ขอเท้าความก่อนเล็กน้อยค่ะ ว่าเมื่อปีก่อนนั้น ตัวเองได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับร้อยเอกฮันส์ มาร์กวอร์ด เจนเซน (Captain Hans Markward Jensen หรือ Hans Marqvard Jensen ตามการสะกดในภาษาเดนมาร์ก) ครูฝึกตำรวจภูธรชาวเดนมาร์ก ซึ่งได้สร้างวีรกรรมป้องกันเมืองลำปางจากกองโจรเอาไว้ได้ ทั้งที่มีข้อจำกัดและปัญหาเฉพาะหน้าให้ต้องแก้ไขในหลายด้าน แต่ที่สุดแล้ว ร้อยเอกเจนเซนก็เสียชีวิตลงระหว่างติดตามผู้กระทำความผิดในเหตุการณ์วุ่นวานนั้น ด้วยอายุเพียง 24 ปี และมีอนุสาวรีย์เป็นอนุสรณ์ความเสียสละตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านแม่กาโทกหวาก จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นบริเวณที่ถูกยิงเสียชีวิต นอกจากผู้ที่รับผิดชอบดูแลอนุสรณ์สถานเล็ก ๆ ที่หลายคนอาจไม่สังเกตเห็น ไม่เคยรู้ว่ามีอยู่ คงมีน้อยคนที่เคยได้ยินชื่อและรับรู้เรื่องราวที่เขาเคยทำนอกเหนือไปจากสิ่งที่เขียนบนป้ายจารึกบนอนุสาวรีย์
เหตุที่ลงมือเขียนเรื่องของร้อยเอกเจนเซนขึ้นนั้น เนื่องมาจากความอยากรู้อยากเห็นส่วนตัวเป็นสำคัญ เพราะเวลาขับรถจากในเมืองกลับที่พักซึ่งก็อยู่ในที่ทำงานก็จะผ่านอนุสาวรีย์นี้เป็นประจำ ได้แวะและอ่านประวัติที่สลักอยู่ที่นั่น ก็ยังไม่พอใจกับคำตอบที่ได้ ทำให้เริ่มต้นค้นเอกสารด้วยความสงสัยว่า เขาเป็นใคร มาจากไหน ทำให้ได้รู้เรื่องราวของชายหนุ่มชาวเดนมาร์กผู้นี้มากขึ้นจนพอจะนำมาเรียบเรียงเป็นบทความสั้น ๆ สักหนึ่งเรื่อง แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่อยากทราบ และยังหาข้อมูลปฐมภูมิไม่ได้ อาศัยแต่ข้อมูลจากการเรียบเรียงของคนอื่น ๆ เท่านั้น ถ้ามีโอกาส ก็คงเขียนถึงอีกสักหนค่ะ
เอกสารบางเรื่อง หนังสือบางเล่มที่ค้นชื่อเจอ หาค่อนข้างยาก ไม่ว่าจะเป็น “De Mortuis” หนังสือบันทึกประวัติย่อ ๆ ของผู้วายชนม์ชาวต่างชาติในสยาม “Det Kongelige Siamesiske Provinsgendarmeri og dets danske Office” (The Royal Siam Provincial Gendarmerie and the Danish Officers) ของ Erik Seidenfaden ซึ่งเป็นนายตำรวจเดนมาร์กที่มีชื่อเสียงในด้านการเป็นนักสังคมวิทยาและเป็นผู้ที่อยู่ร่วมสมัยใกล้ชิดกับกรมตำรวจภูธรสมัยนั้นโดยตรง แต่เล่มนี้หายากอยู่ เพราะลองหาจาก world catalogue มีอยู่ในห้องสมุดของเดนมาร์ก สวีเดน และสหรัฐอีกไม่กี่แห่งเท่านั้น และอีกเล่มที่ออกไปทางนิยาย แต่น่าสนใจว่าผู้เขียนจะเขียนออกมาแบบไหน คือ เรื่อง ‘ทัพทัน 1092’ ของ พ. วังน่าน ซึ่งมีร้อยเอกเจนเซนเป็นตัวเอกในนิยายอิงประวัติศาสตร์เล่มนี้ ทั้งหมดนี้ ยังหาไม่เจอและยังไม่มีเวลาหา
เรื่องของร้อยเอกเจนเซนที่เคยเขียนไว้ อ่านได้ตาม links เหล่านี้นะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ตอนที่ 1 : http://topicstock.ppantip.com/writer/topicstock/2012/10/W12792121/W12792121.html
ตอนที่ 2 : http://topicstock.ppantip.com/writer/topicstock/2012/10/W12847239/W12847239.html
จากการค้นข้อมูลเท่าที่เวลาจะอำนวยให้หาได้เกี่ยวกับร้อยเอกฮันส์ มาร์กวอร์ด เจนเซน ก็ทำให้ทราบเกี่ยวกับการก่อตั้งกรมตำรวจภูธรในสมัยรัชกาลที่ห้า และทำให้ทราบว่ามีบุคคลอีกหลายคนที่เกี่ยวข้องกับกิจการตำรวจภูธรนี้ ซึ่งมีความสำคัญและมีความน่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
นายตำรวจชาวเดนมาร์กที่เกี่ยวข้องกับการก่อตั้งกิจการตำรวจภูธรและโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรที่ตั้งใจจะเขียนถึง 2 ท่าน และมีความเกี่ยวพันกับเรื่องราวของร้อยเอกเจนเซนที่เคยกล่าวถึงอยู่ในบางช่วง คือ นายพลตรีพระยาวาสุเทพ หรือ กุสตาฟ เชา (Gustav Schau) เจ้ากรมตำรวจภูธร และนายพันโทออกัส คอลส์ (August Kolls) ครูฝึกโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร
เนื่องจากผู้เขียนไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ เพียงแต่สนใจอ่านเรื่องราวโน้นบ้างนี้บ้าง เพราะจะใช้เวลาอยู่ในถนนนักเขียนเป็นส่วนใหญ่ และถือเป็นมือสมัครเล่นอยู่สำหรับการเขียนงานในลักษณะนี้ ก็ต้องออกตัวก่อนว่า คงจะเขียนเรื่องในแบบเล่าสู่กันฟังตามที่ได้อ่านมา จะนำไปอ้างอิงในเชิงวิชาการก็คงไม่ได้ และถ้าจะถามอะไรให้ลึกลงไปในเชิงประวัติศาสตร์ ก็ต้องขออภัยไว้ก่อนและบอกล่วงหน้าว่า คงจะตอบไม่ได้ ด้วยเหตุผลข้างต้น ถ้าหากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัย และต้องขอบคุณล่วงหน้าที่ช่วยทำให้ทราบข้อบกพร่องด้วย
หากเรื่องที่เขียนพอจะมีประโยชน์หรือความดีอยู่บ้าง ขอยกให้กับ ‘ครู’ ผู้เป็นต้นเรื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นร้อยเอกเจนเซน พันโทคอลส์ และพระยาวาสุเทพ เพราะนายตำรวจชาวเดนมาร์กในสยามเหล่านี้ไม่เพียงแต่อยู่ในฐานะ ‘ครู’ เท่านั้น แต่เรื่องราวชีวิตที่ผ่านมาก็เป็น ‘ครู’ ของผู้เขียนด้วยเช่นกัน ในแง่ที่เรื่องราวของท่านเหล่านั้น สอนบางสิ่งบางอย่างให้ได้เป็นอย่างดี
(จากซ้ายมาขวา : ร.อ. เอ็ช เอ็ม เจนเซน - พล.ต. กุสตาฟ เชา - พ.ท. ออกัสต์ คอลส์)
------------------------------------------------------------------------------
กรมตำรวจภูธรและโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร
ก่อนอื่นคงต้องเท้าความถึงที่มาของกรมตำรวจภูธรและโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรสักเล็กน้อย
กรมตำรวจภูธรนั้นตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2440 แทนกองทหารโปลิศที่ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2419 เพื่อเป็นกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาคและปฏิบัติการอย่างทหารได้ด้วย โดยทางการสยามยังได้ว่าจ้างให้ กุสตาฟ เชา (Gustav Schau) นายทหารชาวเดนมาร์คเป็นผู้วางโครงการขยายขอบเขตในการทำงานดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในมณฑลต่าง ๆ ของสยาม และเมื่อมีการตั้ง "กรมตำรวจภูธร" ขึ้นแทนกรมกองตระเวนหัวเมือง กุสตาฟ เชา หรือยศในขณะนั้น คือ พระวาสุเทพ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้ากรมตำรวจภูธร
ส่วนโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2444 เพื่อผลิตนายตำรวจให้ทำหน้าที่ผู้บังคับหมวดรับราชการในกรมตำรวจภูธร โดยในขณะนั้นมีนายร้อยโท ม.ร.ว. แดง ผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 3 นครราชสีมา ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรคนแรก กระทั่งในปี พ.ศ. 2445 จึงมีพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าฯให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจจากมณฑล นครราชสีมา ไปตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยจระเข้ จ.นครปฐม ตามการกราบบังคมทูลขอของกรมหลวงดำรงราชานุภาพ
ในส่วนของการบังคับบัญชา มีนายตำรวจสยามเป็นผู้บังคับการและผู้ช่วย แต่ในส่วนการปกครองและการฝึกฝนนั้น อยู่ในความควบคุมดูแลของร้อยเอกออกัส ฟิกเกอร์ เฟรเดริก คอลส์ หรือในบางเอกสารก็ใช้ชื่อ ออกัสต์ ธีโอดอร์ เฟรเดอริก คอลส์ (August Theodore Frederic Kolls)
การรับบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรในสมัยนั้น ยังไม่มีการกำหนดเป็นมาตรฐานเอาไว้ชัดเจน เพียงแต่ผู้ที่จบประโยคประถม หรือ เทียบเท่ามัธยมสามในปัจจุบัน เข้าไปสมัครกับเจ้ากรมกองตระเวน หากเป็นมีลักษณะ บุคลิกที่เหมาะสมกับหน้าที่ ก็จะถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรที่นครราชสีมา และหากผู้ที่ได้รับการฝึกคนใดมีความชำนาญ รู้ข้อบังคับ ข้อกฎหมายดีแล้ว ร้อยเอกคอลส์ก็จะเสนอชื่อขึ้นไปให้เจ้ากรมตำรวจภูธรออกคำสั่งบรรจุเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรต่อไป
วิชาการที่มีสอนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรนั้น เป็นวิชาปกครองควบคู่ไปกับวิชาการตำรวจ รวมทั้งวิชาทหารควบคู่กันไป เนื่องจากมีนักเรียนบางส่วนโอนมาจากกระทรวงกลาโหม กล่าวกันว่า ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรในสมัยนั้นมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านความรู้และวินัย เป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนโดยทั่วไป
สิ่งหนึ่งซึ่งส่วนตัวแล้วถือว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจและดีมากในเวลานั้น คือ การส่งนักเรียนมหาดเล็กที่ใกล้จะจบการศึกษาแล้วไปเรียนการต่อสู้ ขี่ม้า ยิงปืน การตรวจท้องที่ และการทำแผนที่ที่โรงเรียนตำรวจภูธรด้วย โดยจัดให้กินนอนและฝึกฝนร่วมกันกับนักเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อให้เกิดความสามัคคี เมื่อออกไปทำงานในท้องที่ต่าง ๆ ก็จะได้ทำงานร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจ ช่วยกันรักษาบ้านเมืองและประชาชนให้อยู่อย่างสงบสุข
การที่โรงเรียนแห่งหนึ่งจะผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกไปทำงานนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้สอนมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก และครูฝึกประจำโรงเรียนนายร้อยอย่างร้อยเอกคอลส์นั้นก็ทำหน้าที่และเป็นแบบอย่างแก่นักเรียนและผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดียิ่งสมกับที่ได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบงานฝึกสอนดังกล่าว เพราะครูคอลส์ของนักเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นชื่อในเรื่องความเด็ดขาด แน่นอน เมื่อสั่งอะไรไปแล้ว ต้องปฏิบัติตาม และเป็นผู้กวดขันในเรื่องความสะอาดอย่างยิ่ง
ไม่เพียงแต่จะขึ้นชื่อในฐานะครูประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่เข้มงวด ร้อยเอกออกัสต์ คอลส์ยังขึ้นชื่อว่าเป็นนายตำรวจที่มีความเด็ดขาด กล้าหาญ และซื่อสัตย์ แต่ความตรงไปตรงมาก็ทำให้เขาต้องเผชิญกับอันตราย และจากไปหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยสุสานของเขาก็เพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้เอง
เมื่อพ้นจากโรงเรียนออกไปทำงานแล้ว หากหน่วยงานนั้นมีผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าที่ทุ่มเท เอาใจใส่ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ยอมเหนื่อยกายเพื่อให้งานออกมามีคุณภาพ คนในหน่วยงานนั้นโดยส่วนใหญ่ก็ย่อมมีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน และเหตุที่ตำรวจที่จบการโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรเป็นที่ยอมรับของประชาชน ก็เนื่องมาจากได้ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานที่ยอมเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อให้งานในความรับผิดชอบของตนออกมาดีที่สุด
ดอกผลของความทุ่มเทของเจ้ากรมตำรวจภูธรชาวเดนมาร์ก คือ เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุขของผู้คนในสยาม แต่สิ่งที่เขาได้รับกลับมานั้น มิใช่ชื่อเสียงเงินทองที่สมแก่การลงทุนลงแรงไปเลยแม้แต่น้อย เพราะในชีวิตที่มีแต่คำว่างานของกุสตาฟ เชา ทำให้เขาไม่มีครอบครัว หน้าที่การงานถูกแทนด้วยคนรุ่นใหม่ แต่เขาอาจโชคดีกว่าเจนเซน หรือคอลส์อยู่บ้าง ที่ได้กลับไปเดนมาร์ก ซึ่งเป็นบ้านเกิด และใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ที่นั่นจนถึงวาระสุดท้ายอย่างสงบ เมื่ออายุ 60 ปี
ต่อจากนี้ จะขออนุญาตแบ่งเรื่องนี้ออกเป็น 2 ตอน โดยตอนแรกจะเป็นเรื่องของกุสตาฟ เชา ส่วนเรื่องของออกัสต์ คอลส์จะนำมาลงในภายหลังค่ะ
(มีต่อนะคะ)
ครูเชาว์– ครูคอลส์: ครูฝึกเดนมาร์กกับงานตำรวจภูธรสยาม (ตอนต้น)
เหตุที่ลงมือเขียนเรื่องของร้อยเอกเจนเซนขึ้นนั้น เนื่องมาจากความอยากรู้อยากเห็นส่วนตัวเป็นสำคัญ เพราะเวลาขับรถจากในเมืองกลับที่พักซึ่งก็อยู่ในที่ทำงานก็จะผ่านอนุสาวรีย์นี้เป็นประจำ ได้แวะและอ่านประวัติที่สลักอยู่ที่นั่น ก็ยังไม่พอใจกับคำตอบที่ได้ ทำให้เริ่มต้นค้นเอกสารด้วยความสงสัยว่า เขาเป็นใคร มาจากไหน ทำให้ได้รู้เรื่องราวของชายหนุ่มชาวเดนมาร์กผู้นี้มากขึ้นจนพอจะนำมาเรียบเรียงเป็นบทความสั้น ๆ สักหนึ่งเรื่อง แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่อยากทราบ และยังหาข้อมูลปฐมภูมิไม่ได้ อาศัยแต่ข้อมูลจากการเรียบเรียงของคนอื่น ๆ เท่านั้น ถ้ามีโอกาส ก็คงเขียนถึงอีกสักหนค่ะ
เอกสารบางเรื่อง หนังสือบางเล่มที่ค้นชื่อเจอ หาค่อนข้างยาก ไม่ว่าจะเป็น “De Mortuis” หนังสือบันทึกประวัติย่อ ๆ ของผู้วายชนม์ชาวต่างชาติในสยาม “Det Kongelige Siamesiske Provinsgendarmeri og dets danske Office” (The Royal Siam Provincial Gendarmerie and the Danish Officers) ของ Erik Seidenfaden ซึ่งเป็นนายตำรวจเดนมาร์กที่มีชื่อเสียงในด้านการเป็นนักสังคมวิทยาและเป็นผู้ที่อยู่ร่วมสมัยใกล้ชิดกับกรมตำรวจภูธรสมัยนั้นโดยตรง แต่เล่มนี้หายากอยู่ เพราะลองหาจาก world catalogue มีอยู่ในห้องสมุดของเดนมาร์ก สวีเดน และสหรัฐอีกไม่กี่แห่งเท่านั้น และอีกเล่มที่ออกไปทางนิยาย แต่น่าสนใจว่าผู้เขียนจะเขียนออกมาแบบไหน คือ เรื่อง ‘ทัพทัน 1092’ ของ พ. วังน่าน ซึ่งมีร้อยเอกเจนเซนเป็นตัวเอกในนิยายอิงประวัติศาสตร์เล่มนี้ ทั้งหมดนี้ ยังหาไม่เจอและยังไม่มีเวลาหา
เรื่องของร้อยเอกเจนเซนที่เคยเขียนไว้ อ่านได้ตาม links เหล่านี้นะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากการค้นข้อมูลเท่าที่เวลาจะอำนวยให้หาได้เกี่ยวกับร้อยเอกฮันส์ มาร์กวอร์ด เจนเซน ก็ทำให้ทราบเกี่ยวกับการก่อตั้งกรมตำรวจภูธรในสมัยรัชกาลที่ห้า และทำให้ทราบว่ามีบุคคลอีกหลายคนที่เกี่ยวข้องกับกิจการตำรวจภูธรนี้ ซึ่งมีความสำคัญและมีความน่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
นายตำรวจชาวเดนมาร์กที่เกี่ยวข้องกับการก่อตั้งกิจการตำรวจภูธรและโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรที่ตั้งใจจะเขียนถึง 2 ท่าน และมีความเกี่ยวพันกับเรื่องราวของร้อยเอกเจนเซนที่เคยกล่าวถึงอยู่ในบางช่วง คือ นายพลตรีพระยาวาสุเทพ หรือ กุสตาฟ เชา (Gustav Schau) เจ้ากรมตำรวจภูธร และนายพันโทออกัส คอลส์ (August Kolls) ครูฝึกโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร
เนื่องจากผู้เขียนไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ เพียงแต่สนใจอ่านเรื่องราวโน้นบ้างนี้บ้าง เพราะจะใช้เวลาอยู่ในถนนนักเขียนเป็นส่วนใหญ่ และถือเป็นมือสมัครเล่นอยู่สำหรับการเขียนงานในลักษณะนี้ ก็ต้องออกตัวก่อนว่า คงจะเขียนเรื่องในแบบเล่าสู่กันฟังตามที่ได้อ่านมา จะนำไปอ้างอิงในเชิงวิชาการก็คงไม่ได้ และถ้าจะถามอะไรให้ลึกลงไปในเชิงประวัติศาสตร์ ก็ต้องขออภัยไว้ก่อนและบอกล่วงหน้าว่า คงจะตอบไม่ได้ ด้วยเหตุผลข้างต้น ถ้าหากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัย และต้องขอบคุณล่วงหน้าที่ช่วยทำให้ทราบข้อบกพร่องด้วย
หากเรื่องที่เขียนพอจะมีประโยชน์หรือความดีอยู่บ้าง ขอยกให้กับ ‘ครู’ ผู้เป็นต้นเรื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นร้อยเอกเจนเซน พันโทคอลส์ และพระยาวาสุเทพ เพราะนายตำรวจชาวเดนมาร์กในสยามเหล่านี้ไม่เพียงแต่อยู่ในฐานะ ‘ครู’ เท่านั้น แต่เรื่องราวชีวิตที่ผ่านมาก็เป็น ‘ครู’ ของผู้เขียนด้วยเช่นกัน ในแง่ที่เรื่องราวของท่านเหล่านั้น สอนบางสิ่งบางอย่างให้ได้เป็นอย่างดี
(จากซ้ายมาขวา : ร.อ. เอ็ช เอ็ม เจนเซน - พล.ต. กุสตาฟ เชา - พ.ท. ออกัสต์ คอลส์)
------------------------------------------------------------------------------
กรมตำรวจภูธรและโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร
ก่อนอื่นคงต้องเท้าความถึงที่มาของกรมตำรวจภูธรและโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรสักเล็กน้อย
กรมตำรวจภูธรนั้นตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2440 แทนกองทหารโปลิศที่ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2419 เพื่อเป็นกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาคและปฏิบัติการอย่างทหารได้ด้วย โดยทางการสยามยังได้ว่าจ้างให้ กุสตาฟ เชา (Gustav Schau) นายทหารชาวเดนมาร์คเป็นผู้วางโครงการขยายขอบเขตในการทำงานดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในมณฑลต่าง ๆ ของสยาม และเมื่อมีการตั้ง "กรมตำรวจภูธร" ขึ้นแทนกรมกองตระเวนหัวเมือง กุสตาฟ เชา หรือยศในขณะนั้น คือ พระวาสุเทพ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้ากรมตำรวจภูธร
ส่วนโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2444 เพื่อผลิตนายตำรวจให้ทำหน้าที่ผู้บังคับหมวดรับราชการในกรมตำรวจภูธร โดยในขณะนั้นมีนายร้อยโท ม.ร.ว. แดง ผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 3 นครราชสีมา ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรคนแรก กระทั่งในปี พ.ศ. 2445 จึงมีพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าฯให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจจากมณฑล นครราชสีมา ไปตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยจระเข้ จ.นครปฐม ตามการกราบบังคมทูลขอของกรมหลวงดำรงราชานุภาพ
ในส่วนของการบังคับบัญชา มีนายตำรวจสยามเป็นผู้บังคับการและผู้ช่วย แต่ในส่วนการปกครองและการฝึกฝนนั้น อยู่ในความควบคุมดูแลของร้อยเอกออกัส ฟิกเกอร์ เฟรเดริก คอลส์ หรือในบางเอกสารก็ใช้ชื่อ ออกัสต์ ธีโอดอร์ เฟรเดอริก คอลส์ (August Theodore Frederic Kolls)
การรับบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรในสมัยนั้น ยังไม่มีการกำหนดเป็นมาตรฐานเอาไว้ชัดเจน เพียงแต่ผู้ที่จบประโยคประถม หรือ เทียบเท่ามัธยมสามในปัจจุบัน เข้าไปสมัครกับเจ้ากรมกองตระเวน หากเป็นมีลักษณะ บุคลิกที่เหมาะสมกับหน้าที่ ก็จะถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรที่นครราชสีมา และหากผู้ที่ได้รับการฝึกคนใดมีความชำนาญ รู้ข้อบังคับ ข้อกฎหมายดีแล้ว ร้อยเอกคอลส์ก็จะเสนอชื่อขึ้นไปให้เจ้ากรมตำรวจภูธรออกคำสั่งบรรจุเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรต่อไป
วิชาการที่มีสอนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรนั้น เป็นวิชาปกครองควบคู่ไปกับวิชาการตำรวจ รวมทั้งวิชาทหารควบคู่กันไป เนื่องจากมีนักเรียนบางส่วนโอนมาจากกระทรวงกลาโหม กล่าวกันว่า ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรในสมัยนั้นมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านความรู้และวินัย เป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนโดยทั่วไป
สิ่งหนึ่งซึ่งส่วนตัวแล้วถือว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจและดีมากในเวลานั้น คือ การส่งนักเรียนมหาดเล็กที่ใกล้จะจบการศึกษาแล้วไปเรียนการต่อสู้ ขี่ม้า ยิงปืน การตรวจท้องที่ และการทำแผนที่ที่โรงเรียนตำรวจภูธรด้วย โดยจัดให้กินนอนและฝึกฝนร่วมกันกับนักเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อให้เกิดความสามัคคี เมื่อออกไปทำงานในท้องที่ต่าง ๆ ก็จะได้ทำงานร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจ ช่วยกันรักษาบ้านเมืองและประชาชนให้อยู่อย่างสงบสุข
การที่โรงเรียนแห่งหนึ่งจะผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกไปทำงานนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้สอนมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก และครูฝึกประจำโรงเรียนนายร้อยอย่างร้อยเอกคอลส์นั้นก็ทำหน้าที่และเป็นแบบอย่างแก่นักเรียนและผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดียิ่งสมกับที่ได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบงานฝึกสอนดังกล่าว เพราะครูคอลส์ของนักเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นชื่อในเรื่องความเด็ดขาด แน่นอน เมื่อสั่งอะไรไปแล้ว ต้องปฏิบัติตาม และเป็นผู้กวดขันในเรื่องความสะอาดอย่างยิ่ง
ไม่เพียงแต่จะขึ้นชื่อในฐานะครูประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่เข้มงวด ร้อยเอกออกัสต์ คอลส์ยังขึ้นชื่อว่าเป็นนายตำรวจที่มีความเด็ดขาด กล้าหาญ และซื่อสัตย์ แต่ความตรงไปตรงมาก็ทำให้เขาต้องเผชิญกับอันตราย และจากไปหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยสุสานของเขาก็เพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้เอง
เมื่อพ้นจากโรงเรียนออกไปทำงานแล้ว หากหน่วยงานนั้นมีผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าที่ทุ่มเท เอาใจใส่ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ยอมเหนื่อยกายเพื่อให้งานออกมามีคุณภาพ คนในหน่วยงานนั้นโดยส่วนใหญ่ก็ย่อมมีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน และเหตุที่ตำรวจที่จบการโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรเป็นที่ยอมรับของประชาชน ก็เนื่องมาจากได้ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานที่ยอมเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อให้งานในความรับผิดชอบของตนออกมาดีที่สุด
ดอกผลของความทุ่มเทของเจ้ากรมตำรวจภูธรชาวเดนมาร์ก คือ เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุขของผู้คนในสยาม แต่สิ่งที่เขาได้รับกลับมานั้น มิใช่ชื่อเสียงเงินทองที่สมแก่การลงทุนลงแรงไปเลยแม้แต่น้อย เพราะในชีวิตที่มีแต่คำว่างานของกุสตาฟ เชา ทำให้เขาไม่มีครอบครัว หน้าที่การงานถูกแทนด้วยคนรุ่นใหม่ แต่เขาอาจโชคดีกว่าเจนเซน หรือคอลส์อยู่บ้าง ที่ได้กลับไปเดนมาร์ก ซึ่งเป็นบ้านเกิด และใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ที่นั่นจนถึงวาระสุดท้ายอย่างสงบ เมื่ออายุ 60 ปี
ต่อจากนี้ จะขออนุญาตแบ่งเรื่องนี้ออกเป็น 2 ตอน โดยตอนแรกจะเป็นเรื่องของกุสตาฟ เชา ส่วนเรื่องของออกัสต์ คอลส์จะนำมาลงในภายหลังค่ะ
(มีต่อนะคะ)