ตด(H2S) เป็นสารพิษหรือเปล่า ถ้าดมบ่อยๆจะเกิดการสะสมมั๊ย

กระทู้คำถาม
H2S เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้ว สามารถเกิดปฏิกิริยากับน้ำ ดังนี้
H2S(g) + H2O(l) = H3O+(aq) + HS-(aq); K1 = 1.0 ´ 10-7
HS-(aq) + H2O(l) = H3O+(aq) + S2-(aq); K2 = 1.3 x 10-13
หรือเปล่า ???
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
H2S เป็นสารพิษร้ายแรงครับ มีความเป็นพิษสูงกว่า คาร์บอนมอนอกไซด์(CO) เสียอีก โดยพิษอยู่ระดับเดียวกับไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN)
แต่ทั้งนี้ไม่ค่อยมีข่าวคนได้รับพิษนี้จนตาย ทั้งนี้เพราะมันมีกลิ่นเหม็นมาก ทำให้คนหลีกเลี่ยงไปนั่นเอง ไม่เหมือน CO ที่ไร้กลิ่นหายใจไปไม่รู้ตัว
สำหรับการเกิดพิษ ไม่ได้เกิดจากการแตกตัวในน้ำให้กรดไฮโดรซัลฟิวริก H2S(aq) เหมือนที่ จขกท ยกมา
แต่ทว่าเกิดจาก1)ไปแย่งจับกับฮีโมโกลบิน(sulhaemoglobineae) และ ไปยับยังการทำงานของเอนไซม์ Cytochrome (CYP inhibitor)

แต่ทว่า ตดไม่มีพิษ เพราะว่า:-

1) ตดไม่ได้ประกอบจากH2S เป็นหลักเลย องค์ประกอบหลักของตดคือ CO2 (>70%), CH4 และ H2 (1-4%) จะเห็นว่าไม่มีกลิ่น
ส่วนที่มีกลิ่นนั้นมีน้อยมากๆๆ ได้แก่ H2S, CH3SH, (CH3)2S (<1%) จากการสลายตัวของกรดอะมิโนซิสทีอีน(cysteine)
และ Indole, Skatole(3-methylindole) (<1%) จากการสลายตัวของกรดอมิโนทริปโตฟาน (tryptophan)

2) ความเข้มข้นในอากาศแค่ 0.0005 ในล้านส่วน (0.0005ppm, 0.5ppb) เราก็เหม็นฉึ่งแล้ว ถ้าเกิน 15ppmนี่แทบทนไม่ได้แล้ว
ดังนั้นแค่นิดเดียวเราก็เหม็นละ ไม่ได้มีปริมาตรมากระดับเป็นพิษแต่อย่างใด เทียบกับความเป็นพิษที่จะเริ่มมีที่ 300ppm โดยประมาณ

3) แต่ H2S ปริมาณน้อยมากๆๆๆๆ(trace) มีความสำคัญต่อระบบประสาทนะครับ เป็นสารสำคัญตัวนึงในการติดต่อระหว่างเซลล์เลยทีเดียว
และพบว่ามีบทบาทมากในการ"เปิดโหมดจำศีล" ของสัตว์ ในฤดูหนาว

4) ในกรณีคนที่ได้รับพิษจากH2Sนั้น มาจาก ได้กลิ่นแล้วไม่เลี่ยง จนเซลล์รับกลิ่นมัน"ชา" ทำให้ไม่ได้กลิ่นอีกต่อไป
และหายใจเข้าไปเรื่อยๆจนได้รับพิษ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่