จาก www.siamsport.co.th
http://www.siamsport.co.th/Sport_Football/130625_288.html
ถึงตอนนี้การเลือกตั้งตำแหน่งนายกสมาคม ฟุตบอลฯ ของไทยยังไม่กำหนดออกมาอย่างเป็นทางการว่าเมื่อไหร่ และเลือกตั้งกันโดยวิธีใด เพราะต้องรอการประชุมของเหล่ามวลสมาชิกกันอีกครั้ง
ในเวลาเดียวกันก็มีคำถามเกิดขึ้นมาอย่างมากมายทั้งในโลกออนไลน์ และคนทั่วไปว่าทำไมถึงเลือกตั้งไม่ได้เสียที กฎใหม่กับกฎเก่ามันต่างกันอย่างไร
แบบไหนมันดี แบบไหนมันไม่ดี
แน่นอน ประเด็นเหล่านี้เราต้องนำมาเขียนและแจงกันอย่างละเอียด รวมทั้งเอามาเปรียบเทียบระหว่างการใช้กฎการเลือกแบบเก่าที่ต้องใช้สโมสรสมาชิกมาออกเสียงทั้งหมด 184 เสียง ซึ่งแต่ละสโมสรอย่างที่เราท่านทั้งหลายรับทราบกันคือ
บางสโมสรเตะแค่ 2 นัดใน 1 ปี มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยที่ตลอดทั้งปีไม่ต้องทำกิจกรรมอะไรเลย 1 ปีรอแข่งถ้าตกรอบก็เป็นอันจบ ต้องรอใหม่ปีหน้า
ขณะที่กฎใหม่หรือธรรมนูญใหม่ของฟีฟ่านั้นมีแนวนโยบายคือการพัฒนาฟุตบอลตั้งแต่รากหญ้าเป็นหลักนั่นหมายความว่าสิทธิ์ของสโมสรที่จะได้ลงคะแนนนั้นจะต้องเป็นสโมสรที่ทำงานร่วมกับสมาคมฟุตบอลนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เขาเล็งเห็นว่าทีมสโมสรเหล่านี้คือ
ตัวจักรในการพัฒนาไปสู่ระดับสูง :
ตัวอย่างที่เทียบกันง่ายๆ ทีมที่ทำกิจกรรมกับสมาคมฟุตบอลตลอดนั่นคือสโมสรที่ส่งทีมแข่งขันในรายการไทยลีก, ด.1 เอไอเอสลีก ทีมเหล่านี้มีการลงทุนเยอะ บางทีลงทุนเป็นพันล้าน ร้อยล้าน ทั้งจ่ายเงินเดือนนักเตะเพื่อความเป็นอาชีพ การซื้อนักเตะจากต่างประเทศ
มาเล่น แม้มุมหนึ่งจะมองว่าซื้อมาเพื่อทีมตัวเอง แต่ถ้ามองอีกด้านการที่ซื้อนักเตะต่างแดนที่เก่งมาเล่นจะเป็นการพัฒนาฝีเท้าเด็กไทยไปในตัวด้วย
ที่สำคัญทีมโมสรเหล่านี้มีตัวตนมีคนดูแลที่แท้จริงสามารถจับต้องได้ เหนือสิ่งอื่นใดคนเหล่านี้มีความคิดในเรื่องของฟุตบอลที่แท้จริง รู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อพัฒนาฟุตบอลไปข้างหน้าอย่างมีระบบและถูกต้อง
มองที่แบบเก่าสโมสรตำบลบ้าง, เทศบาลบ้างชมรมศิษย์เก่านั้น ศิษย์เก่านี้ มีเกลื่อนไปหมด ถามว่ามีตัวตนคนรับผิดชอบดูแลหรือไม่ คำตอบคือ
แทบจะหาตัวตนไม่เจอ มีชื่อ แต่ไม่มีเจ้าของอะไรทำนองนั้น เมื่อถึงเวลาเลือกตั้งจะมีการกะเกณฑ์คนที่อยู่ในอาณัติของตัวเองเป็นตัวแทนไปเลือก และเลือกตามใบสั่งว่า
เลือกนายคนนั้น นายคนนี้...
จากนั้นกลุ่มคนดังกล่าวต่างแยกย้ายและจะกลับมาใหม่ในอีก 2 ปีข้างหน้า ในการเลือกตั้งครั้งใหม่
นี่คือความแตกต่าง และนี่คือสิ่งที่เราพอจะรับรู้ได้ว่าทำไม และเพราะอะไร วงการฟุตบอลของไทยมันถึงตกต่ำอย่างช่วยไม่ได้มาตั้งแต่การก่อตั้งสมาคมฟุตบอลเป็นต้นมา
ณ วันนี้ฟีฟ่าได้นำเอาสิ่งที่ดี และสิ่งที่มองเห็นแนวทางของการพัฒนาด้วยการใช้ธรรมนูญใหม่ ทุกอย่างโปร่งใส ทั้งการเลือกตั้งและการให้สิทธิ์ รวมทั้งการตัดสิทธิ์สำหรับสโมสรที่ไม่มีกิจกรรมเลย หรือกิจกรรมน้อยออกไป
ทีนี้เรามาดูกันว่าการเลือกตั้งทั้งแบบใหม่และแบบเก่ามีสโมสรใดบ้างมีสิทธิ์มีเสียงเลือกตั้ง
การเลือกตั้งแบบให้ตามธรรมนูญฟีฟ่า ซึ่งสมาคมฟุตบอลฯ พิจารณาให้สิทธิ์ 72 สโมสรเท่านั้น ประกอบด้วยทีมในโตโยต้า พรีเมียร์ลีก 18 ทีม, จากยามาฮ่า ลีกวัน 18 ทีม จากเอไอเอสลีก 30 ทีม ซึ่งเอไอเอสลีกมีทั้งหมด 84 ทีม จาก 6 ภาค ใช้วิธีการให้ภายในภาคของตัวเองคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้ามา ภาคละ 5 ทีม รวม 6ภาค 30 ทีม ที่เหลืออีก 6 ทีมให้สิทธิ์ทีมจากถ้วย ข คและ ง ที่เป็นแชมป์และรองแชมป์ปีล่าสุด รวมทั้งหมด72 เสียงเลือกผู้นำลูกหนัง
แบบเก่า ตามข้อบังคับสมาคมฟุตบอล ปีนี้มีทีมที่มีสิทธิ์เลือกตั้งหมด 184 เสียง มาจากโตโยต้าพรีเมียร์ลีก 12 ทีม, จากยามาฮ่า ลีก วัน 11 ทีม, จากเอไอเอสลีก 26 ทีม, จากถ้วย ข 26 ทีม, จากถ้วย ค27 ทีม, จากถ้วย ง 78 ทีม และจากฟุตซอล 1 ทีมโดยที่เราจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนว่าถ้าเลือกตั้งแบบเก่าทีมในไทยลีกอย่าง ราชบุรี มิตรผลเอฟซี, ชัยนาท เอฟซี ทีมเหล่านี้ที่ทุ่มเงินทำทีมเป็นร้อยล้านจะไม่มีสิทธิ์เช่นเดียวกับ ด.1 ทีมอย่าง ภูเก็ต เอฟซี,ตราด เอฟซี ฯลฯ ที่ลงทุนเป็นร้อยล้านก็จะไม่มีสิทธิ์เหมือนกัน ขณะที่เอไอเอสลีกทั่วประเทศไทยจะมีสิทธิ์ลงคะแนนเพียง 26 ทีมจาก 84 ทีม
นี่คือสิ่งที่เรานำมาเปรียบเทียบ และทุกคนพิจารณากันดูว่าการเลือกตั้งแบบเก่ากับแบบใหม่ตามธรรมนูญฟีฟ่านั้นแบบไหนที่จะเป็นตัวบ่งบอกถึงการพัฒนาฟุตบอลที่แท้จริง เราย้ำว่าถ้ามันไม่ดีจริงไม่มีประโยชน์จริงฟีฟ่าคงไม่ออกกฎให้สมาชิก 208 ชาตินำไปปฏิบัติ
ไทยเราเองเป็นสมาชิกของฟีฟ่าไม่คิดจะทำตามหรือไง...
ทำไม...ต้องใช้ธรรมนูญฟีฟ่าเลือกตั้ง เพราะ...โปร่งใสและยุติธรรม
http://www.siamsport.co.th/Sport_Football/130625_288.html
ถึงตอนนี้การเลือกตั้งตำแหน่งนายกสมาคม ฟุตบอลฯ ของไทยยังไม่กำหนดออกมาอย่างเป็นทางการว่าเมื่อไหร่ และเลือกตั้งกันโดยวิธีใด เพราะต้องรอการประชุมของเหล่ามวลสมาชิกกันอีกครั้ง
ในเวลาเดียวกันก็มีคำถามเกิดขึ้นมาอย่างมากมายทั้งในโลกออนไลน์ และคนทั่วไปว่าทำไมถึงเลือกตั้งไม่ได้เสียที กฎใหม่กับกฎเก่ามันต่างกันอย่างไร
แบบไหนมันดี แบบไหนมันไม่ดี
แน่นอน ประเด็นเหล่านี้เราต้องนำมาเขียนและแจงกันอย่างละเอียด รวมทั้งเอามาเปรียบเทียบระหว่างการใช้กฎการเลือกแบบเก่าที่ต้องใช้สโมสรสมาชิกมาออกเสียงทั้งหมด 184 เสียง ซึ่งแต่ละสโมสรอย่างที่เราท่านทั้งหลายรับทราบกันคือ
บางสโมสรเตะแค่ 2 นัดใน 1 ปี มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยที่ตลอดทั้งปีไม่ต้องทำกิจกรรมอะไรเลย 1 ปีรอแข่งถ้าตกรอบก็เป็นอันจบ ต้องรอใหม่ปีหน้า
ขณะที่กฎใหม่หรือธรรมนูญใหม่ของฟีฟ่านั้นมีแนวนโยบายคือการพัฒนาฟุตบอลตั้งแต่รากหญ้าเป็นหลักนั่นหมายความว่าสิทธิ์ของสโมสรที่จะได้ลงคะแนนนั้นจะต้องเป็นสโมสรที่ทำงานร่วมกับสมาคมฟุตบอลนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เขาเล็งเห็นว่าทีมสโมสรเหล่านี้คือ
ตัวจักรในการพัฒนาไปสู่ระดับสูง :
ตัวอย่างที่เทียบกันง่ายๆ ทีมที่ทำกิจกรรมกับสมาคมฟุตบอลตลอดนั่นคือสโมสรที่ส่งทีมแข่งขันในรายการไทยลีก, ด.1 เอไอเอสลีก ทีมเหล่านี้มีการลงทุนเยอะ บางทีลงทุนเป็นพันล้าน ร้อยล้าน ทั้งจ่ายเงินเดือนนักเตะเพื่อความเป็นอาชีพ การซื้อนักเตะจากต่างประเทศ
มาเล่น แม้มุมหนึ่งจะมองว่าซื้อมาเพื่อทีมตัวเอง แต่ถ้ามองอีกด้านการที่ซื้อนักเตะต่างแดนที่เก่งมาเล่นจะเป็นการพัฒนาฝีเท้าเด็กไทยไปในตัวด้วย
ที่สำคัญทีมโมสรเหล่านี้มีตัวตนมีคนดูแลที่แท้จริงสามารถจับต้องได้ เหนือสิ่งอื่นใดคนเหล่านี้มีความคิดในเรื่องของฟุตบอลที่แท้จริง รู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อพัฒนาฟุตบอลไปข้างหน้าอย่างมีระบบและถูกต้อง
มองที่แบบเก่าสโมสรตำบลบ้าง, เทศบาลบ้างชมรมศิษย์เก่านั้น ศิษย์เก่านี้ มีเกลื่อนไปหมด ถามว่ามีตัวตนคนรับผิดชอบดูแลหรือไม่ คำตอบคือ
แทบจะหาตัวตนไม่เจอ มีชื่อ แต่ไม่มีเจ้าของอะไรทำนองนั้น เมื่อถึงเวลาเลือกตั้งจะมีการกะเกณฑ์คนที่อยู่ในอาณัติของตัวเองเป็นตัวแทนไปเลือก และเลือกตามใบสั่งว่า
เลือกนายคนนั้น นายคนนี้...
จากนั้นกลุ่มคนดังกล่าวต่างแยกย้ายและจะกลับมาใหม่ในอีก 2 ปีข้างหน้า ในการเลือกตั้งครั้งใหม่
นี่คือความแตกต่าง และนี่คือสิ่งที่เราพอจะรับรู้ได้ว่าทำไม และเพราะอะไร วงการฟุตบอลของไทยมันถึงตกต่ำอย่างช่วยไม่ได้มาตั้งแต่การก่อตั้งสมาคมฟุตบอลเป็นต้นมา
ณ วันนี้ฟีฟ่าได้นำเอาสิ่งที่ดี และสิ่งที่มองเห็นแนวทางของการพัฒนาด้วยการใช้ธรรมนูญใหม่ ทุกอย่างโปร่งใส ทั้งการเลือกตั้งและการให้สิทธิ์ รวมทั้งการตัดสิทธิ์สำหรับสโมสรที่ไม่มีกิจกรรมเลย หรือกิจกรรมน้อยออกไป
ทีนี้เรามาดูกันว่าการเลือกตั้งทั้งแบบใหม่และแบบเก่ามีสโมสรใดบ้างมีสิทธิ์มีเสียงเลือกตั้ง
การเลือกตั้งแบบให้ตามธรรมนูญฟีฟ่า ซึ่งสมาคมฟุตบอลฯ พิจารณาให้สิทธิ์ 72 สโมสรเท่านั้น ประกอบด้วยทีมในโตโยต้า พรีเมียร์ลีก 18 ทีม, จากยามาฮ่า ลีกวัน 18 ทีม จากเอไอเอสลีก 30 ทีม ซึ่งเอไอเอสลีกมีทั้งหมด 84 ทีม จาก 6 ภาค ใช้วิธีการให้ภายในภาคของตัวเองคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้ามา ภาคละ 5 ทีม รวม 6ภาค 30 ทีม ที่เหลืออีก 6 ทีมให้สิทธิ์ทีมจากถ้วย ข คและ ง ที่เป็นแชมป์และรองแชมป์ปีล่าสุด รวมทั้งหมด72 เสียงเลือกผู้นำลูกหนัง
แบบเก่า ตามข้อบังคับสมาคมฟุตบอล ปีนี้มีทีมที่มีสิทธิ์เลือกตั้งหมด 184 เสียง มาจากโตโยต้าพรีเมียร์ลีก 12 ทีม, จากยามาฮ่า ลีก วัน 11 ทีม, จากเอไอเอสลีก 26 ทีม, จากถ้วย ข 26 ทีม, จากถ้วย ค27 ทีม, จากถ้วย ง 78 ทีม และจากฟุตซอล 1 ทีมโดยที่เราจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนว่าถ้าเลือกตั้งแบบเก่าทีมในไทยลีกอย่าง ราชบุรี มิตรผลเอฟซี, ชัยนาท เอฟซี ทีมเหล่านี้ที่ทุ่มเงินทำทีมเป็นร้อยล้านจะไม่มีสิทธิ์เช่นเดียวกับ ด.1 ทีมอย่าง ภูเก็ต เอฟซี,ตราด เอฟซี ฯลฯ ที่ลงทุนเป็นร้อยล้านก็จะไม่มีสิทธิ์เหมือนกัน ขณะที่เอไอเอสลีกทั่วประเทศไทยจะมีสิทธิ์ลงคะแนนเพียง 26 ทีมจาก 84 ทีม
นี่คือสิ่งที่เรานำมาเปรียบเทียบ และทุกคนพิจารณากันดูว่าการเลือกตั้งแบบเก่ากับแบบใหม่ตามธรรมนูญฟีฟ่านั้นแบบไหนที่จะเป็นตัวบ่งบอกถึงการพัฒนาฟุตบอลที่แท้จริง เราย้ำว่าถ้ามันไม่ดีจริงไม่มีประโยชน์จริงฟีฟ่าคงไม่ออกกฎให้สมาชิก 208 ชาตินำไปปฏิบัติ
ไทยเราเองเป็นสมาชิกของฟีฟ่าไม่คิดจะทำตามหรือไง...