“เอกยุทธ อัญชันบุตร” หรือชื่อในต่างแดน “จอร์จ ตัน”
และในอีกฉายาที่คนไทยส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยและไม่ลืมเลือน
นั่นคือ...“เจ้าพ่อแชร์ชาร์เตอร์”
ราวต้นปี 2527...ขณะที่บรรดาธุรกิจไฟแนนซ์เมืองไทยกำลังปั่นป่วนสาหัส
แต่วงแชร์ชาร์เตอร์ กลับงอกงาม มีผู้คนเอาเงินมาลงทุนกันไม่ขาดสาย
ผู้สันทัดกรณีด้านการเงินยุคนั้นมองว่า “เป็นเพราะมาจากความเชื่อมั่น
ที่แม้ว่ารัฐบาลจะออกข่าวห้ามเล่นแชร์ หนังสือพิมพ์ก็ประโคมโหมโจมตีวงแชร์
แต่ก็ไม่มีผล...ดอกเบี้ยก็ยังจ่ายกันปกติ แชร์ไม่ล้ม
เมื่อข่าวแบบนี้แพร่สะพัดออกไปก็เหมือนไฟลามทุ่งไปยังต่างจังหวัด
ยิ่งพัดหอบเงินมาลงทุนวงแชร์กันเรื่อยๆ”
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง ในช่วงเวลานั้น เศรษฐกิจไม่ค่อยดี
ชนชั้นกลางที่มีรายได้ไม่พอจ่าย เลยหาทางออกด้วยการเล่นแชร์
สำหรับ “แชร์ชาร์เตอร์”...แม้จะไม่วงใหญ่เหมือนแชร์แม่ชม้อย แม่นกแก้ว
เป็นแชร์วงน้อยเกิดทีหลังแต่ก็มีวีธีดูดลูกค้าที่น่าสนใจ
แชร์แม่ชม้อยให้ร้อยละ 6.5...แต่แชร์ชาร์เตอร์ให้ร้อยละ 9
ทำให้สายแชร์แม่ชม้อยหอบเงินมาลงแชร์ชาร์เตอร์เห็นกำไรเหนาะๆ ร้อยละ 2.5
นอกจากนี้ว่ากันว่ายังแถมคอมมิชชั่นต่างหากให้อีก ร้อยละ 0.5
รวมเบ็ดเสร็จได้ส่วนต่างไปฟรีๆ ร้อยละ 3
สายแชร์บางสายสบช่องเห็นส่วนต่าง รับมาครั้งละ 10 ล้านบาท ก็ได้เงินสบายกระเป๋า
300,000 บาทต่อเดือน...ถ้าเอามาลงได้มากกว่านี้จะกินอิ่มกันเท่าไหร่ก็ไปคำนวณกันเอาเอง
หากแต่สวรรค์ที่สวยหรูไม่ได้สวยหรูยั้งยืนยง
เพราะแชร์ชาร์เตอร์เป็นการลงทุนแบบพีระมิดหัวกลับ ฐานอยู่ด้านบน
ยอดปลายแหลมอยู่ด้านล่าง...แรกๆผลตอบแทนก็ได้ดี
แต่นานวันเข้ายิ่งเอาเงินลงทุนก็ยิ่งเห็นทางตัน...วงแชร์จ่ายผลประโยชน์ไม่ไหว
กลายเป็นงูกินหาง
เดือนมีนาคม 2527 ให้บังเอิญพอดีกับช่วงที่แชร์แม่ชม้อยกำลังถูกทางการเพ่งเล็ง
เริ่มหยุดรับเงินชั่วคราวเพื่อหาทางออก ช่วงนี้เองที่แชร์ชาร์เตอร์มีเงินไหลเข้ามามากขึ้น
มากในระดับที่เรียกกันว่า “ทำนบเขื่อนแตก”
เงินลงทุนแชร์ชาร์เตอร์...อย่างที่เป็นข่าวกันไปแล้วว่าในระยะแรกมาจากนายทหาร
นักการเมืองเป็นจำนวนมาก และเมื่อวงแชร์เริ่มมีชื่อเสียงจึงทำให้มีประชาชนทั่วไป
นำเงินเข้ามาลงทุน...วงแชร์เติบโตสูงสุดก็อยู่ในช่วงนี้นี่เอง...เป็นยุคที่ผู้คนนิยมลงทุน
ในเงินนอกระบบ
เอกยุทธ อัญชันบุตร เติบโตเกินขีดจำกัดให้สัมภาษณ์นิตยสารไฮคลาส ฉบับเดือนธันวาคม
2527 ว่า
“ถ้าคนไทยยอมรับสภาพให้คนหนุ่มที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารเสียบ้างก็ดี...”
แต่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ออก
พระราชบัญญัติการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527
มีการดำเนินการทางกฎหมายกับนางชม้อย ทิพยโส หรือ “แม่ชม้อย”
หัวหน้าวงแชร์แม่ชม้อย และพันจ่าอากาศเอกหญิงนกแก้ว ใจยืน
หัวหน้าวงแชร์แม่นกแก้ว
สำหรับวงแชร์ชาร์เตอร์ เอกยุทธ อัญชันบุตร
เดินทางออกนอกประเทศหลังจากมีข่าวว่าทางการจะออกหมายจับช่วงกลางปี 2528
และวงแชร์เริ่มสั่นคลอนเหมือนผึ้งแตกรัง เมื่อมีนายทหารฟ้องคดีเช็คของนายเอกยุทธ
ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จนทำให้มีผู้เข้าร้องเรียนกองปราบฯเป็นจำนวนหลายพันคน
ที่สุด...ทางการก็ประกาศอายัดทรัพย์สินของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร บริษัท ชาร์เตอร์
และผู้ถือหุ้น เพื่อนำออกขายทอดตลาด
พลิกแฟ้มประวัติพอสังเขป...นายเอกยุทธ อัญชันบุตร เกิดเดือนมิถุนายน 2502
เป็นบุตรคนที่ 3 จากพี่น้อง 5 คน ของ ร้อยโทแปลก อัญชันบุตร นายทหารคนสนิท
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี และนางนันทา ฉัตรกุล ณ อยุธยา
จบการศึกษาที่โรงเรียนแม้นศรีวิทยา, โรงเรียนเทพประสาทวิทยา
และเรียนมัธยมศึกษาที่เมืองโอมาฮา รัฐเนบราส สหรัฐอเมริกา
ก่อนจะกลับมาทำธุรกิจรับเหมากับพี่ชาย และไปเรียนต่อด้าน
เศรษฐศาสตร์การเงิน การคลัง ที่มหาวิทยาลัยแปซิฟิก ฮาวาย
หลังเรียนจบ เริ่มทำธุรกิจซื้อขายคอมมิวนิตี้...ซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
จากนั้นจึงเปิดบริษัทนายหน้าซื้อขายคอมมอดิตี้และเงินตราต่างประเทศ ชื่อว่า
“ชาร์เตอร์อินเวสต์เมนต์”
ปี 2526 เป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศสูง ถึงร้อยละ 12...เอกยุทธ
อัญชันบุตร ในวัยเพียง 24 ปี คิดหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย
กู้เงินจากต่างประเทศด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ประมาณร้อยละ 3
มาฝากในสถาบันการเงินในประเทศเพื่อทำกำไร
และนำกำไรที่ได้ไปลงทุนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม
ช่วงเวลาสำคัญ “เจ้าพ่อแชร์ชาร์เตอร์”...ในแง่การลงทุนถือว่าได้รับความไว้วางใจ
จากกลุ่มคนมีเงินให้เป็นผู้บริหารเงินก้อนใหญ่เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่เป็นกอบเป็นกำ
เอกยุทธเคยเล่าย้อนอดีตสมัยแชร์ชาร์เตอร์เอาไว้ว่า...“ผมทำธุรกิจ
ผมไม่ได้รับจากประชาชน ผมไม่เคยเจอใครเลย มีแต่ผู้ใหญ่เอาเงินมาให้ ครั้งแรก 10
ล้านบาท ทำธุรกิจคอมมิวนิตี้ก็กำไรมีคนอื่นเข้ามา จนเราบอกว่ามันเยอะเกินไปนะพอแล้ว
ผมทำไม่ไหว เพราะการหาเงินในตลาดไม่ได้หาได้ทุกวัน...”
เมื่อแชร์ลูกโซ่สะดุดเส้นทางผู้แสวงหายังเดินต่อไป
ถึงแม้จะอยู่ต่างแดนด้วยความรู้เรื่องการบริหารเงิน
มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆในแวดวงการเงินในต่างประเทศเขายังมีโอกาสบินไปนิวยอร์ก
ทำงานกับเมอร์ริล ลินช์ ในฐานะผู้บริหารไพรเวตฟันด์กองหนึ่งประมาณ 100
กว่าล้านเหรียญ
“เขารู้ว่าผมชอบได้เสีย ทำสวอปเงิน มีส่วนต่างนิดเดียวก็ได้เงินมหาศาล” เอกยุทธ ว่า
“...ไปใหม่ๆ ก็กินเงินเดือน ตอนนั้นได้ 20,000 เหรียญ แต่ตอนหลังผมบอกว่าไม่เอา
เอาเป็นเปอร์เซ็นต์ ทำอยู่ 2 ปีก็ไปทำพร็อพเพอร์ตี้ที่นิวยอร์ก หลังจากนั้นมาอังกฤษ
มาเลเซีย สิงคโปร์ เริ่มมีกลุ่มที่ชอบลงทุนในเฮดจ์ฟันด์ก็ลงทุนกัน
ก็ให้ทีมรีเสิร์ชดูว่าช่วงนี้ตลาดไหนอ่อนก็บินไปอยู่ที่นั่น 2-3 เดือน
...พอฟันเสร็จก็บินไปประเทศอื่นต่อเป็นอย่างนี้มาเกือบ 10 ปี
จนเริ่มมีเงินขึ้นมาเยอะหน่อย อายุมากขึ้นก็คิดว่าน่าจะปักหลัก”
ชื่อชั้นนักแสวงหาในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่รู้จัก “เอกยุทธ อัญชันบุตร”
หากแต่รู้จักในนาม “จอร์จ ตัน”...เอกยุทธ อัญชันบุตร บอกว่าเขาเป็น “อินเวสเตอร์”
ธุรกิจไหนที่มีผลกำไรถูกต้องตามกฎหมายก็ลงทุน...แบบเดียวกับ จอร์จ โซรอส
พ่อมดการเงิน...เข้ามาแป๊บเดียว ทุบเงินบาททีเดียวก็พังแล้ว
“อย่างเรื่องน้ำมันก็ดูว่ายังขึ้นได้ 50-60 เหรียญต่อบาร์เรลค่อนข้างแน่นอน
เราเข้ามาตั้งแต่ 30 กว่าฯ...ซื้อมาขายไป ถึงบอกว่าเราเป็นห่วงประเทศไทย
เราอยู่ข้างนอกเรามองชัดกว่า อยู่ข้างในมันเห็นไม่ชัด”
“นักการเงินโหดร้าย”...ไม่สนใจว่าใครจะพัง แต่กับ “นัก การเมือง”...“ผู้มีอำนาจ
บารมี” ใครจะร้ายกว่ากันเป็นเรื่องน่าสนใจทีเดียว
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/350950
เอามาฝากเพื่อนๆ ที่โตไม่ทัน ตำนานแชร์ชาเตอร์ ดอกเบี้ย สูง การลงทุนที่
สุดฮิตในครั้งนั้น จำได้ว่า วันนั้น ก็ "โลภ" เหมือนกัน ฝากเพื่อนไปลงแชร์กับเขาด้วย
จำไม่ได้ว่า เท่าไหร่ น่าจะได้ดอกเบี้ยมาสัก 2-3 งวด เท่ากับขาดทุนไป เขาด้วย
แต่เงินไม่ได้มากมาย ... เพื่อนๆ หลายคน ไปลงชื่อฟ้องร้องกับเขาด้วย พวกที่ลงไปเยอะๆ
สรุปคือ "โลภ" ความเสียหายจากคนที่โดนหลอกทั้งหลายวันนี้ คือความโลภ รวมถึง
"แมงเม่า" ในตลาดหุ้นด้วย หากคุณ "ลงทุนในหุ้น" ไม่ได้ "เล่นหุ้น" ก็คงไม่ต้อง
ล้างพอร์ต ให้เจ็บปวดกัน .....
ลงทุนในหุ้น ...คิดง่ายๆ แค่ปันผล สูงกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากเท่านั้น "ไม่โลภ" ก็ไม่เดือดร้อน
จะบวก/ลบ ก็เฉยๆ
เอกยุทธ อัญชันบุตร ตำนานแชร์ชาร์เตอร์ ....โดย "เอกยุทธ" ...... ไทยรัฐออนไลน์
และในอีกฉายาที่คนไทยส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยและไม่ลืมเลือน
นั่นคือ...“เจ้าพ่อแชร์ชาร์เตอร์”
ราวต้นปี 2527...ขณะที่บรรดาธุรกิจไฟแนนซ์เมืองไทยกำลังปั่นป่วนสาหัส
แต่วงแชร์ชาร์เตอร์ กลับงอกงาม มีผู้คนเอาเงินมาลงทุนกันไม่ขาดสาย
ผู้สันทัดกรณีด้านการเงินยุคนั้นมองว่า “เป็นเพราะมาจากความเชื่อมั่น
ที่แม้ว่ารัฐบาลจะออกข่าวห้ามเล่นแชร์ หนังสือพิมพ์ก็ประโคมโหมโจมตีวงแชร์
แต่ก็ไม่มีผล...ดอกเบี้ยก็ยังจ่ายกันปกติ แชร์ไม่ล้ม
เมื่อข่าวแบบนี้แพร่สะพัดออกไปก็เหมือนไฟลามทุ่งไปยังต่างจังหวัด
ยิ่งพัดหอบเงินมาลงทุนวงแชร์กันเรื่อยๆ”
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง ในช่วงเวลานั้น เศรษฐกิจไม่ค่อยดี
ชนชั้นกลางที่มีรายได้ไม่พอจ่าย เลยหาทางออกด้วยการเล่นแชร์
สำหรับ “แชร์ชาร์เตอร์”...แม้จะไม่วงใหญ่เหมือนแชร์แม่ชม้อย แม่นกแก้ว
เป็นแชร์วงน้อยเกิดทีหลังแต่ก็มีวีธีดูดลูกค้าที่น่าสนใจ
แชร์แม่ชม้อยให้ร้อยละ 6.5...แต่แชร์ชาร์เตอร์ให้ร้อยละ 9
ทำให้สายแชร์แม่ชม้อยหอบเงินมาลงแชร์ชาร์เตอร์เห็นกำไรเหนาะๆ ร้อยละ 2.5
นอกจากนี้ว่ากันว่ายังแถมคอมมิชชั่นต่างหากให้อีก ร้อยละ 0.5
รวมเบ็ดเสร็จได้ส่วนต่างไปฟรีๆ ร้อยละ 3
สายแชร์บางสายสบช่องเห็นส่วนต่าง รับมาครั้งละ 10 ล้านบาท ก็ได้เงินสบายกระเป๋า
300,000 บาทต่อเดือน...ถ้าเอามาลงได้มากกว่านี้จะกินอิ่มกันเท่าไหร่ก็ไปคำนวณกันเอาเอง
หากแต่สวรรค์ที่สวยหรูไม่ได้สวยหรูยั้งยืนยง
เพราะแชร์ชาร์เตอร์เป็นการลงทุนแบบพีระมิดหัวกลับ ฐานอยู่ด้านบน
ยอดปลายแหลมอยู่ด้านล่าง...แรกๆผลตอบแทนก็ได้ดี
แต่นานวันเข้ายิ่งเอาเงินลงทุนก็ยิ่งเห็นทางตัน...วงแชร์จ่ายผลประโยชน์ไม่ไหว
กลายเป็นงูกินหาง
เดือนมีนาคม 2527 ให้บังเอิญพอดีกับช่วงที่แชร์แม่ชม้อยกำลังถูกทางการเพ่งเล็ง
เริ่มหยุดรับเงินชั่วคราวเพื่อหาทางออก ช่วงนี้เองที่แชร์ชาร์เตอร์มีเงินไหลเข้ามามากขึ้น
มากในระดับที่เรียกกันว่า “ทำนบเขื่อนแตก”
เงินลงทุนแชร์ชาร์เตอร์...อย่างที่เป็นข่าวกันไปแล้วว่าในระยะแรกมาจากนายทหาร
นักการเมืองเป็นจำนวนมาก และเมื่อวงแชร์เริ่มมีชื่อเสียงจึงทำให้มีประชาชนทั่วไป
นำเงินเข้ามาลงทุน...วงแชร์เติบโตสูงสุดก็อยู่ในช่วงนี้นี่เอง...เป็นยุคที่ผู้คนนิยมลงทุน
ในเงินนอกระบบ
เอกยุทธ อัญชันบุตร เติบโตเกินขีดจำกัดให้สัมภาษณ์นิตยสารไฮคลาส ฉบับเดือนธันวาคม
2527 ว่า
“ถ้าคนไทยยอมรับสภาพให้คนหนุ่มที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารเสียบ้างก็ดี...”
แต่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ออก
พระราชบัญญัติการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527
มีการดำเนินการทางกฎหมายกับนางชม้อย ทิพยโส หรือ “แม่ชม้อย”
หัวหน้าวงแชร์แม่ชม้อย และพันจ่าอากาศเอกหญิงนกแก้ว ใจยืน
หัวหน้าวงแชร์แม่นกแก้ว
สำหรับวงแชร์ชาร์เตอร์ เอกยุทธ อัญชันบุตร
เดินทางออกนอกประเทศหลังจากมีข่าวว่าทางการจะออกหมายจับช่วงกลางปี 2528
และวงแชร์เริ่มสั่นคลอนเหมือนผึ้งแตกรัง เมื่อมีนายทหารฟ้องคดีเช็คของนายเอกยุทธ
ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จนทำให้มีผู้เข้าร้องเรียนกองปราบฯเป็นจำนวนหลายพันคน
ที่สุด...ทางการก็ประกาศอายัดทรัพย์สินของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร บริษัท ชาร์เตอร์
และผู้ถือหุ้น เพื่อนำออกขายทอดตลาด
พลิกแฟ้มประวัติพอสังเขป...นายเอกยุทธ อัญชันบุตร เกิดเดือนมิถุนายน 2502
เป็นบุตรคนที่ 3 จากพี่น้อง 5 คน ของ ร้อยโทแปลก อัญชันบุตร นายทหารคนสนิท
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี และนางนันทา ฉัตรกุล ณ อยุธยา
จบการศึกษาที่โรงเรียนแม้นศรีวิทยา, โรงเรียนเทพประสาทวิทยา
และเรียนมัธยมศึกษาที่เมืองโอมาฮา รัฐเนบราส สหรัฐอเมริกา
ก่อนจะกลับมาทำธุรกิจรับเหมากับพี่ชาย และไปเรียนต่อด้าน
เศรษฐศาสตร์การเงิน การคลัง ที่มหาวิทยาลัยแปซิฟิก ฮาวาย
หลังเรียนจบ เริ่มทำธุรกิจซื้อขายคอมมิวนิตี้...ซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
จากนั้นจึงเปิดบริษัทนายหน้าซื้อขายคอมมอดิตี้และเงินตราต่างประเทศ ชื่อว่า
“ชาร์เตอร์อินเวสต์เมนต์”
ปี 2526 เป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศสูง ถึงร้อยละ 12...เอกยุทธ
อัญชันบุตร ในวัยเพียง 24 ปี คิดหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย
กู้เงินจากต่างประเทศด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ประมาณร้อยละ 3
มาฝากในสถาบันการเงินในประเทศเพื่อทำกำไร
และนำกำไรที่ได้ไปลงทุนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม
ช่วงเวลาสำคัญ “เจ้าพ่อแชร์ชาร์เตอร์”...ในแง่การลงทุนถือว่าได้รับความไว้วางใจ
จากกลุ่มคนมีเงินให้เป็นผู้บริหารเงินก้อนใหญ่เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่เป็นกอบเป็นกำ
เอกยุทธเคยเล่าย้อนอดีตสมัยแชร์ชาร์เตอร์เอาไว้ว่า...“ผมทำธุรกิจ
ผมไม่ได้รับจากประชาชน ผมไม่เคยเจอใครเลย มีแต่ผู้ใหญ่เอาเงินมาให้ ครั้งแรก 10
ล้านบาท ทำธุรกิจคอมมิวนิตี้ก็กำไรมีคนอื่นเข้ามา จนเราบอกว่ามันเยอะเกินไปนะพอแล้ว
ผมทำไม่ไหว เพราะการหาเงินในตลาดไม่ได้หาได้ทุกวัน...”
เมื่อแชร์ลูกโซ่สะดุดเส้นทางผู้แสวงหายังเดินต่อไป
ถึงแม้จะอยู่ต่างแดนด้วยความรู้เรื่องการบริหารเงิน
มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆในแวดวงการเงินในต่างประเทศเขายังมีโอกาสบินไปนิวยอร์ก
ทำงานกับเมอร์ริล ลินช์ ในฐานะผู้บริหารไพรเวตฟันด์กองหนึ่งประมาณ 100
กว่าล้านเหรียญ
“เขารู้ว่าผมชอบได้เสีย ทำสวอปเงิน มีส่วนต่างนิดเดียวก็ได้เงินมหาศาล” เอกยุทธ ว่า
“...ไปใหม่ๆ ก็กินเงินเดือน ตอนนั้นได้ 20,000 เหรียญ แต่ตอนหลังผมบอกว่าไม่เอา
เอาเป็นเปอร์เซ็นต์ ทำอยู่ 2 ปีก็ไปทำพร็อพเพอร์ตี้ที่นิวยอร์ก หลังจากนั้นมาอังกฤษ
มาเลเซีย สิงคโปร์ เริ่มมีกลุ่มที่ชอบลงทุนในเฮดจ์ฟันด์ก็ลงทุนกัน
ก็ให้ทีมรีเสิร์ชดูว่าช่วงนี้ตลาดไหนอ่อนก็บินไปอยู่ที่นั่น 2-3 เดือน
...พอฟันเสร็จก็บินไปประเทศอื่นต่อเป็นอย่างนี้มาเกือบ 10 ปี
จนเริ่มมีเงินขึ้นมาเยอะหน่อย อายุมากขึ้นก็คิดว่าน่าจะปักหลัก”
ชื่อชั้นนักแสวงหาในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่รู้จัก “เอกยุทธ อัญชันบุตร”
หากแต่รู้จักในนาม “จอร์จ ตัน”...เอกยุทธ อัญชันบุตร บอกว่าเขาเป็น “อินเวสเตอร์”
ธุรกิจไหนที่มีผลกำไรถูกต้องตามกฎหมายก็ลงทุน...แบบเดียวกับ จอร์จ โซรอส
พ่อมดการเงิน...เข้ามาแป๊บเดียว ทุบเงินบาททีเดียวก็พังแล้ว
“อย่างเรื่องน้ำมันก็ดูว่ายังขึ้นได้ 50-60 เหรียญต่อบาร์เรลค่อนข้างแน่นอน
เราเข้ามาตั้งแต่ 30 กว่าฯ...ซื้อมาขายไป ถึงบอกว่าเราเป็นห่วงประเทศไทย
เราอยู่ข้างนอกเรามองชัดกว่า อยู่ข้างในมันเห็นไม่ชัด”
“นักการเงินโหดร้าย”...ไม่สนใจว่าใครจะพัง แต่กับ “นัก การเมือง”...“ผู้มีอำนาจ
บารมี” ใครจะร้ายกว่ากันเป็นเรื่องน่าสนใจทีเดียว
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/350950
เอามาฝากเพื่อนๆ ที่โตไม่ทัน ตำนานแชร์ชาเตอร์ ดอกเบี้ย สูง การลงทุนที่
สุดฮิตในครั้งนั้น จำได้ว่า วันนั้น ก็ "โลภ" เหมือนกัน ฝากเพื่อนไปลงแชร์กับเขาด้วย
จำไม่ได้ว่า เท่าไหร่ น่าจะได้ดอกเบี้ยมาสัก 2-3 งวด เท่ากับขาดทุนไป เขาด้วย
แต่เงินไม่ได้มากมาย ... เพื่อนๆ หลายคน ไปลงชื่อฟ้องร้องกับเขาด้วย พวกที่ลงไปเยอะๆ
สรุปคือ "โลภ" ความเสียหายจากคนที่โดนหลอกทั้งหลายวันนี้ คือความโลภ รวมถึง
"แมงเม่า" ในตลาดหุ้นด้วย หากคุณ "ลงทุนในหุ้น" ไม่ได้ "เล่นหุ้น" ก็คงไม่ต้อง
ล้างพอร์ต ให้เจ็บปวดกัน .....
ลงทุนในหุ้น ...คิดง่ายๆ แค่ปันผล สูงกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากเท่านั้น "ไม่โลภ" ก็ไม่เดือดร้อน
จะบวก/ลบ ก็เฉยๆ