อ้างแต่เรื่องการท่องเที่ยว หาเงินหาทอง แต่ไม่ได้สนใจว่าคนในประเทศนี้จะอยู่กันอย่างไร สัตว์ป่าพืชพันธุ์จะเหลืออยู่แค่ไหน
ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมจะ
วอดวายไปเท่าไหร่ น้ำจะท่วม ฝนจะแล้งต่อไปอีกยาวนานแค่ไหน
สนใจแต่เงินทองวัตถุและความสะดวกสบายจากการย่ำยีธรรมชาติเท่านั้น
น่าหดหู่ใจเป็นที่สุด ป่าไม้ของประเทศเราคงหมดไปในยุคของเราเป็นแน่แท้
-------------------------------
อธิบดีอุทยานฯ เผยไม่ทุบรีสอร์ตรุกป่าเล็งยึด-ให้เช่า
อธิบดีกรมอุทยานฯ ประกาศชัดไม่รื้อถอนทุบทิ้งรีสอร์ตรุกป่าทับลาน-วังน้ำเขียว อ้างทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยว เล็งหาช่องให้เจ้าของรีสอร์ตเช่าต่อ หรือยึดมาเป็นของอุทยานฯ ด้าน “ดำรงค์” จวกแนวคิด แค่ซื้อเวลาก่อนเกษียณ ชี้กฤษฎีกาตีความแล้วให้เช่าไม่ได้ อัดรัฐบาลอยากยกป่าให้เอกชน รับฟังอธิบดีฯ พูดแล้วหดหู่ใจ...
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ที่โรงแรมรามา การ์เดนส์ นายมโนพัศ หัวเมืองแก้ว อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการทิศทางการจัดการอุทยานแห่งชาติแนวใหม่ เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทอุทยานแห่งชาติแบบบูรณาการ ว่า อีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศไทยมีอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีความสวยงามติดอันดับโลกหลายแห่ง และจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นอุทยานฯ ทางทะเล
ดังนั้น อุทยานฯ ต้องเร่งปรับตัวและปรับปรุงคุณภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นที่พัก ห้องน้ำ และเส้นทางเดินป่าโดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรทางด้านภาษา ปัจจุบันเจ้าหน้าที่อุทยานฯ สามารถพูดได้เฉพาะภาษาอังกฤษ แต่ในอนาคตต้องมีการประชาสัมพันธ์ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านด้วย ถ้ากรมอุทยานฯ ไม่มีการปรับตัว หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว ก็มีหลายหน่วยงานที่ต้องการมาบริหารงานส่วนอุทยานฯ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฉะนั้น จึงต้องปรับทิศทางการทำงานให้เหมาะสม
นอกจากนี้ นายมโนพัศ ยังให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ากรณีแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติทับลาน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา และ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ว่า กรมอุทยานฯ ไม่ได้ชะลอการดำเนินคดี แต่กำลังดูว่าจะทำอย่างไร ให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างได้ผลมากขึ้น โดยเน้นการผสมผสานแนวคิดของรัฐบาลและการบังคับใช้กฎหมาย เพราะการบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียวค่อนข้างรุนแรงไป ไม่เหมาะกับสภาพปัจจุบัน ที่สำคัญการเข้าไปรื้อถอน หรือใช้กำลังเป็นการทำลายบรรยากาศทางการท่องเที่ยว
“กรมฯ อยากดูว่าในข้อกฎหมายมีแนวทางยกเว้นการรื้อถอนได้หรือไม่ เพราะการทุบรีสอร์ตที่มีการก่อสร้างอย่างสวยงามทิ้งประเทศชาติจะไม่ได้ประโยชน์อะไร การยึดเอามาเป็นของกรมอุทยานฯ อาจจะทำให้เกิดประโยชน์มากกว่า ซึ่งหากกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ กรมอุทยานฯ ก็จะมาพิจารณาหาแนวทางว่าจะมาบริหารจัดการรีสอร์ตที่ยึดมาได้อย่างไร โดยความเป็นไปได้คือกรมอุทยานฯ จะบริหารจัดการเอง หรืออาจจะให้เจ้าของเช่าต่อก็ได้ ซึ่งขณะนี้มอบให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกรมอุทยานฯ ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อหาทางออกร่วมกัน หลังได้ข้อสรุปแล้ว กรมจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติต่อไป ซึ่งหลักการนี้จะไม่ได้ใช่แค่พื้นที่วังน้ำเขียว ทับลาน แต่จะใช้กับพื้นที่อุทยานฯ ทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่อุทยานฯ สิรินาถ จ.ภูเก็ต ด้วย” นายมโนพัศ กล่าว
เมื่อถามว่าก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตีความแล้วว่าไม่สามารถนำรีสอร์ตบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์มาเป็นของรัฐได้ นายมโนพัศ กล่าวว่า กฎหมายมนุษย์เป็นคนเขียน ดังนั้น มนุษย์ก็ต้องสามารถแก้ไขกฎหมายได้ ทั้งนี้ ตนยืนยันว่าสิ่งที่ตนทำนั้น ยึดประโยชน์สูงสุดของประเทศเป็นหลัก เมื่อถามอีกว่าจะนำข้อเสนอดังกล่าวเสนอต่อ ครม.ได้เมื่อไร นายมโนพัศ กล่าวว่า เร็วที่สุด เพราะเหตุการณ์มันบังคับแล้ว ทั้งนี้ การนำรีสอร์ตมาเป็นของกรมอุทยานฯ ถือเป็นแนวทางที่จะหยุดยั้งการบุกรุกพื้นที่ได้เพราะจะไม่มีนายทุนที่กล้ามาลงทุนสร้างรีสอร์ตในพื้นที่อุทยานฯ อีกต่อไป
ด้านนายดำรงค์ พิเดช หัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย อดีตอธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวว่า แนวคิดของนายมโนพัศและกรมอุทยานฯ ชัดเจนแล้วว่าไม่เดินหน้ารื้อถอนทุบทิ้งรีสอร์ตที่บุกรุกอุทยานฯ การยกข้อกฎหมาย หรือการหารือกฤษฎีกา หรือการเตรียมเสนอ ครม. ให้ใช้ประโยชน์รีสอร์ตที่บุกรุกพื้นที่อุทยานฯ เป็นการซื้อเวลาของนายมโนพัศ เพราะนายมโนพัศจะเหลืออายุราชการอีก 2-3 เดือนเท่านั้น ถ้าจะรื้อถอนรีสอร์ตก็คงทำไปนานแล้ว ที่สำคัญแนวคิดเรื่องการให้เช่ารีสอร์ตที่บุกรุกอุทยานฯ เคยมีคนคิดมาแล้ว พูดได้ แต่ทำไม่ได้ คณะกรรมการกฤษฎีกาเอง ก็เคยตีความว่าห้ามนำทรัพย์สินที่บุกรุกอุทยานฯ ไปให้เช่าต่อ หรือแม้จะนำมาเป็นของอุทยานฯ เองก็ทำไม่ได้ ที่สำคัญกฎหมายอุทยานฯ ห้ามมีการบุกรุกใดๆ ถ้านายมโนพัศหรือรัฐบาลจะทำจริงๆ ต้องไปแก้กฎหมายอุทยานฯ ใหม่หมด แต่ประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรของประเทศจะยอมหรือไม่ ตนฟังนายมโนพัศพูดแล้วรู้สึกหดหู่ใจที่สุด.
ที่มา
http://www.thairath.co.th/content/edu/351042
กลับดำเป็นขาว กลับผิดเป็นถูก - อธิบดีอุทยานฯ เผยไม่ทุบรีสอร์ตรุกป่าเล็งยึด-ให้เช่า
ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมจะวอดวายไปเท่าไหร่ น้ำจะท่วม ฝนจะแล้งต่อไปอีกยาวนานแค่ไหน
สนใจแต่เงินทองวัตถุและความสะดวกสบายจากการย่ำยีธรรมชาติเท่านั้น
น่าหดหู่ใจเป็นที่สุด ป่าไม้ของประเทศเราคงหมดไปในยุคของเราเป็นแน่แท้
-------------------------------
อธิบดีอุทยานฯ เผยไม่ทุบรีสอร์ตรุกป่าเล็งยึด-ให้เช่า
อธิบดีกรมอุทยานฯ ประกาศชัดไม่รื้อถอนทุบทิ้งรีสอร์ตรุกป่าทับลาน-วังน้ำเขียว อ้างทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยว เล็งหาช่องให้เจ้าของรีสอร์ตเช่าต่อ หรือยึดมาเป็นของอุทยานฯ ด้าน “ดำรงค์” จวกแนวคิด แค่ซื้อเวลาก่อนเกษียณ ชี้กฤษฎีกาตีความแล้วให้เช่าไม่ได้ อัดรัฐบาลอยากยกป่าให้เอกชน รับฟังอธิบดีฯ พูดแล้วหดหู่ใจ...
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ที่โรงแรมรามา การ์เดนส์ นายมโนพัศ หัวเมืองแก้ว อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการทิศทางการจัดการอุทยานแห่งชาติแนวใหม่ เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทอุทยานแห่งชาติแบบบูรณาการ ว่า อีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศไทยมีอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีความสวยงามติดอันดับโลกหลายแห่ง และจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นอุทยานฯ ทางทะเล
ดังนั้น อุทยานฯ ต้องเร่งปรับตัวและปรับปรุงคุณภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นที่พัก ห้องน้ำ และเส้นทางเดินป่าโดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรทางด้านภาษา ปัจจุบันเจ้าหน้าที่อุทยานฯ สามารถพูดได้เฉพาะภาษาอังกฤษ แต่ในอนาคตต้องมีการประชาสัมพันธ์ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านด้วย ถ้ากรมอุทยานฯ ไม่มีการปรับตัว หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว ก็มีหลายหน่วยงานที่ต้องการมาบริหารงานส่วนอุทยานฯ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฉะนั้น จึงต้องปรับทิศทางการทำงานให้เหมาะสม
นอกจากนี้ นายมโนพัศ ยังให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ากรณีแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติทับลาน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา และ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ว่า กรมอุทยานฯ ไม่ได้ชะลอการดำเนินคดี แต่กำลังดูว่าจะทำอย่างไร ให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างได้ผลมากขึ้น โดยเน้นการผสมผสานแนวคิดของรัฐบาลและการบังคับใช้กฎหมาย เพราะการบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียวค่อนข้างรุนแรงไป ไม่เหมาะกับสภาพปัจจุบัน ที่สำคัญการเข้าไปรื้อถอน หรือใช้กำลังเป็นการทำลายบรรยากาศทางการท่องเที่ยว
“กรมฯ อยากดูว่าในข้อกฎหมายมีแนวทางยกเว้นการรื้อถอนได้หรือไม่ เพราะการทุบรีสอร์ตที่มีการก่อสร้างอย่างสวยงามทิ้งประเทศชาติจะไม่ได้ประโยชน์อะไร การยึดเอามาเป็นของกรมอุทยานฯ อาจจะทำให้เกิดประโยชน์มากกว่า ซึ่งหากกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ กรมอุทยานฯ ก็จะมาพิจารณาหาแนวทางว่าจะมาบริหารจัดการรีสอร์ตที่ยึดมาได้อย่างไร โดยความเป็นไปได้คือกรมอุทยานฯ จะบริหารจัดการเอง หรืออาจจะให้เจ้าของเช่าต่อก็ได้ ซึ่งขณะนี้มอบให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกรมอุทยานฯ ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อหาทางออกร่วมกัน หลังได้ข้อสรุปแล้ว กรมจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติต่อไป ซึ่งหลักการนี้จะไม่ได้ใช่แค่พื้นที่วังน้ำเขียว ทับลาน แต่จะใช้กับพื้นที่อุทยานฯ ทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่อุทยานฯ สิรินาถ จ.ภูเก็ต ด้วย” นายมโนพัศ กล่าว
เมื่อถามว่าก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตีความแล้วว่าไม่สามารถนำรีสอร์ตบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์มาเป็นของรัฐได้ นายมโนพัศ กล่าวว่า กฎหมายมนุษย์เป็นคนเขียน ดังนั้น มนุษย์ก็ต้องสามารถแก้ไขกฎหมายได้ ทั้งนี้ ตนยืนยันว่าสิ่งที่ตนทำนั้น ยึดประโยชน์สูงสุดของประเทศเป็นหลัก เมื่อถามอีกว่าจะนำข้อเสนอดังกล่าวเสนอต่อ ครม.ได้เมื่อไร นายมโนพัศ กล่าวว่า เร็วที่สุด เพราะเหตุการณ์มันบังคับแล้ว ทั้งนี้ การนำรีสอร์ตมาเป็นของกรมอุทยานฯ ถือเป็นแนวทางที่จะหยุดยั้งการบุกรุกพื้นที่ได้เพราะจะไม่มีนายทุนที่กล้ามาลงทุนสร้างรีสอร์ตในพื้นที่อุทยานฯ อีกต่อไป
ด้านนายดำรงค์ พิเดช หัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย อดีตอธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวว่า แนวคิดของนายมโนพัศและกรมอุทยานฯ ชัดเจนแล้วว่าไม่เดินหน้ารื้อถอนทุบทิ้งรีสอร์ตที่บุกรุกอุทยานฯ การยกข้อกฎหมาย หรือการหารือกฤษฎีกา หรือการเตรียมเสนอ ครม. ให้ใช้ประโยชน์รีสอร์ตที่บุกรุกพื้นที่อุทยานฯ เป็นการซื้อเวลาของนายมโนพัศ เพราะนายมโนพัศจะเหลืออายุราชการอีก 2-3 เดือนเท่านั้น ถ้าจะรื้อถอนรีสอร์ตก็คงทำไปนานแล้ว ที่สำคัญแนวคิดเรื่องการให้เช่ารีสอร์ตที่บุกรุกอุทยานฯ เคยมีคนคิดมาแล้ว พูดได้ แต่ทำไม่ได้ คณะกรรมการกฤษฎีกาเอง ก็เคยตีความว่าห้ามนำทรัพย์สินที่บุกรุกอุทยานฯ ไปให้เช่าต่อ หรือแม้จะนำมาเป็นของอุทยานฯ เองก็ทำไม่ได้ ที่สำคัญกฎหมายอุทยานฯ ห้ามมีการบุกรุกใดๆ ถ้านายมโนพัศหรือรัฐบาลจะทำจริงๆ ต้องไปแก้กฎหมายอุทยานฯ ใหม่หมด แต่ประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรของประเทศจะยอมหรือไม่ ตนฟังนายมโนพัศพูดแล้วรู้สึกหดหู่ใจที่สุด.
ที่มา http://www.thairath.co.th/content/edu/351042