อีไอเอเผยรายงานประเมินครั้งแรก ชี้หินดินดานเพิ่มแหล่งพลังงานสำรองโลก เหตุจากเทคโนโลยีขุดเจาะใหม่ แต่ไม่รับประกันใช้จริงได้หมด เหตุขุดเจาะยาก ไม่คุ้มเงิน
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า รายงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ประเมินว่าปริมาณน้ำมันสำรองของโลกในรูปของแร่เชื้อเพลิงที่อยู่ในหินดินดานหรือหินน้ำมัน จะทำให้แหล่งทรัพยากรน้ำมันดิบทั้งหมดของโลกเพิ่มขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์ และก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น 47 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นการมองภาพในเบื้องต้นของทรัพยากรหินน้ำมันที่ยังคงไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั่วโลก
ในรายงานผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวนี้เป็นชิ้นแรกของรัฐบาลสหรัฐ องค์การบริหารข้อมูลพลังงานสหรัฐ (อีไอเอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระด้านสถิติในสังกัดกระทรวงพลังงานประเมินว่า มีน้ำมันสำรองจากชั้นหินดินดานที่สามารถนำขึ้นมาใช้ได้ในทางเทคนิคใน 41 ประเทศ อยู่ที่ 345,000 ล้านบาร์เรล โดยรายงานก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาของอีไอเอรวบรวมไว้เพียงแค่ทรัพยากรหินน้ำมันในสหรัฐ ซึ่งเมื่อปี 2554 ประเมินไว้ที่ 32,000 ล้านบาร์เรล ปัจจุบันอีไอเอประเมินแหล่งพลังงานสำรองจากหินน้ำมันของสหรัฐไว้ที่ 58,000 ล้านบาร์เรล
ขณะที่ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองจากหินดินดานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7,299 ล้านล้านคิวบิกฟุต เพิ่มขึ้นจาก 6,622 ล้านล้านคิวบิกฟุต ที่ประเมินไว้เมื่อปี 2554
เชื้อเพลิงสำรองที่สามารถนำมาใช้ได้ในทางเทคนิค เป็นการประเมินจากปริมาณของน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติที่สามารถนำออกมาได้โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน
จากการประเมินของบริษัทพลังงานแอดวานซ์รีซอร์เซส อินเตอร์เนชั่นแนล (เออาร์ไอ) ที่จัดทำให้อีไอเอพบว่ารัสเซียเป็นประเทศที่นำหน้าในแง่ของปริมาณน้ำมันสำรองอยู่ที่ 75,000 ล้านบาร์เรล ตามด้วยสหรัฐที่ 48,000 ล้านบาร์เรล ขณะที่จีนมีอยู่ที่ 32,000 ล้านบาร์เรล และอาร์เจนตินา 27,000 ล้านบาร์เรล ซึ่งเออาร์ไอประเมินปริมาณน้ำมันสำรองของสหรัฐ น้อยกว่าที่ทางอีไอเอประเมินเอง 10,000 ล้านบาร์เรล
ขณะที่เออาร์ไอประเมินว่า สหรัฐมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสูงสุดที่ 1,161 ล้านล้านคิวบิกฟุต ตามมาด้วยจีนที่ 1,115 ล้านล้านคิวบิกฟุต อาร์เจนตินาที่ 802 ล้านล้านคิวบิกฟุต และแอลจีเรียที่ 707 ล้านล้านคิวบิกฟุต ซึ่งมากกว่าปริมาณที่ประเมินไว้เมื่อปี 2554 ที่ 231 ล้านล้านคิวบิกฟุต ถึง 3 เท่า
การผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากการเกิดขึ้นของเทคนิคการเจาะน้ำมันในแนวราบและไฮดรอลิกส์ แฟร็กเจอริง หรือ "แฟร็กกิ้ง" ที่ทำให้สามารถนำเชื้อเพลิงสำรองจากการทับถมของชั้นหินดินดานที่แพร่กระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นเวลาหลายทศวรรษมาใช้งานได้
แต่ในขณะที่รายงานของอีไอเอให้ภาพรวมในเบื้องต้นของหินน้ำมันทั่วโลกที่แฝงอยู่แต่ปริมาณที่นำมาใช้ได้ทางเทคนิคไม่ได้รับประกันว่าจะนำมาใช้ได้จริงทั้งหมด และยังไม่ชัดเจนว่าปริมาณเชื้อเพลิงสำรองที่มีอยู่นอกสหรัฐซึ่งอยู่ในภูมิประเทศที่แตกต่างกันไป จะถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ แม้กระทั่งในสหรัฐเอง บางพื้นที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องยากและไม่คุ้มค่ากับเงินที่ใช้ในการนำเชื้อเพลิงสำรองดังกล่าวขึ้นมา
ตัวอย่างชัดเจนที่สุดคือโปแลนด์ที่มีปริมาณก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานมาเป็นอันดับ12 และดึงดูดผู้ที่สนใจในศักยภาพตรงนี้เข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทว่าจากการขุดเจาะขั้นแรกพิสูจน์แล้วว่าเป็นการยาก และบริษัทอย่างเอ็กซอนโมบิล ทาลิสแมน เอนเนอร์จี และมาราธอน ต่างถอนตัวออกมาหมดแล้ว
ที่มา : นสพ.มติชน
(ข่าวร้ายทุบปูมาแล้ว)ชี้หินน้ำมันเพิ่มแหล่งพลังงานโลก ปู 4 ตัวร้อย
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า รายงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ประเมินว่าปริมาณน้ำมันสำรองของโลกในรูปของแร่เชื้อเพลิงที่อยู่ในหินดินดานหรือหินน้ำมัน จะทำให้แหล่งทรัพยากรน้ำมันดิบทั้งหมดของโลกเพิ่มขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์ และก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น 47 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นการมองภาพในเบื้องต้นของทรัพยากรหินน้ำมันที่ยังคงไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั่วโลก
ในรายงานผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวนี้เป็นชิ้นแรกของรัฐบาลสหรัฐ องค์การบริหารข้อมูลพลังงานสหรัฐ (อีไอเอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระด้านสถิติในสังกัดกระทรวงพลังงานประเมินว่า มีน้ำมันสำรองจากชั้นหินดินดานที่สามารถนำขึ้นมาใช้ได้ในทางเทคนิคใน 41 ประเทศ อยู่ที่ 345,000 ล้านบาร์เรล โดยรายงานก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาของอีไอเอรวบรวมไว้เพียงแค่ทรัพยากรหินน้ำมันในสหรัฐ ซึ่งเมื่อปี 2554 ประเมินไว้ที่ 32,000 ล้านบาร์เรล ปัจจุบันอีไอเอประเมินแหล่งพลังงานสำรองจากหินน้ำมันของสหรัฐไว้ที่ 58,000 ล้านบาร์เรล
ขณะที่ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองจากหินดินดานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7,299 ล้านล้านคิวบิกฟุต เพิ่มขึ้นจาก 6,622 ล้านล้านคิวบิกฟุต ที่ประเมินไว้เมื่อปี 2554
เชื้อเพลิงสำรองที่สามารถนำมาใช้ได้ในทางเทคนิค เป็นการประเมินจากปริมาณของน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติที่สามารถนำออกมาได้โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน
จากการประเมินของบริษัทพลังงานแอดวานซ์รีซอร์เซส อินเตอร์เนชั่นแนล (เออาร์ไอ) ที่จัดทำให้อีไอเอพบว่ารัสเซียเป็นประเทศที่นำหน้าในแง่ของปริมาณน้ำมันสำรองอยู่ที่ 75,000 ล้านบาร์เรล ตามด้วยสหรัฐที่ 48,000 ล้านบาร์เรล ขณะที่จีนมีอยู่ที่ 32,000 ล้านบาร์เรล และอาร์เจนตินา 27,000 ล้านบาร์เรล ซึ่งเออาร์ไอประเมินปริมาณน้ำมันสำรองของสหรัฐ น้อยกว่าที่ทางอีไอเอประเมินเอง 10,000 ล้านบาร์เรล
ขณะที่เออาร์ไอประเมินว่า สหรัฐมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสูงสุดที่ 1,161 ล้านล้านคิวบิกฟุต ตามมาด้วยจีนที่ 1,115 ล้านล้านคิวบิกฟุต อาร์เจนตินาที่ 802 ล้านล้านคิวบิกฟุต และแอลจีเรียที่ 707 ล้านล้านคิวบิกฟุต ซึ่งมากกว่าปริมาณที่ประเมินไว้เมื่อปี 2554 ที่ 231 ล้านล้านคิวบิกฟุต ถึง 3 เท่า
การผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากการเกิดขึ้นของเทคนิคการเจาะน้ำมันในแนวราบและไฮดรอลิกส์ แฟร็กเจอริง หรือ "แฟร็กกิ้ง" ที่ทำให้สามารถนำเชื้อเพลิงสำรองจากการทับถมของชั้นหินดินดานที่แพร่กระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นเวลาหลายทศวรรษมาใช้งานได้
แต่ในขณะที่รายงานของอีไอเอให้ภาพรวมในเบื้องต้นของหินน้ำมันทั่วโลกที่แฝงอยู่แต่ปริมาณที่นำมาใช้ได้ทางเทคนิคไม่ได้รับประกันว่าจะนำมาใช้ได้จริงทั้งหมด และยังไม่ชัดเจนว่าปริมาณเชื้อเพลิงสำรองที่มีอยู่นอกสหรัฐซึ่งอยู่ในภูมิประเทศที่แตกต่างกันไป จะถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ แม้กระทั่งในสหรัฐเอง บางพื้นที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องยากและไม่คุ้มค่ากับเงินที่ใช้ในการนำเชื้อเพลิงสำรองดังกล่าวขึ้นมา
ตัวอย่างชัดเจนที่สุดคือโปแลนด์ที่มีปริมาณก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานมาเป็นอันดับ12 และดึงดูดผู้ที่สนใจในศักยภาพตรงนี้เข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทว่าจากการขุดเจาะขั้นแรกพิสูจน์แล้วว่าเป็นการยาก และบริษัทอย่างเอ็กซอนโมบิล ทาลิสแมน เอนเนอร์จี และมาราธอน ต่างถอนตัวออกมาหมดแล้ว
ที่มา : นสพ.มติชน