ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 24 มิถุนายน 2556 09:00
โดย : สาวิตรี รินวงษ์
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เบอร์ลี่ยุคเกอร์ ธุรกิจหัวหอกอาณาจักรทีซีซีกรุ๊ป เสริมเกราะเหล็กธุรกิจต้นน้ำยันปลายน้ำ ตามฝันเจ้าสัวเจริญผ่านภารกิจเขยเล็ก ขอโตคับอาเซียน
จากจุดเริ่มต้นธุรกิจจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าในประเทศไทย เมื่อกว่า 100 ปีก่อน สำหรับบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี ธุรกิจที่ถูกเปลี่ยนมือมาหลายเจ้าของในหลายยุค จนตกเป็นของกลุ่มเฟิร์ส แปซิฟิก มหาเศรษฐีแดนอิเหนา ก่อนจะถูก "เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี" เจ้าของอาณาจักรทีซีซี กรุ๊ป ครอบครองในปี 2544 (เมื่อ12 ปีที่ผ่านมา)
วิสัยทัศน์แรกเริ่มเดิมทีหลังซื้อกิจการ เจ้าสัวเจริญเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ต้องการจะใช้บีเจซีเป็นหัวหอกในการทำมาค้าขายในต่างแดน ตอนนั้นฐานบัญชาการหลักมีเพียงในไทย
ทว่า 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อเกมการแข่งขันเปลี่ยน สังเวียนใหญ่คือ “อาเซียน” จึงเริ่มเห็นภาพชัดถึงการขยับเคลื่อนธุรกิจของบีเจซี ออกจากทัพการค้าในไทย โดยใช้ “เวียดนาม” เป็นเป็นที่มั่นในการบุกอาเซียน โดยเฉพาะตลาด CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) เลยไปถึงจีนตอนใต้
ที่ปัจจุบันในเวียดนาม บีเจซีเข้าไปกินรวบธุรกิจจัดจำหน่ายในเวียดนามเหนือ และกลาง (ไทยอัน) เวียดนามใต้ (ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล) ล่าสุดกับการรุกธุรกิจค้าปลีก (ภูไทกรุ๊ป) ด้วยการซื้อกิจการร้านสะดวกซื้อ 42 สาขาในเวียดนาม ซึ่งเดิมเป็นร้านแฟมิลี่มาร์ท โดยเปลี่ยนชื่อเป็น B’s Mart ไม่นับธุรกิจผลิตขวดแก้ว และกระป๋องที่ร่วมทุนกับบิ๊กเพลย์เยอร์ระดับโลก
ถือเป็นการเดินเกมธุรกิจครบวงจรตั้งแต่ การผลิต จัดจำหน่าย ไปถึงธุรกิจค้าปลีก หรือการมี “หน้าร้านทางการค้า” เป็นของตัวเอง นอกจากจะเป็นการคลายบ่วงที่บีบคอซัพพลายเออร์ในการต่อรองกับร้านค้าปลีกแล้ว ทั้งยังเป็นการ “อุดรอยต่อ” ในขาของธุรกิจแอลกอฮอล์ และธุรกิจที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ ของเจ้าสัวเจริญ ที่จะมีหน้าร้านจำหน่ายสินค้าเป็นของตนเอง กินกำไร (Margin) เต็มๆไม่แบ่งใคร
ไม่แปลกที่ชื่อของบีเจซี จะไปปรากฏในดีลซื้อกิจการอย่างคาร์ฟูร์ ,แฟมิลี่ มาร์ท ไปจนถึงแม็คโคร ในไทย ก่อนจะแพ้ทางให้กับเจ้าตำรับค้าปลีกอย่างกลุ่มบิ๊กซี เซ็นทรัล และซีพีออลล์ ก็ตาม
ขณะที่อาเซียนในฝั่งประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ยกให้บมจ.ไทยเบฟเวอรเรจ อีกบริษัทในกลุ่ม เป็นผู้ขับเคลื่อน กับปฏิบัติการฮุบธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ควบอสังหาริมทรัพย์ มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท จากเฟรเซอร์แอนด์นีฟ (เอฟแอนด์เอ็น)
นี่คือการแบ่งหน้าที่การทำงานของทายาทเจ้าสัว ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ไทยเบฟ กับเขยเล็กได้อย่างลงตัว
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีโอกาสได้สัมภาษณ์ถึงวิสัยทัศน์หัวเรือใหญ่อย่าง "อัศวิน เตชะเจริญวิกุล" กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด(มหาชน) หรือบีเจซี เขยเล็กของตระกูล ถึงการขับเคลื่อนองค์กร 130 ปี แห่งนี้ว่า
เมื่อได้รับมอบหมายจากท่านประธานเจริญ และรองประธาน คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่ต้องการขยายอาณาจักรการค้าให้ทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้น ด้วยการเลือกทำธุรกิจที่เชื่อมโยง Supply chain (ต้นน้ำยันปลายน้ำ) มากกว่าการเป็นเพียงผู้ผลิต
บีเจซีได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ ที่เรียกว่า "Market Infrastructure" หรือการสร้างสาธารณูปโภคทางการตลาด ขึ้นมารองรับวิสัยทัศน์ดังกล่าว ซึ่งไม่ได้หมายถึงประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเซียนที่เข้าไปลงทุน แต่หมายถึงการเชื่อมโยง "ระบบเครือข่ายการค้า" ของทีซีซีกรุ๊ปในทุกประเทศที่เข้าไปลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเข้าไว้ด้วยกันเป็นภาพเดียว
โดยเขาขยายความให้ฟังว่า.."การต่อจิ๊กซอว์ในระดับภูมิภาค เชื่อว่าตอนนี้เป็นช่วงเร่งสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการตลาดหรือเรียกว่า Market infrastructureในอาเซียน ซึ่งไม่ได้หมายถึงการสร้างถนนหนทาง แต่เป็นการสร้างระบบเครือข่าย สร้างฐานข้อมูล และช่องทางการกระจายสินค้าใหม่ให้กับแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน”
ทำอย่างไรให้เครือข่ายเหล่านี้เชื่อมโยงกัน !!! นี่คือความท้าทาย
สำหรับโมเดลธุรกิจที่บีเจซีทำในเวียดนาม การมีพนักงานกว่า 3,000 คน จะเป็นกลไกสำคัญในการพยายาม สร้างช่องทางการกระจายสินค้า ที่มีพาร์ทเนอร์สำคัญอย่างไทอัน ภูไท และไทคอร์ป จนสามารถส่งและกระจายสินค้าผ่านช่องทางร้านค้าแบบดั้งเดิมได้ถึง 2 แสนจุด กินรวบพื้นที่ค้าขายตั้งแต่เวียดนามเหนือ กลาง และเวียดนามใต้
"เราอยากเข้าใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด ในเมื่อเรายังไม่รู้ว่าพฤติกรรมผู้บริโภคต้องการอะไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะผลิตสินค้าและบริการอะไรป้อนลูกค้า เราก็เลยเข้าไปตรงนี้" อัศวิน เล่าถึงเป้าหมายของการรุกสู่ธุรกิจจัดจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญ
เขาย้ำว่า หากบีเจซี สามารถใช้ประโยชน์จากการแปรผลฐานข้อมูลผู้บริโภคผ่าน 2 แสนร้านค้าได้ รู้ความต้องการเบื้องลึกของลูกค้า(Insight) ว่าลูกค้าชื่นชอบสินค้าอะไร แบบไหน และเปลี่ยนเป็นช่องทางร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ สร้างช่องทางกระจายสินค้าใหม่ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการ "เชื่อมต่อ" และ "เติมเต็ม" ธุรกิจให้ครบวงจร
น่าจะไม่ต่างจากการเดินเกมของเจ้าสัวเจริญเข้าซื้อกิจการบมจ.เสริมสุข ในธุรกิจจัดจำหน่ายที่มีร้านค้าในเครือข่ายทั่วไทยกว่า 2 แสนร้านค้า ก็เพื่อต้องการรับรู้ถึงพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึก
อัศวินยังบอกว่า บีเจซี มีโรงงานผลิตวัตถุดิบ ผลิตสินค้า เป็นต้นน้ำที่ "ปึ้ก" เมื่อเสริมแกร่งด้วยระบบการจัดจำหน่ายผ่านบริษัทในเครือ ก็จะเป็นการ "เสริมจุดแข็ง" ให้กับกลางน้ำ ที่จะ "เกื้อหนุน" ด้วยปลายน้ำ คือร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อที่เพิ่งซื้อสินทรัพย์มา
หาก "จิ๊กซอว์" ต่อติด จะทำให้บีเจซี สามารถขยายธุรกิจเชื่อมโยงไปยังประเทศลาว กัมพูชา พม่า ตลอดจนในไทย มองไกลถึงการแผ่ขยายกิจการค้าขายไปถึงจีนตอนใต้
แต่นั่นต้องหมายถึงว่าบีเจซีจะต้องรู้ว่าผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้ ต้องการอะไร แบบไหน แล้วบีเจซี เข้าไปช่วยอะไรได้บ้าง หาพาร์ทเนอร์ระดับโลกเข้าไปช่วยอย่างไรได้บ้าง ช่วยสร้างช่องทางใหม่ๆ โรงงานใหม่ ซัพพลายเชนใหม่ๆอะไรได้บ้าง
โจทย์เราง่ายๆ คือ ต้องรู้ว่าต้องรู้พฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละประเทศ
“อย่างพม่าเพิ่งเปิดประเทศ ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร สินค้าที่ต้องการก็จะเป็นของกินของใช้ที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น แล้วสินค้าและบริการดังกล่าวบีเจซีหาให้ได้หรือไม่ ถ้าหาไม่ได้ จะผลิตให้ลูกค้าได้ไหม เวียดนามเปิดประเทศมานานแล้ว ก็อาจเป็นจังหวะที่ต้องการสินค้าและบริการด้านเวชภัณฑ์ที่ดีขึ้น ส่วนลาวขอให้เป็นสินค้าไทยก็มีโอกาส จะเห็นว่ากว่าที่ลูกค้าจะได้รับสินค้าและบริการอย่างหนึ่ง มีขั้นตอนมากมาย บีเจซีจึงต้องปรับสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปรับโครงสร้าง เครือข่ายให้ลูกค้า เพื่อให้เขาได้รับสินค้าและบริการที่ดีขึ้น” เขาแจกแจง
หากทำได้ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย 300 ล้านคนตรงนี้ บีเจซีจะสามารถสร้างโอกาสและรูปแบบใหม่ๆในการดำเนินธุรกิจได้อีกมาก “อัศวิน” สะท้อนถึงโอกาสมโหฬารที่จะเกิดขึ้นหากแผนที่วาดไว้เข้าเป้า
ทว่าขุมข่ายโครงสร้างพื้นฐานของบีเจซี กลับไม่ได้กระจายอยู่แค่อาเซียน แต่ยังมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด (ฮ่องกง) , บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล (เวียดนาม ) ลิมิเต็ด, บีเจไอเอ็มเค คัมปะนี ลิมิเต็ด ซึ่งล้วนเป็นตัวแทนจำหน่าย อีกทั้งยังมีธุรกิจต้นน้ำที่เป็น "Top 3" ในระดับภูมิภาค เช่น มาลายา กล๊าส โปรดักส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี ผู้ผลิตภาชนะแก้ว, เจซี ฟู้ดส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี ผู้ผลิตอาหารว่างในมาเลเซีย, เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (เมียนมาร์)เป็นผู้นำเข้าและส่งออกในพม่า เป็นต้น
ล่าสุดบีเจซี มองข้ามช็อตไกลไปถึงยุโรป ด้วยการขยายอาณาจักรการค้า ด้วยการร่วมทุนกับเยอรมัน ในชื่อ บีเจซี มาเฮ เคมิคอล เพื่อลงทุนในกิจการเครื่องมือแพทย์ที่เยอรมัน
แต่อัศวินย้ำว่า "เบื้องต้นจะเก็บประเทศในแถบนี้ก่อน เพราะยังมีอะไรให้ทำอีกเยอะ" เขายิ้ม
ขณะที่กุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่เป้าหมายการสร้างเครือข่ายการค้าครอบคลุมอาเซียน คำตอบคือการซื้อและควบรวมกิจการ (M&A) โดยเขาเห็นว่า เป็นกลยุทธ์ที่ฉลาดกว่าเมื่อเทียบกับการเข้าไปลงทุนสร้าง ที่ต้องเริ่มต้นจาก "ศูนย์"
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทิ้งการตอกเสาเข็มตั้งโรงงาน เพียงแต่เป็นเรื่องของ "จังหวะ" และ "โอกาส" เขาอธิบาย
"เราคงทำทั้งคู่ เพราะธุรกิจคงไม่มีสูตรสำเร็จ ตอนนี้อาจเลือกที่จะซื้อกิจการ แต่เมื่อเราแข็งแรงแล้ว เราอาจจะเข้าไปลงทุนเอง ส่วนสิ่งไหนที่ยังใหม่และมีความเสี่ยงอยู่ การมีพาร์ทเนอร์ที่ดี จะเข้ามาช่วยเสริม บีเจซีจึงจีบและแต่งงานกับพันธมิตรทั้งในระดับท้องถิ่นหรือมองข้ามช็อตผนึกพันธมิตรระดับโลก ที่มีจุดแข็งแตกต่างกัน”
สำหรับโลคัลมีจุดแข็งตรงที่เข้าใจวัฒนธรรม และธุรกิจในประเทศนั้นๆ คนเขาต้องการบริโภคแบบไหน แถมด้วยการมีเครือข่ายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ที่สำคัญคือช่วยทำให้เราสามารถเข้าไปทำธุรกิจ โดยมีโอกาสผิดให้น้อยที่สุด เทียบกับเราไปทำเองได้ ลองผิดลองเอง ต้องใช้เวลาเป็นสิบปี
“เราไม่อยากรอขนาดนั้น เราอยากไปถึงเป้าหมายให้เร็วสุด และเราอยากไปกับพาร์ทเนอร์ นี่ยังเป็นหลักคิดของท่านประธานเจริญ ที่พูดมาตลอดว่าเราจะดีได้ เขาต้องดีก่อน มันคือ Think win win เป็นคอนเซ็ปต์ที่ท่านคิดมาตลอด" เขาหยิบยกหลักคิดของพ่อตามาเล่า
พร้อมยกตัวอย่างว่า การเข้าไปฮุบกิจการจากพาร์ทเนอร์ จะลดสัดส่วนหุ้นของพาร์ทเนอร์ลง สิ่งที่บีเจซีต้องทำคือ จะต้องทำให้ "พาย" ที่พาร์ทเนอร์ถืออยู่มันใหญ่ขึ้นกว่า 100% นี่คือความสำคัญของคำว่า win win ทั้งคู่
ขณะที่พาร์ทเนอร์ระดับโลก อาทิ บริษัท โอเว่น อิลลินอยส์ อิงค์ (O-I) ที่บีเจซี ร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตแก้วในมาเลเซียและเวียดนาม การที่เราได้พาร์ทเนอร์ระดับนี้ จะทำให้บีเจซีได้รับการแบ่งปันองค์ความรู้ (know how) ตลอดจนเทคโนโลยีในการผลิตภาชนะแก้ว บรรจุภัณฑ์กระป๋อง และยังต่อยอดไปถึงบุคลากรท้องถิ่นให้มีทักษะในการทำงานอีกทางหนึ่งด้วย
"ผมถูกตั้งคำถามเสมอถึงการเข้าไปลงทุนเวียดนาม มีเป้าหมายระยะสั้นหรือยาว ผมตอบไปว่าเป็นระยะยาวและเป้าหมายคือการพัฒนาคนเวียดนามให้มีทักษะที่ดี มีคุณภาพและสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ในอาเซียน เหมือนที่ผมเคยไปพูดให้รัฐบาลเวียดนามฟัง ทางรัฐบาลเขาก็ดีใจ มองว่าเราให้ความสำคัญในเรื่องนี้"
ยุทธศาสตร์การ "สร้างคน" จึงเป็นอีก "หัวใจ" สำคัญ ที่ "อัศวิน" มองว่าท้าทายอย่างมากสำหรับการจัดองคาพยพธุรกิจไปลุยธุรกิจต่างแดน
นั่นคือ สร้างบุคลากรคนท้องถิ่นให้มีศักยภาพและทักษะในการทำงานที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันก็สร้างบุคลากรที่สามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเขามุ่งมั่นผลักดันให้คนไทยสามารถไปทำงานได้ทุกประเทศ คนพม่าก็เข้ามา
ถอดสมการ"ค้า"ฉบับ"อัศวิน" นำทัพบีเจซีผงาดอาเซียน
วันที่ 24 มิถุนายน 2556 09:00
โดย : สาวิตรี รินวงษ์
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เบอร์ลี่ยุคเกอร์ ธุรกิจหัวหอกอาณาจักรทีซีซีกรุ๊ป เสริมเกราะเหล็กธุรกิจต้นน้ำยันปลายน้ำ ตามฝันเจ้าสัวเจริญผ่านภารกิจเขยเล็ก ขอโตคับอาเซียน
จากจุดเริ่มต้นธุรกิจจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าในประเทศไทย เมื่อกว่า 100 ปีก่อน สำหรับบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี ธุรกิจที่ถูกเปลี่ยนมือมาหลายเจ้าของในหลายยุค จนตกเป็นของกลุ่มเฟิร์ส แปซิฟิก มหาเศรษฐีแดนอิเหนา ก่อนจะถูก "เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี" เจ้าของอาณาจักรทีซีซี กรุ๊ป ครอบครองในปี 2544 (เมื่อ12 ปีที่ผ่านมา)
วิสัยทัศน์แรกเริ่มเดิมทีหลังซื้อกิจการ เจ้าสัวเจริญเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ต้องการจะใช้บีเจซีเป็นหัวหอกในการทำมาค้าขายในต่างแดน ตอนนั้นฐานบัญชาการหลักมีเพียงในไทย
ทว่า 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อเกมการแข่งขันเปลี่ยน สังเวียนใหญ่คือ “อาเซียน” จึงเริ่มเห็นภาพชัดถึงการขยับเคลื่อนธุรกิจของบีเจซี ออกจากทัพการค้าในไทย โดยใช้ “เวียดนาม” เป็นเป็นที่มั่นในการบุกอาเซียน โดยเฉพาะตลาด CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) เลยไปถึงจีนตอนใต้
ที่ปัจจุบันในเวียดนาม บีเจซีเข้าไปกินรวบธุรกิจจัดจำหน่ายในเวียดนามเหนือ และกลาง (ไทยอัน) เวียดนามใต้ (ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล) ล่าสุดกับการรุกธุรกิจค้าปลีก (ภูไทกรุ๊ป) ด้วยการซื้อกิจการร้านสะดวกซื้อ 42 สาขาในเวียดนาม ซึ่งเดิมเป็นร้านแฟมิลี่มาร์ท โดยเปลี่ยนชื่อเป็น B’s Mart ไม่นับธุรกิจผลิตขวดแก้ว และกระป๋องที่ร่วมทุนกับบิ๊กเพลย์เยอร์ระดับโลก
ถือเป็นการเดินเกมธุรกิจครบวงจรตั้งแต่ การผลิต จัดจำหน่าย ไปถึงธุรกิจค้าปลีก หรือการมี “หน้าร้านทางการค้า” เป็นของตัวเอง นอกจากจะเป็นการคลายบ่วงที่บีบคอซัพพลายเออร์ในการต่อรองกับร้านค้าปลีกแล้ว ทั้งยังเป็นการ “อุดรอยต่อ” ในขาของธุรกิจแอลกอฮอล์ และธุรกิจที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ ของเจ้าสัวเจริญ ที่จะมีหน้าร้านจำหน่ายสินค้าเป็นของตนเอง กินกำไร (Margin) เต็มๆไม่แบ่งใคร
ไม่แปลกที่ชื่อของบีเจซี จะไปปรากฏในดีลซื้อกิจการอย่างคาร์ฟูร์ ,แฟมิลี่ มาร์ท ไปจนถึงแม็คโคร ในไทย ก่อนจะแพ้ทางให้กับเจ้าตำรับค้าปลีกอย่างกลุ่มบิ๊กซี เซ็นทรัล และซีพีออลล์ ก็ตาม
ขณะที่อาเซียนในฝั่งประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ยกให้บมจ.ไทยเบฟเวอรเรจ อีกบริษัทในกลุ่ม เป็นผู้ขับเคลื่อน กับปฏิบัติการฮุบธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ควบอสังหาริมทรัพย์ มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท จากเฟรเซอร์แอนด์นีฟ (เอฟแอนด์เอ็น)
นี่คือการแบ่งหน้าที่การทำงานของทายาทเจ้าสัว ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ไทยเบฟ กับเขยเล็กได้อย่างลงตัว
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีโอกาสได้สัมภาษณ์ถึงวิสัยทัศน์หัวเรือใหญ่อย่าง "อัศวิน เตชะเจริญวิกุล" กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด(มหาชน) หรือบีเจซี เขยเล็กของตระกูล ถึงการขับเคลื่อนองค์กร 130 ปี แห่งนี้ว่า
เมื่อได้รับมอบหมายจากท่านประธานเจริญ และรองประธาน คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่ต้องการขยายอาณาจักรการค้าให้ทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้น ด้วยการเลือกทำธุรกิจที่เชื่อมโยง Supply chain (ต้นน้ำยันปลายน้ำ) มากกว่าการเป็นเพียงผู้ผลิต
บีเจซีได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ ที่เรียกว่า "Market Infrastructure" หรือการสร้างสาธารณูปโภคทางการตลาด ขึ้นมารองรับวิสัยทัศน์ดังกล่าว ซึ่งไม่ได้หมายถึงประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเซียนที่เข้าไปลงทุน แต่หมายถึงการเชื่อมโยง "ระบบเครือข่ายการค้า" ของทีซีซีกรุ๊ปในทุกประเทศที่เข้าไปลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเข้าไว้ด้วยกันเป็นภาพเดียว
โดยเขาขยายความให้ฟังว่า.."การต่อจิ๊กซอว์ในระดับภูมิภาค เชื่อว่าตอนนี้เป็นช่วงเร่งสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการตลาดหรือเรียกว่า Market infrastructureในอาเซียน ซึ่งไม่ได้หมายถึงการสร้างถนนหนทาง แต่เป็นการสร้างระบบเครือข่าย สร้างฐานข้อมูล และช่องทางการกระจายสินค้าใหม่ให้กับแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน”
ทำอย่างไรให้เครือข่ายเหล่านี้เชื่อมโยงกัน !!! นี่คือความท้าทาย
สำหรับโมเดลธุรกิจที่บีเจซีทำในเวียดนาม การมีพนักงานกว่า 3,000 คน จะเป็นกลไกสำคัญในการพยายาม สร้างช่องทางการกระจายสินค้า ที่มีพาร์ทเนอร์สำคัญอย่างไทอัน ภูไท และไทคอร์ป จนสามารถส่งและกระจายสินค้าผ่านช่องทางร้านค้าแบบดั้งเดิมได้ถึง 2 แสนจุด กินรวบพื้นที่ค้าขายตั้งแต่เวียดนามเหนือ กลาง และเวียดนามใต้
"เราอยากเข้าใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด ในเมื่อเรายังไม่รู้ว่าพฤติกรรมผู้บริโภคต้องการอะไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะผลิตสินค้าและบริการอะไรป้อนลูกค้า เราก็เลยเข้าไปตรงนี้" อัศวิน เล่าถึงเป้าหมายของการรุกสู่ธุรกิจจัดจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญ
เขาย้ำว่า หากบีเจซี สามารถใช้ประโยชน์จากการแปรผลฐานข้อมูลผู้บริโภคผ่าน 2 แสนร้านค้าได้ รู้ความต้องการเบื้องลึกของลูกค้า(Insight) ว่าลูกค้าชื่นชอบสินค้าอะไร แบบไหน และเปลี่ยนเป็นช่องทางร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ สร้างช่องทางกระจายสินค้าใหม่ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการ "เชื่อมต่อ" และ "เติมเต็ม" ธุรกิจให้ครบวงจร
น่าจะไม่ต่างจากการเดินเกมของเจ้าสัวเจริญเข้าซื้อกิจการบมจ.เสริมสุข ในธุรกิจจัดจำหน่ายที่มีร้านค้าในเครือข่ายทั่วไทยกว่า 2 แสนร้านค้า ก็เพื่อต้องการรับรู้ถึงพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึก
อัศวินยังบอกว่า บีเจซี มีโรงงานผลิตวัตถุดิบ ผลิตสินค้า เป็นต้นน้ำที่ "ปึ้ก" เมื่อเสริมแกร่งด้วยระบบการจัดจำหน่ายผ่านบริษัทในเครือ ก็จะเป็นการ "เสริมจุดแข็ง" ให้กับกลางน้ำ ที่จะ "เกื้อหนุน" ด้วยปลายน้ำ คือร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อที่เพิ่งซื้อสินทรัพย์มา
หาก "จิ๊กซอว์" ต่อติด จะทำให้บีเจซี สามารถขยายธุรกิจเชื่อมโยงไปยังประเทศลาว กัมพูชา พม่า ตลอดจนในไทย มองไกลถึงการแผ่ขยายกิจการค้าขายไปถึงจีนตอนใต้
แต่นั่นต้องหมายถึงว่าบีเจซีจะต้องรู้ว่าผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้ ต้องการอะไร แบบไหน แล้วบีเจซี เข้าไปช่วยอะไรได้บ้าง หาพาร์ทเนอร์ระดับโลกเข้าไปช่วยอย่างไรได้บ้าง ช่วยสร้างช่องทางใหม่ๆ โรงงานใหม่ ซัพพลายเชนใหม่ๆอะไรได้บ้าง
โจทย์เราง่ายๆ คือ ต้องรู้ว่าต้องรู้พฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละประเทศ
“อย่างพม่าเพิ่งเปิดประเทศ ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร สินค้าที่ต้องการก็จะเป็นของกินของใช้ที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น แล้วสินค้าและบริการดังกล่าวบีเจซีหาให้ได้หรือไม่ ถ้าหาไม่ได้ จะผลิตให้ลูกค้าได้ไหม เวียดนามเปิดประเทศมานานแล้ว ก็อาจเป็นจังหวะที่ต้องการสินค้าและบริการด้านเวชภัณฑ์ที่ดีขึ้น ส่วนลาวขอให้เป็นสินค้าไทยก็มีโอกาส จะเห็นว่ากว่าที่ลูกค้าจะได้รับสินค้าและบริการอย่างหนึ่ง มีขั้นตอนมากมาย บีเจซีจึงต้องปรับสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปรับโครงสร้าง เครือข่ายให้ลูกค้า เพื่อให้เขาได้รับสินค้าและบริการที่ดีขึ้น” เขาแจกแจง
หากทำได้ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย 300 ล้านคนตรงนี้ บีเจซีจะสามารถสร้างโอกาสและรูปแบบใหม่ๆในการดำเนินธุรกิจได้อีกมาก “อัศวิน” สะท้อนถึงโอกาสมโหฬารที่จะเกิดขึ้นหากแผนที่วาดไว้เข้าเป้า
ทว่าขุมข่ายโครงสร้างพื้นฐานของบีเจซี กลับไม่ได้กระจายอยู่แค่อาเซียน แต่ยังมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด (ฮ่องกง) , บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล (เวียดนาม ) ลิมิเต็ด, บีเจไอเอ็มเค คัมปะนี ลิมิเต็ด ซึ่งล้วนเป็นตัวแทนจำหน่าย อีกทั้งยังมีธุรกิจต้นน้ำที่เป็น "Top 3" ในระดับภูมิภาค เช่น มาลายา กล๊าส โปรดักส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี ผู้ผลิตภาชนะแก้ว, เจซี ฟู้ดส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี ผู้ผลิตอาหารว่างในมาเลเซีย, เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (เมียนมาร์)เป็นผู้นำเข้าและส่งออกในพม่า เป็นต้น
ล่าสุดบีเจซี มองข้ามช็อตไกลไปถึงยุโรป ด้วยการขยายอาณาจักรการค้า ด้วยการร่วมทุนกับเยอรมัน ในชื่อ บีเจซี มาเฮ เคมิคอล เพื่อลงทุนในกิจการเครื่องมือแพทย์ที่เยอรมัน
แต่อัศวินย้ำว่า "เบื้องต้นจะเก็บประเทศในแถบนี้ก่อน เพราะยังมีอะไรให้ทำอีกเยอะ" เขายิ้ม
ขณะที่กุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่เป้าหมายการสร้างเครือข่ายการค้าครอบคลุมอาเซียน คำตอบคือการซื้อและควบรวมกิจการ (M&A) โดยเขาเห็นว่า เป็นกลยุทธ์ที่ฉลาดกว่าเมื่อเทียบกับการเข้าไปลงทุนสร้าง ที่ต้องเริ่มต้นจาก "ศูนย์"
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทิ้งการตอกเสาเข็มตั้งโรงงาน เพียงแต่เป็นเรื่องของ "จังหวะ" และ "โอกาส" เขาอธิบาย
"เราคงทำทั้งคู่ เพราะธุรกิจคงไม่มีสูตรสำเร็จ ตอนนี้อาจเลือกที่จะซื้อกิจการ แต่เมื่อเราแข็งแรงแล้ว เราอาจจะเข้าไปลงทุนเอง ส่วนสิ่งไหนที่ยังใหม่และมีความเสี่ยงอยู่ การมีพาร์ทเนอร์ที่ดี จะเข้ามาช่วยเสริม บีเจซีจึงจีบและแต่งงานกับพันธมิตรทั้งในระดับท้องถิ่นหรือมองข้ามช็อตผนึกพันธมิตรระดับโลก ที่มีจุดแข็งแตกต่างกัน”
สำหรับโลคัลมีจุดแข็งตรงที่เข้าใจวัฒนธรรม และธุรกิจในประเทศนั้นๆ คนเขาต้องการบริโภคแบบไหน แถมด้วยการมีเครือข่ายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ที่สำคัญคือช่วยทำให้เราสามารถเข้าไปทำธุรกิจ โดยมีโอกาสผิดให้น้อยที่สุด เทียบกับเราไปทำเองได้ ลองผิดลองเอง ต้องใช้เวลาเป็นสิบปี
“เราไม่อยากรอขนาดนั้น เราอยากไปถึงเป้าหมายให้เร็วสุด และเราอยากไปกับพาร์ทเนอร์ นี่ยังเป็นหลักคิดของท่านประธานเจริญ ที่พูดมาตลอดว่าเราจะดีได้ เขาต้องดีก่อน มันคือ Think win win เป็นคอนเซ็ปต์ที่ท่านคิดมาตลอด" เขาหยิบยกหลักคิดของพ่อตามาเล่า
พร้อมยกตัวอย่างว่า การเข้าไปฮุบกิจการจากพาร์ทเนอร์ จะลดสัดส่วนหุ้นของพาร์ทเนอร์ลง สิ่งที่บีเจซีต้องทำคือ จะต้องทำให้ "พาย" ที่พาร์ทเนอร์ถืออยู่มันใหญ่ขึ้นกว่า 100% นี่คือความสำคัญของคำว่า win win ทั้งคู่
ขณะที่พาร์ทเนอร์ระดับโลก อาทิ บริษัท โอเว่น อิลลินอยส์ อิงค์ (O-I) ที่บีเจซี ร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตแก้วในมาเลเซียและเวียดนาม การที่เราได้พาร์ทเนอร์ระดับนี้ จะทำให้บีเจซีได้รับการแบ่งปันองค์ความรู้ (know how) ตลอดจนเทคโนโลยีในการผลิตภาชนะแก้ว บรรจุภัณฑ์กระป๋อง และยังต่อยอดไปถึงบุคลากรท้องถิ่นให้มีทักษะในการทำงานอีกทางหนึ่งด้วย
"ผมถูกตั้งคำถามเสมอถึงการเข้าไปลงทุนเวียดนาม มีเป้าหมายระยะสั้นหรือยาว ผมตอบไปว่าเป็นระยะยาวและเป้าหมายคือการพัฒนาคนเวียดนามให้มีทักษะที่ดี มีคุณภาพและสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ในอาเซียน เหมือนที่ผมเคยไปพูดให้รัฐบาลเวียดนามฟัง ทางรัฐบาลเขาก็ดีใจ มองว่าเราให้ความสำคัญในเรื่องนี้"
ยุทธศาสตร์การ "สร้างคน" จึงเป็นอีก "หัวใจ" สำคัญ ที่ "อัศวิน" มองว่าท้าทายอย่างมากสำหรับการจัดองคาพยพธุรกิจไปลุยธุรกิจต่างแดน
นั่นคือ สร้างบุคลากรคนท้องถิ่นให้มีศักยภาพและทักษะในการทำงานที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันก็สร้างบุคลากรที่สามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเขามุ่งมั่นผลักดันให้คนไทยสามารถไปทำงานได้ทุกประเทศ คนพม่าก็เข้ามา