20 มิ.ย. 2556 เวลา 10:37:33 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"ดอนเมือง" อัดงบฯหมื่นล้าน เร่งแผนพัฒนา-ปรับปรุง ชู "ฟาสต์ แอร์พอร์ต" สร้างความเชื่อมั่นสายการบิน ล่าสุดโลว์คอสต์อินโดนีเซีย "ไลอ้อนแอร์" ยึดโมเดลแอร์เอเชีย พร้อมเล็งตั้ง "ไทยไลอ้อนแอร์" กวาดตลาดในไทย เตรียมย้ายฮับบินซบดอนเมือง ส.ค.นี้
ว่าที่เรืออากาศโทจตุรงคพล สดมณี ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตั้งแต่ปี 2556-2558 นับเป็นช่วงเวลา 3 ปีที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งมีแผนพัฒนาและปรับปรุงท่าอากาศยานด้วยวงเงินงบประมาณถึง 10,900 ล้านบาท เพื่อขยายขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารที่จะเพิ่มเป็น 19 ล้านคน ในปี 2557 หลังคาดว่าสิ้นปี 2556 จะมีผู้โดยสารใช้บริการ 15 ล้านคน สูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 14 ล้านคน
ขณะเดียวกันนอกเหนือจากบริการที่ดีแล้ว ท่าอากาศยานดอนเมืองก็จะชูในเรื่องของ "ฟาสต์ แอร์พอร์ต" ซึ่งผู้โดยสารจะใช้เวลาผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่เช็กอินจนถึงขึ้นเครื่องบินน้อยลง โดยผู้โดยสารภายในประเทศจะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ส่วนผู้โดยสารระหว่างประเทศจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังเตรียมเปิดให้บริการแอร์พอร์ต เฮลป์ เพื่อช่วยเหลือผู้โดยสารระหว่างประเทศตามจุดต่าง ๆ โดยเตรียมจัดจ้างพนักงานเพิ่มอีก 15-20 อัตรา เน้นที่มีทักษะสื่อสารภาษาจีนได้ รองรับผู้โดยสารชาวจีนที่มาใช้บริการจำนวนมาก คาดความคืบหน้าของโครงการฟาสต์ แอร์พอร์ตจะเห็นภายในกันยายนหรือตุลาคมนี้
"แผนการดังกล่าวนอกจากจะสร้างความมีมาตรฐานของสนามบินดอนเมืองแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่สายการบินต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มพันธมิตรสายการบินวันเวิลด์ (One World) ที่กำลังพิจารณาเรื่องความพร้อมของท่าอากาศยานในทุก ๆ ด้าน ทั้งอุปกรณ์ภาคพื้นและการบริการภาคพื้นดิน รวมถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ คาดว่าน่าจะอีก 1 ปีกว่า ๆ จะทราบข้อสรุปว่ากลุ่มวันเวิลด์จะใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นฐานการบินหรือไม่"
ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความคืบหน้าของการดึงสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) มาให้บริการที่ดอนเมืองเพิ่มเติม ล่าสุดมีตอบรับมีเพิ่มอีก 3 สายการบิน คือ ไลอ้อนแอร์ของอินโดนีเซีย จะเริ่มให้บริการภายในสิงหาคมนี้ เบื้องต้นบินไป-กลับ เส้นทางสิงคโปร์-กรุงเทพฯ 2 เที่ยวบินต่อวัน และอินโดนีเซีย-กรุงเทพฯ 2 เที่ยวบินต่อวัน นอกจากนี้ยังมีสายการบินโลว์
คอสต์ของเวียดนาม คาดให้บริการได้ในปลายปี และสายการบินแอร์เอเชียเอ็กซ์ ซึ่งจะขนผู้โดยสารจากยุโรปและตะวันออกกลางมาเชื่อมต่อเที่ยวบินที่ดอนเมืองมากขึ้น กระจายนักท่องเที่ยวไปยังจุดหมายอื่น ๆ ในไทยและอาเซียน
"โดยเฉพาะไลอ้อนแอร์ เบื้องต้นเขาต้องการบินจากสิงคโปร์และอินโดนีเซียมาไทย และหลังจากนั้นมีแผนบุกตลาดการบินในประเทศไทยภายใต้ชื่อสายการบิน "ไทย ไลอ้อนแอร์" เหมือนอย่างที่กลุ่มแอร์เอเชียมีสายการบินไทย แอร์เอเชีย โดยเตรียมเปิดเส้นทางบินใหม่ เช่น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ภูเก็ต ซึ่งจะทำให้ภาพรวมตลาดโลว์คอสต์แข่งขันดุเดือดขึ้น"
ด้านนายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันทางสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตใด ๆ กับกรม ทั้งใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ (AOL) และใบอนุญาตประกอบการเดินอากาศ (AOC) ถ้าไทยไลอ้อนแอร์จะให้บริการในนามสายการบินอื่นก็ไม่ต้องขอใบอนุญาต AOL แต่ถ้าไทยไลอ้อนแอร์นำเครื่องบินของไลอ้อนแอร์มาบินเองก็ต้องขอใบอนุญาต AOC อยู่ดี
"เชื่อว่าเมื่อไทยไลอ้อนแอร์ลงมาเล่นตลาดสายการบินโลว์คอสต์จะทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น ซึ่งเจ้าตลาดในไทยก็มีนกแอร์กับไทย แอร์เอเชีย ทำให้ผู้โดยสารมีทางเลือกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการขยายธุรกิจการบินในไทยรับการเปิดน่านฟ้าเสรีอาเซียนในปี 2558 จะเห็นสายการบินต่างชาติเข้ามาผนึกกับสายการบินเล็ก ๆ ในไทยซึ่งมีอยู่หลายสายมากขึ้น เพราะไทยเป็นตลาดการบินที่มีศักยภาพสูง"
ว่าที่เรืออากาศโทจตุรงคพลกล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2557 ท่าอากาศยานดอนเมืองจะครบรอบ 100 ปี ทอท.เตรียมจัดกิจกรรมสร้างสีสันตลอดทั้งปีในทุก ๆ สัปดาห์ โดยจะร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม กรมการบินพลเรือน และทหารอากาศ เพื่อนำเสนอประวัติความเป็นมาของสนามบินดอนเมืองแก่ผู้โดยสาร ซึ่งปัจจุบันมีสายการบินใช้ดอนเมืองเป็นฐานการบิน ได้แก่ นกแอร์, โอเรียนท์ไทย, กลุ่มแอร์เอเชีย, นกมินิ, เจ็ทของไมเนอร์เอวิเอชั่น, ซิตี้ แอร์เวย์ส, กานต์แอร์ และสายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ไฟลต์)
รายอื่น ๆ มีจำนวนเที่ยวบินเฉลี่ยต่อวันราว 360 เที่ยวบิน และจำนวนผู้โดยสารประมาณ 4.5 หมื่นคนต่อวัน
ดอนเมืองชูภาพ"ฟาสต์แอร์พอร์ต"ดูดโลว์คอสต์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"ดอนเมือง" อัดงบฯหมื่นล้าน เร่งแผนพัฒนา-ปรับปรุง ชู "ฟาสต์ แอร์พอร์ต" สร้างความเชื่อมั่นสายการบิน ล่าสุดโลว์คอสต์อินโดนีเซีย "ไลอ้อนแอร์" ยึดโมเดลแอร์เอเชีย พร้อมเล็งตั้ง "ไทยไลอ้อนแอร์" กวาดตลาดในไทย เตรียมย้ายฮับบินซบดอนเมือง ส.ค.นี้
ว่าที่เรืออากาศโทจตุรงคพล สดมณี ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตั้งแต่ปี 2556-2558 นับเป็นช่วงเวลา 3 ปีที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งมีแผนพัฒนาและปรับปรุงท่าอากาศยานด้วยวงเงินงบประมาณถึง 10,900 ล้านบาท เพื่อขยายขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารที่จะเพิ่มเป็น 19 ล้านคน ในปี 2557 หลังคาดว่าสิ้นปี 2556 จะมีผู้โดยสารใช้บริการ 15 ล้านคน สูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 14 ล้านคน
ขณะเดียวกันนอกเหนือจากบริการที่ดีแล้ว ท่าอากาศยานดอนเมืองก็จะชูในเรื่องของ "ฟาสต์ แอร์พอร์ต" ซึ่งผู้โดยสารจะใช้เวลาผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่เช็กอินจนถึงขึ้นเครื่องบินน้อยลง โดยผู้โดยสารภายในประเทศจะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ส่วนผู้โดยสารระหว่างประเทศจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังเตรียมเปิดให้บริการแอร์พอร์ต เฮลป์ เพื่อช่วยเหลือผู้โดยสารระหว่างประเทศตามจุดต่าง ๆ โดยเตรียมจัดจ้างพนักงานเพิ่มอีก 15-20 อัตรา เน้นที่มีทักษะสื่อสารภาษาจีนได้ รองรับผู้โดยสารชาวจีนที่มาใช้บริการจำนวนมาก คาดความคืบหน้าของโครงการฟาสต์ แอร์พอร์ตจะเห็นภายในกันยายนหรือตุลาคมนี้
"แผนการดังกล่าวนอกจากจะสร้างความมีมาตรฐานของสนามบินดอนเมืองแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่สายการบินต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มพันธมิตรสายการบินวันเวิลด์ (One World) ที่กำลังพิจารณาเรื่องความพร้อมของท่าอากาศยานในทุก ๆ ด้าน ทั้งอุปกรณ์ภาคพื้นและการบริการภาคพื้นดิน รวมถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ คาดว่าน่าจะอีก 1 ปีกว่า ๆ จะทราบข้อสรุปว่ากลุ่มวันเวิลด์จะใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นฐานการบินหรือไม่"
ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความคืบหน้าของการดึงสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) มาให้บริการที่ดอนเมืองเพิ่มเติม ล่าสุดมีตอบรับมีเพิ่มอีก 3 สายการบิน คือ ไลอ้อนแอร์ของอินโดนีเซีย จะเริ่มให้บริการภายในสิงหาคมนี้ เบื้องต้นบินไป-กลับ เส้นทางสิงคโปร์-กรุงเทพฯ 2 เที่ยวบินต่อวัน และอินโดนีเซีย-กรุงเทพฯ 2 เที่ยวบินต่อวัน นอกจากนี้ยังมีสายการบินโลว์
คอสต์ของเวียดนาม คาดให้บริการได้ในปลายปี และสายการบินแอร์เอเชียเอ็กซ์ ซึ่งจะขนผู้โดยสารจากยุโรปและตะวันออกกลางมาเชื่อมต่อเที่ยวบินที่ดอนเมืองมากขึ้น กระจายนักท่องเที่ยวไปยังจุดหมายอื่น ๆ ในไทยและอาเซียน
"โดยเฉพาะไลอ้อนแอร์ เบื้องต้นเขาต้องการบินจากสิงคโปร์และอินโดนีเซียมาไทย และหลังจากนั้นมีแผนบุกตลาดการบินในประเทศไทยภายใต้ชื่อสายการบิน "ไทย ไลอ้อนแอร์" เหมือนอย่างที่กลุ่มแอร์เอเชียมีสายการบินไทย แอร์เอเชีย โดยเตรียมเปิดเส้นทางบินใหม่ เช่น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ภูเก็ต ซึ่งจะทำให้ภาพรวมตลาดโลว์คอสต์แข่งขันดุเดือดขึ้น"
ด้านนายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันทางสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตใด ๆ กับกรม ทั้งใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ (AOL) และใบอนุญาตประกอบการเดินอากาศ (AOC) ถ้าไทยไลอ้อนแอร์จะให้บริการในนามสายการบินอื่นก็ไม่ต้องขอใบอนุญาต AOL แต่ถ้าไทยไลอ้อนแอร์นำเครื่องบินของไลอ้อนแอร์มาบินเองก็ต้องขอใบอนุญาต AOC อยู่ดี
"เชื่อว่าเมื่อไทยไลอ้อนแอร์ลงมาเล่นตลาดสายการบินโลว์คอสต์จะทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น ซึ่งเจ้าตลาดในไทยก็มีนกแอร์กับไทย แอร์เอเชีย ทำให้ผู้โดยสารมีทางเลือกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการขยายธุรกิจการบินในไทยรับการเปิดน่านฟ้าเสรีอาเซียนในปี 2558 จะเห็นสายการบินต่างชาติเข้ามาผนึกกับสายการบินเล็ก ๆ ในไทยซึ่งมีอยู่หลายสายมากขึ้น เพราะไทยเป็นตลาดการบินที่มีศักยภาพสูง"
ว่าที่เรืออากาศโทจตุรงคพลกล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2557 ท่าอากาศยานดอนเมืองจะครบรอบ 100 ปี ทอท.เตรียมจัดกิจกรรมสร้างสีสันตลอดทั้งปีในทุก ๆ สัปดาห์ โดยจะร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม กรมการบินพลเรือน และทหารอากาศ เพื่อนำเสนอประวัติความเป็นมาของสนามบินดอนเมืองแก่ผู้โดยสาร ซึ่งปัจจุบันมีสายการบินใช้ดอนเมืองเป็นฐานการบิน ได้แก่ นกแอร์, โอเรียนท์ไทย, กลุ่มแอร์เอเชีย, นกมินิ, เจ็ทของไมเนอร์เอวิเอชั่น, ซิตี้ แอร์เวย์ส, กานต์แอร์ และสายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ไฟลต์)
รายอื่น ๆ มีจำนวนเที่ยวบินเฉลี่ยต่อวันราว 360 เที่ยวบิน และจำนวนผู้โดยสารประมาณ 4.5 หมื่นคนต่อวัน