สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
โดย อาจารย์ ทวิช จิตรสมบูรณ์
สักสองปีก่อนผมได้เปิดประเด็นว่าคนสยามเป็นผู้สร้างนครวัด มีทั้งเสียงปรบมือและเสียงโห่พอกัน ...วันนี้ผมขอสรุปตอกย้ำแสดงหลักฐาน เหตุผล หลักๆ ห้วนสั้นอีกครั้ง ตัดเรื่องหยุมหยิมออกไป ดังนี้
นักวิชาการไทยส่วนใหญ่ได้แต่เชื่อตามฝรั่งไปแบบเชื่องๆ ว่าเขมรเป็นผู้สร้างนครวัด แต่ความจริงแล้ว ขอมต่างหากเป็นคนสร้าง และขอมก็คือ สยามนี่แหละ ส่วนเขมรนั้นสมัยโน้นเป็นทาสขอม
หลักฐานสำคัญที่สุดคือบันทึก ๔๐ หน้าของโจวตากวน (ทูตการค้าชาวจีน) ที่ทำให้คำนวณได้ว่าสมัยก่อนเมืองพระนครมีคนชั้นปกครอง ๓ แสน และทาสและคนพื้นเมือง ๗ แสน โดยคนพื้นเมืองนั้นใช้เข็มก็ไม่เป็น ทอผ้าก็ไม่เป็น ส่วนคนสยามนั้นใช้เข็มเป็น ทอผ้าก็เป็น เลี้ยงหม่อนไหมก็เป็น
โดยชนชั้นปกครองนั้นคือขอม ซึ่งก็คือคนสยามนั่นเอง
ส่วนคนพื้นเมืองนั้นขนาดชุนผ้ายังไม่เป็นแล้วจะไปสร้างนครวัด นครธมใหญ่โตได้อย่างไร เอาความรู้เทคโนโลยีไปจากไหน
อยู่มาวันหนึ่งพวกทาสสบโอกาส ก็ทำการยึดอำนาจล้มล้างราชบัลลังก์ นำโดย ตระซอกประแอม (แตงหวาน) ที่ต่อมาสถาปนาตนเป็นกษัตริย์
ที่สำคัญที่สุดคือ คำต่อท้ายกษัตริย์ “วรมัน” ทุกพระองค์ที่ผ่านมา ๖๐๐ ปีก็หายไปในปีนั้นนั่นเอง จากนั้นไม่มี “วรมัน” อีกเลย แสดงชัดว่าเขมรเป็นคนละเผ่าพันธุ์กับขอม
พงศาวดารฉบับแรกของเขมรที่ประพันธุ์โดยนักองเอง (ที่มาพึ่งบารมี ร. ๑ ของไทย) ก็ระบุตรงกันว่า ตระซอกประแอม คือต้นกำเนิดของคนเขมร แต่ภายหลังฝรั่งเศสมายุให้ปรับเปลี่ยนว่าต้นตระกูลคือ วรมัน ทั้งที่เขมรฆ่าวรมันตายเรียบ แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองว่า “สยามราบ” (หรือเสียมเรียบ ในวันนี้)
เสียม ไม่ได้ เรียบ หมดหรอก จากสามแสน อาจถูกฆ่าตายสัก ๕ หมื่น ที่เหลือรอดตายก็หนีมาก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา นำทัพโดยพระเจ้าอู่ทองนั่นแล
ยังถกเถียงกันอยู่มากว่าพระเจ้าอู่ทองคือใคร มาจากไหน ที่สอนกันมานานว่ามาจากเมืองอู่ทอง สุพรรณบุรีนั้น บัดนี้สรุปกันได้แล้วว่าผิด เพราะเมืองอู่ทองเป็นเมืองร้างมาก่อนหน้านี้แล้วสองร้อยปี อีกทั้งเป็นเมืองเล็กมีคนประมาณ ๕ หมื่นเท่านั้น แต่อยุธยาเริ่มต้นก็มีพลเมืองสามแสนแล้ว ถามว่าเอาคนสามแสนมาจากไหนในละแวกนั้น
พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมืองอยู่ ๑๔ ปี พอสร้างเสร็จแทนที่จะเฉลิมฉลอง พักผ่อนไพร่พล กลับยกทัพไปตีเมืองพระนครทันที (เมืองเสียมเรียบ) ซึ่งผิดวิสัยมาก เพราะเป็นเมืองเล็กๆ สร้างใหม่ ไฉนเลยจะกล้าไปตีเมืองใหญ่เก่าแก่ที่มีกองทัพเกรียงไกรเช่นพระนคร ซึ่งประเพณีการสงครามเดิมมานั้นมีแต่เมืองเก่าใหญ่จะยกทัพมาถล่มเมืองสร้างใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นศูนย์อำนาจมาแข่งบารมี
ที่พระเจ้าอู่ทองยกทัพไปตีเขมรนั้นเป็นเพราะทรงแค้นใจหนักที่อัดอั้นมานาน ๑๔ ปีไงเล่า ทรงต้องรีบเพราะทรงชราภาพมากแล้ว เกรงว่าจะล้างแค้นเขมรไม่ทันที่พวกมันฆ่าวรมันตายเรียบนั่นไง
พอรบชนะเขมรเบ็ดเสร็จ ก็ทรงสร้างเมือง “อู่ทองมีชัย” (อุดงเมียนเชย ในวันนี้) เข้าใจว่าทรงตั้งชื่อนี้เพื่อข่มนาม “เสียมเรียบ” นั่นเอง เมืองนี้จำลองแบบไปจากอยุธยา และกลายเป็นเมืองหลวงเขมรนานถึง ๒๐๐ กว่าปี จนขณะนี้กลายเมืองมรดกโลกไปแล้ว
พระเจ้าอู่ทองเป็นขอม ดังนั้นเมื่อมาอยุธยาก็ทรงพูดภาษาขอม จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมคำราชาศัพท์ของเราวันนี้จึงเต็มไปด้วยภาษาขอมและสันสกฤต เป็นเพราะสืบทอดมาจากภาษาพระเจ้าอู่ทองนี่เอง ส่วนเขมรเป็นทาสขอมมานานก็ย่อมรับเอาภาษาขอมไปพูดด้วยเป็นธรรมดา อย่าลืมด้วยว่าภาษาขอมเองก็ยืมเอาคำ “ไต” ไปใช้มากพอกัน
เทคโนโลยีการตัดหิน ลากหิน สลักหินนั้นชาวขอมพิมาย ลพบุรี ได้ฝึกปรือมานานก่อนสร้างนครวัด นครธม เช่น ปราสาทหินพิมาย ก็สร้างก่อนนครวัด โดยตัดหินมาจากอ.สีคิ้ว แล้วลากไปอีก ๑๐๐ กม. เพื่อไปสร้างที่พิมาย คนเขมรเย็บผ้ายังไม่เป็นแล้วจะตัดลากยกหินก้อนมหึมาเหล่านี้เป็นหรือ
หลักฐานจากการสลักบนแผ่นหินระบุว่ากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ เช่น สุริยวรมันที่ ๒ เป็นคนลพบุรี ชัยวรมันที่ ๕ เป็นคนพิมาย ส่วนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ ชัยวรมันที่ ๗ ไม่ทราบว่ามาจากไหน ผมตอบให้เลยว่ามาจากพิมาย ด้วยหลักฐานผูกมัดมากหลายเกินจะกล่าวในที่นี้ ที่สำคัญคือทรงเป็นพุทธ สร้างนครธม และเปลี่ยนชาวพระนครให้มาเป็นพุทธจนถึงวันนี้
อันคำว่า “นครธม” นั้น นักวิชาการฝรั่งแปลกันแบบเซ่อๆ ว่า “เมืองใหญ่” เพราะเขาวิจัยกันทึ่มๆ ว่า ทม นั้นเป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่ ซึ่งนักวิชาการไทยก็เชื่อตามกันแบบงมงาย แต่ผมขอแย้งหัวชนฝาว่า ธม นั้นคือ ธมฺ ในภาษาบาลี ซึ่งคือ ธรรม ในภาษาสันสกฤตนั่นเอง ดังนั้นนครธม คือ นครธรรม นั่นเอง
มันเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จะสร้างวัดพุทธยักษ์แล้วตั้งชื่อซื้อบื้อว่า เมืองใหญ่ มันต้องเมืองธรรมแน่นอน อีกทั้งพิมาย ลพบุรี นั้นเป็นพุทธที่ใช้บาลี ก็เลยต้องกลายเป็นนครธมฺ
ภาพสลักนูนต่ำที่ทหารละโว้ และสยามไปเดินสวนสนามต่อหน้าพระพักตร์นั้น สำคัญมาก คือ ทหารจากลพบุรี และสยามไปรบเพื่อกู้เมืองคืนจากพวกแขกจามที่มายึดพระนครนั่นเอง จากนั้นก็เดินสวนสนามเฉลิมฉลองชัยชนะ ทหารลพบุรีมีวินัยมาก เดินหน้าตรง ด้ามหอกทุกคนเรียงเป็นมุมแนวเดียวกัน แต่พอมาถึงกระบวนทหารสยาม มีคำสลักว่า “เนะ สยำกุก” (ประมาณว่า นี่ไงกองทัพสยาม) แต่ปรากฏว่า หันหน้ากันคนละทาง ปลายหอกก็ระเกะกะ นักวิชาการฝรั่งว่า ทหารสยามไม่มีวินัย แต่ผมว่า......
..ผมว่า ทหารลพบุรี ไม่มีคนรู้จักไม่รู้จะทักใคร ส่วนทหารสยาม เป็นคนพื้นเมือง มีญาติมิตรมายืนดูมาก ก็หันหน้าไปยิ้มแย้มทักทาย ก็เลยทำให้ดูไม่มีระเบียบ สรุปคือ สยำกุก เป็นคนพื้นเมืองพระนคร
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ที่ถือกันว่าเป็นผู้ให้กำเนิดนครวัดนั้น ฝรั่งว่ามาจากชวา (แต่บางคน เช่น ชาร์ล ไฮแอม ก็ว่า มาจาก ชามา หรือ แขกจาม) สำหรับผมเสนอว่า มาจากไชยา (ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย)
ชื่อท่านก็บอกชัดๆ ว่า ไชยาวรมัน (พระผู้เป็นเจ้าจากเมืองไชยา) ศรีวิชัย กับทวาราวดี เป็นพี่น้องกัน มีไชยา ศรีธรรมราช นครปฐม ลพบุรี พิมาย ต่อกันเป็นห่วงโซ่ แล้วให้กำเนิดนครวัดนั่นแล รวมทั้งช่วยปกป้องกอบกู้ยามสงครามกับแขกจามทางตอนใต้ของเวียดนาม
คำว่า วรมัน นักวิชาการฝรั่งก็ผิดอีก ไปแปลกันว่า โล่ (shield) แต่คำนี้ผมฟันธงว่าเป็นคำเดียวกับ พรหมมัน เพราะสยามเรานั้น พ กับ ว ใช้แทนกันได้ เช่น วิเศษ พิเศษ วิจิตร พิจิตร
ชื่อปราสาทต่างๆ ในนครวัด นครธม ยังมีร่องรอยภาษาสยามแทบทุกแห่ง เช่น พิมานอากาศ นาคพัน ปักษีจำกรง เชื้อสายเทวดา เสาเปรต พระรูป ตาแก้ว ตาพรม
หลักฐานเหตุผลรายละเอียดยังมีอีกมาก แต่วันนี้เกินโควตาหน้ากระดาษแล้ว ขอจบเพียงเท่านี้ พร้อมนี้ขอท้าโต้วาทีกับนักวิชาการโปรเขมรแบบซึ่งหน้าที่ไม่ลอบกัดกันแบบที่ผ่านมา ทั้งที่ผมเป็นวิศวกร ส่วนพวกท่านเป็น ดร. ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี กล้ารับคำท้าผมไหม ใครแพ้ให้ตัดหัวเสียประจานไว้ที่หน้าประตูนครวัด
สักสองปีก่อนผมได้เปิดประเด็นว่าคนสยามเป็นผู้สร้างนครวัด มีทั้งเสียงปรบมือและเสียงโห่พอกัน ...วันนี้ผมขอสรุปตอกย้ำแสดงหลักฐาน เหตุผล หลักๆ ห้วนสั้นอีกครั้ง ตัดเรื่องหยุมหยิมออกไป ดังนี้
นักวิชาการไทยส่วนใหญ่ได้แต่เชื่อตามฝรั่งไปแบบเชื่องๆ ว่าเขมรเป็นผู้สร้างนครวัด แต่ความจริงแล้ว ขอมต่างหากเป็นคนสร้าง และขอมก็คือ สยามนี่แหละ ส่วนเขมรนั้นสมัยโน้นเป็นทาสขอม
หลักฐานสำคัญที่สุดคือบันทึก ๔๐ หน้าของโจวตากวน (ทูตการค้าชาวจีน) ที่ทำให้คำนวณได้ว่าสมัยก่อนเมืองพระนครมีคนชั้นปกครอง ๓ แสน และทาสและคนพื้นเมือง ๗ แสน โดยคนพื้นเมืองนั้นใช้เข็มก็ไม่เป็น ทอผ้าก็ไม่เป็น ส่วนคนสยามนั้นใช้เข็มเป็น ทอผ้าก็เป็น เลี้ยงหม่อนไหมก็เป็น
โดยชนชั้นปกครองนั้นคือขอม ซึ่งก็คือคนสยามนั่นเอง
ส่วนคนพื้นเมืองนั้นขนาดชุนผ้ายังไม่เป็นแล้วจะไปสร้างนครวัด นครธมใหญ่โตได้อย่างไร เอาความรู้เทคโนโลยีไปจากไหน
อยู่มาวันหนึ่งพวกทาสสบโอกาส ก็ทำการยึดอำนาจล้มล้างราชบัลลังก์ นำโดย ตระซอกประแอม (แตงหวาน) ที่ต่อมาสถาปนาตนเป็นกษัตริย์
ที่สำคัญที่สุดคือ คำต่อท้ายกษัตริย์ “วรมัน” ทุกพระองค์ที่ผ่านมา ๖๐๐ ปีก็หายไปในปีนั้นนั่นเอง จากนั้นไม่มี “วรมัน” อีกเลย แสดงชัดว่าเขมรเป็นคนละเผ่าพันธุ์กับขอม
พงศาวดารฉบับแรกของเขมรที่ประพันธุ์โดยนักองเอง (ที่มาพึ่งบารมี ร. ๑ ของไทย) ก็ระบุตรงกันว่า ตระซอกประแอม คือต้นกำเนิดของคนเขมร แต่ภายหลังฝรั่งเศสมายุให้ปรับเปลี่ยนว่าต้นตระกูลคือ วรมัน ทั้งที่เขมรฆ่าวรมันตายเรียบ แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองว่า “สยามราบ” (หรือเสียมเรียบ ในวันนี้)
เสียม ไม่ได้ เรียบ หมดหรอก จากสามแสน อาจถูกฆ่าตายสัก ๕ หมื่น ที่เหลือรอดตายก็หนีมาก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา นำทัพโดยพระเจ้าอู่ทองนั่นแล
ยังถกเถียงกันอยู่มากว่าพระเจ้าอู่ทองคือใคร มาจากไหน ที่สอนกันมานานว่ามาจากเมืองอู่ทอง สุพรรณบุรีนั้น บัดนี้สรุปกันได้แล้วว่าผิด เพราะเมืองอู่ทองเป็นเมืองร้างมาก่อนหน้านี้แล้วสองร้อยปี อีกทั้งเป็นเมืองเล็กมีคนประมาณ ๕ หมื่นเท่านั้น แต่อยุธยาเริ่มต้นก็มีพลเมืองสามแสนแล้ว ถามว่าเอาคนสามแสนมาจากไหนในละแวกนั้น
พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมืองอยู่ ๑๔ ปี พอสร้างเสร็จแทนที่จะเฉลิมฉลอง พักผ่อนไพร่พล กลับยกทัพไปตีเมืองพระนครทันที (เมืองเสียมเรียบ) ซึ่งผิดวิสัยมาก เพราะเป็นเมืองเล็กๆ สร้างใหม่ ไฉนเลยจะกล้าไปตีเมืองใหญ่เก่าแก่ที่มีกองทัพเกรียงไกรเช่นพระนคร ซึ่งประเพณีการสงครามเดิมมานั้นมีแต่เมืองเก่าใหญ่จะยกทัพมาถล่มเมืองสร้างใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นศูนย์อำนาจมาแข่งบารมี
ที่พระเจ้าอู่ทองยกทัพไปตีเขมรนั้นเป็นเพราะทรงแค้นใจหนักที่อัดอั้นมานาน ๑๔ ปีไงเล่า ทรงต้องรีบเพราะทรงชราภาพมากแล้ว เกรงว่าจะล้างแค้นเขมรไม่ทันที่พวกมันฆ่าวรมันตายเรียบนั่นไง
พอรบชนะเขมรเบ็ดเสร็จ ก็ทรงสร้างเมือง “อู่ทองมีชัย” (อุดงเมียนเชย ในวันนี้) เข้าใจว่าทรงตั้งชื่อนี้เพื่อข่มนาม “เสียมเรียบ” นั่นเอง เมืองนี้จำลองแบบไปจากอยุธยา และกลายเป็นเมืองหลวงเขมรนานถึง ๒๐๐ กว่าปี จนขณะนี้กลายเมืองมรดกโลกไปแล้ว
พระเจ้าอู่ทองเป็นขอม ดังนั้นเมื่อมาอยุธยาก็ทรงพูดภาษาขอม จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมคำราชาศัพท์ของเราวันนี้จึงเต็มไปด้วยภาษาขอมและสันสกฤต เป็นเพราะสืบทอดมาจากภาษาพระเจ้าอู่ทองนี่เอง ส่วนเขมรเป็นทาสขอมมานานก็ย่อมรับเอาภาษาขอมไปพูดด้วยเป็นธรรมดา อย่าลืมด้วยว่าภาษาขอมเองก็ยืมเอาคำ “ไต” ไปใช้มากพอกัน
เทคโนโลยีการตัดหิน ลากหิน สลักหินนั้นชาวขอมพิมาย ลพบุรี ได้ฝึกปรือมานานก่อนสร้างนครวัด นครธม เช่น ปราสาทหินพิมาย ก็สร้างก่อนนครวัด โดยตัดหินมาจากอ.สีคิ้ว แล้วลากไปอีก ๑๐๐ กม. เพื่อไปสร้างที่พิมาย คนเขมรเย็บผ้ายังไม่เป็นแล้วจะตัดลากยกหินก้อนมหึมาเหล่านี้เป็นหรือ
หลักฐานจากการสลักบนแผ่นหินระบุว่ากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ เช่น สุริยวรมันที่ ๒ เป็นคนลพบุรี ชัยวรมันที่ ๕ เป็นคนพิมาย ส่วนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ ชัยวรมันที่ ๗ ไม่ทราบว่ามาจากไหน ผมตอบให้เลยว่ามาจากพิมาย ด้วยหลักฐานผูกมัดมากหลายเกินจะกล่าวในที่นี้ ที่สำคัญคือทรงเป็นพุทธ สร้างนครธม และเปลี่ยนชาวพระนครให้มาเป็นพุทธจนถึงวันนี้
อันคำว่า “นครธม” นั้น นักวิชาการฝรั่งแปลกันแบบเซ่อๆ ว่า “เมืองใหญ่” เพราะเขาวิจัยกันทึ่มๆ ว่า ทม นั้นเป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่ ซึ่งนักวิชาการไทยก็เชื่อตามกันแบบงมงาย แต่ผมขอแย้งหัวชนฝาว่า ธม นั้นคือ ธมฺ ในภาษาบาลี ซึ่งคือ ธรรม ในภาษาสันสกฤตนั่นเอง ดังนั้นนครธม คือ นครธรรม นั่นเอง
มันเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จะสร้างวัดพุทธยักษ์แล้วตั้งชื่อซื้อบื้อว่า เมืองใหญ่ มันต้องเมืองธรรมแน่นอน อีกทั้งพิมาย ลพบุรี นั้นเป็นพุทธที่ใช้บาลี ก็เลยต้องกลายเป็นนครธมฺ
ภาพสลักนูนต่ำที่ทหารละโว้ และสยามไปเดินสวนสนามต่อหน้าพระพักตร์นั้น สำคัญมาก คือ ทหารจากลพบุรี และสยามไปรบเพื่อกู้เมืองคืนจากพวกแขกจามที่มายึดพระนครนั่นเอง จากนั้นก็เดินสวนสนามเฉลิมฉลองชัยชนะ ทหารลพบุรีมีวินัยมาก เดินหน้าตรง ด้ามหอกทุกคนเรียงเป็นมุมแนวเดียวกัน แต่พอมาถึงกระบวนทหารสยาม มีคำสลักว่า “เนะ สยำกุก” (ประมาณว่า นี่ไงกองทัพสยาม) แต่ปรากฏว่า หันหน้ากันคนละทาง ปลายหอกก็ระเกะกะ นักวิชาการฝรั่งว่า ทหารสยามไม่มีวินัย แต่ผมว่า......
..ผมว่า ทหารลพบุรี ไม่มีคนรู้จักไม่รู้จะทักใคร ส่วนทหารสยาม เป็นคนพื้นเมือง มีญาติมิตรมายืนดูมาก ก็หันหน้าไปยิ้มแย้มทักทาย ก็เลยทำให้ดูไม่มีระเบียบ สรุปคือ สยำกุก เป็นคนพื้นเมืองพระนคร
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ที่ถือกันว่าเป็นผู้ให้กำเนิดนครวัดนั้น ฝรั่งว่ามาจากชวา (แต่บางคน เช่น ชาร์ล ไฮแอม ก็ว่า มาจาก ชามา หรือ แขกจาม) สำหรับผมเสนอว่า มาจากไชยา (ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย)
ชื่อท่านก็บอกชัดๆ ว่า ไชยาวรมัน (พระผู้เป็นเจ้าจากเมืองไชยา) ศรีวิชัย กับทวาราวดี เป็นพี่น้องกัน มีไชยา ศรีธรรมราช นครปฐม ลพบุรี พิมาย ต่อกันเป็นห่วงโซ่ แล้วให้กำเนิดนครวัดนั่นแล รวมทั้งช่วยปกป้องกอบกู้ยามสงครามกับแขกจามทางตอนใต้ของเวียดนาม
คำว่า วรมัน นักวิชาการฝรั่งก็ผิดอีก ไปแปลกันว่า โล่ (shield) แต่คำนี้ผมฟันธงว่าเป็นคำเดียวกับ พรหมมัน เพราะสยามเรานั้น พ กับ ว ใช้แทนกันได้ เช่น วิเศษ พิเศษ วิจิตร พิจิตร
ชื่อปราสาทต่างๆ ในนครวัด นครธม ยังมีร่องรอยภาษาสยามแทบทุกแห่ง เช่น พิมานอากาศ นาคพัน ปักษีจำกรง เชื้อสายเทวดา เสาเปรต พระรูป ตาแก้ว ตาพรม
หลักฐานเหตุผลรายละเอียดยังมีอีกมาก แต่วันนี้เกินโควตาหน้ากระดาษแล้ว ขอจบเพียงเท่านี้ พร้อมนี้ขอท้าโต้วาทีกับนักวิชาการโปรเขมรแบบซึ่งหน้าที่ไม่ลอบกัดกันแบบที่ผ่านมา ทั้งที่ผมเป็นวิศวกร ส่วนพวกท่านเป็น ดร. ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี กล้ารับคำท้าผมไหม ใครแพ้ให้ตัดหัวเสียประจานไว้ที่หน้าประตูนครวัด
ความคิดเห็นที่ 2
สาเหตุการล่มสลายมีหลายปัจจัยครับ ไม่ใช่เพราะกองทัพสยามโจมตีแค่ปัจจัยเดียว ถึงไม่มีกองทัพสยามตอนนั้นเมืองพระนครก็ไม่รอดอยู่ดี เพียงแต่กองทัพสยามเข้ามาปิดฉากเท่านั้น สาเหตุการล่มสลายของเมืองพระนครนั้นมันเรื้อรังมาตั้งแต่หลังรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ แล้วครับ ซึ่งขอแบ่งปัจจัยดังนี้
๑.ปัจจัยด้านการเมือง
- หลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ จักรวรรดิเขมรก็แตกออกเป็นหลายขั้วอำนาจ เหล่าผู้มีอำนาจในท้องถิ่นต่างๆก็สถาปนาราชวงศ์ของตนและตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ เกิดเป็น "หลายเศวตรฉัตรในอาณาจักรเดียว" เป็นอย่างนี้นานกว่าห้าสิบปี ก่อนที่สุริยวรมันที่ ๒ จากราชวงศ์มหิธรปุระ จะปราบกษัตริย์พระองค์อื่น คือ หรรษวรมันที่ 3 และธรณินทรวรมันที่ 1 รวมถึงเจ้าแคว้นอิสระต่างๆลงได้ พระองค์ทรงมันมือเลยเข้าตีลึกเข้าไปถึงอาณาจักรจามปาคู่อริตลอดกาลของจักรวรรดิเขมร และทรงฉลองชัยชนะด้วยการสร้างอภิมหาโปรเจกค์ "นครวัด" เพื่อประกาศพระองค์เป็นพระหริหระ แต่ผู้เดียวในแถบนี้ แต่ความยิ่งใหญ่ก็อยู่เพียงรัชกาลต่อจากพระองค์ ยี่สิบปีต่อมาจักรวรรดิเขมรก็ถูกทำลายโดยคู่อริเก่าคือจามปานั่นเอง
- สี่ปีหลังไม่มีกษัตริย์ ชัยวรมันที่ ๗ จึงรวบรวมจักรวรรดิเขมรได้อีกครั้ง และย้ายราชธานีมาอยู่ที่นครธม และทรงฉลองชัยชนะ โดยการสร้างปราสาทบายน และสร้างอโรคยาศาล(โรงพยาบาล) และบรรณาลัย(ห้องสมุด) ทั่งอาณาจักร และประกาศพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ และก็ทรงตามรอยสุริยวรมันที่ ๒ หลังสวรรคต อาณาจักรก็เกิดกลียุคอีกครั้ง เหล่าเจ้านายต่างแย่งชิงอำนาจกันว่าเล่น และแคว้นต่างๆที่เคยเป็นเมืองขึ้นก็จ้องจะล้มจักรวรรดิเขมรอยู่ตลอดเวลา แต่กษัตริย์เขมรทำได้เพียงผูกไมตรีและยกย่องแคว้นเหล่านั้นให้มากกว่าเดิม ไม่กล้าใช้กำลังปราบปราม แต่แคว้นเหล่านั้นโดยเฉพาะแถบลุ่มน้ำยม แม่น้ำน่าน และเจ้าพระยากลับเห็นความอ่อนแอและประกาศความเป็นอิสระทันที ซึ่งแน่นอนว่าจักรวรรดิเขมรทำได้เพียงนั่งมองตาปริบๆเท่านั้น
๒. ปัจจัยด้านสังคม
- อภิมหึมามหาโปรเจกค์ของกษัตริย์เขมร เอาแค่สองพระองค์ คือ สุริยวรมันที่ ๒ เจ้าของโครงการนครวัด และชัยวรมันที่ ๗ เจ้าของโครงการปราสาทบายนและโรงพยาบาลทั่วประเทศ ก่อความลำบากแก่ประชาชนของจักรวรรดิอย่างยิ่ง เพราะโครงการแต่ละอย่างต้องมาด้วยส่วยและแรงงานมหาศาล เอาแค่ตัดหินและลากมาจากพนมกุเลน มีการคาดการว่าใช้แรงงานทาสและราษฎรไม่หย่อนกว่าครึ่งแสน นี่เป็นความลำบากอย่างแรก
- สงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นเกือบทุกรัชกาล กษัตริย์เขมรนั้นขึ้นนั่งบัลลังก์จากกองเลือดและซากศพ หากสงครามกลางเมืองสงบหน่อยจะต่อด้วยการปราบปรามจามปา หรือไดเวียด นี่เป็นความลำบากของประชาชนอย่างที่สอง
- ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและขาดการเอาใจใส่ในระบบชลประทานที่เป็นฐานอำนาจหลักของจักรวรรดิ ภัยแล้ง น้ำท่วม โรคห่า และการขาดแคลนอาหารลามไปทั่วหัวละแหง นี่เป็นความลำบากของประชาชนอย่างที่สาม
- ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการต่อต้านจากประชาชนนั้นจะมีหรือไม่ ในช่วงแรกนั้นอำนาจของกษัตริย์อยู่ได้เพราะความเป็นเทวราชาหรือพระโพธิสัตว์ แต่เมื่อศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์เริ่มแผ่เข้ามาสู่ประชาชนเขมร ขณะที่ชนชั้นปกครองยังเป็นพุทธแบบมหายานหรือพราหมณ์ ไม่มีการปรับปรุงให้เข้ากับความเป็นเทวราชา(ต่างจากสุโขทัยและอยุทธยา ที่เปลี่ยนสถานะกษัตย์เป็นธรรมราชา และพระเจ้าจักรพรรดิราช ตามแบบเถรวาท) ความกริ่งเกรงในสมมติเทพจึงเริ่มเสื่อมถอยลง
๓. ปัจจัยทางธรรมชาติ
- ยุคน้ำแข็งช่วงสั้นๆ (Little Ice Age) ทำให้แถบเส้นศูนย์สูตรและใกล้เคียงเกิดสภาวะแล้งยาวนาน ขณะที่เมืองพระนครมีประชาที่ต้องเลี้ยงดูไม่หย่อนกว่า 700,000 คน ซึ่งอยู่ได้ด้วยระบบชลประทาน แต่เมื่อระบบชลประทานถูกละเลยจากผลของสงครามกลางเมืองเกิดภาวะขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค และการทำการเกษตร ทำให้ประชากรในเมืองหลวงลดลงไปอย่างมาก
- มีการคาดการณ์ว่าช่วงนั้น แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คงมีการระบาดของโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกรวมๆว่า โรคห่า (เหตุการณ์นี้ส่งผลให้พระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองมาตั้งที่หนองโสนในเวลาต่อมา) ทำให้เมืองที่มีประชากรจำนวนมากได้รับผลกระทบมากที่สุด
๔. ปัจจัยต่างประเทศ
- ชนเผ่ามองโกลเข้ารุกรานตะวันตก เอเชียกลาง และเอเชียตะวันออก ทำให้การค้าจากจีนด้านตะวันออก และอินเดีย เปอร์เซียด้านตะวันตกซบเซาลง แต่เมื่อการรุกรานของมองโกลสิ้นสุดลง อาณาจักรศรีวิชัยที่คุมเส้นทางการค้าทางใต้กลับล่มสลายลง ทำให้แถบนั้นเป็นสุญญากาศทางอำนาจ ช่องแคบมะละกาเต็มไปด้วยโจรสลัด พ่อค้าจากฝั่งตะวันตกจึงขึ้นฝั่งเพียงแค่เมืองท่าของมอญ และเมืองแถบชายฝั่งอันดามันเท่านั้น ทำให้เมืองท่าของจักรวรรดิเขมรซบเซาลงอีก
- ความเข้มแข็งของอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งส่งต่อให้อยุธยา นอกจากจะทำลายอิทธิพลของจักรวรรดิเขมรในแถบนั้นลงราบคาบแล้ว ความปรารถนาของอยุธยายังประสงค์จะย้านศูนย์กลางจักรวาลเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่แทนที่เขมร ซึ่งเป็นผลให้อยุธยารุกรานนครธมถึงสองครั้งในเวลาติดต่อกันไม่กี่ปี และการรุกรานครั้งใหญ่ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราธิราชที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๑๙๑๖ อยุธยาได้เผาทำลายนครธม และขนทรัพย์สิน ผู้คน ศิลปวิทยาการต่างๆมาสู่ศูนย์กลางอำนาจแห่งใหม่ เป็นการปิดฉากจักรวรรดิที่เคยยิ่งใหญ่ในที่สุด
๑.ปัจจัยด้านการเมือง
- หลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ จักรวรรดิเขมรก็แตกออกเป็นหลายขั้วอำนาจ เหล่าผู้มีอำนาจในท้องถิ่นต่างๆก็สถาปนาราชวงศ์ของตนและตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ เกิดเป็น "หลายเศวตรฉัตรในอาณาจักรเดียว" เป็นอย่างนี้นานกว่าห้าสิบปี ก่อนที่สุริยวรมันที่ ๒ จากราชวงศ์มหิธรปุระ จะปราบกษัตริย์พระองค์อื่น คือ หรรษวรมันที่ 3 และธรณินทรวรมันที่ 1 รวมถึงเจ้าแคว้นอิสระต่างๆลงได้ พระองค์ทรงมันมือเลยเข้าตีลึกเข้าไปถึงอาณาจักรจามปาคู่อริตลอดกาลของจักรวรรดิเขมร และทรงฉลองชัยชนะด้วยการสร้างอภิมหาโปรเจกค์ "นครวัด" เพื่อประกาศพระองค์เป็นพระหริหระ แต่ผู้เดียวในแถบนี้ แต่ความยิ่งใหญ่ก็อยู่เพียงรัชกาลต่อจากพระองค์ ยี่สิบปีต่อมาจักรวรรดิเขมรก็ถูกทำลายโดยคู่อริเก่าคือจามปานั่นเอง
- สี่ปีหลังไม่มีกษัตริย์ ชัยวรมันที่ ๗ จึงรวบรวมจักรวรรดิเขมรได้อีกครั้ง และย้ายราชธานีมาอยู่ที่นครธม และทรงฉลองชัยชนะ โดยการสร้างปราสาทบายน และสร้างอโรคยาศาล(โรงพยาบาล) และบรรณาลัย(ห้องสมุด) ทั่งอาณาจักร และประกาศพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ และก็ทรงตามรอยสุริยวรมันที่ ๒ หลังสวรรคต อาณาจักรก็เกิดกลียุคอีกครั้ง เหล่าเจ้านายต่างแย่งชิงอำนาจกันว่าเล่น และแคว้นต่างๆที่เคยเป็นเมืองขึ้นก็จ้องจะล้มจักรวรรดิเขมรอยู่ตลอดเวลา แต่กษัตริย์เขมรทำได้เพียงผูกไมตรีและยกย่องแคว้นเหล่านั้นให้มากกว่าเดิม ไม่กล้าใช้กำลังปราบปราม แต่แคว้นเหล่านั้นโดยเฉพาะแถบลุ่มน้ำยม แม่น้ำน่าน และเจ้าพระยากลับเห็นความอ่อนแอและประกาศความเป็นอิสระทันที ซึ่งแน่นอนว่าจักรวรรดิเขมรทำได้เพียงนั่งมองตาปริบๆเท่านั้น
๒. ปัจจัยด้านสังคม
- อภิมหึมามหาโปรเจกค์ของกษัตริย์เขมร เอาแค่สองพระองค์ คือ สุริยวรมันที่ ๒ เจ้าของโครงการนครวัด และชัยวรมันที่ ๗ เจ้าของโครงการปราสาทบายนและโรงพยาบาลทั่วประเทศ ก่อความลำบากแก่ประชาชนของจักรวรรดิอย่างยิ่ง เพราะโครงการแต่ละอย่างต้องมาด้วยส่วยและแรงงานมหาศาล เอาแค่ตัดหินและลากมาจากพนมกุเลน มีการคาดการว่าใช้แรงงานทาสและราษฎรไม่หย่อนกว่าครึ่งแสน นี่เป็นความลำบากอย่างแรก
- สงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นเกือบทุกรัชกาล กษัตริย์เขมรนั้นขึ้นนั่งบัลลังก์จากกองเลือดและซากศพ หากสงครามกลางเมืองสงบหน่อยจะต่อด้วยการปราบปรามจามปา หรือไดเวียด นี่เป็นความลำบากของประชาชนอย่างที่สอง
- ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและขาดการเอาใจใส่ในระบบชลประทานที่เป็นฐานอำนาจหลักของจักรวรรดิ ภัยแล้ง น้ำท่วม โรคห่า และการขาดแคลนอาหารลามไปทั่วหัวละแหง นี่เป็นความลำบากของประชาชนอย่างที่สาม
- ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการต่อต้านจากประชาชนนั้นจะมีหรือไม่ ในช่วงแรกนั้นอำนาจของกษัตริย์อยู่ได้เพราะความเป็นเทวราชาหรือพระโพธิสัตว์ แต่เมื่อศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์เริ่มแผ่เข้ามาสู่ประชาชนเขมร ขณะที่ชนชั้นปกครองยังเป็นพุทธแบบมหายานหรือพราหมณ์ ไม่มีการปรับปรุงให้เข้ากับความเป็นเทวราชา(ต่างจากสุโขทัยและอยุทธยา ที่เปลี่ยนสถานะกษัตย์เป็นธรรมราชา และพระเจ้าจักรพรรดิราช ตามแบบเถรวาท) ความกริ่งเกรงในสมมติเทพจึงเริ่มเสื่อมถอยลง
๓. ปัจจัยทางธรรมชาติ
- ยุคน้ำแข็งช่วงสั้นๆ (Little Ice Age) ทำให้แถบเส้นศูนย์สูตรและใกล้เคียงเกิดสภาวะแล้งยาวนาน ขณะที่เมืองพระนครมีประชาที่ต้องเลี้ยงดูไม่หย่อนกว่า 700,000 คน ซึ่งอยู่ได้ด้วยระบบชลประทาน แต่เมื่อระบบชลประทานถูกละเลยจากผลของสงครามกลางเมืองเกิดภาวะขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค และการทำการเกษตร ทำให้ประชากรในเมืองหลวงลดลงไปอย่างมาก
- มีการคาดการณ์ว่าช่วงนั้น แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คงมีการระบาดของโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกรวมๆว่า โรคห่า (เหตุการณ์นี้ส่งผลให้พระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองมาตั้งที่หนองโสนในเวลาต่อมา) ทำให้เมืองที่มีประชากรจำนวนมากได้รับผลกระทบมากที่สุด
๔. ปัจจัยต่างประเทศ
- ชนเผ่ามองโกลเข้ารุกรานตะวันตก เอเชียกลาง และเอเชียตะวันออก ทำให้การค้าจากจีนด้านตะวันออก และอินเดีย เปอร์เซียด้านตะวันตกซบเซาลง แต่เมื่อการรุกรานของมองโกลสิ้นสุดลง อาณาจักรศรีวิชัยที่คุมเส้นทางการค้าทางใต้กลับล่มสลายลง ทำให้แถบนั้นเป็นสุญญากาศทางอำนาจ ช่องแคบมะละกาเต็มไปด้วยโจรสลัด พ่อค้าจากฝั่งตะวันตกจึงขึ้นฝั่งเพียงแค่เมืองท่าของมอญ และเมืองแถบชายฝั่งอันดามันเท่านั้น ทำให้เมืองท่าของจักรวรรดิเขมรซบเซาลงอีก
- ความเข้มแข็งของอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งส่งต่อให้อยุธยา นอกจากจะทำลายอิทธิพลของจักรวรรดิเขมรในแถบนั้นลงราบคาบแล้ว ความปรารถนาของอยุธยายังประสงค์จะย้านศูนย์กลางจักรวาลเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่แทนที่เขมร ซึ่งเป็นผลให้อยุธยารุกรานนครธมถึงสองครั้งในเวลาติดต่อกันไม่กี่ปี และการรุกรานครั้งใหญ่ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราธิราชที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๑๙๑๖ อยุธยาได้เผาทำลายนครธม และขนทรัพย์สิน ผู้คน ศิลปวิทยาการต่างๆมาสู่ศูนย์กลางอำนาจแห่งใหม่ เป็นการปิดฉากจักรวรรดิที่เคยยิ่งใหญ่ในที่สุด
แสดงความคิดเห็น
ทำไมนครวัดถึงล่มสลายครับ
ไม่ทราบว่าเพื่อนๆมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไรบ้างครับ
โดยส่วนตัวคิดว่าน่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะเกิดภัยแล้งเพราะทำเลที่ตั้งก็ติดทะเลสาบเขมรบวกทั้งระบบชลประทานที่ทำไว้ก็มีประสิทธภาพที่ดี