ผมต้องขอชมนโยบายและการปฏิบัติเรื่อง ‘ข้าว’ ของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลนายกฯปูว่าถือป็นนโยบายและการกระทำที่ ‘ฉลาดน้อย’ และ 'ห่วยแตก' ที่สุดครั้งนึงในประวัติศาสตร์
1. เริ่มตั้งแต่การวางนโยบายหาเสียง ข้าว 5% 15,000 บาททุกเมล็ด – ไม่ได้คิดไว้เลยว่า ไม่เคยมีแนวทางในการบริหารจัดการ เพราะยังไม่เคยมีรัฐบาลในโลกที่ขายข้าวเอง, ไม่คิดว่า รัฐบาลไม่มีทางทำธุรกิจได้มีประสิทธิภาพเท่าเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ (ถ้าไม่ได้ผูกขาดในตลาดโลก), ไม่ได้เอาประสพการณ์ในการจัดตั้งสภาความร่วมมือยางพารา 3 ประเทศ ที่กำหนดราคาตลาดโลกไม่ได้ มาเป็นบทเรียนเลย
ดังนั้น ต้องบอกว่า คนคิดนโยบายนี้ ไม่ได้คิดถึง ‘วินัยทางการคลัง’, ‘ความเป็นธรรมต่อเกษตกรที่ผลิตสินค้าเกษตรประเภทอื่นๆ’, 'ความสามารถของรัฐในการขายข้าว' เลยแม้แต่น้อย
2. หลังจากเข้ามาเป็นรัฐบาล ทางผู้รับมาปฏิบัติก็ไม่เคยทำการศึกษาหรือเข้าใจอะไร เกี่ยวกับข้าวเลย ยกตัวอย่างเช่น
ผลการประชุมของคณะรมต.เศรษฐกิจเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน บอกว่าลดราคาข้าวลง 12,000 บาทต่อตันมีผล 1 กรกฏาคม – แสดงว่าไม่ทราบว่าตอนนี้อยู่ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ยังมีชาวนาอีกราวๆ ครึ่งนึงยังไม่ได้เก็บเกี่ยวข้าว หรือ
ผลการประชุมกขช.เมื่อวาน (1 กค) เพิ่งมากำหนดว่าการจำนำข้าวเปลือกนาปรังการผลิต 2555/56 สิ้นสุดวันที่ 15 กย. ยกเว้นภาคใต้ที่สิ้นสุดโครงการ 30 พ.ย. - แสดงว่า ก่อนหน้านี้ไม่ได้ทราบเลยว่าภาคใต้มีการเริ่มเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวช้ากว่าภาคอื่น หรือ
การที่ไม่ช่วยชาวนาลดต้นทุนโดยอุดหนุนราคาน้ำมันที่ชาวนาใช้เครื่องจักรในการผลิตแทบครบวงจร (จนตอนนี้ก็ยังไม่มีนโยบายนี้) เป็นต้น
3. ปิดบังข้อมูลการขายข้าว G2G จนถึงปัจจุบัน แทนที่จะใช้หลักการ ‘โปร่งใส’ เพื่อให้ประชาสังคมตรวจสอบได้ โดยอ้างว่า ถ้าให้ข้อมูลจะกระทบประเทศคู่ค้า และจะประกาศเมื่อการค้าขายสำเร็จนั้น ที่ยังไม่มีการประกาศจำนวนและประเทศที่ขายให้จนถึงตอนนี้ แสดงว่าการขายข้าว lot ที่ตกลงกันตั้งแต่ราว 2 ปีก่อน ยังขายได้ไม่หมด lot แม้สักประเทศกระมัง ?
แถมยังมีการเต้าข้อมูล โดยหลังจากประธานาธิบดีจีนให้เกียรติมาเยือนไทย ยังประกาศว่า มีการตกลงซื้อขายข้าวกัน จนเอกอัครราชฑูตจีนประจำประเทสไทยต้องออกมาปฏิเสธ ทั้งที่การฑูตระดับประเทศจีนจะไม่ทำอะไรให้กระทบความสัมพันธ์ ถ้าไม่เกินกว่าเหตุจริงๆ
4. นายกปูที่เป็นประธานกขช.โดยตำแหน่ง แทบไม่เคยเข้าประชุม โดยส่วนใหญ่ให้รมต.โต้งเป็นประธานในที่ประชุม แล้วเธอจะรู้ได้อย่างไรว่าใครทำงานเป็นอย่างไร กรรมการแต่ละคนเก่งแค่ไหน และแทนที่จะกลั่นกรองก่อน กลับมอบการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดให้กับรมต.โต้ง ทำให้เชื่อได้ว่า แม้แต่เอกสารการประชุมเธอก็เคยอ่านไม่กี่หน้า
5. เมื่อราว 3 สัปดาห์ก่อน หลังจากที่เวิร์ลดแบ็งค์ได้เตือนเรื่องการขาดดุลย์ของประเทสไทยมาหลายเดือน และมีข่าวว่า บริษัทจัดเรทติ้งอย่างมูดดี้จะลดอันดับเครดิตเรทติ้งประเทศไทย เพราะการขาดทุนจำนวนมากจากนโยบายข้าว รัฐบาลถึงเพิ่งมาหาตัวเลขว่า ขาดทุนจริงๆ เท่าไหร่ การกำหนดราคา mark to market ทุกไตรมาสให้ใช้ราคาปิดต่ำสุดของราคาตลาดฯ ตามคณะอนุกรรมการฯ ของก.คลัง ไม่ใช่ราคาซื้อแบบก.พาณิชย์ที่จะไม่ขาดทุนเลย นอกจากค่าโกดังข้าว, ดอกเบี้ย และค่าเสื่อมราคา
6. ใน 2 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลรู้หรือยังว่า การบอกว่าข้าวทุกเมล็ด หรือ ไม่เกิน 500,000 บาทต่อรายนั้น ทำให้ชาวนาสนใจปลูกแต่พันธ์ข้าวที่โตเร็วที่สุด โดยไม่ได้คิดถึงคุณภาพ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ข้าวไทยตกต่ำในสายตาขาวโลก จนเสียตำแหน่งแชมป์การส่งออกหลายทศวรรษให้เวียดนาม แถมด้วย อินเดีย (ข้าวนึ่ง) ในปัจจุบัน (ไม่ใช่เพราะราคาสูงเพียงอย่างเดียว) และถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้กำหนดพันธ์ข้าว (นอกจากข้าวปทุมธานีและที่เหลือเป็นข้าวเปลือกเจ้า&เหนียว (ใดๆ)) ที่จะเพิ่มคุณภาพของข้าวเลบ
7. ไม่รู้ว่า จนตอนนี้ทราบกันหรือไม่ว่า ข้าวหลังจากอยู่ในสต๊อคกว่า 2 ปี จะเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว จนต้องขายเป็นอาหารสัตว์หรือจำหน่ายทิ้ง เท่ากับขาดทุนเต็มๆ ยิ่งหักค่าโกดังและดอกเบี้ยอาจขาดทุนมากขึ้นไปใหญ่ ซึ่งนโยบายที่กำหนดเมื่อ 2 ปีก่อน ข้าวที่รับซื้อจากชาวนาขายได้หมดหรือรอขายขาดทุนให้กับเอกชน ?
8. หลังจากสรุปจำนวนเงินขาดทุนได้แล้ว นายกปูจัดประชุม คณะรมต.เศรษฐกิจ ด่วน เพื่อกำหนดราคาจำนำใหม่ของข้าวที่ 12,000 บาท ไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย โดยนายกปูแจ้งผ่านรายการ ‘นายกยิ่งลักษณ์พบประชาชน’ ว่าการกำหนดราคาข้าวนั้นจะคำนึงถึงความมั่นคงทางการคลัง, ราคาข้าวในตลาดโลกและกำไรของชาวนาตามสมควร
9. ตอนนั้น (แม้ผ่านมากว่า 2 ปีแล้ว) นอกจากกขช.และนายกปูยังไม่ทราบว่า ฤดูเก็บเกี่ยวเพิ่งผ่านไปได้ไม่ถึงครึ่ง - การประกาศลดราคาจำนำ ทำให้ราคาตลาดของข้าวไทยลดลงทันทีกว่า 10% ถ้า mark to market วันต่อวัน แบบที่นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ทำ ก็จะรู้ทันทีว่าขาดทุนเกินกรอบความมั่นคงทางการคลังแล้ว ถ้าเป็นการกู้มาลงทุน (แบบ credit balance) ก็คงโดนบังคับขายไปแล้ว (นี่รมต.โต้งเคยเป็นกรรมการผู้จัดการตลท.และอดีต 1 ใน CEO ของบริษัทหลักทรัพย์ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอดีตของประเทศไทยจริงๆ หรือ)
10. แค่หลังจากชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อนที่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวยังไม่เสร็จนัดประชุมใหญ่ ยื่นหนังสือให้รัฐบาลทบทวนราคาข้าว เช้าเมื่อวาน ทางอธิบดีกรมการค้าภายใน ก.พาณิชย์ในฐานะเลขานุการ กขช. บอกว่าการกำหนดราคาข้าวจะขึ้นกับ 4 ปัจจัย 1) สะท้อนวินัยทางการคลังของรัฐบาลที่กำหนดให้โครงการขาดทุนปีละไม่เกิน 70,000-80,000 ล้านบาท 2) สะท้อนราคาข้าวในตลาดโลก ซึ่งจะอ้างอิงตามราคาส่งออกข้าวไทยบวกกำไรเล็กน้อย (เล็กน้อยนี่เท่าไหร่ ขายได้กำไรจริงๆ หรือว่าขาดทุนกันแน่ แล้วถ้าราคาตลาดโลกตกลงอีกหล่ะ จะกล้าลดราคาจำนำข้าวอีกหรือ 3) สะท้อนต้นทุนการผลิตที่คำนวณโดยกระทรวงเกษตร (โดยก.เกษตรที่กำหนดราคา mark to market ผิด จะมั่นใจได้อย่างไรว่า รู้ต้นทุนการผลิตดีพอ เคยสอบถามชาวนาบ้างหรือมไม่ 4) ได้ดูส่วนต่างผลกำไรที่ชาวนาได้รับ เมื่อเทียบกับเกษตกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ แล้วหรือไม่ เพราะการที่ประกาศกลับราคามาที่ 15,000 บาท นี่แสดงว่าไม่ได้คิดถึงคิดถึงเกษตรกรปลูกสินค้าอื่นๆ เลย และต้องขาดทุนเพิ่มจากข้าวที่จะรับจำนำเพิ่มแน่ๆ ทำให้ปีนี้ จากเดิมขาดทุน 136,000 ล้านบาท อาจจะถึง 200,000 ล้านบาท - เสียวินัยทางการคลังไหม ?
11. และการที่รัฐบาลจะช่วยชาวนาให้ลดต้นทุนการผลิต รู้หรือไม่ว่า ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่มาจากค่าเช่านา (ที่เจ้าของขึ้นราคารอไว้แล้ว), ค่าปุ๋ย (พ่อค้าก็ขึ้นราคารอไว้เช่นกัน) และน้ำมันเพราะใช้เครื่องจักรกันครบวงจร (รัฐวิสาหกิจอย่างปตท. ที่กำไรปีละหลายหมื่นล้าน จะยอมหักกำไรที่เอาเข้ารัฐมาอุดหนุนชาวนา แบบเดียวกับที่ได้อุดหนุนชาวประมง หรือไม่)
12. การขายข้าวที่รัฐบาลเน้น G2G – ล่าสุดเพิ่งมาบอกว่าจะหาตลาดฯ ใหม่ๆ เช่น ประเทศในอาเซี่ยน – เขาซื้อข้าวจากเวียดนามไม่ดีกว่าหรือ ถูกกว่า พันธ์ข้าวก็ดีกว่า– และเน้นเป้าหมายที่จีนและประเทศในอาฟริกามากขึ้น - คิดว่าประเทศเหล่านี้เขาฉลาดน้อยกว่าประเทศไทยมากหรืออย่างไร
13. จากการประชุมเมื่อวาน (1 กค.) กชช.โดยรมต.โต้งเป็นประธานกลับมาบอกว่า ราคาที่จะกำหนดรับประกันข้าของปีหน้า จะมาพิจารณาอีกครั้ง - เปลี่ยนกลับไปกลับมาภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ไม่กลัวว่า รัฐบาลและคนที่อยู่ในวงการข้าวโลกเขาไม่ทราบหรือครับว่า นโยบายของประเทศไทยเปลี่ยนนโยบายกลับไปกลับมาในเวลแค่ 2 สัปดาห์ มากกว่าเหตุผลที่ยกมาเสียดิบดี– นายกปูคงจะออกมาพูดตามสคริปออกทีวีวันเสาร์เพื่อย้ำให้โลกทราบอีกกระมัง ส่วนหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษในไทย คงได้ลงข่าวนี้เป็นภาษาอังกฤษกันให้รับรู้กันทั่วโลก
14. ชาวนาก็ประกาศว่า จะมาขอบคุณรัฐบาล แล้วราคาข้าวปีหน้าหล่ะครับ ถ้ากำหนดไม่สมเหตุสมผล ไม่มีการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผลแบบครั้งนี้อีก (ก็ราคาในรอบการผลิตหน้า รมต.โต้งบอกว่า จะมีการคำนวณใหม่ แสดงว่ายังไม่ได้กำหนดวิธีคิดเลย โอกาสจะกำหนดราคาผิดๆ ก็มีเยอะทีเดียว) คิดหรือยังว่าจะทำอย่างไร ?
15. น่าสงสารรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่เมื่อสุดสัปดาห์ เช่น นายนิวัฒน์ธำรงรองนายกและรมต.พาณิชย์ และนายยรรยงช่วยพาณิชย์และนายยุคลรมต.เกษตร และไม่น่าเชื่อถือว่าจะแก้ปัญหาได้ โดยยังไม่ได้ศึกษาประสพการณ์อันเลวร้ายของการขายข้าวที่ผ่านมาเลย (นอกจากการเร่งตรวจโกดังทั่วประเทศ และพบทุจริตของเอกชนจำนวนมาก – แล้วช่องโหว่ที่ข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำมีการฉวยโอกาสทุจริตแน่ๆ) ก็คงต้องลงมติในฐานะคณะรมต.เศรษฐกิจรับรองผลการประชุมของกขช. ‘ล่าสุด’ โดยตอนที่ตอบรับตำแหน่งมารับภาระที่เข้าใจว่า หลักการของรัฐบาลคือ 3-4 ข้อที่นายกปูประกาศไว้ทางทีวีอยู่เลย
16. เป็นครั้งแรกที่นายกปูและรมต.โต้ง โดนยื่นถอดถอนที่ปปช.จาก 2-3 โครงการ ถึงตอนที่ปปช. ชี้มูลสักโครงการ รัฐบาลจะทำยังไง ประเทศชาติจะทำอย่างไร และประชาชนทั้งที่เลือกและไม่ได้เลือกพรรคเพื่อไทยมาจะต้องรับชะตากรรมกันทั้งหมด
ทั้งๆ ที่เป็น นโยบายประชานิยมสุดขั้วแบบนี้ จะให้เชื่อรมต.โต้งอีกหรือครับว่า เขาเอาอยู่ทุกวิกฤตอย่างที่ประกาศกร้าวในสภาฯ ว่ามีความรู้และประสบการณ์มากพอในการแถลงโตรงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 2 ล้านล้านบาท ให้สภาลงมติวาระแรก
แถม ตอน ดีเบตกับอดีตรมต.กรณ์ก็ไม่ห่วงหลักการ ’ล้าสมัย’ เรื่องวินัยการคลัง …. ชะตากรรมของประเทศอยู่ในมือกับนายกฯ และรมต.ของพรรคเพื่อไทยที่ฉลาดน้อยเอามากๆ ในนอนาคตอันยาวนานพอสมควร
ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจไทย จากนโยบายประชานิยมที่ไม่กำหนดวงเงินทั้งหลาย (นอกจากจำนำข้าวด้วย) คงเป็นที่จารึกชื่อลงในประวัติศาสตร์เหมือนรัฐบาลของคุณชวลิตไปชั่วลูกชั่วหลาน
นโยบายประชานิยมดูง่ายๆ ว่าไม่ได้วางรากฐานให้ประเทศเช่น การศึกษานี่เป็นรัฐสวัสดิการ หรือ เกี่ยวกับปัจจัย 4 เช่น บ้านหลังแรก, 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นรัฐสวัสดิการ ส่วนนโยบายจำนำข้าวด้วยราคาที่เวอร์เกินปัญญาของรมต.หรือนายกฯ จะบริหารได้ นี่เรียกว่า ประชานิยม
อีกอย่าง ผมไม่จำเป็นต้อง copy ใครมา post มีปัญญาเขียนเอง ไม่ได้ฉลาดน้อยพอจะไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับประเทศนี้ กับนายกฯ กับ รมต. เห่ยๆ หลายต่อหลายคนที่ยังต้องเอาไว้เป็นรมต.เพราะเพื่อไทยไม่มีปัญญาหาคนฉลาดกว่านี้มาใช้งานได้
โง่แต่ขยัน ทำร้ายประเทศชาติ มากกว่าฉลาดแต่ขี้เกียจหลายเท่านัก
ปัจฉิมลิขิต : ถ้าผมมาแก้ข้อความอะไรหลังจากนี้ คงไม่มีใครว่าอะไรนะครับ ก็นายกปูกับรองรมต.เศรษฐกิจยังเปลี่ยนคำพูดได้บ่อยๆ เลยนี่
ขอชมเชยนโยบายและการปฏิบัติเรื่องจำนำราคาข้าวของรัฐบาลเพื่อไทยว่าเป็นประชานิยมที่ห่วยที่สุดนโยบายหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย
1. เริ่มตั้งแต่การวางนโยบายหาเสียง ข้าว 5% 15,000 บาททุกเมล็ด – ไม่ได้คิดไว้เลยว่า ไม่เคยมีแนวทางในการบริหารจัดการ เพราะยังไม่เคยมีรัฐบาลในโลกที่ขายข้าวเอง, ไม่คิดว่า รัฐบาลไม่มีทางทำธุรกิจได้มีประสิทธิภาพเท่าเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ (ถ้าไม่ได้ผูกขาดในตลาดโลก), ไม่ได้เอาประสพการณ์ในการจัดตั้งสภาความร่วมมือยางพารา 3 ประเทศ ที่กำหนดราคาตลาดโลกไม่ได้ มาเป็นบทเรียนเลย
ดังนั้น ต้องบอกว่า คนคิดนโยบายนี้ ไม่ได้คิดถึง ‘วินัยทางการคลัง’, ‘ความเป็นธรรมต่อเกษตกรที่ผลิตสินค้าเกษตรประเภทอื่นๆ’, 'ความสามารถของรัฐในการขายข้าว' เลยแม้แต่น้อย
2. หลังจากเข้ามาเป็นรัฐบาล ทางผู้รับมาปฏิบัติก็ไม่เคยทำการศึกษาหรือเข้าใจอะไร เกี่ยวกับข้าวเลย ยกตัวอย่างเช่น
ผลการประชุมของคณะรมต.เศรษฐกิจเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน บอกว่าลดราคาข้าวลง 12,000 บาทต่อตันมีผล 1 กรกฏาคม – แสดงว่าไม่ทราบว่าตอนนี้อยู่ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ยังมีชาวนาอีกราวๆ ครึ่งนึงยังไม่ได้เก็บเกี่ยวข้าว หรือ
ผลการประชุมกขช.เมื่อวาน (1 กค) เพิ่งมากำหนดว่าการจำนำข้าวเปลือกนาปรังการผลิต 2555/56 สิ้นสุดวันที่ 15 กย. ยกเว้นภาคใต้ที่สิ้นสุดโครงการ 30 พ.ย. - แสดงว่า ก่อนหน้านี้ไม่ได้ทราบเลยว่าภาคใต้มีการเริ่มเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวช้ากว่าภาคอื่น หรือ
การที่ไม่ช่วยชาวนาลดต้นทุนโดยอุดหนุนราคาน้ำมันที่ชาวนาใช้เครื่องจักรในการผลิตแทบครบวงจร (จนตอนนี้ก็ยังไม่มีนโยบายนี้) เป็นต้น
3. ปิดบังข้อมูลการขายข้าว G2G จนถึงปัจจุบัน แทนที่จะใช้หลักการ ‘โปร่งใส’ เพื่อให้ประชาสังคมตรวจสอบได้ โดยอ้างว่า ถ้าให้ข้อมูลจะกระทบประเทศคู่ค้า และจะประกาศเมื่อการค้าขายสำเร็จนั้น ที่ยังไม่มีการประกาศจำนวนและประเทศที่ขายให้จนถึงตอนนี้ แสดงว่าการขายข้าว lot ที่ตกลงกันตั้งแต่ราว 2 ปีก่อน ยังขายได้ไม่หมด lot แม้สักประเทศกระมัง ?
แถมยังมีการเต้าข้อมูล โดยหลังจากประธานาธิบดีจีนให้เกียรติมาเยือนไทย ยังประกาศว่า มีการตกลงซื้อขายข้าวกัน จนเอกอัครราชฑูตจีนประจำประเทสไทยต้องออกมาปฏิเสธ ทั้งที่การฑูตระดับประเทศจีนจะไม่ทำอะไรให้กระทบความสัมพันธ์ ถ้าไม่เกินกว่าเหตุจริงๆ
4. นายกปูที่เป็นประธานกขช.โดยตำแหน่ง แทบไม่เคยเข้าประชุม โดยส่วนใหญ่ให้รมต.โต้งเป็นประธานในที่ประชุม แล้วเธอจะรู้ได้อย่างไรว่าใครทำงานเป็นอย่างไร กรรมการแต่ละคนเก่งแค่ไหน และแทนที่จะกลั่นกรองก่อน กลับมอบการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดให้กับรมต.โต้ง ทำให้เชื่อได้ว่า แม้แต่เอกสารการประชุมเธอก็เคยอ่านไม่กี่หน้า
5. เมื่อราว 3 สัปดาห์ก่อน หลังจากที่เวิร์ลดแบ็งค์ได้เตือนเรื่องการขาดดุลย์ของประเทสไทยมาหลายเดือน และมีข่าวว่า บริษัทจัดเรทติ้งอย่างมูดดี้จะลดอันดับเครดิตเรทติ้งประเทศไทย เพราะการขาดทุนจำนวนมากจากนโยบายข้าว รัฐบาลถึงเพิ่งมาหาตัวเลขว่า ขาดทุนจริงๆ เท่าไหร่ การกำหนดราคา mark to market ทุกไตรมาสให้ใช้ราคาปิดต่ำสุดของราคาตลาดฯ ตามคณะอนุกรรมการฯ ของก.คลัง ไม่ใช่ราคาซื้อแบบก.พาณิชย์ที่จะไม่ขาดทุนเลย นอกจากค่าโกดังข้าว, ดอกเบี้ย และค่าเสื่อมราคา
6. ใน 2 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลรู้หรือยังว่า การบอกว่าข้าวทุกเมล็ด หรือ ไม่เกิน 500,000 บาทต่อรายนั้น ทำให้ชาวนาสนใจปลูกแต่พันธ์ข้าวที่โตเร็วที่สุด โดยไม่ได้คิดถึงคุณภาพ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ข้าวไทยตกต่ำในสายตาขาวโลก จนเสียตำแหน่งแชมป์การส่งออกหลายทศวรรษให้เวียดนาม แถมด้วย อินเดีย (ข้าวนึ่ง) ในปัจจุบัน (ไม่ใช่เพราะราคาสูงเพียงอย่างเดียว) และถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้กำหนดพันธ์ข้าว (นอกจากข้าวปทุมธานีและที่เหลือเป็นข้าวเปลือกเจ้า&เหนียว (ใดๆ)) ที่จะเพิ่มคุณภาพของข้าวเลบ
7. ไม่รู้ว่า จนตอนนี้ทราบกันหรือไม่ว่า ข้าวหลังจากอยู่ในสต๊อคกว่า 2 ปี จะเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว จนต้องขายเป็นอาหารสัตว์หรือจำหน่ายทิ้ง เท่ากับขาดทุนเต็มๆ ยิ่งหักค่าโกดังและดอกเบี้ยอาจขาดทุนมากขึ้นไปใหญ่ ซึ่งนโยบายที่กำหนดเมื่อ 2 ปีก่อน ข้าวที่รับซื้อจากชาวนาขายได้หมดหรือรอขายขาดทุนให้กับเอกชน ?
8. หลังจากสรุปจำนวนเงินขาดทุนได้แล้ว นายกปูจัดประชุม คณะรมต.เศรษฐกิจ ด่วน เพื่อกำหนดราคาจำนำใหม่ของข้าวที่ 12,000 บาท ไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย โดยนายกปูแจ้งผ่านรายการ ‘นายกยิ่งลักษณ์พบประชาชน’ ว่าการกำหนดราคาข้าวนั้นจะคำนึงถึงความมั่นคงทางการคลัง, ราคาข้าวในตลาดโลกและกำไรของชาวนาตามสมควร
9. ตอนนั้น (แม้ผ่านมากว่า 2 ปีแล้ว) นอกจากกขช.และนายกปูยังไม่ทราบว่า ฤดูเก็บเกี่ยวเพิ่งผ่านไปได้ไม่ถึงครึ่ง - การประกาศลดราคาจำนำ ทำให้ราคาตลาดของข้าวไทยลดลงทันทีกว่า 10% ถ้า mark to market วันต่อวัน แบบที่นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ทำ ก็จะรู้ทันทีว่าขาดทุนเกินกรอบความมั่นคงทางการคลังแล้ว ถ้าเป็นการกู้มาลงทุน (แบบ credit balance) ก็คงโดนบังคับขายไปแล้ว (นี่รมต.โต้งเคยเป็นกรรมการผู้จัดการตลท.และอดีต 1 ใน CEO ของบริษัทหลักทรัพย์ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอดีตของประเทศไทยจริงๆ หรือ)
10. แค่หลังจากชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อนที่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวยังไม่เสร็จนัดประชุมใหญ่ ยื่นหนังสือให้รัฐบาลทบทวนราคาข้าว เช้าเมื่อวาน ทางอธิบดีกรมการค้าภายใน ก.พาณิชย์ในฐานะเลขานุการ กขช. บอกว่าการกำหนดราคาข้าวจะขึ้นกับ 4 ปัจจัย 1) สะท้อนวินัยทางการคลังของรัฐบาลที่กำหนดให้โครงการขาดทุนปีละไม่เกิน 70,000-80,000 ล้านบาท 2) สะท้อนราคาข้าวในตลาดโลก ซึ่งจะอ้างอิงตามราคาส่งออกข้าวไทยบวกกำไรเล็กน้อย (เล็กน้อยนี่เท่าไหร่ ขายได้กำไรจริงๆ หรือว่าขาดทุนกันแน่ แล้วถ้าราคาตลาดโลกตกลงอีกหล่ะ จะกล้าลดราคาจำนำข้าวอีกหรือ 3) สะท้อนต้นทุนการผลิตที่คำนวณโดยกระทรวงเกษตร (โดยก.เกษตรที่กำหนดราคา mark to market ผิด จะมั่นใจได้อย่างไรว่า รู้ต้นทุนการผลิตดีพอ เคยสอบถามชาวนาบ้างหรือมไม่ 4) ได้ดูส่วนต่างผลกำไรที่ชาวนาได้รับ เมื่อเทียบกับเกษตกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ แล้วหรือไม่ เพราะการที่ประกาศกลับราคามาที่ 15,000 บาท นี่แสดงว่าไม่ได้คิดถึงคิดถึงเกษตรกรปลูกสินค้าอื่นๆ เลย และต้องขาดทุนเพิ่มจากข้าวที่จะรับจำนำเพิ่มแน่ๆ ทำให้ปีนี้ จากเดิมขาดทุน 136,000 ล้านบาท อาจจะถึง 200,000 ล้านบาท - เสียวินัยทางการคลังไหม ?
11. และการที่รัฐบาลจะช่วยชาวนาให้ลดต้นทุนการผลิต รู้หรือไม่ว่า ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่มาจากค่าเช่านา (ที่เจ้าของขึ้นราคารอไว้แล้ว), ค่าปุ๋ย (พ่อค้าก็ขึ้นราคารอไว้เช่นกัน) และน้ำมันเพราะใช้เครื่องจักรกันครบวงจร (รัฐวิสาหกิจอย่างปตท. ที่กำไรปีละหลายหมื่นล้าน จะยอมหักกำไรที่เอาเข้ารัฐมาอุดหนุนชาวนา แบบเดียวกับที่ได้อุดหนุนชาวประมง หรือไม่)
12. การขายข้าวที่รัฐบาลเน้น G2G – ล่าสุดเพิ่งมาบอกว่าจะหาตลาดฯ ใหม่ๆ เช่น ประเทศในอาเซี่ยน – เขาซื้อข้าวจากเวียดนามไม่ดีกว่าหรือ ถูกกว่า พันธ์ข้าวก็ดีกว่า– และเน้นเป้าหมายที่จีนและประเทศในอาฟริกามากขึ้น - คิดว่าประเทศเหล่านี้เขาฉลาดน้อยกว่าประเทศไทยมากหรืออย่างไร
13. จากการประชุมเมื่อวาน (1 กค.) กชช.โดยรมต.โต้งเป็นประธานกลับมาบอกว่า ราคาที่จะกำหนดรับประกันข้าของปีหน้า จะมาพิจารณาอีกครั้ง - เปลี่ยนกลับไปกลับมาภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ไม่กลัวว่า รัฐบาลและคนที่อยู่ในวงการข้าวโลกเขาไม่ทราบหรือครับว่า นโยบายของประเทศไทยเปลี่ยนนโยบายกลับไปกลับมาในเวลแค่ 2 สัปดาห์ มากกว่าเหตุผลที่ยกมาเสียดิบดี– นายกปูคงจะออกมาพูดตามสคริปออกทีวีวันเสาร์เพื่อย้ำให้โลกทราบอีกกระมัง ส่วนหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษในไทย คงได้ลงข่าวนี้เป็นภาษาอังกฤษกันให้รับรู้กันทั่วโลก
14. ชาวนาก็ประกาศว่า จะมาขอบคุณรัฐบาล แล้วราคาข้าวปีหน้าหล่ะครับ ถ้ากำหนดไม่สมเหตุสมผล ไม่มีการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผลแบบครั้งนี้อีก (ก็ราคาในรอบการผลิตหน้า รมต.โต้งบอกว่า จะมีการคำนวณใหม่ แสดงว่ายังไม่ได้กำหนดวิธีคิดเลย โอกาสจะกำหนดราคาผิดๆ ก็มีเยอะทีเดียว) คิดหรือยังว่าจะทำอย่างไร ?
15. น่าสงสารรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่เมื่อสุดสัปดาห์ เช่น นายนิวัฒน์ธำรงรองนายกและรมต.พาณิชย์ และนายยรรยงช่วยพาณิชย์และนายยุคลรมต.เกษตร และไม่น่าเชื่อถือว่าจะแก้ปัญหาได้ โดยยังไม่ได้ศึกษาประสพการณ์อันเลวร้ายของการขายข้าวที่ผ่านมาเลย (นอกจากการเร่งตรวจโกดังทั่วประเทศ และพบทุจริตของเอกชนจำนวนมาก – แล้วช่องโหว่ที่ข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำมีการฉวยโอกาสทุจริตแน่ๆ) ก็คงต้องลงมติในฐานะคณะรมต.เศรษฐกิจรับรองผลการประชุมของกขช. ‘ล่าสุด’ โดยตอนที่ตอบรับตำแหน่งมารับภาระที่เข้าใจว่า หลักการของรัฐบาลคือ 3-4 ข้อที่นายกปูประกาศไว้ทางทีวีอยู่เลย
16. เป็นครั้งแรกที่นายกปูและรมต.โต้ง โดนยื่นถอดถอนที่ปปช.จาก 2-3 โครงการ ถึงตอนที่ปปช. ชี้มูลสักโครงการ รัฐบาลจะทำยังไง ประเทศชาติจะทำอย่างไร และประชาชนทั้งที่เลือกและไม่ได้เลือกพรรคเพื่อไทยมาจะต้องรับชะตากรรมกันทั้งหมด
ทั้งๆ ที่เป็น นโยบายประชานิยมสุดขั้วแบบนี้ จะให้เชื่อรมต.โต้งอีกหรือครับว่า เขาเอาอยู่ทุกวิกฤตอย่างที่ประกาศกร้าวในสภาฯ ว่ามีความรู้และประสบการณ์มากพอในการแถลงโตรงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 2 ล้านล้านบาท ให้สภาลงมติวาระแรก
แถม ตอน ดีเบตกับอดีตรมต.กรณ์ก็ไม่ห่วงหลักการ ’ล้าสมัย’ เรื่องวินัยการคลัง …. ชะตากรรมของประเทศอยู่ในมือกับนายกฯ และรมต.ของพรรคเพื่อไทยที่ฉลาดน้อยเอามากๆ ในนอนาคตอันยาวนานพอสมควร
ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจไทย จากนโยบายประชานิยมที่ไม่กำหนดวงเงินทั้งหลาย (นอกจากจำนำข้าวด้วย) คงเป็นที่จารึกชื่อลงในประวัติศาสตร์เหมือนรัฐบาลของคุณชวลิตไปชั่วลูกชั่วหลาน
นโยบายประชานิยมดูง่ายๆ ว่าไม่ได้วางรากฐานให้ประเทศเช่น การศึกษานี่เป็นรัฐสวัสดิการ หรือ เกี่ยวกับปัจจัย 4 เช่น บ้านหลังแรก, 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นรัฐสวัสดิการ ส่วนนโยบายจำนำข้าวด้วยราคาที่เวอร์เกินปัญญาของรมต.หรือนายกฯ จะบริหารได้ นี่เรียกว่า ประชานิยม
อีกอย่าง ผมไม่จำเป็นต้อง copy ใครมา post มีปัญญาเขียนเอง ไม่ได้ฉลาดน้อยพอจะไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับประเทศนี้ กับนายกฯ กับ รมต. เห่ยๆ หลายต่อหลายคนที่ยังต้องเอาไว้เป็นรมต.เพราะเพื่อไทยไม่มีปัญญาหาคนฉลาดกว่านี้มาใช้งานได้
โง่แต่ขยัน ทำร้ายประเทศชาติ มากกว่าฉลาดแต่ขี้เกียจหลายเท่านัก
ปัจฉิมลิขิต : ถ้าผมมาแก้ข้อความอะไรหลังจากนี้ คงไม่มีใครว่าอะไรนะครับ ก็นายกปูกับรองรมต.เศรษฐกิจยังเปลี่ยนคำพูดได้บ่อยๆ เลยนี่