินไปซื้ออาทิตย์ละประมาณ 200 บาทต่อคน
ผลัดกันกับเพื่อนในกลุ่มไปหาซื้อที่ตลาด
ซึ่งมีทั้งตลาดสด เช่นตลาดเทเวศน์ ปากคลองตลาด หรือตลาดวงเวียนใหญ่
และตามห้างพวก แมคโคร ฟู๊ดแลนด์ วิลล่ามาร์เก็ต
ใครที่ขยันอาสาไปซื้อบ่อย ก็จะได้เรียนรู้จากการเลือกซื้อของจริง
สด หรือไม่สด ของเกรดดี หรือเกรดต่ำ
อย่างเช่นปลาชนิดเดียวกัน ไซด์เดียวกัน สดเหมือนกัน
แต่ราคาต่างกันเป็นเท่าตัว
มันถูกกว่าเพราะเป็นปลาเลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ตามบ่อดิน...มันจะมีกลิ่นสาปดินในเนื้อปลา
แต่ที่มันแพงกว่าเพราะเป็นปลาเลี้ยงในกระชัง สดสะอาดกว่ากันเยอะ
พืชผักก็เหมือนกัน ผักไทยใบเล็ก หัวเล็ก...แต่แพงกว่า
ผักจากเมืองจีน ใบใหญ่สวย หัวใหญ่ แต่ไม่อร่อย กลิ่นไม่หอม แต่ราคาก็ถูกกว่ามาก
ตลาดวงเวียนใหญ่ จะดีเรื่องเนื้อสัตว์ เนื้อปลา
โดยเฉพาะอาหารทะเล...สดใหม่มาก ราคาก็ถู๊ก..ถูก
ถ้าพวกพืชผัก ต้องปากคลองตลาด
ที่สำคัญมองข้ามไม่ได้ก็คือ...คน แม่ค้าทั้งหลายนี่แหละ
เด็กนักศึกษา เรียนเป็นเชฟ มาพูดจาอ่อนน้อม ถามโน่นถามนี่
มือไม้อ่อนยกมือไหว้เรียกน้า เรียกป้า...
แม่ค้าก็ใจอ่อนขายให้ราคาไม่แพง ขายบ้างแถมบ้าง ขอแบ่งซื้อก็ยอม
แถมช่วยสอน ช่วยอธิบายละเอียดละออ
บางทีมีบอกเคล็ดลับอีกต่างหาก
การสร้างคอนเนคชั่น ผูกสัมพันธ์กับพ่อค้า แม่ค้า นี่สำคัญนะครับ
เพราะเราต้องเติบโตไปในวันข้างหน้า....
ยังไงซะเราก็ยังต้องมาซื้อเนื้อ ซื้อผัก วัตถุดิบ กับพวกเค้าอีกเป็นสิบปี
แต่ถ้าเป็นพวกอาหารยุโรป วัตถุดิบหลายอย่างมันจะมีแต่ในห้าง หรือวิลล่ามาร์เก็ต
ราคาไม่ต้องพูดถึง...แพงแทบขาดใจ
ต้นกระเทียม ลีค...ต้นละหลายสิบ
ไชเท้าฝรั่ง ขีดละเป็นร้อย
อกเป็ด ก็มีทั้งเป็ดไทย เป็ดนอก เป็ดอ่อน เป็ดแก่ อกเล็ก อกใหญ่หลากหลายราคา
บอกได้เลยนะครับ....นักเรียนคนไหนที่ขี้เกียจไปซื้อ
หรือไม่สะดวกไม่พร้อมในการไปตลาดก็เสียเปรียบไปเยอะ
ผมเองก็ต้องช่วยลูกด้วยการขี่มอเตอร์ไซค์ซ้อนท้ายไปถึงไหนถึงกัน
บางครั้งต้องไปขอซื้อ...เหล้าไวน์ ที่แผนกเหล้าในวันหยุดทางศาสนา
เพราะมันต้องเอาไปใช้เรียนในวันนั้นพอดี... ดันลืมซื้อไว้ล่วงหน้า
ต้องไปยืนอธิบายกับผู้จัดการเค้าตั้งนาน กว่าจะยอมขายให้
พูดแล้วนึกได้ พวกนักศึกษาที่เป็นเด็กต่างจังหวัดก็น่าเห็นใจนะ
เกือบทั้งนั้นฐานะไม่ได้ร่ำรวย พ่อแม่ก็พยายามกัดฟันส่งเงินมาให้
ค่าเทอมค่าหน่วยกิต ก็เกือบสองหมื่น
ค่าชุดเชฟ ค่ามีด ค่าอุปกรณ์สารพัด
ยังจะค่ากินอยู่ ค่าหอพัก น้ำ ไฟ ค่าครองชีพในเมืองหลวง
แล้วยังมาเจอค่าวัตถุดิบ เหล้าไวน์ พืชผักบางอย่าง
ยิ่งพวกที่เลือกเรียน อาหารยุโรป วัตถุดิบก็ยิ่งแพง
บางคนที่มีไฟอยากจะเก่งอย่างคนอื่น...อยากลงแข่งขันกับเค้าบ้าง
แต่...มันก็ติดเรื่องเงินนี่แหละ สงสารพ่อ แม่ ไม่กล้าขอเงินเพิ่ม
บางคนอยากจะหัดไปซื้อวัตถุดิบที่ตลาดกับเค้าบ้าง...แต่กลัวหลงทาง
โธ่...กรุงเทพฯ มันช่างวกวน สับสนอลหม่าน
รถก็โคตะระติด นั่งไปนาน ๆ ก็เมารถเวียนหัวอีกต่างหาก...เฮ้ออ..อ
ลูกสาวผม สงสารเพื่อน ๆ ต้องอาสาซื้อมาให้แทน
ผมนี่แหละต้องขี่มอเตอร์ไซค์ไปกับลูกแต่เช้ามืด ตีห้า หกโมง
บางครั้งต้องขนกระดูกวัว ซี่โครงไก่ ปลา ทีละเป็นสิบ ๆ กิโลฯ
หอบกันพะรุงพะรัง
แล้วก็ แหม...ตลาดสดนี่มันช่างเลือะเทอะเฉอะแฉะ ซะเหลือเกิ้นน..น
คนที่ไม่เคยก็ทำใจลำบากเหมือนกัน
ด้วยใจที่อยากจะเป็น...เชฟมือหนึ่ง
นอกจากเป็นผู้ช่วยสอนใน ร.ร.การอาหารนานาชาติ ทุกวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์
ยังต้องผลักดันตัวเองลง...แข่งขันการทำอาหาร
จะมีการแข่งคัดเลือกตัวที่มหาลัยฯ ก่อน ถ้าชนะก็ได้เข้าคอร์สเก็บตัวฝึกซ้อม
โดยมีท่านอาจารย์ หรือเชฟดังๆ มาสอนมาติวให้อย่าง...เข้มงวด ดุดันน..น
ซึ่งการลงแข่งแต่ละครั้ง ต้องฝึกซ้อมกันอย่างหนักมาก ๆ
อาชีพนี้...ต้องยืนทำงานติดต่อกัน 5 – 6 ชั่วโมง หรือกว่านั้น เป็นประจำ
ต้องทนปวดหลัง ปวดขา น่องตึง .......
ใช้ทั้งเวลา ทั้งวัตถุดิบ แน่นอนใช้สตางค์มากด้วยแหละ
แข่งแต่ละครั้ง จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มประมาณ 3,000 – 5,000 บาท
ผมกับภรรยา กัดฟันควักกันกระเป๋าแฟบบบ
จำได้ว่าลูกสาว ลงแข่งครั้งแรกที่ พารากอน
เมนูเป็น พิซซ่า แม้จะฝึกซ้อมมาอย่างดี แต่ด้วยความตื่นเต้น
บวกกับไม่คุ้นเคยกับเตาของสนามแข่ง ทำให้ไหม้เกรียมไปหน่อย
กลายเป็นพิซซ่าหน้าดำ แก่ไฟไปนิด แต่ก็ยังได้เหรียญทองแดง
หลังจากนั้นก็ลงแข่งอีกหลายครั้งได้แค่ ใบประกาศนียบัตร ก็มี
บางครั้งก็ได้เหรียญเงิน
ครั้งล่าสุดทั้งอาจารย์ ทั้งเชฟมือโปร. ช่วยกันผลักดันเคี่ยวกรำ
จนได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่ง แบทเทิ้ล ออฟ เชฟ 2013 ที่ปีนัง
ได้มา... 2 เหรียญทอง กับอีก...1 เหรียญทองแดง
แหม...ที่เล่านี่ผมไม่ได้เห่ออ.อ..อ ลูกนะครับ
ไม่ ม่ายย...ม่าย...เห่อออ
นักศึกษาสายงานนี้ พอปี 2 นี่ต้องมีการออกไปฝึกงานนอก มหาลัยฯ
อาจจะเป็นตามโรงแรมใหญ่ หรือร้านอาหารหรูๆ ที่ต้องใช้พนักงานเยอะๆ
ฝึกเป็นลูกมือ หั่นผัก แล่เนื้อ ล้างปลา หรืออะไรก็แล้วแต่เค้าจะใช้งาน
ต้องยืนทำงานติดต่อกัน 5 – 6 ชั่วโมง
ซึ่งกว่าครัวจะปิดก็ประมาณ 4 ทุ่ม กว่าจะเก็บล้างเสร็จก็ 5 ทุ่มกว่า
กว่าจะกลับถึงบ้านก็โน่น 2 ยาม ตี 1
เหนื่อยสายตัวแทบขาด พอหัวถึงหมอนแทบสลบทุกวัน ทุกคืน
เป็นอย่างนี้...เป็นเดือน
พ่อ แม่ ก็ถ่างตารอด้วยความเป็นห่วงเหลือหลาย
แต่ก็ต้องเข้าใจ...อาชีพนี้ ก็เป็นอย่างนี้แหละ
...หนทางสบาย มันไปลำบาก
หนทางลำบาก มันไปสบาย...
สู้...สู้...นะลูก
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 4
http://ppantip.com/topic/30686911
อนณ 093-149-9564
tobeteam@yahoo.com