อยากถามเกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์ ที่อัพกันในyoutubeค่ะ

กระทู้คำถาม
ขอเกริ่นก่อนว่า ช่วงหลังมานี้ดูละครเเละฟังเพลงตามเว็บต่างๆ(โดยเฉพาะyoutube) มากกว่าดูทีวีหรือเปิดวิทยุค่ะ
เเละเห็นบ่อยครั้งว่า มีหลายวีดิโอในyoutubeหรือเว็บต่างๆที่ถูกเเจ้งเตือนเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งพอถูกเเจ้งเตือนเจ้าของวีดิโอก็จะลบวีดิโอนั้นไป

เลยอยากทราบว่า การเเจ้งเตือนนั้นใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ว่าด้วยเรื่องอะไร
เพราะลองๆเปิดกฎหมายดู ก็เห็นว่ามีมาตราที่ว่าด้วยเรื่อง การเเพร่เสียงเเพร่ภาพ กับเรื่องการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
เลยอยากทราบว่าใช้มาตราไหนในการเเจ้งเตือนคะ?

เเล้วใครเป็นผู้มีสิทธิ์เเจ้งค่ะ? สถานีโทรทัศน์รึเปล่าคะ?

เเล้วถ้าถูกเเจ้งเตือน เเต่เจ้าของวีดิโอไม่ลบวีดิโอนั้น จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายยังไงคะ?

ปล. อาจมีการใช้ศัพท์ทางกฎหมายผิดบ้าง ต้องขออภัยค่ะ
ปล2. อยากทราบไว้เป็นความรู้ค่ะ

เพิ่งตั้งกระทู้นี้เป็นกระทู้เเรก ถ้ามีเเท็กผิดหรือมีอะไรผิดพลาด ขอคำเเนะนำด้วยนะคะ จะได้เเก้ไขค่ะ(เเท็กไม่ค่อยเป็นค่ะ)
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ก่อนอื่นต้องตีความคำว่าลิขสิทธิ์ก่อนค่ะ
ตามมาตรา4 แห่งพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ให้ความหมายว่า

สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำอะไรก็ได้ตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้เกี่ยวกับงานที่ตัวเองสร้างขึ้น


ลิขสิทธิ์ได้มายังไง .....ตามม.8 ในกรณีที่งานชิ้นนั้นยังไม่ได้มีการโฆษณา แต่ผู้จัดทำมีสัญชาติไทยหรืออยู่ในประเทศที่มีสัญญาข้อตกลงว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งไทยเรารวมอยู่ในภาคีด้วย ลิขสิทธิ์ได้มาตั้งแต่ที่เราทำผลงานเสร็จ ไม่ต้องไปจดค่ะ มีกฎหมายคุ้มครองอยู่
ดังนั้น เมื่อผลงานเราสร้างขึ้นมาสำเร็จ เราก็ถือเป็นเจ้าของผลงานแล้วค่ะ

ต่างกับจดทรัพย์สินทางปัญญา อันนั้นต้องรีบไปจด ส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัย ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆที่ยังไม่มีใครทำขึ้นมาในโลกมาก่อน


การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตามม.20 งานที่มีลิขสิทธิ์ที่เราทำขึ้น หากเราใช้นามแฝงหรือไม่ได้ระบุชื่อเราไว้ มีอายุในการคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นเวลา 50ปี นับตั้งแต่ที่ผลงานถูกสร้างขึ้น
แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานในระยะเวลาที่กำหนดไว้ 50ปี ก็ให้เราเริ่มนับอายุผลงานเรา ตั้งแต่ที่เริ่มมีการโฆษณาครั้งแรก


ม.21 ลิขสิทธิ์ ภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพก็มีอายุลิขสิทธิ์50ปีเช่นกัน


การละเมิดลิขสิทธิ์ คือ การทำซ้ำหรือดัดแปลง  เผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตเจ้าของผลงาน
โดยเฉพาะการทำไปเพื่อเรียกเก็บเงินหรือทางการค้า

แต่การละเมิดลิขสิทธิ์ได้รับยกเว้นตามมาตรา 23
ถ้าเราไม่นำไปทำทางการค้า หรือทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกไปแสดงเพื่อประโยชน์ทางการสอน ที่ไม่ได้หากำไร

ถ้าเป็นงานที่ได้ทำขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้ ให้ลิขสิทธิ์นั้น ตกเป็นของเจ้าของผลงาน นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามที่ตกลงกันไว้ตอนทำสัญญาจ้าง

แต่ถ้านายจ้างหรือเจ้าของสถานีทำหนังสือว่างานที่ทำ จะเป็นของสถานี ฝ่ายกฎหมายของสถานีจะเป็นผู้ดำเนินการค่ะ

สรุป..แล้วแต่ดุลพินิจของเจ้าของผลงานว่า อยากดำเนินการหรือไม่อย่างไร

ถ้าเจ้าของไปเห็นว่าผลงานของเราถูกนำไปใฃ้โดยชื่อของคนอื่น เอาชื่อของเราตัดทิ้งไป ง่ายๆคือ ขโมยผลงาน
ก็ให้ยื่นต้นฉบับของตัวเองมาแสดงหลักฐานในการฟ้อง โดยใช้มาตรา 27ถึง30และ52ในการฟ้อง เรื่องการคุ้มครองลิขสิทธิ์

การดำเนินการทางกฎหมายคือ ..ตามม.69 ใครที่ละเมิดลิขสิทธิ์ตามม.27ถึง30และ52 มีโทษปรับ ตั้งแต่2หมื่นบาทถึง2แสนบาท ถ้าทำเพื่อกาค้า มีโทษจำคถก ตั้งแต่6เดือนถึง4ปี หรือปรับตั้งแต่1แสนบาทถึง8แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่ถ้าทำผิดตามมาตรา 31 คือรู้อยู่แล้วแต่ยังทำเพื่อหากำไร
ก็ให้รับโทษตามมาตรา 70 ปรับตั้งแต่5หมื่นบาทถึง4แสนบาท จำคุกตั้งแต่3เดือนถึง2ปี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่