อุณาโลม ที่หน้าผากของนางรำ มีความหมายอย่างไร

อยากทราบมานานแล้วครับ แต่เมื่อคืนได้ดูในคุณชายรณพีร์ ฉากที่เพียงขวัญรำฉุยฉาย เลยอยากทราบครับว่า อุณาโลมที่หน้าผากของนางรำ มีความหมายอย่างไร แล้วการแสดงไหนบ้างที่ผู้แสดงต้องวาดอุณาโลมที่หน้าผากครับ ใครทราบช่วยอธิบายทีนะครับ ขอบคุณครับ
(ใช้ศัพท์ผิดบ้างขออภัยนะครับ และไม่รู้จะแท็กห้องไหนเลยแท็กไปอย่างที่เห็นก่อนครับ)
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เข้าใจว่าเป็นคติที่ได้มาจากฮินดู สตรีฮินดูเมื่อแต่งงานแล้ว จะแต้มสีแดงที่ทำจากชาด, รากไม้และมูลโค ไว้ที่หน้าผาก เป็นการบอกกับผู้อื่นโดยนัยว่า สตรีนี้มีสามีแล้ว ทั้งมูลโคก็ยังถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เพราะโคเป็นพาหนะของพระศิวะ จุดแดงบนหน้าผากนี้ เรียกว่า "พินทิ" มาจากคำว่า "พินทุ" ที่แปลว่า "จุด" ส่วนผู้ชายและสตรีที่ยังไม่แต่งงาน ก็มีจุดแดงที่หน้าผากนี้ได้ แต่จะไม่แต้มถาวร โดยมากพอไปสักการะที่เทวาลัย ก็จะได้รับการแต้ม เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยจุดแดงของผู้ชายจะเรียกว่า "ติกะ"

ตำแหน่งของพระอุณาโลมนี้ ถ้าตามหลักกายวิภาค ก็คือตำแหน่งของต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ทางฮินดูเชื่อว่าคือตำแหน่งตาที่ ๓ (ตรีเนตร) ของพระศิวะ เป็นสัญลักษณ์แห่งญาณปัญญาและความหยั่งรู้ อุณาโลมนี้ถือเป็นสัญลักษณ์มงคล ได้มีการนำไปสร้างเป็นพระตราปทุมอุณาโลม ดวงตราพระราชลัญจกรใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นอกจากนี้ยังมีการใช้ลงในยันต์ต่างๆ ดังที่พบเห็นได้ทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3
เครื่องหมายอุณาโลมเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู

      ฉุยฉายพราหมณ์  เป็นการแสดงชุดหนึ่งในบทละครเบิกโรงเรื่องพระคเณศเสียงา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   มีเนื้อเรื่องว่า พระนารายณ์แปลงการมาเป็นพราหมณ์น้อยน่ารัก มารำถวายพระอุมาภควดีให้ทรงถอนคำสาป  ที่ได้สาปพราหมณ์ปรศุรามให้หมดเรี่ยวแรง เนื่องจาก  พราหมณ์ปรศุรามได้ใช้ขวานขว้างไปทำให้งาของพระพิฆเณศหัก  ความน่ารักของพราหมณ์น้อยทำให้พระอุมาภควดีถอนคำสาปและคืนพละกำลังให้พราหมณ์ปรศุรามดังเดิม

ปล. ตอนหาข้อมูล พราหมณ์ กับอุณาโลมเนี่ย  เรื่อแม่หญิงขึ้นมาเยอะที่สุดเลย แสดงว่าชื่อพระเอกนางเอกเรื่องนี้ก็มีแรงบันดาลใจมาจากเรื่องนี้เหมือนกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่