คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
ถ้าคิดตามหลักคนขายของน่ะครับ
น้ำมันทุกปั้ม ราคาเท่ากันหมด
ดังนั้น ถ้าใครจะมาเติมสารอะไรเข้าไป เพื่อให้ต้นทุนของตัวเองสูงขึ้น แต่ ขายได้เท่ากับคนอื่น
เค้าคงไม่ทำหรอกครับ
ธุรกิจ อยู่ได้ด้วยกำไร ไม่ใช่คุณภาพของสินค้าดี แต่ กำไรไม่มี มันก็เจ๊งพอดี
น้ำมันไม่ได้เหมือนนมผงเด็ก ที่เติมน้ำมันปลา น้ำมันไก่ อะไรเข้าไปก็ขึ้นราคาได้ตามใจชอบ ไม่มีราคาควบคุมเหมือนน้ำมัน ดังนั้น สินค้าอื่นๆจึงไม่มีปัญหาเรื่องการเติมสารเพิ่มให้ตัวเองมีมากกว่าคู่แข่งนะครับ
นั่นคือตามทฤษฏี
ปล.แต่ผมเติม susco ประจำ(เพราะใกล้บ้านที่สุด) พอไปเติม เชลล์ มันรู้สึกแตกต่างได้จริงๆนะว่าเร่งได้เร็วขึ้น วิ่งไกลกว่าเดิม(หรือของเจ้าแรกมันห่วยเกินมาตรฐาน)
น้ำมันทุกปั้ม ราคาเท่ากันหมด
ดังนั้น ถ้าใครจะมาเติมสารอะไรเข้าไป เพื่อให้ต้นทุนของตัวเองสูงขึ้น แต่ ขายได้เท่ากับคนอื่น
เค้าคงไม่ทำหรอกครับ
ธุรกิจ อยู่ได้ด้วยกำไร ไม่ใช่คุณภาพของสินค้าดี แต่ กำไรไม่มี มันก็เจ๊งพอดี
น้ำมันไม่ได้เหมือนนมผงเด็ก ที่เติมน้ำมันปลา น้ำมันไก่ อะไรเข้าไปก็ขึ้นราคาได้ตามใจชอบ ไม่มีราคาควบคุมเหมือนน้ำมัน ดังนั้น สินค้าอื่นๆจึงไม่มีปัญหาเรื่องการเติมสารเพิ่มให้ตัวเองมีมากกว่าคู่แข่งนะครับ
นั่นคือตามทฤษฏี
ปล.แต่ผมเติม susco ประจำ(เพราะใกล้บ้านที่สุด) พอไปเติม เชลล์ มันรู้สึกแตกต่างได้จริงๆนะว่าเร่งได้เร็วขึ้น วิ่งไกลกว่าเดิม(หรือของเจ้าแรกมันห่วยเกินมาตรฐาน)
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 32
ตอนนี้ base oil ก็เหมือนกันหมดค่ะ เพราะมาจากโรงกลั่นเดียวกัน แม้กระทั่ง ESSO ที่มีโรงกลั่นของตัวเอง แต่ก็อาจจะเป็นน้ำมันจากโรงกลั่นอื่นก็ได้ แต่สาร Additive ไม่เหมือนกันค่ะ แต่ละยี่ห้อก็มี additive ของตัวเอง additive ไม่ใช่แค่ผงชูรสค่ะ มันทำให้เกิดความแตกต่างได้ แม้จะเติมแต่เพียงนิดเดียว
วิธีการจ่ายน้ำมันเป็นดังนี้ค่ะ
1. ถ้าเป็นการเติมน้ำมันที่โรงกลั่น คลัง joint venture หรือคลังปลายท่อ - เมื่อรถน้ำมันไปถึงโรงกลั่น และได้รับใบเติมน้ำมันแล้ว หมายถึงการเตืมน้ำมันของรถคันนั้นได้ถูกบันทึกเข้าระบบ automation เรียบร้อยแล้ว เมื่อรถไปถึงงวงจ่าย หัวจ่ายก็จะเติม base oil มาตามปริมาณที่ระบบ automation บันทึกไว้ ในขณะเดียวกันก็จะมีอีกตัวจ่ายหนึ่งที่จะทำการจ่าย additive ให้ตรงกับผลิตภัณฑ์และปริมาณที่ถุกต้องตามสูตรที่แต่ละบริษัทกำหนดไว้ ซึ่งสูตรการจ่ายนี้ก็จะมีการ set ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เลย จ่ายเสร็จปั้บก็ตัดสต๊อกอัตโนมัติเลย สูตรใครสูตรมัน additive ก็ถังใครถังมันค่ะ ไม่มีการเอามาปนกัน เพราะมีการคุม stock กันอย่างเข้มงวด additive พวกนี้ถังหนึ่งราคาเป็นแสนๆค่ะ
2. ถ้าเป็นการเติมน้ำมันที่คลังที่เป็นคลังเดี่ยวๆ ส่วนใหญ่จะรับน้ำมันจากทางรถไฟ พวกนี้ส่วนใหญ่จะผสม additive มาจากต้นทางแล้ว เช่นถ้ารถไฟมาจากโรงกลั่นก็ผสมจากโรงกลั่นเลย เมื่อรถน้ำมันมาถึงก็จ่ายได้เลย ไม่ต้องผสม additive อีก
บริษัทแต่ละบริษัทต่างก็มีสูตรเฉพาะของตัวเองซึ่งเป็นความลับทางการค้า บริษัทข้ามชาติมี research center ที่ใหญ่มากทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเอง research center นี้ไม่ใช่ว่าแขกที่ไหนจะขอเข้าไปเยี่ยมชมได้ แม้เป็นพนักงานบริษัทจะเข้าไปได้ก็ต้องมีการขออนุมัติ และต้องมีงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เข้าไปก็มีการตรวจสอบเราอย่างเข้มงวด ออกมาก็ถูกตรวจสอบ ตรวจเข้มงวดกว่าสนามบินสุวรรณภูมิเยอะ
ทุกครั้งที่จะมีการวางผลิตภัณฑ์ใหม่ในท้องตลาด จะมีขั้นตอนที่รัดกุมทีเดียว ประเทศไหนทำตามข้อกำหนดไม่ได้ก็จะไม่ได้รับอนุญาติให้วางผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ว่านี้ส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่พวกน้ำมันเครื่อง ก็เป็นพวก additive สุตรใหม่ๆนี่แหละค่ะ สำหรับที่ว่ามีอะไรแตกต่างไหม มีแน่นอนค่ะ เพราะทุกครั้งพนักงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับการอบรมให้ทราบถึงความแตกต่าง มีการทดสอบเทียบเคียงกับยี่ห้ออื่นๆด้วย แต่ในแง่ความเสี่ยงของข้อกฏหมายและข้อกำหนดของบริษัทที่มีไว้เพื่อจัดการเรื่องความเสี่ยงในประเทศต่างๆ ทำให้สามารถทำการโฆษณาได้แต่ในภาพกว้างๆเท่านั้น อย่างเช่นในไทย เราไม่สามารถเทียบในสื่อได้ว่า เป๊ปซี่ดีกว่าโค้ก หรือ โค้กดีกว่าเป๊ปซี่ เพราะผิดกฏหมาย แต่ที่อเมริกาทำได้เป็นต้น ด้วยเหตุนี้บางบริษัทจึงมีนโยบายว่าจะไม่แข่งเรื่องราคา แต่แน่นอนค่ะ ตลาดเมืองไทยเป้นตลาดที่ price sensitive ดังนั้นจึงทำให้ฝ่ายขายทำงานลำบากมากขึ้นทุกที แต่ก็ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งว่าทำอย่างไรจึงจะขายได้ แต่สมัยก่อนส่วนใหญ่ราคาจะเท่ากันนะคะ น้อยครั้งมากที่ราคาแพงกว่า ปตท.
ส่วนบริษัทในประเทศ เช่น ปตท หรือ บางจาก เท่าที่ทราบจะมีบริษัทที่อเมริกา ที่ไม่เกี่ยวกับ esso หรือ เชลล์ ขาย additive ให้
คลัง joint venture คือคลังที่บริษัทน้ำมันใช้งานร่วมกัน โดยมีบริษัทใดบริษัทหนึ่งทำหน้าที่เป็น operator ให้ แล้ว charge ค่าบริการกัน แต่ตัวน้ำมันก็ของใครของมัน วิธีการคือ บริษัทน้ำมันต่างจะส่ง base oil มาเก็บไว้ที่คลัง ก็ลงถังเดียวกันค่ะ สมมุติว่า คลังนั้นเป็นคลังที่ใช้ร่วมกันระหว่าง เชลล์กับเอสโซ่ เชลล์ก็จะเอาน้ำมันจากโรงกลั่นระยองมาเติมเอาไว้ มีอยู่ยุคหนึ่งก็มีน้ำมันจาก thaioil ด้วย เอสโซ่ก็เอาน้ำมันจากโรงกลั่นเอสโซ่มาลงไว้ในถังเดียวกัน เวลารถมาเติมก็เติมเบสออยล์ไป แต่เติม additive ของตัวเองไป ถึงสิ้นเดือนก็ charge ค่าบริการกัน
ส่วนคลังปลายท่อคือ สระบุรี ลำลุกกา บางประอิน และคลังที่สนามบิน ก็จะส่งน้ำมันของตัวเองเข้าท่อ ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ คลังปลายท่อจะเป็นน้ำมันใสเท่านั้น จะไม่มีพวกน้ำมันดำเพราะส่งเข้าท่อเดียวกันไม่ได้ ส่วนเมื่อไปถึงคลังปลายท่อแล้วไปเข้าถังไหน ก็มีทั้งสองกรณีค่ะ คือมีทั้งถังของยี่ห้อตัวเองกับกับถังที่ใช้ร่วมกัน พอจ่ายน้ำมันมันก็ต่อท่อมาจ่ายที่หัวจ่ายเดียวกันอยุ่ดี แล้วก็เติม additive ตามขั้นตอนเหมือนที่โรงกลั่น ส่วนวิธีการส่งน้ำมันเข้าท่อมันก็จะมี procedure คุมอยู่ว่าจะต้องส่งอะไรก่อนอะไรหลัง ส่งมั่วไม่ได้ เมื่อตอนเปิดคลังปลายท่อใหม่ๆปีแรกพนักงานไม่คุ้นเคย ส่งผิดลำดับ ทำให้น้ำมัน contaminate ต้องสุบลงรถส่งกลับเข้า lab ที่คลังแม่เพื่อทำการ treatement ก็เคยมี
ดังนั้น additive ในแง่ความเป้นจริงแล้วมีความแตกต่างกันแน่นอน แม้ใส่แล้วจะทำให้ต้นทุนตัวเองสูงขึ้นทั้งที่ขายได้ราคาเดียวกันก็ต้องทำ เพราะในแง่ของบริษัทข้ามชาติ การมาขี้เหนียวในเรื่องที่อาจทำให้เกิดผลกระทบกับคุณภาพ เขาไม่ทำกันค่ะ เพราะเขาค้าขายทั่วโลก ข้อเสียหายในประเทศหนึ่ง อาจทำให้กระทบกับภาพรวมของบริษัททั่วโลก ยิ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่บริษัทถือว่าได้กำไรน้อย อยากจะถอนธุรกิจกลับไปทุกปี เขาไม่ยอมให้เรื่องเหล่านี้มากระทบกับภาพรวมใหญ่หรอก ถอนบริษัทออกไปยังจะดีเสียกว่ามาเสียชื่อกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง อันนี้คือได้ยินจากปากของผู้ใหญ่จากบริษัทแม่เลย
และจะมีน้ำมันอีกพวกหนึ่งที่ผสม additive แบบพิเศษให้กับบางบริษัทเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งให้พวกโรงงานผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก สูตรใครสูตรมัน เพราะแต่ละประเทศมี requirement ไม่เหมือนกัน น้ำมันพวกนี้จะเป็น initial fill สำหรับรถที่ประกอบสำเร็จรูปแล้วส่งไปขาย จะเป็นการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ระหว่าบริษัทน้ำมันกับบริษัทรถยนต์ แต่พัฒนาสูตรเสร็จ lab ของทางบริษัทแม่ก็ต้อง approve ก่อน มิฉะนั้นจะเซ็นต์สัญญาไม่ได้ ถ้า additive ไม่มีความสำคัญ ของพวกนี้คงไม่ต้องทำหรอกค่ะ
วิธีการจ่ายน้ำมันเป็นดังนี้ค่ะ
1. ถ้าเป็นการเติมน้ำมันที่โรงกลั่น คลัง joint venture หรือคลังปลายท่อ - เมื่อรถน้ำมันไปถึงโรงกลั่น และได้รับใบเติมน้ำมันแล้ว หมายถึงการเตืมน้ำมันของรถคันนั้นได้ถูกบันทึกเข้าระบบ automation เรียบร้อยแล้ว เมื่อรถไปถึงงวงจ่าย หัวจ่ายก็จะเติม base oil มาตามปริมาณที่ระบบ automation บันทึกไว้ ในขณะเดียวกันก็จะมีอีกตัวจ่ายหนึ่งที่จะทำการจ่าย additive ให้ตรงกับผลิตภัณฑ์และปริมาณที่ถุกต้องตามสูตรที่แต่ละบริษัทกำหนดไว้ ซึ่งสูตรการจ่ายนี้ก็จะมีการ set ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เลย จ่ายเสร็จปั้บก็ตัดสต๊อกอัตโนมัติเลย สูตรใครสูตรมัน additive ก็ถังใครถังมันค่ะ ไม่มีการเอามาปนกัน เพราะมีการคุม stock กันอย่างเข้มงวด additive พวกนี้ถังหนึ่งราคาเป็นแสนๆค่ะ
2. ถ้าเป็นการเติมน้ำมันที่คลังที่เป็นคลังเดี่ยวๆ ส่วนใหญ่จะรับน้ำมันจากทางรถไฟ พวกนี้ส่วนใหญ่จะผสม additive มาจากต้นทางแล้ว เช่นถ้ารถไฟมาจากโรงกลั่นก็ผสมจากโรงกลั่นเลย เมื่อรถน้ำมันมาถึงก็จ่ายได้เลย ไม่ต้องผสม additive อีก
บริษัทแต่ละบริษัทต่างก็มีสูตรเฉพาะของตัวเองซึ่งเป็นความลับทางการค้า บริษัทข้ามชาติมี research center ที่ใหญ่มากทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเอง research center นี้ไม่ใช่ว่าแขกที่ไหนจะขอเข้าไปเยี่ยมชมได้ แม้เป็นพนักงานบริษัทจะเข้าไปได้ก็ต้องมีการขออนุมัติ และต้องมีงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เข้าไปก็มีการตรวจสอบเราอย่างเข้มงวด ออกมาก็ถูกตรวจสอบ ตรวจเข้มงวดกว่าสนามบินสุวรรณภูมิเยอะ
ทุกครั้งที่จะมีการวางผลิตภัณฑ์ใหม่ในท้องตลาด จะมีขั้นตอนที่รัดกุมทีเดียว ประเทศไหนทำตามข้อกำหนดไม่ได้ก็จะไม่ได้รับอนุญาติให้วางผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ว่านี้ส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่พวกน้ำมันเครื่อง ก็เป็นพวก additive สุตรใหม่ๆนี่แหละค่ะ สำหรับที่ว่ามีอะไรแตกต่างไหม มีแน่นอนค่ะ เพราะทุกครั้งพนักงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับการอบรมให้ทราบถึงความแตกต่าง มีการทดสอบเทียบเคียงกับยี่ห้ออื่นๆด้วย แต่ในแง่ความเสี่ยงของข้อกฏหมายและข้อกำหนดของบริษัทที่มีไว้เพื่อจัดการเรื่องความเสี่ยงในประเทศต่างๆ ทำให้สามารถทำการโฆษณาได้แต่ในภาพกว้างๆเท่านั้น อย่างเช่นในไทย เราไม่สามารถเทียบในสื่อได้ว่า เป๊ปซี่ดีกว่าโค้ก หรือ โค้กดีกว่าเป๊ปซี่ เพราะผิดกฏหมาย แต่ที่อเมริกาทำได้เป็นต้น ด้วยเหตุนี้บางบริษัทจึงมีนโยบายว่าจะไม่แข่งเรื่องราคา แต่แน่นอนค่ะ ตลาดเมืองไทยเป้นตลาดที่ price sensitive ดังนั้นจึงทำให้ฝ่ายขายทำงานลำบากมากขึ้นทุกที แต่ก็ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งว่าทำอย่างไรจึงจะขายได้ แต่สมัยก่อนส่วนใหญ่ราคาจะเท่ากันนะคะ น้อยครั้งมากที่ราคาแพงกว่า ปตท.
ส่วนบริษัทในประเทศ เช่น ปตท หรือ บางจาก เท่าที่ทราบจะมีบริษัทที่อเมริกา ที่ไม่เกี่ยวกับ esso หรือ เชลล์ ขาย additive ให้
คลัง joint venture คือคลังที่บริษัทน้ำมันใช้งานร่วมกัน โดยมีบริษัทใดบริษัทหนึ่งทำหน้าที่เป็น operator ให้ แล้ว charge ค่าบริการกัน แต่ตัวน้ำมันก็ของใครของมัน วิธีการคือ บริษัทน้ำมันต่างจะส่ง base oil มาเก็บไว้ที่คลัง ก็ลงถังเดียวกันค่ะ สมมุติว่า คลังนั้นเป็นคลังที่ใช้ร่วมกันระหว่าง เชลล์กับเอสโซ่ เชลล์ก็จะเอาน้ำมันจากโรงกลั่นระยองมาเติมเอาไว้ มีอยู่ยุคหนึ่งก็มีน้ำมันจาก thaioil ด้วย เอสโซ่ก็เอาน้ำมันจากโรงกลั่นเอสโซ่มาลงไว้ในถังเดียวกัน เวลารถมาเติมก็เติมเบสออยล์ไป แต่เติม additive ของตัวเองไป ถึงสิ้นเดือนก็ charge ค่าบริการกัน
ส่วนคลังปลายท่อคือ สระบุรี ลำลุกกา บางประอิน และคลังที่สนามบิน ก็จะส่งน้ำมันของตัวเองเข้าท่อ ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ คลังปลายท่อจะเป็นน้ำมันใสเท่านั้น จะไม่มีพวกน้ำมันดำเพราะส่งเข้าท่อเดียวกันไม่ได้ ส่วนเมื่อไปถึงคลังปลายท่อแล้วไปเข้าถังไหน ก็มีทั้งสองกรณีค่ะ คือมีทั้งถังของยี่ห้อตัวเองกับกับถังที่ใช้ร่วมกัน พอจ่ายน้ำมันมันก็ต่อท่อมาจ่ายที่หัวจ่ายเดียวกันอยุ่ดี แล้วก็เติม additive ตามขั้นตอนเหมือนที่โรงกลั่น ส่วนวิธีการส่งน้ำมันเข้าท่อมันก็จะมี procedure คุมอยู่ว่าจะต้องส่งอะไรก่อนอะไรหลัง ส่งมั่วไม่ได้ เมื่อตอนเปิดคลังปลายท่อใหม่ๆปีแรกพนักงานไม่คุ้นเคย ส่งผิดลำดับ ทำให้น้ำมัน contaminate ต้องสุบลงรถส่งกลับเข้า lab ที่คลังแม่เพื่อทำการ treatement ก็เคยมี
ดังนั้น additive ในแง่ความเป้นจริงแล้วมีความแตกต่างกันแน่นอน แม้ใส่แล้วจะทำให้ต้นทุนตัวเองสูงขึ้นทั้งที่ขายได้ราคาเดียวกันก็ต้องทำ เพราะในแง่ของบริษัทข้ามชาติ การมาขี้เหนียวในเรื่องที่อาจทำให้เกิดผลกระทบกับคุณภาพ เขาไม่ทำกันค่ะ เพราะเขาค้าขายทั่วโลก ข้อเสียหายในประเทศหนึ่ง อาจทำให้กระทบกับภาพรวมของบริษัททั่วโลก ยิ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่บริษัทถือว่าได้กำไรน้อย อยากจะถอนธุรกิจกลับไปทุกปี เขาไม่ยอมให้เรื่องเหล่านี้มากระทบกับภาพรวมใหญ่หรอก ถอนบริษัทออกไปยังจะดีเสียกว่ามาเสียชื่อกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง อันนี้คือได้ยินจากปากของผู้ใหญ่จากบริษัทแม่เลย
และจะมีน้ำมันอีกพวกหนึ่งที่ผสม additive แบบพิเศษให้กับบางบริษัทเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งให้พวกโรงงานผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก สูตรใครสูตรมัน เพราะแต่ละประเทศมี requirement ไม่เหมือนกัน น้ำมันพวกนี้จะเป็น initial fill สำหรับรถที่ประกอบสำเร็จรูปแล้วส่งไปขาย จะเป็นการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ระหว่าบริษัทน้ำมันกับบริษัทรถยนต์ แต่พัฒนาสูตรเสร็จ lab ของทางบริษัทแม่ก็ต้อง approve ก่อน มิฉะนั้นจะเซ็นต์สัญญาไม่ได้ ถ้า additive ไม่มีความสำคัญ ของพวกนี้คงไม่ต้องทำหรอกค่ะ
แสดงความคิดเห็น
ขอถาม ระหว่าง ปตท. เชลล์ บางจาก เอสโซ่ คุณภาพน้ำมัน ต่างกันหรือปล่าวครับ
เเล้วไห้เลือกเติม ท่านจะเติมที่ไหน เพราะอะไร
แต่ถ้าเลือกเพราะเหตุอย่างอื่น เช่น บางจาก มีประชาชนถือหุ้น 62 % ขอถามต่อว่า ระหว่าง กระทรวงการคลังถือหุ้น กับ ประชาชน ถือหุ้น ต่างกันอย่างไรครับ
ขอแท็กห้อง สินธร ด้วยนะครับ ถ้าไม่ตรงกราบขออภัยด้วยครับ