ครูญา หรือ ครูพิชญาภา นุ้ยสุวรรณ ครู คส. 1 ครูสอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 โรงเรียนเทศบาล 6 วัดเมืองยะลา สังกัดเทศบาลนครยะลา ได้รับคัดเลือกเป็นครูผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการสอนภาษาไทยประจำปี 2555 ได้รับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ. และโล่เกียรติคุณครูภาษาไทยดีเด่นจากคุรุสภา นอกจากนี้ครูญายังได้รับรางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ หนึ่งแสนครูดี ประจำปี 2555 และโล่เกียรติคุณรักษ์มรดกไทย เทิดไท้องค์วิศิษฏ์ศิลปิน ประจำปี 2556 อีกด้วย
ครูญา บอกว่า ภาษาไทยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจและตรงตาม จุดมุ่งหมายไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิด ความต้องการและความรู้สึก มีระดับของภาษา ซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะและบุคคล ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ตามสภาพวัฒนธรรมของกลุ่มคน ตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ การใช้ภาษาไทยจึงเป็นทักษะที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การพูด การฟัง และการดูสื่อต่าง ๆ เพื่อสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพและใช้อย่างคล่องแคล่วมีวิจารณญาณและมี คุณธรรม
สำหรับเทคนิคการสอนที่ทำให้ครูญาได้รับการยกย่องนั้น ครูญา บอกว่า เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คิดค้นขึ้นมาประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1. ปลุกใจให้เริงร่า เป็นขั้นตอนการเตรียมความพร้อมที่จะให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องใหม่ใน ชั่วโมงนั้น ๆ เช่น การนำเพลง เกม นิทาน มานำเข้าสู่บทเรียนจะทำให้นักเรียนเกิดความสนุก สนาน และพร้อมที่จะเรียน 2. ดึงเนื้อหามาสัมพันธ์ เป็นการนำเนื้อหาเดิมเชื่อมโยงมาสู่เนื้อหาใหม่ ที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ 3. บูรณาการหลากหลาย เป็นการจัดการเรียนรู้ที่นำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นแกนแล้วดึงกลุ่ม สาระอื่น ๆ เข้ามาเชื่อมโยงในเนื้อหาอื่น เช่น ศิลปะ คณิตศาสตร์ เป็นต้น 4. สรุปที่ได้มาเป็นเกมต่าง ๆ และ 5. สร้างชิ้นงานตามศักยภาพ เป็นการนำเสนอเนื้อหาที่นักเรียนเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้รู้ว่านักเรียนเข้าใจเนื้อหามากน้อยเพียงใด
ส่วนเทคนิคในการทำให้นักเรียนที่มีระดับความสามารถในการเรียนรู้ที่ต่างกัน สามารถเรียนรู้ไปด้วยกันได้นั้น ครูญา บอกว่า ต้องให้เด็กอ่อนนั่งคู่กับเด็กเก่ง และยังเสริมแน่นด้วยการให้เด็กเรียนรู้ถึงกระบวนการการสร้างความรัก ความสามัคคีและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้ภายในห้องเรียนไม่มีปัญหาที่เด็กบางคนเรียนตามเพื่อนไม่ทัน
ทั้งนี้ครูญายังย้ำอีกว่า การเป็นครูนอกจากจะสอนวิชาการแล้วควรจะต้องสอนวิชาชีวิตที่ถูกต้องตามทำนอง คลองธรรมให้แก่ลูกศิษย์ด้วย รวมทั้งประเพณีอันดีงามของชาติ เพื่อให้ลูกศิษย์เกิดความรัก หวงแหน อนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่สืบไป และยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการประกอบสัมมาอาชีพในอนาคต โดยไม่เป็นปัญหาสังคม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอีกด้วย ดังนั้นการเป็นครูจึงต้องเป็นด้วยจิตใจ จิตวิญญาณ มีความรักศรัทธาในอาชีพ รักและเมตตาต่อศิษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันครูก็ควรพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะการใช้สื่อเทคโนโลยีมาจัดการเรียนการสอนกลายเป็นสิ่งจำเป็นและมี ความสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายและกว้างขวาง
มากขึ้น.
อับดุลการิม รามันห์สิริวงศ์
http://www.dailynews.co.th/education/216409
ปลุกใจก่อนการเรียน - เปิดทำเนียบ ครูดีครูเด่น
ครูญา บอกว่า ภาษาไทยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจและตรงตาม จุดมุ่งหมายไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิด ความต้องการและความรู้สึก มีระดับของภาษา ซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะและบุคคล ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ตามสภาพวัฒนธรรมของกลุ่มคน ตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ การใช้ภาษาไทยจึงเป็นทักษะที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การพูด การฟัง และการดูสื่อต่าง ๆ เพื่อสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพและใช้อย่างคล่องแคล่วมีวิจารณญาณและมี คุณธรรม
สำหรับเทคนิคการสอนที่ทำให้ครูญาได้รับการยกย่องนั้น ครูญา บอกว่า เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คิดค้นขึ้นมาประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1. ปลุกใจให้เริงร่า เป็นขั้นตอนการเตรียมความพร้อมที่จะให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องใหม่ใน ชั่วโมงนั้น ๆ เช่น การนำเพลง เกม นิทาน มานำเข้าสู่บทเรียนจะทำให้นักเรียนเกิดความสนุก สนาน และพร้อมที่จะเรียน 2. ดึงเนื้อหามาสัมพันธ์ เป็นการนำเนื้อหาเดิมเชื่อมโยงมาสู่เนื้อหาใหม่ ที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ 3. บูรณาการหลากหลาย เป็นการจัดการเรียนรู้ที่นำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นแกนแล้วดึงกลุ่ม สาระอื่น ๆ เข้ามาเชื่อมโยงในเนื้อหาอื่น เช่น ศิลปะ คณิตศาสตร์ เป็นต้น 4. สรุปที่ได้มาเป็นเกมต่าง ๆ และ 5. สร้างชิ้นงานตามศักยภาพ เป็นการนำเสนอเนื้อหาที่นักเรียนเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้รู้ว่านักเรียนเข้าใจเนื้อหามากน้อยเพียงใด
ส่วนเทคนิคในการทำให้นักเรียนที่มีระดับความสามารถในการเรียนรู้ที่ต่างกัน สามารถเรียนรู้ไปด้วยกันได้นั้น ครูญา บอกว่า ต้องให้เด็กอ่อนนั่งคู่กับเด็กเก่ง และยังเสริมแน่นด้วยการให้เด็กเรียนรู้ถึงกระบวนการการสร้างความรัก ความสามัคคีและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้ภายในห้องเรียนไม่มีปัญหาที่เด็กบางคนเรียนตามเพื่อนไม่ทัน
ทั้งนี้ครูญายังย้ำอีกว่า การเป็นครูนอกจากจะสอนวิชาการแล้วควรจะต้องสอนวิชาชีวิตที่ถูกต้องตามทำนอง คลองธรรมให้แก่ลูกศิษย์ด้วย รวมทั้งประเพณีอันดีงามของชาติ เพื่อให้ลูกศิษย์เกิดความรัก หวงแหน อนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่สืบไป และยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการประกอบสัมมาอาชีพในอนาคต โดยไม่เป็นปัญหาสังคม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอีกด้วย ดังนั้นการเป็นครูจึงต้องเป็นด้วยจิตใจ จิตวิญญาณ มีความรักศรัทธาในอาชีพ รักและเมตตาต่อศิษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันครูก็ควรพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะการใช้สื่อเทคโนโลยีมาจัดการเรียนการสอนกลายเป็นสิ่งจำเป็นและมี ความสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายและกว้างขวาง
มากขึ้น.
อับดุลการิม รามันห์สิริวงศ์
http://www.dailynews.co.th/education/216409