เทศกาลรับน้องปีนี้หลายสถาบันอุดมศึกษาต่างก็มีประเพณีที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป้าหมายก็ล้วนต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง เกิดความรักและสามัคคีในหมู่คณะ
มาดูกันว่ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะมี "สีสัน"และ "บรรยากาศ" การรับน้องใหม่อย่างไรบ้าง
เริ่มแรกมาร่วมถอดรหัสกันที่ "แม่โจ้โมเดล" กับกระแสวิพากษ์วิจารณ์กิจกรรมการรับน้อง หรือที่บางคนเรียกว่า "ระบบโซตัส" โดยเฉพาะที่แม่โจ้ มักจะได้ยินประโยคที่กล่าวกันว่า "แม่โจ้รับน้องโหด" ติดหนึ่งใน 3 ของประเทศ ซึ่งคนแม่โจ้ยืนยันว่า กิจกรรมของมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ดีงาม ควรค่าแก่การสืบทอดหากเปิดใจให้กว้างจะเห็นว่ากิจกรรมนี้ตอบโจทย์สังคมไทยยุคปัจจุบันอย่างน่าสนใจ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้กำลังจะครบรอบวาระ 80 ปี ในอดีตคนที่มาเรียนเกษตรที่นี่ ต้องมีความเข้มแข็ง ทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้กิจกรรมรับน้องพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มุ่งหมายถ่ายทอดความผูกพัน ความรัก และสามัคคีในหมู่พี่น้อง ที่สำคัญต้องเสียสละเพื่อส่วนรวม ดังคติสอนใจของแม่โจ้ที่ว่า "เลิศน้ำใจ วินัยดี เชิดชูประเพณี สามัคคี อาวุโส"
ปีนี้แม่โจ้จัดกิจกรรมที่เรียกว่า "กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา" โดยนักศึกษารุ่นปี 2 จะทำหน้าที่สืบทอดสิ่งดีๆ ให้แก่รุ่นน้อง โดยมีรุ่นพี่ปีอื่นๆ คณาจารย์ และศิษย์เก่าคอยควบคุม เพื่อให้รุ่นน้องรู้ถึงการสร้างคุณค่าต่อตนเองและสังคม เช่น การเรียนรู้อัตลักษณ์ความเป็นแม่โจ้ เข้าใจความเป็นมา การพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมในสังคม โดยเฉพาะประเพณีเดิน-วิ่งแม่โจ้-สันทราย ซึ่งจะมีชาวบ้านรอบมหาวิทยาลัยมาร่วมต้อนรับสมาชิกใหม่ทุกปี
ผศ.ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เล่าว่า ตนมีโอกาสเฝ้าฯ รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ตรัสว่า "แม่โจ้ ทำยังไงถึงรักและสามัคคีกัน" ประโยคนี้เป็นประโยคที่สร้างความปลาบปลื้มให้แก่ชาวแม่โจ้อย่างหาที่สุดมิได้
"สิ่งนี้ได้ตอบโจทย์ความดีงามของประเพณีที่แม่โจ้ได้ อย่างดี ศิษย์เก่าอาวุโสที่คอยให้คำปรึกษาจะเน้นประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม นั่นคือความเสียสละ ให้เกียรติผู้อื่น และมีคุณธรรม มีคำแนะนำว่า แม่โจ้น่าจะเผยแพร่โมเดลนี้ให้สังคมกลุ่มอื่นๆ ได้ลองนำไปปรับใช้ เพราะในสังคมปัจจุบันมีแต่การแบ่งแยกกลุ่มอย่างชัดเจน" อธิการบดีแม่โจ้กล่าว
ขณะที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง (สจล.) หรือ "พระจอมเกล้าลาดกระบัง" ก็มีประเพณีการรับน้องที่ถือเป็นตำนานมากว่า 25 ปี คือ "ประเพณีรับน้องรถไฟ" ซึ่งปีการศึกษา 2556 จะมี "เฟรชชี่" กว่า 3,000 คน เข้าร่วม ปีนี้ประเพณีรับน้องรถไฟจัดภายใต้ธีม "รับน้องรถไฟประหยัดพลังงาน"
พร้อมทำสถิติการรับน้องที่ใช้พลังงานน้อยที่สุดในประเทศไทย และครั้งแรกของโลก ด้วยแนวคิด "Train Pool Day" ที่ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า 7,000 ลิตร ภายใต้สโลแกน "บูมรถไฟ ใส่ใจพลังงาน"
การรับน้องรถไฟจะเริ่มด้วยเฟรชชี่ทุกคนรวมตัวที่สถานีรถไฟหัวลำโพง รุ่นพี่จะต้อนรับด้วยเสียงกลองเคล้าด้วยเสียงเชียร์ ร่วมกันทำกิจกรรม "บูมรถไฟ" โดยใช้ข้อความว่า "รถไฟไทย ลดใช้พลังงาน" เปรียบรถไฟเหมือนสัญลักษณ์ของประเทศไทย การบูมก็เป็นสัญลักษณ์ถึงการร่วมมือร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียวกัน
ขบวนรถไฟน้องใหม่จะมุ่งหน้าสู่ลาดกระบัง ซึ่งมีรุ่นพี่ รุ่นน้อง ร่วมสถาบัน กว่า 800 ชีวิต รอต้อนรับ และจะได้พูดคุยกัน ก่อนจะพากันเข้าสู่งานก้าวแรก 2556 หรือ Welcome me...อาเซียน First Step to KMITL 2013
งานก้าวแรกปี 2556 องค์การนักศึกษาสจล. จะจัดให้สอดคล้องกับนโยบายการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและ การประหยัดพลังงาน ซึ่งภายในงาน จะประกอบไปด้วย ฐานต่างๆ 8 ฐาน นำเสนอวัฒนธรรม สังคม และวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ประวัติความเป็นมาของแต่ละคณะในสถาบัน และเกมปลูกฝังจิตสำนึกประหยัดพลังงาน
การรับน้องรถไฟ จะช่วยประหยัดพลังงานน้ำมันได้มากถึง 7,000 ลิตร การเปลี่ยนสถานที่ทำกิจกรรมก็จะช่วย ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 200,000 วัตต์ และการปลูกฝังจิตสำนึกประหยัดพลังงาน เป็นการต่อยอดจาก สิ่งแวดล้อมรอบตัวของนักศึกษา และสถาบันเอง อาทิ อาคารประหยัดพลังงาน (Net Zero Energy Building) ที่ด้านหน้าอาคารและหลังคาติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ ร้อยละ 50 เป็นต้น
การรับน้องในปีการศึกษา 2556 นี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คุมเข้มกิจกรรมดังกล่าว เพื่อให้ประเพณีที่ดีงามนี้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์
โดย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศธ. กำชับไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ให้ดูแลการรับน้องตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ห้ามไม่ให้จัดรับน้องนอกสถานศึกษา กิจกรรมต้องส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรม ไม่ขัดต่อระเบียบของมหาวิทยาลัย และประเพณีที่ดีงามของสังคม เคารพเสรีภาพส่วนบุคคล และต้องอยู่ในการดูแลรับผิดชอบร่วมกันของผู้บริหาร และครู
ฟากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) องครักษ์ จ.นครนายก ก็มีกิจกรรมรับน้องที่น่าสนใจเช่นกัน
ปีนี้ ฝ่ายพัฒนาศักยภาพนิสิต เจ้าภาพจัดกิจกรรมปฐมนิเทศนิสิตใหม่ และค่ายเสริมสร้างอัตลักษณ์นิสิต ปีการศึกษา 2556 ซึ่งรณรงค์โครงการ "บัณฑิตไทยไม่โกง" ในกิจกรรมรับน้องใหม่ต้านคอร์รัปชั่น มีตัวแทนนิสิตใหม่ร่วมขบวนเชิญแผ่นป้ายผ้าปลูกจิตสำนึก บัณฑิตไทยไม่โกง จากน้องใหม่ 18 คณะ/สถาบัน/วิทยาลัย ด้วยบรรยากาศที่เต็มไปด้วยพลังจากนิสิตใหม่ 4,900 คน
งานนี้มศว มีคำขวัญรณรงค์มากมาย อาทิ "จิตสาธารณะมีสัจจะรักษาคำพูด" "นิสิต ครูไทย โตไปไม่โกง" "หยุดคอร์รัปชั่น ในวันนี้ เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า" เป็นต้น
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมศว บอกว่า ต้องทำความเข้าใจกับนิสิตใหม่ ให้เห็นความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ว่าจะอยู่ใน ที่แจ้งหรือที่ลับ ความซื่อสัตย์สุจริตจะทำให้เราได้รับความไว้วางใจจากคนอื่นๆ และมีโอกาสก้าวหน้าในอนาคต แต่ถ้าเราเป็นคนเก่งแต่ขาดความซื่อสัตย์สุจริต โอกาสที่เราจะได้รับความไว้วางใจก็ยาก
"การก้าวเข้าสู่รั้ว มศว ไม่ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ ความสำเร็จแห่งชีวิตของนิสิต ต้องมี 3 ปัจจัย คือ 1.แรงบันดาลใจ ไม่ได้เกี่ยวกับสมอง แต่เป็นความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ภายใน เช่น แรงบันดาลใจที่จะทำความดี ขยันเรียนหนังสือ แรงบันดาลใจจะทำให้เรามีพลังฟันฝ่าอุปสรรคทุกอย่างไปได้ ทำให้เรารู้จักอดทน 2.นิสิตต้องมีปัญญา ต้องรู้จักค้นคว้า และ 3.บริหารจัดการที่ดี" อธิการบดีมศวกล่าว
รับน้องปีนี้นิสิต นักศึกษา คงจะซึมซับบรรยากาศ มิตรภาพระหว่างกันได้อย่างดี
ข่าวสด การศึกษา
ณัฐพงษ์ บุณยพรหม / รายงาน
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM01UWTJNalkwTXc9PQ==§ionid=
1.แม่โจ้ รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
2.ตำนานรับน้องอันเก่าแก่แม่โจ้
3.แม่โจ้รับน้องเข้มขลัง
4.-5.กิจกรรมรับน้องแม่โจ้
สำรวจบรรยากาศ "รับน้อง" ประเพณีสร้างสรรค์ชาวมหาลัย
มาดูกันว่ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะมี "สีสัน"และ "บรรยากาศ" การรับน้องใหม่อย่างไรบ้าง
เริ่มแรกมาร่วมถอดรหัสกันที่ "แม่โจ้โมเดล" กับกระแสวิพากษ์วิจารณ์กิจกรรมการรับน้อง หรือที่บางคนเรียกว่า "ระบบโซตัส" โดยเฉพาะที่แม่โจ้ มักจะได้ยินประโยคที่กล่าวกันว่า "แม่โจ้รับน้องโหด" ติดหนึ่งใน 3 ของประเทศ ซึ่งคนแม่โจ้ยืนยันว่า กิจกรรมของมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ดีงาม ควรค่าแก่การสืบทอดหากเปิดใจให้กว้างจะเห็นว่ากิจกรรมนี้ตอบโจทย์สังคมไทยยุคปัจจุบันอย่างน่าสนใจ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้กำลังจะครบรอบวาระ 80 ปี ในอดีตคนที่มาเรียนเกษตรที่นี่ ต้องมีความเข้มแข็ง ทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้กิจกรรมรับน้องพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มุ่งหมายถ่ายทอดความผูกพัน ความรัก และสามัคคีในหมู่พี่น้อง ที่สำคัญต้องเสียสละเพื่อส่วนรวม ดังคติสอนใจของแม่โจ้ที่ว่า "เลิศน้ำใจ วินัยดี เชิดชูประเพณี สามัคคี อาวุโส"
ปีนี้แม่โจ้จัดกิจกรรมที่เรียกว่า "กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา" โดยนักศึกษารุ่นปี 2 จะทำหน้าที่สืบทอดสิ่งดีๆ ให้แก่รุ่นน้อง โดยมีรุ่นพี่ปีอื่นๆ คณาจารย์ และศิษย์เก่าคอยควบคุม เพื่อให้รุ่นน้องรู้ถึงการสร้างคุณค่าต่อตนเองและสังคม เช่น การเรียนรู้อัตลักษณ์ความเป็นแม่โจ้ เข้าใจความเป็นมา การพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมในสังคม โดยเฉพาะประเพณีเดิน-วิ่งแม่โจ้-สันทราย ซึ่งจะมีชาวบ้านรอบมหาวิทยาลัยมาร่วมต้อนรับสมาชิกใหม่ทุกปี
ผศ.ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เล่าว่า ตนมีโอกาสเฝ้าฯ รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ตรัสว่า "แม่โจ้ ทำยังไงถึงรักและสามัคคีกัน" ประโยคนี้เป็นประโยคที่สร้างความปลาบปลื้มให้แก่ชาวแม่โจ้อย่างหาที่สุดมิได้
"สิ่งนี้ได้ตอบโจทย์ความดีงามของประเพณีที่แม่โจ้ได้ อย่างดี ศิษย์เก่าอาวุโสที่คอยให้คำปรึกษาจะเน้นประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม นั่นคือความเสียสละ ให้เกียรติผู้อื่น และมีคุณธรรม มีคำแนะนำว่า แม่โจ้น่าจะเผยแพร่โมเดลนี้ให้สังคมกลุ่มอื่นๆ ได้ลองนำไปปรับใช้ เพราะในสังคมปัจจุบันมีแต่การแบ่งแยกกลุ่มอย่างชัดเจน" อธิการบดีแม่โจ้กล่าว
ขณะที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง (สจล.) หรือ "พระจอมเกล้าลาดกระบัง" ก็มีประเพณีการรับน้องที่ถือเป็นตำนานมากว่า 25 ปี คือ "ประเพณีรับน้องรถไฟ" ซึ่งปีการศึกษา 2556 จะมี "เฟรชชี่" กว่า 3,000 คน เข้าร่วม ปีนี้ประเพณีรับน้องรถไฟจัดภายใต้ธีม "รับน้องรถไฟประหยัดพลังงาน"
พร้อมทำสถิติการรับน้องที่ใช้พลังงานน้อยที่สุดในประเทศไทย และครั้งแรกของโลก ด้วยแนวคิด "Train Pool Day" ที่ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า 7,000 ลิตร ภายใต้สโลแกน "บูมรถไฟ ใส่ใจพลังงาน"
การรับน้องรถไฟจะเริ่มด้วยเฟรชชี่ทุกคนรวมตัวที่สถานีรถไฟหัวลำโพง รุ่นพี่จะต้อนรับด้วยเสียงกลองเคล้าด้วยเสียงเชียร์ ร่วมกันทำกิจกรรม "บูมรถไฟ" โดยใช้ข้อความว่า "รถไฟไทย ลดใช้พลังงาน" เปรียบรถไฟเหมือนสัญลักษณ์ของประเทศไทย การบูมก็เป็นสัญลักษณ์ถึงการร่วมมือร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียวกัน
ขบวนรถไฟน้องใหม่จะมุ่งหน้าสู่ลาดกระบัง ซึ่งมีรุ่นพี่ รุ่นน้อง ร่วมสถาบัน กว่า 800 ชีวิต รอต้อนรับ และจะได้พูดคุยกัน ก่อนจะพากันเข้าสู่งานก้าวแรก 2556 หรือ Welcome me...อาเซียน First Step to KMITL 2013
งานก้าวแรกปี 2556 องค์การนักศึกษาสจล. จะจัดให้สอดคล้องกับนโยบายการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและ การประหยัดพลังงาน ซึ่งภายในงาน จะประกอบไปด้วย ฐานต่างๆ 8 ฐาน นำเสนอวัฒนธรรม สังคม และวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ประวัติความเป็นมาของแต่ละคณะในสถาบัน และเกมปลูกฝังจิตสำนึกประหยัดพลังงาน
การรับน้องรถไฟ จะช่วยประหยัดพลังงานน้ำมันได้มากถึง 7,000 ลิตร การเปลี่ยนสถานที่ทำกิจกรรมก็จะช่วย ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 200,000 วัตต์ และการปลูกฝังจิตสำนึกประหยัดพลังงาน เป็นการต่อยอดจาก สิ่งแวดล้อมรอบตัวของนักศึกษา และสถาบันเอง อาทิ อาคารประหยัดพลังงาน (Net Zero Energy Building) ที่ด้านหน้าอาคารและหลังคาติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ ร้อยละ 50 เป็นต้น
การรับน้องในปีการศึกษา 2556 นี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คุมเข้มกิจกรรมดังกล่าว เพื่อให้ประเพณีที่ดีงามนี้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์
โดย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศธ. กำชับไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ให้ดูแลการรับน้องตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ห้ามไม่ให้จัดรับน้องนอกสถานศึกษา กิจกรรมต้องส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรม ไม่ขัดต่อระเบียบของมหาวิทยาลัย และประเพณีที่ดีงามของสังคม เคารพเสรีภาพส่วนบุคคล และต้องอยู่ในการดูแลรับผิดชอบร่วมกันของผู้บริหาร และครู
ฟากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) องครักษ์ จ.นครนายก ก็มีกิจกรรมรับน้องที่น่าสนใจเช่นกัน
ปีนี้ ฝ่ายพัฒนาศักยภาพนิสิต เจ้าภาพจัดกิจกรรมปฐมนิเทศนิสิตใหม่ และค่ายเสริมสร้างอัตลักษณ์นิสิต ปีการศึกษา 2556 ซึ่งรณรงค์โครงการ "บัณฑิตไทยไม่โกง" ในกิจกรรมรับน้องใหม่ต้านคอร์รัปชั่น มีตัวแทนนิสิตใหม่ร่วมขบวนเชิญแผ่นป้ายผ้าปลูกจิตสำนึก บัณฑิตไทยไม่โกง จากน้องใหม่ 18 คณะ/สถาบัน/วิทยาลัย ด้วยบรรยากาศที่เต็มไปด้วยพลังจากนิสิตใหม่ 4,900 คน
งานนี้มศว มีคำขวัญรณรงค์มากมาย อาทิ "จิตสาธารณะมีสัจจะรักษาคำพูด" "นิสิต ครูไทย โตไปไม่โกง" "หยุดคอร์รัปชั่น ในวันนี้ เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า" เป็นต้น
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมศว บอกว่า ต้องทำความเข้าใจกับนิสิตใหม่ ให้เห็นความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ว่าจะอยู่ใน ที่แจ้งหรือที่ลับ ความซื่อสัตย์สุจริตจะทำให้เราได้รับความไว้วางใจจากคนอื่นๆ และมีโอกาสก้าวหน้าในอนาคต แต่ถ้าเราเป็นคนเก่งแต่ขาดความซื่อสัตย์สุจริต โอกาสที่เราจะได้รับความไว้วางใจก็ยาก
"การก้าวเข้าสู่รั้ว มศว ไม่ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ ความสำเร็จแห่งชีวิตของนิสิต ต้องมี 3 ปัจจัย คือ 1.แรงบันดาลใจ ไม่ได้เกี่ยวกับสมอง แต่เป็นความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ภายใน เช่น แรงบันดาลใจที่จะทำความดี ขยันเรียนหนังสือ แรงบันดาลใจจะทำให้เรามีพลังฟันฝ่าอุปสรรคทุกอย่างไปได้ ทำให้เรารู้จักอดทน 2.นิสิตต้องมีปัญญา ต้องรู้จักค้นคว้า และ 3.บริหารจัดการที่ดี" อธิการบดีมศวกล่าว
รับน้องปีนี้นิสิต นักศึกษา คงจะซึมซับบรรยากาศ มิตรภาพระหว่างกันได้อย่างดี
ข่าวสด การศึกษา
ณัฐพงษ์ บุณยพรหม / รายงาน
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM01UWTJNalkwTXc9PQ==§ionid=
1.แม่โจ้ รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
2.ตำนานรับน้องอันเก่าแก่แม่โจ้
3.แม่โจ้รับน้องเข้มขลัง
4.-5.กิจกรรมรับน้องแม่โจ้