สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ทำใจให้สงบแล้วอ่านบทความนี้ดูนะครับ
คอลัมน์: องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้
ผศ.ดร.มงคลชัย วิริยะพินิจ ( Mongkolchai@acc.chula.ac.th)
ชื่อบทความในวันนี้อาจดูแปลกเสียหน่อย ซึ่งจริง ๆ แล้วต้องการเขียนถึงสิ่งที่เป็นบทเรียนที่ได้จากการสอนวิชาการบริหารความขัดแย้ง ซึ่งสาเหตุใหญ่ของการเกิดความขัดแย้งขึ้น คือการที่คนเรามีทัศนคติ หรือมีนิสัยที่ต่างกัน
จริง ๆ แล้วในโลกของเรานี้ มีความขัดแย้งเกิดขึ้นมากมาย แต่ปัญหาใหญ่ที่ทำให้บางทีคนเราไม่สามารถบริหารความขัดแย้งได้ คือ คนบางคนนั้นมี "อัตตา" หรือความเป็นตัวตนสูงจนเกินไป
คนที่มีอัตตาสูงเกินไปนั้น เปรียบเสมือน "คนตาบอด" กล่าวคือ ตาบอดที่ไม่เห็นความไม่ดีของตนเอง หรือนิสัยที่ไม่ดีของตนเอง ถึงแม้จะมีคนอื่นกล่าวว่าก็ยังไม่ยอมรับ มิหนำซ้ำยังกล่าวโทษคนอื่นด้วย
คนที่อัตตาสูงนั้นดูเหมือนเป็นคนชนะแต่จริง ๆ แล้วเป็นคนที่แพ้ใจตนเองเพราะคนที่ชนะใจตนเองได้ คือคนที่สามารถยอมรับความผิดพลาดของตนเอง หรือยอมแก้ไขนิสัย ทัศนคติตามคำแนะนำของคนหมู่มาก
อย่างไรก็ดี การจะไปลดอัตตาคนคนหนึ่งนั้นมิใช่เรื่องง่าย ถึงแม้ว่าคนคนนั้นจะไม่เป็นที่ชื่นชอบของทีมงาน หรือคนในสังคม ป่วยการที่จะพยายามให้เขาไปส่องกระจกดูหน้าตนเอง แล้วพิจารณาดูว่าเป็นอย่างที่คนอื่น ๆ เขาว่าหรือไม่ เพราะเขาจะไม่ทำ เนื่องจากใจของเขาไม่เข้มแข็งพอที่จะยอมรับตัวเอง
ผมคิดว่าการที่จะทำให้คนที่มีอัตตาสูงยอมรับปรับใจเปลี่ยนทัศนคติได้นั้นมิใช่มาจากคำพูดของคนอื่น แต่เขาต้องได้รับบทเรียนจากตัวเขาเอง และบทเรียนที่ว่านั้นนำมาซึ่งสถานการณ์ที่เขาได้เห็นผลร้ายที่เป็นรูปธรรม อันเป็นผลมาจากความคิดของเขา ความเป็นตัวตนของเขา
อาทิ บุคลากรคนหนึ่งในองค์กรเชื่อมั่นในความคิดของตนเองจนเกินไปว่าสิ่งที่ตนทำนั้นดี แผนงานที่ตนเองคิดนั้นดี เพื่อนร่วมงานหรือใครจะว่าอย่างไรก็ไม่เชื่อ มิหนำซ้ำยังดูถูกความคิดของคนอื่นด้วย เรียกว่าคนคนนี้ไม่ได้เป็นที่ยอมรับทั้งในด้านนิสัยใจคอ และความคิดความอ่านในเรื่องงาน
เป็นที่ไม่ต้องการของคนรอบข้างในองค์กร และนำมาซึ่งความไม่สบายใจของคนรอบข้าง กลายเป็นความขัดแย้งที่ถูกมองว่าเป็น "ปัญหาโลกแตก" ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้
อนึ่ง แนวคิดที่ว่าปัญหาบางปัญหานั้นแก้ไขอะไรไม่ได้ จริง ๆ ก็เป็นความคิดที่ไม่ผิด เพราะปัญหาบางปัญหาก็แก้ไขไม่ได้จริง ๆ
และนี่เป็นสาเหตุของความทุกข์ใจของคนบางคน ที่ทุกข์ใจจนไร้สติ เพราะมัวแต่ก้มหน้าก้มตากลุ้มใจไปกับสิ่งที่แก้ไขอะไรไม่ได้ อาทิ คนบางคนไม่หยุดเสียใจที่คนรักจากไป คนบางคนไม่หยุดเศร้าใจที่ประสบอุบัติเหตุจนต้องสูญเสียอวัยวะกลายเป็นคนพิการ ปัญหาพวกนี้แก้ไขอะไรไม่ได้ เพราะคนตายไปแล้วจะให้ฟื้นกลับมาไม่ได้ อวัยวะที่สูญเสียไปแล้วจะให้งอกกลับมาเหมือนเดิมก็มิใช่
ฉะนั้น คนที่ทุกข์ใจกับปัญหาประเภทนี้ถือว่าเป็นการแบกทุกข์ที่ไร้ซึ่งสติและปัญญา
เฉกเช่นเดียวกับการที่ท่านคาดหวังจะให้คนคนนั้นเป็น การจะให้เขาเปลี่ยนตัวเขาบางทีอาจจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะนั่นคือทัศนคติของเขา นิสัยของเขา ความเป็นตัวเขา
สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องให้เขาเห็นตัวเขาเองว่าที่เขาเป็น ที่เขาทำนั้นมันไม่เหมาะไม่ควร เขาถึงจะยอมเปลี่ยน
การที่ผมแนะนำอย่างนี้มิใช่ว่ามิให้พยายามบริหารความขัดแย้ง โดยการพยายามคุยปรับความเข้าใจกัน ให้เห็นข้อดี และข้อไม่ดีซึ่งกันและกัน แต่ในกรณีที่บุคคลที่ท่านประสบเจอนั้นมีอัตตาสูงมากเกินไป ผมเห็นว่าไม่น่าจะสำเร็จ จึงอยากให้ทำในสิ่งที่แนะนำคือ "อย่าเปลี่ยนที่เขา ให้เปลี่ยนที่เราดีกว่า"
คำว่า "เปลี่ยนที่เรา" คือการที่จะบอกให้เปลี่ยนที่ "ใจ" เรา เปลี่ยนที่"ทัศนคติ" เพราะเปลี่ยนที่ใจเรานั้นเปลี่ยนง่ายกว่าเปลี่ยนที่ใจเขา
เพราะถ้าจะคิดกันอย่างมีสติ แทนที่ท่านจะมานั่งทุกข์ใจในความพยายามที่จะปรับความเข้าใจกับเขา พยายามเปลี่ยนเขา
ขอให้ท่านปรับใจตัวท่านเอง ยอมรับเขาในสิ่งที่เขาเป็นจะดีเสียกว่า
นอกจากนี้ท่านยังสร้างความเป็นกุศลในใจได้ โดยพยายามเมตตาเขาสงสารเขา ที่ไม่มีใครเข้าใจ สงสารเขาที่ไม่มีใครชอบ ซึ่งเป็นวิธีปรับที่ใจของท่านเอง ข้อดีคือเป็นการลดปริมาณความทุกข์ในใจท่าน และท่านจะได้มีเวลาไปมีสมาธิที่จะคิดเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์มากกว่า และถ้าจะเชื่อมโยงไปกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ก็จะเห็นว่าท่านสามารถยอมเปลี่ยนที่ใจท่านเอง แทนที่จะเปลี่ยนใจเขา เท่ากับว่าท่านสามารถละกิเลส หรือละความอยากที่จะเอาชนะ
แทนที่ท่านจะพยายามเอาชนะใจเขาท่านสามารถเอาชนะใจตัวท่านเองได้การทำร้ายจิตใจระหว่างกันและกันก็จะน้อยลง ส่งเป็นกุศลที่จะนำมาซึ่งความสงบทางใจในที่สุด
หนังสือ "รวมแนวคิดหลากมุมมององค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้" หนังสือเล่มแรกในชีวิตที่รวบรวมบทความของ ดร.มงคลชัยวิริยะพินิจ มีพระอาจารย์ไพศาล วิสาโลและ รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนคำนิยมและเทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์ เป็นบรรณาธิการ สามารถหาซื้อได้จากร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป
ที่มา: หนังสือพิมพประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 15-18 กันยายน 2554, หน้า 36
คอลัมน์: องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้
ผศ.ดร.มงคลชัย วิริยะพินิจ ( Mongkolchai@acc.chula.ac.th)
ชื่อบทความในวันนี้อาจดูแปลกเสียหน่อย ซึ่งจริง ๆ แล้วต้องการเขียนถึงสิ่งที่เป็นบทเรียนที่ได้จากการสอนวิชาการบริหารความขัดแย้ง ซึ่งสาเหตุใหญ่ของการเกิดความขัดแย้งขึ้น คือการที่คนเรามีทัศนคติ หรือมีนิสัยที่ต่างกัน
จริง ๆ แล้วในโลกของเรานี้ มีความขัดแย้งเกิดขึ้นมากมาย แต่ปัญหาใหญ่ที่ทำให้บางทีคนเราไม่สามารถบริหารความขัดแย้งได้ คือ คนบางคนนั้นมี "อัตตา" หรือความเป็นตัวตนสูงจนเกินไป
คนที่มีอัตตาสูงเกินไปนั้น เปรียบเสมือน "คนตาบอด" กล่าวคือ ตาบอดที่ไม่เห็นความไม่ดีของตนเอง หรือนิสัยที่ไม่ดีของตนเอง ถึงแม้จะมีคนอื่นกล่าวว่าก็ยังไม่ยอมรับ มิหนำซ้ำยังกล่าวโทษคนอื่นด้วย
คนที่อัตตาสูงนั้นดูเหมือนเป็นคนชนะแต่จริง ๆ แล้วเป็นคนที่แพ้ใจตนเองเพราะคนที่ชนะใจตนเองได้ คือคนที่สามารถยอมรับความผิดพลาดของตนเอง หรือยอมแก้ไขนิสัย ทัศนคติตามคำแนะนำของคนหมู่มาก
อย่างไรก็ดี การจะไปลดอัตตาคนคนหนึ่งนั้นมิใช่เรื่องง่าย ถึงแม้ว่าคนคนนั้นจะไม่เป็นที่ชื่นชอบของทีมงาน หรือคนในสังคม ป่วยการที่จะพยายามให้เขาไปส่องกระจกดูหน้าตนเอง แล้วพิจารณาดูว่าเป็นอย่างที่คนอื่น ๆ เขาว่าหรือไม่ เพราะเขาจะไม่ทำ เนื่องจากใจของเขาไม่เข้มแข็งพอที่จะยอมรับตัวเอง
ผมคิดว่าการที่จะทำให้คนที่มีอัตตาสูงยอมรับปรับใจเปลี่ยนทัศนคติได้นั้นมิใช่มาจากคำพูดของคนอื่น แต่เขาต้องได้รับบทเรียนจากตัวเขาเอง และบทเรียนที่ว่านั้นนำมาซึ่งสถานการณ์ที่เขาได้เห็นผลร้ายที่เป็นรูปธรรม อันเป็นผลมาจากความคิดของเขา ความเป็นตัวตนของเขา
อาทิ บุคลากรคนหนึ่งในองค์กรเชื่อมั่นในความคิดของตนเองจนเกินไปว่าสิ่งที่ตนทำนั้นดี แผนงานที่ตนเองคิดนั้นดี เพื่อนร่วมงานหรือใครจะว่าอย่างไรก็ไม่เชื่อ มิหนำซ้ำยังดูถูกความคิดของคนอื่นด้วย เรียกว่าคนคนนี้ไม่ได้เป็นที่ยอมรับทั้งในด้านนิสัยใจคอ และความคิดความอ่านในเรื่องงาน
เป็นที่ไม่ต้องการของคนรอบข้างในองค์กร และนำมาซึ่งความไม่สบายใจของคนรอบข้าง กลายเป็นความขัดแย้งที่ถูกมองว่าเป็น "ปัญหาโลกแตก" ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้
อนึ่ง แนวคิดที่ว่าปัญหาบางปัญหานั้นแก้ไขอะไรไม่ได้ จริง ๆ ก็เป็นความคิดที่ไม่ผิด เพราะปัญหาบางปัญหาก็แก้ไขไม่ได้จริง ๆ
และนี่เป็นสาเหตุของความทุกข์ใจของคนบางคน ที่ทุกข์ใจจนไร้สติ เพราะมัวแต่ก้มหน้าก้มตากลุ้มใจไปกับสิ่งที่แก้ไขอะไรไม่ได้ อาทิ คนบางคนไม่หยุดเสียใจที่คนรักจากไป คนบางคนไม่หยุดเศร้าใจที่ประสบอุบัติเหตุจนต้องสูญเสียอวัยวะกลายเป็นคนพิการ ปัญหาพวกนี้แก้ไขอะไรไม่ได้ เพราะคนตายไปแล้วจะให้ฟื้นกลับมาไม่ได้ อวัยวะที่สูญเสียไปแล้วจะให้งอกกลับมาเหมือนเดิมก็มิใช่
ฉะนั้น คนที่ทุกข์ใจกับปัญหาประเภทนี้ถือว่าเป็นการแบกทุกข์ที่ไร้ซึ่งสติและปัญญา
เฉกเช่นเดียวกับการที่ท่านคาดหวังจะให้คนคนนั้นเป็น การจะให้เขาเปลี่ยนตัวเขาบางทีอาจจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะนั่นคือทัศนคติของเขา นิสัยของเขา ความเป็นตัวเขา
สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องให้เขาเห็นตัวเขาเองว่าที่เขาเป็น ที่เขาทำนั้นมันไม่เหมาะไม่ควร เขาถึงจะยอมเปลี่ยน
การที่ผมแนะนำอย่างนี้มิใช่ว่ามิให้พยายามบริหารความขัดแย้ง โดยการพยายามคุยปรับความเข้าใจกัน ให้เห็นข้อดี และข้อไม่ดีซึ่งกันและกัน แต่ในกรณีที่บุคคลที่ท่านประสบเจอนั้นมีอัตตาสูงมากเกินไป ผมเห็นว่าไม่น่าจะสำเร็จ จึงอยากให้ทำในสิ่งที่แนะนำคือ "อย่าเปลี่ยนที่เขา ให้เปลี่ยนที่เราดีกว่า"
คำว่า "เปลี่ยนที่เรา" คือการที่จะบอกให้เปลี่ยนที่ "ใจ" เรา เปลี่ยนที่"ทัศนคติ" เพราะเปลี่ยนที่ใจเรานั้นเปลี่ยนง่ายกว่าเปลี่ยนที่ใจเขา
เพราะถ้าจะคิดกันอย่างมีสติ แทนที่ท่านจะมานั่งทุกข์ใจในความพยายามที่จะปรับความเข้าใจกับเขา พยายามเปลี่ยนเขา
ขอให้ท่านปรับใจตัวท่านเอง ยอมรับเขาในสิ่งที่เขาเป็นจะดีเสียกว่า
นอกจากนี้ท่านยังสร้างความเป็นกุศลในใจได้ โดยพยายามเมตตาเขาสงสารเขา ที่ไม่มีใครเข้าใจ สงสารเขาที่ไม่มีใครชอบ ซึ่งเป็นวิธีปรับที่ใจของท่านเอง ข้อดีคือเป็นการลดปริมาณความทุกข์ในใจท่าน และท่านจะได้มีเวลาไปมีสมาธิที่จะคิดเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์มากกว่า และถ้าจะเชื่อมโยงไปกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ก็จะเห็นว่าท่านสามารถยอมเปลี่ยนที่ใจท่านเอง แทนที่จะเปลี่ยนใจเขา เท่ากับว่าท่านสามารถละกิเลส หรือละความอยากที่จะเอาชนะ
แทนที่ท่านจะพยายามเอาชนะใจเขาท่านสามารถเอาชนะใจตัวท่านเองได้การทำร้ายจิตใจระหว่างกันและกันก็จะน้อยลง ส่งเป็นกุศลที่จะนำมาซึ่งความสงบทางใจในที่สุด
หนังสือ "รวมแนวคิดหลากมุมมององค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้" หนังสือเล่มแรกในชีวิตที่รวบรวมบทความของ ดร.มงคลชัยวิริยะพินิจ มีพระอาจารย์ไพศาล วิสาโลและ รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนคำนิยมและเทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์ เป็นบรรณาธิการ สามารถหาซื้อได้จากร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป
ที่มา: หนังสือพิมพประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 15-18 กันยายน 2554, หน้า 36
แสดงความคิดเห็น
เราควรให้โอกาส คนขี้เกียจทำงาน และ คนที่ไม่มีความรับผิดชอบ มากแค่ไหน
ต่อตัวเองและผู้อื่น อีโก้จัด
ผมอยากจะกระตุ้น ให้เขาดีขึ้น แต่ยิ่งทำก็ยิ่งเหนื่อยใจ ปกติคนเรา ควร / ไม่ควรจะเสียเวลากับคนประเภทนี้อ่ะครับ
ที่ผมทำเพราะผมอยากช่วยเขาจริงๆ แต่ตอนนี้รู้สึกท้ออ่ะครับ
ยกตัวอย่างเรื่องทั่วๆไป
เช่น เพื่อนไม่กล้าไปคุยกับปลัดอำเภอเรื่องธุรของเค้าเอง ผมบอกว่าโอเคได้ วันไหน มันบอกพรุ่งนี้ ผมก็ถามว่ากี่โมง
มันบอกไม่รู้ว่ะ ซัก 9 โมงละกัน คืนนั้น ผมโทรไปนัดท่านปลัดให้มัน ว่าผมขอพาเพื่อนไปพบพรุ่งนี้ประมาณ 9โมงครึ่ง
ผมรอจน 9 โมง เลยโทรไปไม่ติด ผมเลยรอจน 10 โมง ผมไปหาที่บ้านเลย มันนอนโทรศัพท์หมดแบตก็ไม่ชาร์จ ผมเลยถามว่าจะไปมั้ยวะ มันบอกไม่ไหววะ เมื่อคืนนอนดึกมาก นอนตี 4 เล่นเกม ไว้วันใหม่
น้องผม ผมหาหนังสือให้อ่านเกี่ยวกับ การบริหารชีวิต การมองหางานที่ตัวเองชอบ ฯลฯ ผมอุตส่าห์ไปเลือกมา ที่อ่านง่าย เรียบเรียงดี ภาพสวย ปรากฏว่า มันบอกว่า อือๆ แล้วมันไม่อ่าน ทิ้งเปะไว้ที่เดิมที่ผมเคยวาง ผมไม่ยอมแพ้ เอาไปวางไว้ที่ห้องนอน
ผมเข้าไปอีกทีเจอ หนังสือตกใต้เตียงแถมยังเปียกน้ำ เพราะหน้าต่างฝนสาดเข้ามา
อยู่บ้านเฉยๆ ไม่ทำงานอย่างน้อยก็ รู้จักล้างจาน , ซักผ้า ของตัวเองมั่ง ขอตังค์แม่ให้น้อยๆลงมั่ง มันไม่เคยทำเลยครับ
นอนตื่นเที่ยง ลงมากินข้าว แล้วก็ขึ้นไปบนห้องเล่นเกม แล้วก็นอน เบื่อๆก็ออกไปกินเหล้า ชีวิตมันมีแค่นีอ่ะ
ผมรู้สึกหงุดหงิด เวลาเห็นคนไม่ทำไรเลยวันๆ เห็นในสายตาแล้วรู้สึกว่าเกะกะ ถ้าเป็นเศษขยะก็อยากกวาดทิ้งอ่ะครับ
ช่วยแนะนำผมที
คำถาม
1.ผมอยากได้วิธีบริหาร จัดการ ชีวิตของ 2 คนนี้ ให้ดีขึ้นครับ ต้องทำอย่างไรครับ
2. หากไม่ดีขึ้นสักที เราควรให้โอกาสเค้ามากแค่ไหน