จากกระทู้แนะนำ FUP /เอาแต่ใจ มองแต่ประโยชน์ส่วนตนกันจนเกินไปหรือเปล่า? มองทุกด้านหรือไม่?

สวัสดีครับ
ผมติดตาม อ่านเกี่ยวกับกรณี Fair Usage Policy(FUP) ที่เกิดขึ้นหลังการใช้งานดาต้าครบ และมีการลดความเร็วของโปร Unlimited
บ้างก็บอกว่า 64Kbps ช้ามากๆ ไม่พอใจ , อยากได้ 384kbps ตลอด ทุกๆโปร และการที่ กสทช. ออกประกาศเรื่องขั้นต่ำ 300kbps

ผมอยากให้แยกประเด็นนะครับ โดยแยกกออกมาดังนี้นะครับ

FUP ของแต่ละเครือข่าย

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลยนะครับ สำหรับการที่โปร Unlimited จะต้องมี FUP กัน เพราะว่าถ้าไม่มี คงจะมีต้นทุนสูง ราคาสูงมากๆด้วย
ทุกประเทศมีการให้ติด FUP กันทั้งสิ้น ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าเป็นการป้องกันการใช้ข้อมูล ที่มากจนเกินไปสำหรับเงินที่ทางเครือข่ายได้รับ

กินบุฟเฟ่ ยังต้องมีการระบุเวลาเลยครับ ว่าต้องทานในเวลาที่กกำหนดเท่านั้น  ทานไม่หมดต้องปรับเงิน และห้ามนำอาหารกลับบ้าน
...ที่กล่าวมามันคือเงื่อนไข ถ้าไม่มีเงื่อนไขล่ะ? ใครจะทำอะไรก็ได้ จะนั่งเช้ายันเย็น กินเรื่อยๆ เหมือนมาปิกนิคกันหรือครับ???
กินไม่หมดเหลือทิ้ง??? เอามาเยอะ ใส่ถุงกลับบ้านเหรอ??? .....ถ้าเป็นแบบนี้ ร้านนั้นก็คงมีแต่ขาดทุนสินะครับ

เงื่อนไข ....คือสิ่งที่จะกำหนดว่า เราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ จะใช้หรือไม่ใช้ ก่อนที่จะซื้อหรือใช้บริการนั้นๆครับ
ถ้ารับได้ ก็ซื้อหรือเลือกใช้มัน  ถ้าเราคิดว่ารับไม่ได้ ไม่เหมาะสมก็ไม่ซื้อหรือใช้บริการ และมองหาสินค้าหรือบริการอื่น ที่เงื่อนไขตรงใจ

มาว่ากันเรื่องการให้บริการอินเตอร์เน็ตในมือถือ ผ่านเครือข่าย 3G/4G ต่างๆ มันต่างกับการให้บริการ ADSL ที่ใช้ตามบ้านนะครับ
เพราะจะต้องลงทุนเพิ่มทั้งการประมูลสัมประทานคลื่น การสร้างเสาและอุปกรณ์การรับส่งข้อมูลเพิ่มเติม ทั่วทั้งประเทศ
ต่างกับ ADSL ที่อยู่บ้านคุณ มันก็อยู่ตรงนั้น เขาลงทุนต่อสายเข้าบ้านคุณครั้งเดียว จบ บ้านคุณไม่ได้เดินไปทั่วประเทศ เลยลงทุนน้อยกว่า
แต่มือถือคุณ เดินทางทางไปทั่ว ไปเรื่อยๆ ไม่ได้อยู่กับที่ เลยต้องลงทุนให้สัญญาณต่างๆ ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ (แม้แต่เกาะต่างๆ)
ดังนั้น ราคา ค่าบริการ จึงแพงกว่าการใช้เน็ตบ้าน ADSL ต่างๆ และมีข้อจำกัดที่เยอะกว่าด้วยในทางเทคนิก เช่น
เสาส่ง 1 ต้นนั้น รองรับผู้ใช้งานด้านดาต้าที่จำกัด ต่างจาก ADSL ในบ้าน ที่เสาลากเข้าบ้าน ก็ใช้แต่บ้านคุณเท่านั้น ไม่ต้องแบ่งใคร
ข้อจำกัดตรงนี้ ที่ส่งผมต่อผู้ใช้คนอื่นๆด้วยเช่นกัน

ในทางธุรกิจและสังคมแล้วนั้น ทุกคนมีสิทธิที่จะใช้งาน เมื่อเขาเหล่านั้น ก็จ่ายค่าบริการดด้วยกันทั้งนั้น
ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะให้บริการเฉพาะกลุ่ม หรือเกิดความหนาแน่นในการใช้งานเฉพาะกลุ่ม ซึ่งความเป็นจริง ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
เช่น ...ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงความเร็วอินเตอร์เน็ตที่เท่าเทียมกัน เร็วเหมือนกัน ช้านเหมือนกัน(กรณีมีการใช้งานหนาแน่นมากๆ)
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการเท่าเทียมกันเกิดขึ้น จึงต้องมีการควบคุมบางอย่างเกิดขึ้น และ FUP ก็เป็นหนึ่งในมาตราการนั้น

ซึ่งช่วยให้ความหนาแน่นของผู้ใช้ลดลง ตามปัจจัยของผู้ใช้นั้นๆ เช่นจำนวนเงินที่จ่าย เป็นต้น
ซึ่งอาจจะไม่มีกรณี FUP สำหรับ Unlimited ก็ได้แต่ต้องชำระค่าบริการเดือนละ 9990 บาทเป็นต้น (ซึ่งก็อาจจะไม่มีใครยอมจ่าย)
แต่จะได้ใช้ความเร็วสูงสุด เท่าที่เครือข่ายนั้นจะให้ได้ ตลอดทั้ง 1 เดือนเต็มๆ จะโหลดบิต โหลดหนัง ทำอะไรก็เอาไปใช้ได้ไม่จำกัด

ในหลายประเทศ ที่ใช้ FUP นั้น มีการคิดค่าที่ยิ่งกว่าบ้านเรามาก เช่น
อเมริกา ใช้บริการ T-mobile แพคเกจ Unlimited 1GB ซึ่งเมื่อใช้ครบแล้ว ความเร็วลดลง เหลือไม่เกิน 300kbps
และเมื่อใช้ต่อไปอีก 100MB หลังจากนั้นความเร็วเหลือ 128kbps และเมื่อใช้ต่อไปจนครบอีก 100MB หลังจากนั้นความเร็วเหลือ 64kbps
ซึ่งก็คือ ความเร็วจะเหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ ไมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งเป็นการเริ่มใช้แพคเกจใหม่อีกครั้งนั่นเอง

แต่ทั้งนี้ ในหลายๆประเทศ ไม่นิยมการให้บริการแบบ Ullimited กันเท่าไหร่ เพราะลูกค้าไม่อยากติด FUP หรืออยากใช้ความเร็วสูงตลอดเวลา
ดังนั้น แพคเกจจึงมักจะระบุตายตัวไปเลยว่า ใช้งานจำนวนกี่ GB ในราคาเท่าไหร่ ซึ่งเมื่อใช้หมดก็สมัครเพิ่ม จ่ายไปเท่านั้น
ซึ่งหลายๆประเทศ ก็มักจะเป็นเช่นนี้จากประสบการณ์ส่วนตัว ทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส ฮ่องกง เกาหลี สิงคโปร์ หรือแม้แต่เพื่อนบ้านใกล้เรา
อย่างลาว มาเลเซีย เวียดนาม ก็มีโปรแบบนี้ด้วยกันทั้งสิน แต่ก็มีโปร Unlimited แบบติด FUP อยู่บ้างเช่น 1GB -3GB

แต่บ้านเรานั้น หลายๆครั้งบอกตรงๆว่าคนเห็นแต่ตัว เอาแต่ประโยชน์ส่วนตัวเยอะ (ต้องยอมรับความจริง)
เช่นอยากใช้ให้เยอะที่สุด คุ้มที่สุด แต่จ่ายเงินให้น้อยที่สุดด้วยเช่นกัน
ดังนั้น จึงเกิดกรณีนี้ขึ้น เช่นเรียกร้องให้ติด FUP ที่ความเร็วสูงๆเข้าว่า เพราะเมื่อใช้งานหมดแล้ว ก็ยังใช้เล่นได้สบายๆ ไม่ต้องสมัครเพิ่ม
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น ก็จะทำให้ผู้ให้บริการ มีรายได้น้อยลง เพราะไม่มีใครที่อยากจะสมัครแพคเกจใหม่เพิ่ม และอาจจะไม่คุ้มทุน
อีกทั้งทำให้การใช้งานหนาแน่นขึ้น ส่งผลให้ผู้ใช้ทั้งระบบ ที่ใช้สัญญาณนั้นๆในพื้นที่เดียวกัน เกิดการใช้งานแบนด์วิชที่สูง ส่งผลให้ช้าลง

จริงๆแล้ว เราควรกลับมามองเรื่อง วินัย การใช้งานเสียมากกว่า เพราะมันคืออินเตอร์เน็ตในมือถือ ไม่ใช้ ADSL ตามบ้าน
ที่อยากจะใช้เท่าไหร่ก็ได้ ดังนั้น เราจะต้องควบคุมตัวเราเองก่อน ใช้งานแต่ที่จำเป็นเท่านั้น ก็จะส่งผลให้เราใช้นานขึ้นและประหยัดขึ้น

Facebook หรือแชทต่างๆ ไม่ได้ทำให้การใช้งานเยอะมากเท่ากับการดาวน์โหลดเพลง หนัง หรือดู streaming video หรือ youtube

ดังนั้น ในแต่ละครั้งเราจะต้องคำนวนการใช้งานของเราเอง อย่าหลับหูหลับตาใช้ พอมันเต็มหรือหมด ก็อยากใช้ต่ออยากเร็ว แต่ไม่จ่ายเพิ่ม
ใครที่ต้องการใช้เยอะๆมากๆ ก็ต้องจ่ายมากตามไปด้วย มันเป็นสัจจะธรรมครับ กินเยอะ กินหลายจานก็ต้องจ่ายเยอะกว่าคนกินน้อยครับ
หรือจะไปกินบุฟเฟ่ เค้าก็ต้องมีกฎในการทานนะครับ ต้องทำตามเงื่อนไขเขาล่ะครับ ไม่ชอบ ไม่พอใจเปลี่ยนร้านครับ

***ที่กล่าวมานี้ ไม่ใช่ว่าผมไม่เข้าข้างผู้บริโภคนะครับ แต่ต้องดูถึงเหตุผลด้วยครับ
ซึ่งบางอย่าง ถ้าเราเห็นว่ามันไม่สมควรหรือถูกเอาเปรียบจริงๆ ผมไม่ยอมเลยครับ ต้องรักษาสิทธิและผลประโยชน์เรา อย่าให้โดนเอาเปรียบ
แต่กรณี FUP ผมยังไม่คิดว่าโดนเอาเปรียบนะครับ แต่ถ้าใช้ Unlimited แล้วไม่ให้มี FUP หรือมีแต่ต้องเร็วจนไม่มีใครอยากสมัครโปรเพิ่มเลย
แบบนั้น ผมมองว่า มันเป็นการเอาเปรียบผู้ให้บริการมากกว่าครับ ใจเขาใจเรานะครับ (เค้ามีทางเลือกให้เยอะครับ เลือกเอา)
(บางประเทศ เค้าไม่ต้องจ่ายค่าประมูลคลื่นก็มีนะครับ ค่าบริการยังแพงกว่าบ้านเราเลยครับ
ต้องเข้าใจการทำธุระกิจนะครับ มันไม่ขาดทุนหรอก เพียงแต่กำไรมากหรือน้อยแค่นั้นเองครับ
ขอแค่ไม่แพงมากก็เพียงพอแล้วครับ โดยเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลกแล้วนะครับ เพราะทุกที่ทั่วโลก ต้นทุนด้านเทคโนโลยีจะเท่าๆกัน
ซื้ออุปกรณต่างๆ ระบบต่างๆมาจากแหล่งเดียวกัน ราคาเท่าๆกันครับ)





กรณี กสทช.
ออกกฎมาว่า ต้องติด FUP ไม่ต่ำกว่า 300kbps นั้น ผมว่าเป็นความคิดที่ดีเลยครับ เป็นการอำนวยแก่ผู้ใช้บริการเต็มๆ
(ยังไม่มีประเทศใดทำได้มาก่อนมั้งครับ)

ตรงนี้ กสทช. ออกกฎแบบนี้ถือว่าอยู่ข้างประชาชนเต็มๆ โดยไม่สนใจนายทุนเลยครับ ถ้าทำได้จริงนะครับ
ซึ่งมันก็ทำได้ ครับ แต่คนรับผิดชอบมันก็คือ กสทช. เองครับ (ถ้าผู้ให้บริการขาดทุน มีหลักฐาน ก็จะมาฟ้องเรียกเก็บจาก กสทช. ได้ครับ)
แต่ กสทช. กลับไม่จริงจังในหลายๆกฎที่ตัวเองออกมาครับ นี่คือข้อเสียของ กสทช.บ้านเราครับ

คิดกฎแบบง่ายๆ แต่ไม่รู้วิธีทำหรือไม่จริงจังและไม่กล้าเอามาใช้จริง สุดท้ายทุกสิ่งก็จะเป็นแค่ลมปากครับ ผู้บริโภคไปหวังอะไรไม่ได้เลย

เอวัง!

***ดังนั้น***
ถ้าเราจะเรียกร้อง เราควรเรียกร้อง กสทช. มากกว่าครับ ที่ประกาศออกมาแต่ทำไม่ได้ (ไม่ควรเรียกร้องผู้ให้บริการ อย่างหลายความเห็น)
ส่วนผู้ให้บริการนั้นผมว่าเค้าก็ให้บริการปกติ ไม่ได้เอาเปรียบอะรไเราตรงไหน เพราะเท่าที่เขาทำก็เป็นมาตราฐานเดียวกันทั่วโลก
นอกเสียจาก เราอยากให้เกิดมาตราฐานใหม่สุดของโลก ขึ้นมาเอง!!!
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่