คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ประเทศไทย ไม่เหมือน จีน ญี่ปุ่น หรืออินเดีย ที่มีหลักการในการเขียนเทียบตัวอักษรโรมันแบบตายตัวครับ
ดังนั้น คุณอยากเขียนอะไร ก็เขียนได้ เพราะถ้าสะกดประหลาดๆ เวลาไปติดต่อกับต่างประเทศ คุณเองจะมีปัญหา
ส่วน Ch กับ J .... ราชบัณฑิตของเรา เอาตามการเทียบเสียงแบบสันสกฤต มาใช้ ดังนั้น Ch คือ จ.จาน ครับ
(จันทร์ ในสันสกฤต สะกด Chandara , อาทิตย์ = Adhittaya เป็นต้น)
ทีนี้ปัญหาคือ คนไทยเรา ยึดติดกับภาษาอังกฤษมากไปครับ
ตัวอักษรโรมัน J มีแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้น ที่อ่านออกเสีย เจ (จ.จาน) ในขณะที่ภาษาอื่นที่ใช้อักษรโรมัน ออกเสียงตัวนี้ เป็น ย.ยักษ์ เกือบทุกภาษา
เท่ากับว่า ถ้าคู่สนทนาเป็นคนเยอรมัน ดัตช์ สแกนดิเนเวี่ยน หรือ อิตาเลี่ยน ... เขาจะอ่าน Jaroen ว่า ยาโรเอ็น หรือ ยาโรน ครับ
ดังนั้น คุณอยากเขียนอะไร ก็เขียนได้ เพราะถ้าสะกดประหลาดๆ เวลาไปติดต่อกับต่างประเทศ คุณเองจะมีปัญหา
ส่วน Ch กับ J .... ราชบัณฑิตของเรา เอาตามการเทียบเสียงแบบสันสกฤต มาใช้ ดังนั้น Ch คือ จ.จาน ครับ
(จันทร์ ในสันสกฤต สะกด Chandara , อาทิตย์ = Adhittaya เป็นต้น)
ทีนี้ปัญหาคือ คนไทยเรา ยึดติดกับภาษาอังกฤษมากไปครับ
ตัวอักษรโรมัน J มีแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้น ที่อ่านออกเสีย เจ (จ.จาน) ในขณะที่ภาษาอื่นที่ใช้อักษรโรมัน ออกเสียงตัวนี้ เป็น ย.ยักษ์ เกือบทุกภาษา
เท่ากับว่า ถ้าคู่สนทนาเป็นคนเยอรมัน ดัตช์ สแกนดิเนเวี่ยน หรือ อิตาเลี่ยน ... เขาจะอ่าน Jaroen ว่า ยาโรเอ็น หรือ ยาโรน ครับ
แสดงความคิดเห็น
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย ตัว จ ควรใช้ Ch หรือ J
บางทีมันใช้ไม่เหมือนกัน บางทีใช้ Ch บางทีใช้ J ผมเลยสงสัยว่า
ต้องใช้มันยังไงอย่างเช่นคำว่า "เจริญ" จะเขียนว่า "Charoen" ประมาณนี้
ผมเห็นในบัตรประชาชนผมชื่อสกุลผมเป็นตัว จ แต่เค้าเขียนมาให้เป็นตัว J
แต่ของแม่ผมเขียนเป็นตัว Ch เ้ลยทำให้ผมเกิดข้อสงสัยว่า มันเกี่ยวกับสระเสียงสั้น เสียงยาว หรือเกี่ยวกับอะไร
ผมจะได้นำไปใช้ได้ถูก รบกวนผู้รู้ด้วยชี้แจงด้วยนะครับ