สืบเนื่องมาจากตอนนี้หลายๆคนอาจรู้สึกอัดอั้นกับสถานการณ์กับ 3 จังหวัด ผมจึงลองคนคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจหาวัตถุระเบิด ซึ่งผมเน้นหาเกี่ยวกับระบบ GPR (GROUND PENETRATION RADAR ) จึงไปเจอกระทู้นี้เข้าโดยบังเอิญ จึงอยากเอามาแชร์ให้สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้อ่านอีกครั้งหนึงครับ ทั้งนี้ข้อมูลบางส่วนอาจเป็นข้อมูลเก่า จึงอยากให้หลายๆท่านที่มีความรู้เข้ามาแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ครับ
ลิ้งกระทู้เดิมของคุณ PastelSalad
http://topicstock.ppantip.com/wahkor/topicstock/2010/03/X8935399/X8935399.html
ทางเลือกในการตรวจหาวัตถุระเบิด
สวัสดีครับทุกท่าน
หลายวันที่ผ่านมา เราจะได้ยินคำถามที่ว่า "ถ้าไม่มี GT200 แล้วจะให้ใช้อะไร" กันบ่อยๆ
พอได้ยินอย่างนี้แล้วก็สงสัยเหมือนกัน ว่าคนที่ถามต้องการคำตอบจริงๆ หรือไม่ ทำไมมาถามคำถามนี้กับประชาชนกับสังคมที่ไม่มีความรู้เรื่องระเบิด (แต่มีความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานมากพอที่จะพิจารณาเครื่อง GT200 ได้) ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วกองทัพไทยของเรานั้น ก็มีหัวกะทิทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาคสนามที่มีความรู้และประสบการณ์มากมาย
โดยเฉพาะหลายหน่วยงาน เหมือนต้องการแค่ "เครื่องวิเศษ" หนึ่งเครื่องให้มาแทนจีที ซึ่งฟังแล้วก็เซ็ง เพราะว่าเทคโนโลยีปัจจุบันมันไม่มี "เครื่อง" อะไรที่จะมาแทนภาพลวงตาที่คนขาย GT200 ได้สร้างไว้ในใจของผู้ใช้งานที่เชื่อได้
เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานหลายท่านเอง ยังยืนยันว่า ทักษะและประสบการณ์ของ "คน" นั้นดีที่สุด ซึ่งจริงๆ แล้ว "คน" ของกองทัพไทยเรา ก็เก่งมิใช่น้อย แต่น่าเสียใจที่ผู้ใหญ่กลับเอาความดีความชอบที่ควรจะมอบแก่ความสามารถของทหารเรา เอาไปให้เครื่องดาวซิ่งแทน
ฝรั่งเขาบอกไว้ว่า:
"Technological countermeasures are only part of the solution in the effort to defeat IEDs; experience, training and awareness remain key factors in combating them. [...] Recognizing these telltale signs may be as valuable as having sophisticated detection equipment."
"เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าถือเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในยุทธวิธีต่อต้านระเบิดแสวงเครื่องเท่านั้น เพราะประสบการณ์ การฝึกฝน และความตื่นตัวยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการสู้รบกับภัยคุกคามประเภทนี้ [...] การสังเกตความผิดปกติ [ของสภาพแวดล้อม] นั้นมีค่าเทียบเท่ากับการใช้เครื่องมือค้นหาที่ไฮเทคซับซ้อน"
แต่ก็เราก็สามารถเข้าใจได้ว่าการมี "เครื่อง" มาบ้าง จะช่วยสร้างภาพลักษณ์และขวัญกำลังใจได้ อย่ากระนั้นเลยเรามาลองช่วยกันคิดช่วยกันหาข้อมูลตามประสาประชาชนดีกว่าว่า เราจะหาอะไรมาช่วย “เพิ่มความปลอดภัยจากการคุกคามของระเบิดแสวงเครื่อง” ได้บ้าง
การตรวจหากลิ่นไอสารระเบิดโดยการเก็บตัวอย่าง (Remote Explosive Scent Tracing- REST)
เป็นการแก้ปัญหาการนำสุนัขเข้าพื้นที่ไม่ได้ โดยการเก็บตัวอย่างไอระเหยในพื้นที่ออกมาให้สุนัขดมข้างนอกแทน
1. ใช้อุปกรณ์ปั้มดูดอากาศบรรจุหัวกรอง ดูดอากาศจากผิวดิน กอหญ้า เสื้อผ้า วัตถุต้องสงสัย หรือพื้นผิวใดๆ ในบริเวณที่ต้องการพิสูจน์ทราบ
2. หัวกรองที่ติดในปั๊ม จะทำหน้าที่จับไอระเหยของสารระเบิดที่ลอยมากับอากาศ
3. ส่งหัวกรองไปยังฐานตรวจที่อยู่นอกพื้นที่ (ที่มั่น รถบรรทุก รถตู้)
4. ใช้สุนัขหรือเครื่องมือตรวจพิสูจน์ที่ประจำอยู่ที่ฐานตรวจ ตรวจวิเคราะห์หัวกรองที่นำมาจากที่เกิดเหตุ
ข้อดี
1. เป็นการประยุกต์ใช้สุนัขในพื้นที่ที่ไม่สามารถนำสุนัขเข้าได้
2. สุนัขที่ประจำที่ฐานตรวจ จะอยู่ในสภาพที่พร้อมกว่าสุนัขที่ต้องเข้าพื้นที่
3. สามารถใช้เครื่องมือจมูกอิเล็กทรอนิกส์ตรวจแทนสุนัขได้ ในกรณีที่มีสุนัขไม่พร้อมหรือมีจำนวนไม่เพียงพอ
ข้อจำกัด
1. ต้องใช้เวลาและความระมัดระวังในการจัดการและขนส่งหัวกรอง
2. หัวกรองใช้แล้วต้องทิ้ง จึงมีค่าใช้จ่ายในการใช้งานต่อครั้ง
3. วิธีนี้เป็นแค่การลดพื้นที่ค้นหา หรือเป็นการชี้พื้นที่กว้างๆ เท่านั้น ไม่สามารถใช้ระบุตำแหน่งที่แน่ชัดของตัววัตถุระเบิดในสถานที่เกิดเหตุได้
4. สารระเบิดในที่เกิดเหตุต้องเป็นสารระเหยง่าย เช่น TNT, Ammonium Nitrate หรือสารระเบิดจำพวก C4, semtex ที่เติมกลิ่นแล้วเท่านั้น จึงจะค้นหาเจอได้
แนวทางการปรับปรุงพัฒนา
1. พัฒนาหุ่นยนต์ติดปั๊มดูดอากาศ เพื่อให้สามารถเก็บตัวอย่างจากพื้นที่เสี่ยงได้โดยไม่ต้องใช้คน
2. วิจัยวิธีการผลิตหัวกรองเองในไทย เพื่อลดต้นทุนการใช้งาน
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. งานปิดล้อมตรวจค้น เพื่อหาร่องรอยระเบิด
2. การตรวจวัตถุต้องสงสัย
3. การตรวจพื้นที่ต้องสงสัย
ติดต่อเพิ่มเติม องค์กร หน่วยงาน หรือบริษัทกู้ทุ่นระเบิดทั่วไป เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีการมาตรฐานหนึ่งของการตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงจากกับระเบิด ได้รับการรับรองโดยสำนักงานกำจัดทุ่นระเบิดสากลของสหประชาชาติ
Normandics, Inc. USA สำหรับระบบ REST ที่ใช้เครื่องตรวจ FIDO แทนสุนัข
การใช้สถานี X-Ray เคลื่อนที่
โดยการใช้ยานพาหนะที่ติดอุปกรณ์ X-Ray (ระบบ Z-backscatter) ซึ่งสามารถใช้จอดปฏิบัติงานตามด่านตรวจ หรือเข้าพื้นที่ในเมืองได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเตรียมสถานที่หรือติดตั้งอุปกรณ์ใดเพิ่มเติมเป็นพิเศษ
ข้อดี
1. ช่วยในการตรวจค้นหาชิ้นส่วนระเบิดในพาหนะโดยไม่ต้องรื้อค้นหรือแยกชิ้นส่วน
2. เป็นสถานีเคลื่อนที่ จึงง่ายต่อการติดตั้งและเคลื่อนย้าย
3. ใช้เวลารวดเร็วในการทำงาน จึงเหมาะกับการตั้งประจำด่านตรวจบนถนนใหญ่
ข้อจำกัด
1. ราคาแพงมาก ต้องอาศัยการบำรุงรักษาจากตัวแทนจำหน่าย
2. มีการรายงานผลเป็นภาพ จึงต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะและประสบการณ์ในการสังเกตผล
3. ลักษณะการใช้งานที่ต้องเอารถสถานีจอดเทียบด้านข้างของรถเป้าหมาย จึงอาจใช้ไม่ได้ในบางเงื่อนไข เช่น จยย. ที่จอดเคียงกันหลายคันโดยหันท้ายรถออกถนน
4. ตกเป็นเป้าโจมตีได้ง่าย โดยเฉพาะการที่ต้องจอดเทียบข้างกับเป้าหมายที่ต้องการตรวจ อาจทำให้ตัวสถานีได้รับเสียหายจากแรงระเบิดได้หากเกิดการระเบิด
5. สามารถแสกนทะลุเสื้อผ้าได้ จึงอาจเกิดการละเมิดทางสิทธิส่วนบุคคลหากไม่ใช้ความระมัดระวังในการใช้งาน
แนวทางการปรับปรุงพัฒนา
1. หาทางนำระบบ X-ray ไปติดตั้งบนยานเกราะ
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. การตรวจยานพาหนะตามด่านตรวจ หรือข้างทาง
2. การตรวจวัตถุต้องสงสัย
ติดต่อเพิ่มเติม American Science and Engineering, Inc. ผู้ผลิต สตช. เนื่องจากมีระบบนี้ใช้อยู่ในปัจจุบัน
การใช้หุ่นยนต์ติด FIDO สำหรับการตรวจหาสารระเบิดระยะไกล
เป็นการนำตัวเครื่องตรวจหาสารระเบิด FIDO มาติดตั้งบนหุ่นยนต์ เพื่อให้สามารถตรวจวัตถุต้องสงสัยโดยไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าไปในรัศมีสังหาร
ข้อดี
1. เจ้าหน้าที่มีความปลอดภัย
2. สามารถเพิ่มปืนน้ำ มือจับ หรืออื่นๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเก็บกู้ได้
3. หัวเซนเซอร์มีความไวสูง สามารถตรวจจับไอระเหยหรือร่องรอยคราบระเบิดได้
ข้อจำกัด
1. หากหุ่นหรือหัววัดถูกทำลายจากระเบิด อาจไม่สามารถซ่อมแซมได้
2. ตรวจวัดได้เฉพาะร่องรอยของสารประกอบ TNT ดังนั้นเป้าหมายต้องมีการใช้ TNT หรือมีการปนเปื้อน TNT จึงจะตรวจจับได้
3. ไม่สามารถใช้ได้ในพื้นที่ที่มีสารระเหยอื่นๆ รบกวน เช่น คราบน้ำมัน
4. ไม่สามารถใช้ได้ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนสารระเบิดเป็นวงกว้างแล้ว เช่น การหา second bomb
แนวทางการปรับปรุงพัฒนา
1. พัฒนาหุ่นยนต์ของไทยเอง พร้อมระบบควบคุมและอ่านค่าหัววัดจากระยะไกล เพื่อลดต้นทุนและค่าบำรุงรักษา
2. ใช้ระบบขับเคลื่อนของหุ่นยนต์กู้ภัย เพื่อความสามารถในการเข้าถึงในทุกสภาพพื้นผิว
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. การตรวจวัตถุต้องสงสัย
2. การตรวจพื้นที่ต้องสงสัย
ติดต่อเพิ่มเติม Normandics Inc. ผู้ผลิต สำหรับตัวระบบสำเร็จรูป (Fido + หุ่นยนต์ PackBot)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือ จุฬาฯ สำหรับการพัฒนาหุ่นใช้เอง
ยานเกราะสำหรับพิสูจน์ทราบระเบิดแสวงเครื่อง
ใช้สำหรับการตรวจค้นวัตถุระเบิดในพื้นที่ที่ยานพาหนะขนาดใหญ่สามารถเข้าถึงได้ หัววัดที่ปลายแขนกลประกอบไปด้วยเรดาร์ เครื่องตรวจโลหะ จมูกอิเล็กทรอนิกส์
ข้อดี
1. เคลื่อนที่เร็ว ใช้ตรวจหาได้ในบริเวณกว้าง
2. สามารถใช้นำขบวนยานพาหนะได้
ข้อจำกัด
1. ราคาแพง ตกเป็นเป้าโจมตีได้ง่าย
2. การบังคับและใช้ตรวจการณ์ ต้องใช้ทักษะและความรอบคอบ
3. การตรวจค้นต้องเข้าในรัศมีทำลายของระเบิด ทำให้มีโอกาสเสียหายง่าย แม้ตัวผู้บังคับจะปลอดภัยจากเกราะหุ้มก็ตาม
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. การตรวจวัตถุต้องสงสัย
2. การตรวจหาระเบิดใต้หรือข้างถนน
ติดต่อเพิ่มเติม Thales Australia - Land & Joint Systems Division ผู้ผลิตยานเกราะต่อต้านระเบิดแสวงเครื่อง รุ่น Bushmaster IED Varient
ระบบเรดาร์ทะลุทะลวงผิวดิน (Ground Penetrating Radar)
เป็นเรดาร์ที่สามารถใช้ตรวจจับวัตถุใต้ผิวดินได้ สามารถติดตั้งระบบขนาดใหญ่บนยานเกราะ หรือติดตั้งระบบขนาดเล็กบนหุ่นยนต์ก็ได้ ใช้สำหรับค้นหาวัตถุระเบิดที่ถูกฝังอยู่ใต้ผิวดิน
ข้อดี
1. ใช้ตรวจหาระเบิดที่ถูกฝังใต้ผิวดินหรือถนนได้
2. ใช้งานง่าย อ่านค่าง่าย
3. รุ่นติดตั้งบนยานพาหนะ สามารถใช้ตรวจพื้นที่เป็นบริเวณกว้างได้
4. รุ่นติดตั้งบนหุ่นยนต์ สามารถใช้เคลียร์พื้นที่ขนาดเล็ก หรือพื้นที่ที่ยานพาหนะเข้าไม่ถึงได้
5. ใช้ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนได้
ข้อจำกัด
1. ราคาแพง ต้องการการบำรุงรักษาจากผู้ผลิต
2. รุ่นยานพาหนะ สามารถตรวจได้ที่ความเร็ว 15 กม./ชม. เท่านั้น ทำให้ตกเป็นเป้าโจมตีได้ง่าย
3. ไม่สามารถใช้ได้ในบางภูมิประเทศ
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. การตรวจหาระเบิดใต้หรือข้างถนน
2. การตรวจพื้นที่ต้องสงสัย
3. พื้นที่บริเวณแคบ
4. พื้นที่บริเวณกว้าง (เช่น กำหนดเขตปลอดภัยสำหรับการอารักขา)
5. การตรวจหา second bomb ในพื้นที่ต้องสงสัย
ติดต่อเพิ่มเติม NIITEK Inc. ผู้ผลิต
การตรวจหาร่องรอยระเบิดบนบุคคล พาหนะ หรืออาคารสถานที่
เป็นการเก็บตัวอย่างจากบุคคล พาหนะ หรืออาคารสถานที่ แล้วใช้เครื่องวิเคราะห์แบบพกพาสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนสารระเบิด โดยเครื่อง XPAK
ข้อดี
1. ตรวจสารระเบิดได้ชัดเจนเกือบทุกชนิด
2. เหมาะกับงานนิติวิทยาศาสตร์มากกว่างานเชิงยุทธการ
ข้อจำกัด
1. การรายงานผลเป็นภาพ ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตีความ
2. ผู้ต้องสงสัยต้องมีการปนเปื้อนวัตถุระเบิดมาก่อน
แนวทางการปรับปรุงพัฒนา
1. วิจัยและพัฒนากระดาษเก็บตัวอย่างเอง เพื่อลดต้นทุนในการใช้งาน
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. งานปิดล้อมตรวจค้น เพื่อหาร่องรอยระเบิด (ไม่มีภัยคุกคาม)
ติดต่อเพิ่มเติม RedX Defense, Inc. USA ผู้ผลิต
ทางเลือกในการตรวจหาวัตถุระเบิด 3 จังหวัด
ลิ้งกระทู้เดิมของคุณ PastelSalad
http://topicstock.ppantip.com/wahkor/topicstock/2010/03/X8935399/X8935399.html
ทางเลือกในการตรวจหาวัตถุระเบิด
สวัสดีครับทุกท่าน
หลายวันที่ผ่านมา เราจะได้ยินคำถามที่ว่า "ถ้าไม่มี GT200 แล้วจะให้ใช้อะไร" กันบ่อยๆ
พอได้ยินอย่างนี้แล้วก็สงสัยเหมือนกัน ว่าคนที่ถามต้องการคำตอบจริงๆ หรือไม่ ทำไมมาถามคำถามนี้กับประชาชนกับสังคมที่ไม่มีความรู้เรื่องระเบิด (แต่มีความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานมากพอที่จะพิจารณาเครื่อง GT200 ได้) ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วกองทัพไทยของเรานั้น ก็มีหัวกะทิทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาคสนามที่มีความรู้และประสบการณ์มากมาย
โดยเฉพาะหลายหน่วยงาน เหมือนต้องการแค่ "เครื่องวิเศษ" หนึ่งเครื่องให้มาแทนจีที ซึ่งฟังแล้วก็เซ็ง เพราะว่าเทคโนโลยีปัจจุบันมันไม่มี "เครื่อง" อะไรที่จะมาแทนภาพลวงตาที่คนขาย GT200 ได้สร้างไว้ในใจของผู้ใช้งานที่เชื่อได้
เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานหลายท่านเอง ยังยืนยันว่า ทักษะและประสบการณ์ของ "คน" นั้นดีที่สุด ซึ่งจริงๆ แล้ว "คน" ของกองทัพไทยเรา ก็เก่งมิใช่น้อย แต่น่าเสียใจที่ผู้ใหญ่กลับเอาความดีความชอบที่ควรจะมอบแก่ความสามารถของทหารเรา เอาไปให้เครื่องดาวซิ่งแทน
ฝรั่งเขาบอกไว้ว่า:
"Technological countermeasures are only part of the solution in the effort to defeat IEDs; experience, training and awareness remain key factors in combating them. [...] Recognizing these telltale signs may be as valuable as having sophisticated detection equipment."
"เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าถือเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในยุทธวิธีต่อต้านระเบิดแสวงเครื่องเท่านั้น เพราะประสบการณ์ การฝึกฝน และความตื่นตัวยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการสู้รบกับภัยคุกคามประเภทนี้ [...] การสังเกตความผิดปกติ [ของสภาพแวดล้อม] นั้นมีค่าเทียบเท่ากับการใช้เครื่องมือค้นหาที่ไฮเทคซับซ้อน"
แต่ก็เราก็สามารถเข้าใจได้ว่าการมี "เครื่อง" มาบ้าง จะช่วยสร้างภาพลักษณ์และขวัญกำลังใจได้ อย่ากระนั้นเลยเรามาลองช่วยกันคิดช่วยกันหาข้อมูลตามประสาประชาชนดีกว่าว่า เราจะหาอะไรมาช่วย “เพิ่มความปลอดภัยจากการคุกคามของระเบิดแสวงเครื่อง” ได้บ้าง
การตรวจหากลิ่นไอสารระเบิดโดยการเก็บตัวอย่าง (Remote Explosive Scent Tracing- REST)
เป็นการแก้ปัญหาการนำสุนัขเข้าพื้นที่ไม่ได้ โดยการเก็บตัวอย่างไอระเหยในพื้นที่ออกมาให้สุนัขดมข้างนอกแทน
1. ใช้อุปกรณ์ปั้มดูดอากาศบรรจุหัวกรอง ดูดอากาศจากผิวดิน กอหญ้า เสื้อผ้า วัตถุต้องสงสัย หรือพื้นผิวใดๆ ในบริเวณที่ต้องการพิสูจน์ทราบ
2. หัวกรองที่ติดในปั๊ม จะทำหน้าที่จับไอระเหยของสารระเบิดที่ลอยมากับอากาศ
3. ส่งหัวกรองไปยังฐานตรวจที่อยู่นอกพื้นที่ (ที่มั่น รถบรรทุก รถตู้)
4. ใช้สุนัขหรือเครื่องมือตรวจพิสูจน์ที่ประจำอยู่ที่ฐานตรวจ ตรวจวิเคราะห์หัวกรองที่นำมาจากที่เกิดเหตุ
ข้อดี
1. เป็นการประยุกต์ใช้สุนัขในพื้นที่ที่ไม่สามารถนำสุนัขเข้าได้
2. สุนัขที่ประจำที่ฐานตรวจ จะอยู่ในสภาพที่พร้อมกว่าสุนัขที่ต้องเข้าพื้นที่
3. สามารถใช้เครื่องมือจมูกอิเล็กทรอนิกส์ตรวจแทนสุนัขได้ ในกรณีที่มีสุนัขไม่พร้อมหรือมีจำนวนไม่เพียงพอ
ข้อจำกัด
1. ต้องใช้เวลาและความระมัดระวังในการจัดการและขนส่งหัวกรอง
2. หัวกรองใช้แล้วต้องทิ้ง จึงมีค่าใช้จ่ายในการใช้งานต่อครั้ง
3. วิธีนี้เป็นแค่การลดพื้นที่ค้นหา หรือเป็นการชี้พื้นที่กว้างๆ เท่านั้น ไม่สามารถใช้ระบุตำแหน่งที่แน่ชัดของตัววัตถุระเบิดในสถานที่เกิดเหตุได้
4. สารระเบิดในที่เกิดเหตุต้องเป็นสารระเหยง่าย เช่น TNT, Ammonium Nitrate หรือสารระเบิดจำพวก C4, semtex ที่เติมกลิ่นแล้วเท่านั้น จึงจะค้นหาเจอได้
แนวทางการปรับปรุงพัฒนา
1. พัฒนาหุ่นยนต์ติดปั๊มดูดอากาศ เพื่อให้สามารถเก็บตัวอย่างจากพื้นที่เสี่ยงได้โดยไม่ต้องใช้คน
2. วิจัยวิธีการผลิตหัวกรองเองในไทย เพื่อลดต้นทุนการใช้งาน
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. งานปิดล้อมตรวจค้น เพื่อหาร่องรอยระเบิด
2. การตรวจวัตถุต้องสงสัย
3. การตรวจพื้นที่ต้องสงสัย
ติดต่อเพิ่มเติม องค์กร หน่วยงาน หรือบริษัทกู้ทุ่นระเบิดทั่วไป เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีการมาตรฐานหนึ่งของการตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงจากกับระเบิด ได้รับการรับรองโดยสำนักงานกำจัดทุ่นระเบิดสากลของสหประชาชาติ
Normandics, Inc. USA สำหรับระบบ REST ที่ใช้เครื่องตรวจ FIDO แทนสุนัข
การใช้สถานี X-Ray เคลื่อนที่
โดยการใช้ยานพาหนะที่ติดอุปกรณ์ X-Ray (ระบบ Z-backscatter) ซึ่งสามารถใช้จอดปฏิบัติงานตามด่านตรวจ หรือเข้าพื้นที่ในเมืองได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเตรียมสถานที่หรือติดตั้งอุปกรณ์ใดเพิ่มเติมเป็นพิเศษ
ข้อดี
1. ช่วยในการตรวจค้นหาชิ้นส่วนระเบิดในพาหนะโดยไม่ต้องรื้อค้นหรือแยกชิ้นส่วน
2. เป็นสถานีเคลื่อนที่ จึงง่ายต่อการติดตั้งและเคลื่อนย้าย
3. ใช้เวลารวดเร็วในการทำงาน จึงเหมาะกับการตั้งประจำด่านตรวจบนถนนใหญ่
ข้อจำกัด
1. ราคาแพงมาก ต้องอาศัยการบำรุงรักษาจากตัวแทนจำหน่าย
2. มีการรายงานผลเป็นภาพ จึงต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะและประสบการณ์ในการสังเกตผล
3. ลักษณะการใช้งานที่ต้องเอารถสถานีจอดเทียบด้านข้างของรถเป้าหมาย จึงอาจใช้ไม่ได้ในบางเงื่อนไข เช่น จยย. ที่จอดเคียงกันหลายคันโดยหันท้ายรถออกถนน
4. ตกเป็นเป้าโจมตีได้ง่าย โดยเฉพาะการที่ต้องจอดเทียบข้างกับเป้าหมายที่ต้องการตรวจ อาจทำให้ตัวสถานีได้รับเสียหายจากแรงระเบิดได้หากเกิดการระเบิด
5. สามารถแสกนทะลุเสื้อผ้าได้ จึงอาจเกิดการละเมิดทางสิทธิส่วนบุคคลหากไม่ใช้ความระมัดระวังในการใช้งาน
แนวทางการปรับปรุงพัฒนา
1. หาทางนำระบบ X-ray ไปติดตั้งบนยานเกราะ
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. การตรวจยานพาหนะตามด่านตรวจ หรือข้างทาง
2. การตรวจวัตถุต้องสงสัย
ติดต่อเพิ่มเติม American Science and Engineering, Inc. ผู้ผลิต สตช. เนื่องจากมีระบบนี้ใช้อยู่ในปัจจุบัน
การใช้หุ่นยนต์ติด FIDO สำหรับการตรวจหาสารระเบิดระยะไกล
เป็นการนำตัวเครื่องตรวจหาสารระเบิด FIDO มาติดตั้งบนหุ่นยนต์ เพื่อให้สามารถตรวจวัตถุต้องสงสัยโดยไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าไปในรัศมีสังหาร
ข้อดี
1. เจ้าหน้าที่มีความปลอดภัย
2. สามารถเพิ่มปืนน้ำ มือจับ หรืออื่นๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเก็บกู้ได้
3. หัวเซนเซอร์มีความไวสูง สามารถตรวจจับไอระเหยหรือร่องรอยคราบระเบิดได้
ข้อจำกัด
1. หากหุ่นหรือหัววัดถูกทำลายจากระเบิด อาจไม่สามารถซ่อมแซมได้
2. ตรวจวัดได้เฉพาะร่องรอยของสารประกอบ TNT ดังนั้นเป้าหมายต้องมีการใช้ TNT หรือมีการปนเปื้อน TNT จึงจะตรวจจับได้
3. ไม่สามารถใช้ได้ในพื้นที่ที่มีสารระเหยอื่นๆ รบกวน เช่น คราบน้ำมัน
4. ไม่สามารถใช้ได้ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนสารระเบิดเป็นวงกว้างแล้ว เช่น การหา second bomb
แนวทางการปรับปรุงพัฒนา
1. พัฒนาหุ่นยนต์ของไทยเอง พร้อมระบบควบคุมและอ่านค่าหัววัดจากระยะไกล เพื่อลดต้นทุนและค่าบำรุงรักษา
2. ใช้ระบบขับเคลื่อนของหุ่นยนต์กู้ภัย เพื่อความสามารถในการเข้าถึงในทุกสภาพพื้นผิว
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. การตรวจวัตถุต้องสงสัย
2. การตรวจพื้นที่ต้องสงสัย
ติดต่อเพิ่มเติม Normandics Inc. ผู้ผลิต สำหรับตัวระบบสำเร็จรูป (Fido + หุ่นยนต์ PackBot)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือ จุฬาฯ สำหรับการพัฒนาหุ่นใช้เอง
ยานเกราะสำหรับพิสูจน์ทราบระเบิดแสวงเครื่อง
ใช้สำหรับการตรวจค้นวัตถุระเบิดในพื้นที่ที่ยานพาหนะขนาดใหญ่สามารถเข้าถึงได้ หัววัดที่ปลายแขนกลประกอบไปด้วยเรดาร์ เครื่องตรวจโลหะ จมูกอิเล็กทรอนิกส์
ข้อดี
1. เคลื่อนที่เร็ว ใช้ตรวจหาได้ในบริเวณกว้าง
2. สามารถใช้นำขบวนยานพาหนะได้
ข้อจำกัด
1. ราคาแพง ตกเป็นเป้าโจมตีได้ง่าย
2. การบังคับและใช้ตรวจการณ์ ต้องใช้ทักษะและความรอบคอบ
3. การตรวจค้นต้องเข้าในรัศมีทำลายของระเบิด ทำให้มีโอกาสเสียหายง่าย แม้ตัวผู้บังคับจะปลอดภัยจากเกราะหุ้มก็ตาม
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. การตรวจวัตถุต้องสงสัย
2. การตรวจหาระเบิดใต้หรือข้างถนน
ติดต่อเพิ่มเติม Thales Australia - Land & Joint Systems Division ผู้ผลิตยานเกราะต่อต้านระเบิดแสวงเครื่อง รุ่น Bushmaster IED Varient
ระบบเรดาร์ทะลุทะลวงผิวดิน (Ground Penetrating Radar)
เป็นเรดาร์ที่สามารถใช้ตรวจจับวัตถุใต้ผิวดินได้ สามารถติดตั้งระบบขนาดใหญ่บนยานเกราะ หรือติดตั้งระบบขนาดเล็กบนหุ่นยนต์ก็ได้ ใช้สำหรับค้นหาวัตถุระเบิดที่ถูกฝังอยู่ใต้ผิวดิน
ข้อดี
1. ใช้ตรวจหาระเบิดที่ถูกฝังใต้ผิวดินหรือถนนได้
2. ใช้งานง่าย อ่านค่าง่าย
3. รุ่นติดตั้งบนยานพาหนะ สามารถใช้ตรวจพื้นที่เป็นบริเวณกว้างได้
4. รุ่นติดตั้งบนหุ่นยนต์ สามารถใช้เคลียร์พื้นที่ขนาดเล็ก หรือพื้นที่ที่ยานพาหนะเข้าไม่ถึงได้
5. ใช้ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนได้
ข้อจำกัด
1. ราคาแพง ต้องการการบำรุงรักษาจากผู้ผลิต
2. รุ่นยานพาหนะ สามารถตรวจได้ที่ความเร็ว 15 กม./ชม. เท่านั้น ทำให้ตกเป็นเป้าโจมตีได้ง่าย
3. ไม่สามารถใช้ได้ในบางภูมิประเทศ
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. การตรวจหาระเบิดใต้หรือข้างถนน
2. การตรวจพื้นที่ต้องสงสัย
3. พื้นที่บริเวณแคบ
4. พื้นที่บริเวณกว้าง (เช่น กำหนดเขตปลอดภัยสำหรับการอารักขา)
5. การตรวจหา second bomb ในพื้นที่ต้องสงสัย
ติดต่อเพิ่มเติม NIITEK Inc. ผู้ผลิต
การตรวจหาร่องรอยระเบิดบนบุคคล พาหนะ หรืออาคารสถานที่
เป็นการเก็บตัวอย่างจากบุคคล พาหนะ หรืออาคารสถานที่ แล้วใช้เครื่องวิเคราะห์แบบพกพาสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนสารระเบิด โดยเครื่อง XPAK
ข้อดี
1. ตรวจสารระเบิดได้ชัดเจนเกือบทุกชนิด
2. เหมาะกับงานนิติวิทยาศาสตร์มากกว่างานเชิงยุทธการ
ข้อจำกัด
1. การรายงานผลเป็นภาพ ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตีความ
2. ผู้ต้องสงสัยต้องมีการปนเปื้อนวัตถุระเบิดมาก่อน
แนวทางการปรับปรุงพัฒนา
1. วิจัยและพัฒนากระดาษเก็บตัวอย่างเอง เพื่อลดต้นทุนในการใช้งาน
รูปแบบสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
1. งานปิดล้อมตรวจค้น เพื่อหาร่องรอยระเบิด (ไม่มีภัยคุกคาม)
ติดต่อเพิ่มเติม RedX Defense, Inc. USA ผู้ผลิต