[quote="pakapong_u"]ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 01:00
“1+1” เท่ากับ 3 สูตรควบรวม UAE & HYDRO
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เพราะความไว้ใจ“กิตติ VS สลิบ”ไม่รั้งรอจับ UAE & HYDRO รวมพลังเป็นหนึ่งเดียว ด้วยวิธีแลกหุ้น1:1“แต่งงานแล้วชีวิตครอบครัวเป็นสุข” สองเพื่อนรัก
“ไว้ใจมากๆ”
คำพูดเพียงสั้นๆที่ทำให้ “ดีลควบรวมกิจการ” ระหว่าง “ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์” (UAE) ของ “แอ๊ด” กิตติ ชีวะเกตุ และ “ไฮโดรเท็ค” (HYDRO) ของ “สลิบ สูงสว่าง” ในฐานะเพื่อนร่วมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นวศ.15 เกิดขึ้น “เร็ว” และจบแบบ “Happy Ending”
“เงียบแต่ไม่มาก”
ก่อนแผน “รวมกันเราอยู่” จะเกิดขึ้น “สองชายวัยกลางคน” หมั่นส่งสัญญาณ “ความสนิท” ให้นักลงทุนรับรู้ตลอด “เพื่อนกันตั้งสมัยเรียนมหาวิทยาลัย” ประโยคฮิตติดปาก “แอ๊ด” ที่ผ่านมาเจ้าของ UAC ปฎิบัติการณ์ทยอยเก็บหุ้น HYPRO ทุกครั้งที่มีโอกาส ก่อนจะมีรายชื่อปรากฎอยู่ในทำเนียบ ด้วยการถือหุ้นจำนวน 17,108,218 หุ้น คิดเป็น 13.16% (ณ 19 เม.ย.56)
“ความแนบแน่น” ชัดเจนมากขึ้น หลังทั้ง 2 บริษัทจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจเมื่อปี 2555 ด้วยการตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ “ยูเอซี ไฮโดรเท็ค” (UAC HYDRO) เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำประปาเ พื่อใช้ในอุตสาหกรรม และใช้ในการบริโภค รวมทั้งจำหน่ายและติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ฉะนั้นหากนักลงทุนจับสัญญาณดีๆคงเดาทางไม่อยาก
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ “ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์” มีมติอนุมัติแผนการร่วมกิจการระหว่าง “ยูนิเวอร์แซลฯ” และ “ไฮโดรเท็ค” โดยจะให้ ยูนิเวอร์แซลฯ ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ HYPRO จากผู้ถือหุ้นทุกราย ซึ่งจะชำระค่าตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นของ HYPRO เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ UAC จำนวนไม่เกิน 194,984,380 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ในอัตราการแลกเปลี่ยน 1 หุ้นของ HYPRO ต่อ 1 หุ้นของ UAC โดยจะไม่มีการชำระค่าตอบแทนในรูปเงินสด
ขณะเดียวกันบริษัทยังอนุมัติให้ซื้อหุ้นสามัญของ “ยูเอซี ไฮโดรเท็ค” (UAC HYDRO) ที่ถือโดย HYDRO ทั้งหมด 49,997 หุ้น คิดเป็น 49.997% ของหุ้นจำนวนหุ้นทั้งหมดของ UAC HYDRO มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ราคาหุ้นละ 100 บาท
ก่อนสาธารณชนจะรับรู้ดีลนี้อย่างเป็นทางการ ราคาหุ้น UAC และหุ้น HYPRO ย่อตัวลงอย่างต่อเนื่องในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2556 โดยหุ้น UAC ปรับตัวลงมาสัมผัส “จุดต่ำสุด” 4.50 บาท (ณ วันที่ 13 มิ.ย.56) จากที่เคยขึ้นไปยืน
“จุดสูงสุด” 15 บาท (ณ วันที่ 28 ก.พ.56) ขณะที่หุ้น HYPRO เคยขึ้นไปแตะ “จุดนิวไฮ” 21 บาท (ณ วันที่ 29 ม.ค.56) และลงมายืนระดับ “นิวโลว์” 6.35 บาท (ณ วันที่ 13 มิ.ย.56)
“จตุรมิตร” ชื่อแกงค์ของ “สี่ผู้บริหาร” เพื่อนร่วมทุน “วศ.15” ประกอบด้วย “แอ๊ด-กิตติ” เจ้าของ “ยูนิเวอร์แซลฯ” “สลิบ” แห่ง “ไฮโดรเท็ค” “สมัย ลี้สกุล” เจ้าของ “ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น” (TRC) และ “ชวลิต หวังธำรง” หุ้นใหญ่ “ผลธัญญะ” (PHOL) แต่ “พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน” นายใหญ่ “คิวทีซี เอนเนอร์ยี่” (QTC) “กิตติ-สลิบ” ไม่ค่อยเอ่ยถึง แม้จะร่วมเรียนวศ.15 มาด้วยกัน
ที่ผ่านมา “ก๊วนนี้” มักหาโอกาสเกี่ยวก้อยทำธุรกิจรวมกัน โดยเมื่อปีก่อน “ไฮโดรเท็ค” จับมือ “ผลธัญญะ” ร่วมกันประมูลงานในประเทศพม่า แถมยังเล็งจะเข้าไปทำงานในลาวและโอมานด้วย ขณะเดียวกันยังมีแผนจะทำงานในโอมานกับ “ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น” รวมถึงจะลงทุนทำโรงไฟฟ้าก๊าซชีวมวล ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 10 เมกะวัตต์ กับ “คิวทีซี เอนเนอร์ยี่”
“ผมรู้จักพี่แอ๊ดมานานมากๆ (อายุเท่ากันแต่ผมเรียกพี่จนติดปาก) เรื่องธุรกิจไว้ใจเขามากสุด เราสองคนเริ่มต้นชีวิตมนุษย์เงินเดือนแห่งเดียวกัน ตลอดระยะเวลา 20-30 ปี เราไม่เคยห่างกัน เจอหน้าประจำ ฉะนั้นไม่แปลกหากดีล 1 บวก 1 เท่ากับ 3 หรือ 5 จะ “เริ่มเร็วจบง่าย” “สลิบ สูงสว่าง” เล่าความในใจ
“ไม่เคยเสียดาย” ที่ “ไฮโดรเท็ค” กำลังจะตกเป็นของ “พี่แอ๊ด” แม้วันนี้จะเปลี่ยนชื่อเจ้าของ แต่ชายชื่อ “สลิบ” ยังคงนั่งบริหารบริษัทเหมือนเดิม เราไม่ได้นำ “ไฮโดรแท็ค” ออกจากตลาดหลักทรัพย์ รับรองไม่หายไปไหน สร้างธุรกิจมากับมือจะอยู่ดูความเจริญเติบโตของบริษัทไปพร้อมๆกับผู้ถือหุ้นทุกคน ตั้งแต่เข้าตลาดหุ้นปลายปี 2554 เรามักพูดเสมอว่า “บริษัทต้องขยายตัวเรื่อยๆ” ฉะนั้นการรวมพลังครั้งนี้จะทำให้บริษัทมีไซด์ใหญ่ขึ้น “ไม่ธรรมดา” เขาส่งซิก
ถามถึงประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ฝ่ายจะได้รับ “ชายอารมณ์ดี” ตอบว่า “ผมชอบคำพูด “พี่แอ๊ด” ที่ว่า “Model Utility” การจับมือครั้งนี้จะทำให้ประโยชน์สูงสุดจริงๆ ถ้าถามในฝั่ง “ไฮโดรเท็ค” ปกติอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างจะขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ เมื่อเรามีแม่เป็นยูนิเวอร์แซลฯผลตอบแทนจะสม่ำเสมอมากขึ้น เพราะเขาเป็นเทรดดิ้งมีรายได้ชัดเจน ที่สำคัญยูนิเวอร์แซลฯเขามีฐานลูกค้าที่เราไม่มี ประโยชน์เยอะแยะเห็นปะ
“แต่งงานกันแล้วชีวิตอนาคตเป็นสุขแน่นอน”
“ต้นทุน” ถูกหั่นลงไม่ต่ำกว่า 10% ข้อนี้ได้เห็นแน่ เราจะเดินธุรกิจด้วยระบบ In House เรียกง่ายๆว่า มีอะไรที่เอื้อประโยชน์ต่อกันได้พร้อมเปลี่ยนทันที อีกสักพักเราจะย้ายสำนักงานไปอยู่ใกล้ๆ ยูนิเวอร์แซลฯ ในอาคาร ทีพี แอนด์ที รอให้ “ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น” ในฐานะผู้เช่าคนเดิม ย้ายของออกไปอยู่สำนักงานใหม่ก่อน (หัวเราะ)
“แข็งแกร่ง-ศักยภาพเพิ่มขึ้น” เมื่อเรารวมร่างแล้ว แน่นอนสิ่งนี้ต้องเกิดขึ้น เมื่อมูลค่าเพิ่มขึ้น โอกาสบุกงานเต็มตัว หลังเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เปิดในปี 2558 ก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น เราทั้ง 2 บริษัทต่างมี “จุดเด่น” แตกต่างกัน แถมยังเป็นผู้นำในตลาดที่ตัวเองชำนาญทั้งคู่
“ไฮโดรเท็ค” เก่งเรื่องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล การผลิตน้ำบริสุทธิ์หรือน้ำปราศจากแร่ธาตุ การบำบัดนำเสียเพื่อนำกลับมาใช่ใหม่ ด้วยเทคโนโลยี ที่ทันสมัย ส่วน “ยูนิเวอร์แซลฯ” ขานี้เขาชำนาญเรื่องนำเข้าและจำหน่ายสารเคมีและอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ และเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภครวมถึงระบบน้ำ และธุรกิจด้านพลังงานทดแทน
“โมเดลธุรกิจเปลี่ยน แต่ความเป็นเพื่อนของเราไม่เคยเปลี่ยน”
ปี 2557 จะทำงานอะไรรวมกันเป็นอย่างแรก “สลิบ” ตอบว่า ก่อนจะร่วมมือกันจริงจัง เราเคยทำเรื่องน้ำในประเทศพม่าด้วยกันมาแล้ว เร็วๆนี้อาจเห็นเราทำโรงไฟฟ้าจำนวน 20 เมกะวัตต์ ประเทศลาว มูลค่าประมาณ 700-800 ล้านบาท แต่อาจต้องใช้บริษัทย่อย “UAC HYDRO” เข้าไปรับงานก่อน ถือเป็นการชิมลาง “กำไรขั้นต้น” โครงการต่างประเทศ ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีเฉลี่ย 20%
ในแง่ของผลประกอบการจะมีหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไร “สลิบ” หันไปสะกิด
“กิตติ ชีวะเกตุ” “พี่ตอบหน่อยสิ” รายได้และกำไรของยูนิเวอร์แซลฯคงเติบโตไปตามไซด์ธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น เพราะเรามีลูกดีๆอย่าง “ไฮโดรเท็ค” “พี่เขาไม่กล้าบอก รู้มั้ยนั่งแถลงข่าวอยู่ที่ไหน” (หัวเราะ) “สลิบ” กระเซ้าเย้าแหย่เพื่อนรัก
“แอ๊ด” พูดต่อว่า โอกาสที่จะเห็นกำไรสุทธิของยูนิเวอร์แซลฯในปี 2557 อาจเติบโตมากกว่า 40% ขณะที่รายได้ในปี 2558 อาจขยายตัว 1 เท่าตัว จากปี 2556 ที่อาจมีรายได้กว่า 2,000 ล้านบาท แผนงานปีนี้คงเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะกว่ากระบวนควบรวมกิจการจะแล้วเสร็จก็ประมาณเดือนพ.ย.
ตั้งแต่ปี 2557 โครงสร้างธุรกิจของยูนิเวอร์แซลฯจะเปลี่ยนไป โดยจะมีรายได้จากธุรกิจเทรดดิ้ง 30% ธุรกิจก่อสร้าง (EPC) 25% ธุรกิจจัดการเดินระบบและบำรุงรักษา (O&M) 15% และธุรกิจพลังงานทดแทน 30% “ตอนนี้เล็งจะทำพลังงานทดแทนจากขยะร่วมกัน”
ถามว่าธุรกิจไหนให้ “กำไรขั้นต้นดีที่สุด” ก็คงต้องยกนิ้วให้ธุรกิจจัดการเดินระบบและบำรุงรักษา รองลงมาเป็นธุรกิจพลังงานทดแทน และธุรกิจเทรดดิ้ง ส่วนธุรกิจก่อสร้างกำไรค่อนข้างต่ำ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกเยอะ
เมื่อกระบวนการรวมกิจการแล้วเสร็จ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) จะปรับลดลงจาก 0.4 เท่า เหลือ 0.2 เท่า ภายในปี 2556 ขณะที่อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) จะกลับมายืนระดับ 15-16%
“เลือกใช้วิธีแลกหุ้น เพราะเงินมันหายาก” “แอ๊ด” พูดติดตลก หลังรวมเป็นหนึ่ง “มาร์เก็ตแคป” ของเราจะใหญ่ขึ้นมายืน 3,000 ล้านบาท เรียกว่าเข้าเกณฑ์ที่จะสามารถย้ายบริษัทจากตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ (MAI) ไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ สุดท้ายจะย้ายหรือไม่ คงต้องไปคุยกับบอรด์อีกครั้ง แต่การที่ย้ายไปอยู่ตลาดใหญ่จะทำให้นักลงทุนสถาบันสนใจเรามากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาหุ้นไม่ผันผวนเหมือนทุกวันนี้
“แอ๊ด” เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้มีโอกาสได้คุยกับ “รศ.ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา” ประธานกรรมการ ยูนิเวอร์แซลฯ ท่านบอกว่าหากเราตั้งโต๊ะทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์จะนำหุ้น ไฮโดรเท็ค ที่ถือในนามภรรยา “วราณี เสรีวิวัฒนา” จำนวน 9,691,200 หุ้น คิดเป็น 7.45% (ณ วันที่ 19 เม.ย.56) มาแลกเป็นหุ้น ยูนิเวอร์แซลฯทั้งหมด ส่วนผู้ถือหุ้นรายอื่น เท่าที่รู้มีบางคนไม่อยากนำหุ้นมาแลก ยังคงรักจะถือหุ้น ไฮโรเท็คเหมือนเดิม
จากการตรวจสอบรายชื่อผู้ถือหุ้น ยูนิเวอร์แซลฯ ณ วันที่ 4 เม.ย.56 พบชื่อ “วราณี เสรีวิวัฒนา” ถือหุ้นจำนวน 14,859,647 หุ้น คิดเป็น 3.23% และ “ลูกสาว” พิมพ์ศิริ เสรีวิวัฒนา จำนวน 5,439,500 หุ้น คิดเป็น 1.18%
“กิตติ-สลิบ” ประสานเสียงตอบคำถาม “อนาคตจะร่วมงานกับเพื่อนเลิฟที่เป็นเจ้าของ TRC-PHOLหรือไม่” เขาหัวเราะก่อนช่วยกันตอบว่า ตอนนี้ยังก่อน แต่อนาคตไม่แน่ ทุกอย่างเป็นไปได้ทั้งนั้น “สลิบ” ย้ำว่า ยอมแต่งงานกับยูนิเวอร์แซลฯ เพราะธุรกิจของเราคล้ายคลึงกัน แต่ของเพื่อนคนอื่นๆไม่ค่อยเหมือนกันเท่าไร ฉะนั้นคงต้องกลับไปดูอีกครั้งว่าพอจะทำอะไรร่วมกันได้หรือไม่
ย้อนรอย “ธงผืนใหญ่” 2 เพื่อนรัก
“5 ปีข้างหน้า (2555-2559) ต้องมีรายได้มากกว่า 2,500 ล้านบาท และต้องมีอัตรากำไรสุทธิ 9%” นี่คือ เป้าหมายสำคัญของ ผู้บริหารชายแปลก ไร้ความหมาย “สลิบ สูงสว่าง”
ก่อนเข้าตลาดหุ้น เจ้าของ “ไฮโดรเท็ค” เชื่อว่า สิ้นปี 2555 ต้องมีรายได้เติบโตเป็น “เท่าตัว” สุดท้าย ก็ทำได้ตามที่พูด โดยโกยรายได้เข้าเป๋า 881.57 ล้านบาท จากปี 2554 ที่มีรายได้ 691.25 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิ 56.49 ล้านบาท จาก 47.91 ล้านบาทในปี 2554
3 เดือนแรกของปี 2556 ไฮโดรเท็ค มีรายได้แล้ว 153.46 ล้านบาท กำไรสุทธิ5.68 ล้านบาท ผู้บริหารเชื่อว่าแนวโน้มผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2/56 จะออกมาสวยไม่แพ้ไตรมาสแรกที่ผ่านมา “งานก่อสร้างใหม่ๆกำไรขั้นต้นสูงๆมีให้ทำเพียบ” เหตุผลดันเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น
ฉะนั้นทั้งปี 2556 อาจมีรายได้แตะ 1,100 ล้านบาท หรือเติบโตประมาณ 20% จากปีก่อน ขณะที่อัตรากำไรสุทธิจะออกมาไม่ต่ำกว่า 6-7% จากปีก่อนที่อยู่ระดับ 6.5% “ช่วงที่เหลือของปีนี้ เราเตรียมประมูลงานก่อสร้างใหม่ มูลค่า 2,730 ล้านบาท น่าจะชนะการประมูล 50%” หุ้นใหญ่ ไฮโดรเท็ค ย้ำ
“ตัวเล็กแต่ชอบทำเรื่องใหญ่” ประโยคขนานนามที่นักลงทุนพร้อมใจมอบให้ “ยูนิเวอร์แซลฯ” หลังขยับฐานะตัวเองจาก “ธุรกิจปลายน้ำ” ผู้นำเข้าและจำหน่ายสารเคมีและอุปกรณ์ มาสู่ “ธุรกิจต้นน้ำ” ด้วยการผันตัวเองมาเป็นเจ้าของ
“โครงการพลังงานทดแทน” มูลค่าหลายพันล้านบาทอย่างเต็มตัว เรียกว่าลงทุนมากกว่าสินทรัพย์ของตัวเองที่มีอยู่ 1,225.05 ล้านบาท ณ วันที่ 31 มี.ค.56
“ธุรกิจพลังงานทดแทนจะทำให้รายได้ช่วงปี 2556-2558 กระโดดไปยืนระดับ 2,000-3,000 ล้านบาท” “แอ๊ด-กิตติ” การันตีเมื่อต้นปี 2556
อนาคตสัดส่วนรายได้จะเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่รับเงินจากธุรกิจการขายประมาณ 50% และธุรกิจพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน 50% เปลี่ยนเป็นธุรกิจจากการขาย 40% ธุรกิจพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน60% ซึ่งอัตรากำไรสุทธิของธุรกิจพลังงานทดแทนจะยืนระดับ 10%
ทุกภาคส่วนของบริษัทต้อง “เติบโต” ไปพร้อมๆกัน เราต้องทำให้ธุรกิจเกิดใหม่ออกดอกผลเร็วที่สุด “กิตติ” พร่ำบอกพนักงานทุกคนในบริษัท “ในระยะอันใกล้นักลงทุนจะไม่เห็นเราเพิ่มทุนอีก” เขาพูดเมื่อปลายปี 2555[/quote]
“1+1” เท่ากับ 3 สูตรควบรวม UAC& HYDRO
วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 01:00
“1+1” เท่ากับ 3 สูตรควบรวม UAE & HYDRO
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เพราะความไว้ใจ“กิตติ VS สลิบ”ไม่รั้งรอจับ UAE & HYDRO รวมพลังเป็นหนึ่งเดียว ด้วยวิธีแลกหุ้น1:1“แต่งงานแล้วชีวิตครอบครัวเป็นสุข” สองเพื่อนรัก
“ไว้ใจมากๆ”
คำพูดเพียงสั้นๆที่ทำให้ “ดีลควบรวมกิจการ” ระหว่าง “ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์” (UAE) ของ “แอ๊ด” กิตติ ชีวะเกตุ และ “ไฮโดรเท็ค” (HYDRO) ของ “สลิบ สูงสว่าง” ในฐานะเพื่อนร่วมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นวศ.15 เกิดขึ้น “เร็ว” และจบแบบ “Happy Ending”
“เงียบแต่ไม่มาก”
ก่อนแผน “รวมกันเราอยู่” จะเกิดขึ้น “สองชายวัยกลางคน” หมั่นส่งสัญญาณ “ความสนิท” ให้นักลงทุนรับรู้ตลอด “เพื่อนกันตั้งสมัยเรียนมหาวิทยาลัย” ประโยคฮิตติดปาก “แอ๊ด” ที่ผ่านมาเจ้าของ UAC ปฎิบัติการณ์ทยอยเก็บหุ้น HYPRO ทุกครั้งที่มีโอกาส ก่อนจะมีรายชื่อปรากฎอยู่ในทำเนียบ ด้วยการถือหุ้นจำนวน 17,108,218 หุ้น คิดเป็น 13.16% (ณ 19 เม.ย.56)
“ความแนบแน่น” ชัดเจนมากขึ้น หลังทั้ง 2 บริษัทจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจเมื่อปี 2555 ด้วยการตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ “ยูเอซี ไฮโดรเท็ค” (UAC HYDRO) เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำประปาเ พื่อใช้ในอุตสาหกรรม และใช้ในการบริโภค รวมทั้งจำหน่ายและติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ฉะนั้นหากนักลงทุนจับสัญญาณดีๆคงเดาทางไม่อยาก
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ “ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์” มีมติอนุมัติแผนการร่วมกิจการระหว่าง “ยูนิเวอร์แซลฯ” และ “ไฮโดรเท็ค” โดยจะให้ ยูนิเวอร์แซลฯ ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ HYPRO จากผู้ถือหุ้นทุกราย ซึ่งจะชำระค่าตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นของ HYPRO เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ UAC จำนวนไม่เกิน 194,984,380 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ในอัตราการแลกเปลี่ยน 1 หุ้นของ HYPRO ต่อ 1 หุ้นของ UAC โดยจะไม่มีการชำระค่าตอบแทนในรูปเงินสด
ขณะเดียวกันบริษัทยังอนุมัติให้ซื้อหุ้นสามัญของ “ยูเอซี ไฮโดรเท็ค” (UAC HYDRO) ที่ถือโดย HYDRO ทั้งหมด 49,997 หุ้น คิดเป็น 49.997% ของหุ้นจำนวนหุ้นทั้งหมดของ UAC HYDRO มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ราคาหุ้นละ 100 บาท
ก่อนสาธารณชนจะรับรู้ดีลนี้อย่างเป็นทางการ ราคาหุ้น UAC และหุ้น HYPRO ย่อตัวลงอย่างต่อเนื่องในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2556 โดยหุ้น UAC ปรับตัวลงมาสัมผัส “จุดต่ำสุด” 4.50 บาท (ณ วันที่ 13 มิ.ย.56) จากที่เคยขึ้นไปยืน
“จุดสูงสุด” 15 บาท (ณ วันที่ 28 ก.พ.56) ขณะที่หุ้น HYPRO เคยขึ้นไปแตะ “จุดนิวไฮ” 21 บาท (ณ วันที่ 29 ม.ค.56) และลงมายืนระดับ “นิวโลว์” 6.35 บาท (ณ วันที่ 13 มิ.ย.56)
“จตุรมิตร” ชื่อแกงค์ของ “สี่ผู้บริหาร” เพื่อนร่วมทุน “วศ.15” ประกอบด้วย “แอ๊ด-กิตติ” เจ้าของ “ยูนิเวอร์แซลฯ” “สลิบ” แห่ง “ไฮโดรเท็ค” “สมัย ลี้สกุล” เจ้าของ “ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น” (TRC) และ “ชวลิต หวังธำรง” หุ้นใหญ่ “ผลธัญญะ” (PHOL) แต่ “พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน” นายใหญ่ “คิวทีซี เอนเนอร์ยี่” (QTC) “กิตติ-สลิบ” ไม่ค่อยเอ่ยถึง แม้จะร่วมเรียนวศ.15 มาด้วยกัน
ที่ผ่านมา “ก๊วนนี้” มักหาโอกาสเกี่ยวก้อยทำธุรกิจรวมกัน โดยเมื่อปีก่อน “ไฮโดรเท็ค” จับมือ “ผลธัญญะ” ร่วมกันประมูลงานในประเทศพม่า แถมยังเล็งจะเข้าไปทำงานในลาวและโอมานด้วย ขณะเดียวกันยังมีแผนจะทำงานในโอมานกับ “ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น” รวมถึงจะลงทุนทำโรงไฟฟ้าก๊าซชีวมวล ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 10 เมกะวัตต์ กับ “คิวทีซี เอนเนอร์ยี่”
“ผมรู้จักพี่แอ๊ดมานานมากๆ (อายุเท่ากันแต่ผมเรียกพี่จนติดปาก) เรื่องธุรกิจไว้ใจเขามากสุด เราสองคนเริ่มต้นชีวิตมนุษย์เงินเดือนแห่งเดียวกัน ตลอดระยะเวลา 20-30 ปี เราไม่เคยห่างกัน เจอหน้าประจำ ฉะนั้นไม่แปลกหากดีล 1 บวก 1 เท่ากับ 3 หรือ 5 จะ “เริ่มเร็วจบง่าย” “สลิบ สูงสว่าง” เล่าความในใจ
“ไม่เคยเสียดาย” ที่ “ไฮโดรเท็ค” กำลังจะตกเป็นของ “พี่แอ๊ด” แม้วันนี้จะเปลี่ยนชื่อเจ้าของ แต่ชายชื่อ “สลิบ” ยังคงนั่งบริหารบริษัทเหมือนเดิม เราไม่ได้นำ “ไฮโดรแท็ค” ออกจากตลาดหลักทรัพย์ รับรองไม่หายไปไหน สร้างธุรกิจมากับมือจะอยู่ดูความเจริญเติบโตของบริษัทไปพร้อมๆกับผู้ถือหุ้นทุกคน ตั้งแต่เข้าตลาดหุ้นปลายปี 2554 เรามักพูดเสมอว่า “บริษัทต้องขยายตัวเรื่อยๆ” ฉะนั้นการรวมพลังครั้งนี้จะทำให้บริษัทมีไซด์ใหญ่ขึ้น “ไม่ธรรมดา” เขาส่งซิก
ถามถึงประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ฝ่ายจะได้รับ “ชายอารมณ์ดี” ตอบว่า “ผมชอบคำพูด “พี่แอ๊ด” ที่ว่า “Model Utility” การจับมือครั้งนี้จะทำให้ประโยชน์สูงสุดจริงๆ ถ้าถามในฝั่ง “ไฮโดรเท็ค” ปกติอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างจะขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ เมื่อเรามีแม่เป็นยูนิเวอร์แซลฯผลตอบแทนจะสม่ำเสมอมากขึ้น เพราะเขาเป็นเทรดดิ้งมีรายได้ชัดเจน ที่สำคัญยูนิเวอร์แซลฯเขามีฐานลูกค้าที่เราไม่มี ประโยชน์เยอะแยะเห็นปะ
“แต่งงานกันแล้วชีวิตอนาคตเป็นสุขแน่นอน”
“ต้นทุน” ถูกหั่นลงไม่ต่ำกว่า 10% ข้อนี้ได้เห็นแน่ เราจะเดินธุรกิจด้วยระบบ In House เรียกง่ายๆว่า มีอะไรที่เอื้อประโยชน์ต่อกันได้พร้อมเปลี่ยนทันที อีกสักพักเราจะย้ายสำนักงานไปอยู่ใกล้ๆ ยูนิเวอร์แซลฯ ในอาคาร ทีพี แอนด์ที รอให้ “ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น” ในฐานะผู้เช่าคนเดิม ย้ายของออกไปอยู่สำนักงานใหม่ก่อน (หัวเราะ)
“แข็งแกร่ง-ศักยภาพเพิ่มขึ้น” เมื่อเรารวมร่างแล้ว แน่นอนสิ่งนี้ต้องเกิดขึ้น เมื่อมูลค่าเพิ่มขึ้น โอกาสบุกงานเต็มตัว หลังเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เปิดในปี 2558 ก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น เราทั้ง 2 บริษัทต่างมี “จุดเด่น” แตกต่างกัน แถมยังเป็นผู้นำในตลาดที่ตัวเองชำนาญทั้งคู่
“ไฮโดรเท็ค” เก่งเรื่องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล การผลิตน้ำบริสุทธิ์หรือน้ำปราศจากแร่ธาตุ การบำบัดนำเสียเพื่อนำกลับมาใช่ใหม่ ด้วยเทคโนโลยี ที่ทันสมัย ส่วน “ยูนิเวอร์แซลฯ” ขานี้เขาชำนาญเรื่องนำเข้าและจำหน่ายสารเคมีและอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ และเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภครวมถึงระบบน้ำ และธุรกิจด้านพลังงานทดแทน
“โมเดลธุรกิจเปลี่ยน แต่ความเป็นเพื่อนของเราไม่เคยเปลี่ยน”
ปี 2557 จะทำงานอะไรรวมกันเป็นอย่างแรก “สลิบ” ตอบว่า ก่อนจะร่วมมือกันจริงจัง เราเคยทำเรื่องน้ำในประเทศพม่าด้วยกันมาแล้ว เร็วๆนี้อาจเห็นเราทำโรงไฟฟ้าจำนวน 20 เมกะวัตต์ ประเทศลาว มูลค่าประมาณ 700-800 ล้านบาท แต่อาจต้องใช้บริษัทย่อย “UAC HYDRO” เข้าไปรับงานก่อน ถือเป็นการชิมลาง “กำไรขั้นต้น” โครงการต่างประเทศ ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีเฉลี่ย 20%
ในแง่ของผลประกอบการจะมีหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไร “สลิบ” หันไปสะกิด
“กิตติ ชีวะเกตุ” “พี่ตอบหน่อยสิ” รายได้และกำไรของยูนิเวอร์แซลฯคงเติบโตไปตามไซด์ธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น เพราะเรามีลูกดีๆอย่าง “ไฮโดรเท็ค” “พี่เขาไม่กล้าบอก รู้มั้ยนั่งแถลงข่าวอยู่ที่ไหน” (หัวเราะ) “สลิบ” กระเซ้าเย้าแหย่เพื่อนรัก
“แอ๊ด” พูดต่อว่า โอกาสที่จะเห็นกำไรสุทธิของยูนิเวอร์แซลฯในปี 2557 อาจเติบโตมากกว่า 40% ขณะที่รายได้ในปี 2558 อาจขยายตัว 1 เท่าตัว จากปี 2556 ที่อาจมีรายได้กว่า 2,000 ล้านบาท แผนงานปีนี้คงเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะกว่ากระบวนควบรวมกิจการจะแล้วเสร็จก็ประมาณเดือนพ.ย.
ตั้งแต่ปี 2557 โครงสร้างธุรกิจของยูนิเวอร์แซลฯจะเปลี่ยนไป โดยจะมีรายได้จากธุรกิจเทรดดิ้ง 30% ธุรกิจก่อสร้าง (EPC) 25% ธุรกิจจัดการเดินระบบและบำรุงรักษา (O&M) 15% และธุรกิจพลังงานทดแทน 30% “ตอนนี้เล็งจะทำพลังงานทดแทนจากขยะร่วมกัน”
ถามว่าธุรกิจไหนให้ “กำไรขั้นต้นดีที่สุด” ก็คงต้องยกนิ้วให้ธุรกิจจัดการเดินระบบและบำรุงรักษา รองลงมาเป็นธุรกิจพลังงานทดแทน และธุรกิจเทรดดิ้ง ส่วนธุรกิจก่อสร้างกำไรค่อนข้างต่ำ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกเยอะ
เมื่อกระบวนการรวมกิจการแล้วเสร็จ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) จะปรับลดลงจาก 0.4 เท่า เหลือ 0.2 เท่า ภายในปี 2556 ขณะที่อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) จะกลับมายืนระดับ 15-16%
“เลือกใช้วิธีแลกหุ้น เพราะเงินมันหายาก” “แอ๊ด” พูดติดตลก หลังรวมเป็นหนึ่ง “มาร์เก็ตแคป” ของเราจะใหญ่ขึ้นมายืน 3,000 ล้านบาท เรียกว่าเข้าเกณฑ์ที่จะสามารถย้ายบริษัทจากตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ (MAI) ไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ สุดท้ายจะย้ายหรือไม่ คงต้องไปคุยกับบอรด์อีกครั้ง แต่การที่ย้ายไปอยู่ตลาดใหญ่จะทำให้นักลงทุนสถาบันสนใจเรามากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาหุ้นไม่ผันผวนเหมือนทุกวันนี้
“แอ๊ด” เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้มีโอกาสได้คุยกับ “รศ.ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา” ประธานกรรมการ ยูนิเวอร์แซลฯ ท่านบอกว่าหากเราตั้งโต๊ะทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์จะนำหุ้น ไฮโดรเท็ค ที่ถือในนามภรรยา “วราณี เสรีวิวัฒนา” จำนวน 9,691,200 หุ้น คิดเป็น 7.45% (ณ วันที่ 19 เม.ย.56) มาแลกเป็นหุ้น ยูนิเวอร์แซลฯทั้งหมด ส่วนผู้ถือหุ้นรายอื่น เท่าที่รู้มีบางคนไม่อยากนำหุ้นมาแลก ยังคงรักจะถือหุ้น ไฮโรเท็คเหมือนเดิม
จากการตรวจสอบรายชื่อผู้ถือหุ้น ยูนิเวอร์แซลฯ ณ วันที่ 4 เม.ย.56 พบชื่อ “วราณี เสรีวิวัฒนา” ถือหุ้นจำนวน 14,859,647 หุ้น คิดเป็น 3.23% และ “ลูกสาว” พิมพ์ศิริ เสรีวิวัฒนา จำนวน 5,439,500 หุ้น คิดเป็น 1.18%
“กิตติ-สลิบ” ประสานเสียงตอบคำถาม “อนาคตจะร่วมงานกับเพื่อนเลิฟที่เป็นเจ้าของ TRC-PHOLหรือไม่” เขาหัวเราะก่อนช่วยกันตอบว่า ตอนนี้ยังก่อน แต่อนาคตไม่แน่ ทุกอย่างเป็นไปได้ทั้งนั้น “สลิบ” ย้ำว่า ยอมแต่งงานกับยูนิเวอร์แซลฯ เพราะธุรกิจของเราคล้ายคลึงกัน แต่ของเพื่อนคนอื่นๆไม่ค่อยเหมือนกันเท่าไร ฉะนั้นคงต้องกลับไปดูอีกครั้งว่าพอจะทำอะไรร่วมกันได้หรือไม่
ย้อนรอย “ธงผืนใหญ่” 2 เพื่อนรัก
“5 ปีข้างหน้า (2555-2559) ต้องมีรายได้มากกว่า 2,500 ล้านบาท และต้องมีอัตรากำไรสุทธิ 9%” นี่คือ เป้าหมายสำคัญของ ผู้บริหารชายแปลก ไร้ความหมาย “สลิบ สูงสว่าง”
ก่อนเข้าตลาดหุ้น เจ้าของ “ไฮโดรเท็ค” เชื่อว่า สิ้นปี 2555 ต้องมีรายได้เติบโตเป็น “เท่าตัว” สุดท้าย ก็ทำได้ตามที่พูด โดยโกยรายได้เข้าเป๋า 881.57 ล้านบาท จากปี 2554 ที่มีรายได้ 691.25 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิ 56.49 ล้านบาท จาก 47.91 ล้านบาทในปี 2554
3 เดือนแรกของปี 2556 ไฮโดรเท็ค มีรายได้แล้ว 153.46 ล้านบาท กำไรสุทธิ5.68 ล้านบาท ผู้บริหารเชื่อว่าแนวโน้มผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2/56 จะออกมาสวยไม่แพ้ไตรมาสแรกที่ผ่านมา “งานก่อสร้างใหม่ๆกำไรขั้นต้นสูงๆมีให้ทำเพียบ” เหตุผลดันเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น
ฉะนั้นทั้งปี 2556 อาจมีรายได้แตะ 1,100 ล้านบาท หรือเติบโตประมาณ 20% จากปีก่อน ขณะที่อัตรากำไรสุทธิจะออกมาไม่ต่ำกว่า 6-7% จากปีก่อนที่อยู่ระดับ 6.5% “ช่วงที่เหลือของปีนี้ เราเตรียมประมูลงานก่อสร้างใหม่ มูลค่า 2,730 ล้านบาท น่าจะชนะการประมูล 50%” หุ้นใหญ่ ไฮโดรเท็ค ย้ำ
“ตัวเล็กแต่ชอบทำเรื่องใหญ่” ประโยคขนานนามที่นักลงทุนพร้อมใจมอบให้ “ยูนิเวอร์แซลฯ” หลังขยับฐานะตัวเองจาก “ธุรกิจปลายน้ำ” ผู้นำเข้าและจำหน่ายสารเคมีและอุปกรณ์ มาสู่ “ธุรกิจต้นน้ำ” ด้วยการผันตัวเองมาเป็นเจ้าของ
“โครงการพลังงานทดแทน” มูลค่าหลายพันล้านบาทอย่างเต็มตัว เรียกว่าลงทุนมากกว่าสินทรัพย์ของตัวเองที่มีอยู่ 1,225.05 ล้านบาท ณ วันที่ 31 มี.ค.56
“ธุรกิจพลังงานทดแทนจะทำให้รายได้ช่วงปี 2556-2558 กระโดดไปยืนระดับ 2,000-3,000 ล้านบาท” “แอ๊ด-กิตติ” การันตีเมื่อต้นปี 2556
อนาคตสัดส่วนรายได้จะเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่รับเงินจากธุรกิจการขายประมาณ 50% และธุรกิจพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน 50% เปลี่ยนเป็นธุรกิจจากการขาย 40% ธุรกิจพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน60% ซึ่งอัตรากำไรสุทธิของธุรกิจพลังงานทดแทนจะยืนระดับ 10%
ทุกภาคส่วนของบริษัทต้อง “เติบโต” ไปพร้อมๆกัน เราต้องทำให้ธุรกิจเกิดใหม่ออกดอกผลเร็วที่สุด “กิตติ” พร่ำบอกพนักงานทุกคนในบริษัท “ในระยะอันใกล้นักลงทุนจะไม่เห็นเราเพิ่มทุนอีก” เขาพูดเมื่อปลายปี 2555[/quote]