ผมได้รับการสอบถามจากเพื่อนฝูงหลายคน ถึงทัศนะอิสลาม ต่อกรณีการบริจาคร่างกาย
จึงบอกไปว่า ตามทัศนะอิสลาม ไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับการบริจาคร่างการ เพราะร่างกายแม้เป็นของเรา แต่ทัศนะอิสลามร่างกายไม่ใช้กรรมสิทธิ์ของเรา หากแต่เป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า
แต่เพื่อให้เรื่องนี้กระจ่างกับผู้สนใจ ผมจึงนำคำตอบของผู้รู้มาให้พิจารณา และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดแจ้งมากยิ่งขึ้น
เพราะหากตอบไม่ชัด ฟังไม่จบ อาจมีปัญหาตามมา ผมจึงนำบางตอนที่เป็นใจความสำคัญมาเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันครับ
คำฟัตวา(คำวินิฉัย) เรื่องการบริจาคอวัยวะ ร่างกาย
คำตอบ : โดย อ.มูรีด ทิมาเสน
นักวิชาการแบ่งเป็นทัศนะไว้ดังนี้ ทัศนะแรก มีความเห็นว่า อวัยวะของมุสลิมไม่สามารถบริจาคให้แก่ผู้ใดหรือองค์ใดได้เลย โดยให้เหตุผลว่า ร่างกายเป็นของเราไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ซึ่งเราไม่สามารถนำไปมอบให้ใครได้เพราะมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา เช่นนั้นการบริจาคอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายจึงไม่อนุญาตให้กระทำ
ทัศนะที่สอง มีความเห็นว่า อวัยวะร่างกายอนุญาตให้บริจาคได้แต่ต้องมีเงื่อนไขว่า ผู้ที่รับบริจาคจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่า หากอวัยวะส่วนที่มุสลิมบริจาคให้กับผู้ที่มิใช่มุสลิมเขาผู้นั้นมีชีวิตอยู่ต่อไปโดยมีวิถีชีวิตที่ฝ่าฝืนพระองค์อัลลอฮฺ
ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่อนุญาตให้มุสลิมบริจาคอวัยวะแก่ผู้ที่มิใช่มุสลิม อาทิเช่น เราบริจาคไตให้แก่ชายผู้หนึ่งที่มิใช่มุสลิม เขาผู้นั้นก็มีชีวิตอยู่ต่อในสภาพที่เขาทำซินา หรือดื่มสุรา ทำนองนี้เป็นต้น ทัศนะที่สาม ทัศนะที่สามนี้เปิดกว้างอย่างมาก โดยอนุญาตให้บริจาคอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายได้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น (ซึ่งทัศนะนี้ไม่ถูกยอมรับจากนักวิชการเท่าใดนัก เพราะเปิดช่องว่างมากเกินไป)
ส่วนประเด็นการบริจาคศพของมุสลิม คำถามข้อนี้ตอบได้เลยว่า ไม่มีช่องทางให้มุสลิมบริจาคศพของตนเองอย่างเด็ดขาด เพราะศาสนากำหนดว่า วาญิบ (จำเป็น) คนเป็นจะต้องทำให้แก่คนตายมี 4 ประการ (1) อาบน้ำ (2) กะฝั่น (การห่อศพ), (3) นมาซ (4) และฝัง ซึ่งศพมุสลิมจะต้องถูกฝัง โดยพยายามฝังศพให้เร็วที่สุด
แต่ถ้าสมมติว่า ศพมุสลิมผู้นั้นถูกฆาตกรรม ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการพิสูจน์ศพ เช่นนี้อนุญาตให้ฝังล่าช้าได้เพราะมีความจำเป็น, อาจจะมีคำถามว่า ถ้าไม่ใช้ศพของมุสลิมในการวิจัยหรือไว้ศึกษาทางการแพทย์ เช่นนั้นประเทศมุสลิม ก็ไม่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาแพทย์เลยกระนั้นหรือ ? มิได้ครับ
นักวิชาการมีทัศนะว่าหากเป็นเช่นนั้นจริงก็ให้ใช้ศพของเชลยศึกที่ตายในสงครามมาเป็นประโยชน์ทางด้านการแพทย์ได้ (วัลลอฮุอะอฺลัม) คำถามที่สอง ผมขอหยิบยกหะดีษของท่านอบูดัรดาอฺที่เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า “ แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงประทานโรคควบคู่กับยารักษา และพระองค์ทรงทำให้ทุกๆ โรคมียารักษา “ (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 3864)
ฉะนั้นมุสลิมทุกคนต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ เช่น ทุกโรคที่อยู่บนโลกดุนยาแห่งนี้ล้วนมียารักษาทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นโรคเอดส์, โรคซาส์, โรคระบาดต่างๆ หรือโรคที่มีชื่อแปลกๆ แม้ว่าในปัจจุบันอาจจะยังไม่ค้นพบตัวยารักษาได้ แต่อนาคตข้างหน้าจะต้องมีตัวยารักษาโรคนั้นๆ ได้อย่างแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัยเลยครับ (วัลลอฮุอะอฺลัมบิศเศาะวาบ) วัสสลา
ทำไมมุสลิมถึงบริจาคอวัยวะไม่ได้
จึงบอกไปว่า ตามทัศนะอิสลาม ไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับการบริจาคร่างการ เพราะร่างกายแม้เป็นของเรา แต่ทัศนะอิสลามร่างกายไม่ใช้กรรมสิทธิ์ของเรา หากแต่เป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า
แต่เพื่อให้เรื่องนี้กระจ่างกับผู้สนใจ ผมจึงนำคำตอบของผู้รู้มาให้พิจารณา และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดแจ้งมากยิ่งขึ้น
เพราะหากตอบไม่ชัด ฟังไม่จบ อาจมีปัญหาตามมา ผมจึงนำบางตอนที่เป็นใจความสำคัญมาเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันครับ
คำฟัตวา(คำวินิฉัย) เรื่องการบริจาคอวัยวะ ร่างกาย
คำตอบ : โดย อ.มูรีด ทิมาเสน
นักวิชาการแบ่งเป็นทัศนะไว้ดังนี้ ทัศนะแรก มีความเห็นว่า อวัยวะของมุสลิมไม่สามารถบริจาคให้แก่ผู้ใดหรือองค์ใดได้เลย โดยให้เหตุผลว่า ร่างกายเป็นของเราไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ซึ่งเราไม่สามารถนำไปมอบให้ใครได้เพราะมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา เช่นนั้นการบริจาคอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายจึงไม่อนุญาตให้กระทำ
ทัศนะที่สอง มีความเห็นว่า อวัยวะร่างกายอนุญาตให้บริจาคได้แต่ต้องมีเงื่อนไขว่า ผู้ที่รับบริจาคจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่า หากอวัยวะส่วนที่มุสลิมบริจาคให้กับผู้ที่มิใช่มุสลิมเขาผู้นั้นมีชีวิตอยู่ต่อไปโดยมีวิถีชีวิตที่ฝ่าฝืนพระองค์อัลลอฮฺ
ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่อนุญาตให้มุสลิมบริจาคอวัยวะแก่ผู้ที่มิใช่มุสลิม อาทิเช่น เราบริจาคไตให้แก่ชายผู้หนึ่งที่มิใช่มุสลิม เขาผู้นั้นก็มีชีวิตอยู่ต่อในสภาพที่เขาทำซินา หรือดื่มสุรา ทำนองนี้เป็นต้น ทัศนะที่สาม ทัศนะที่สามนี้เปิดกว้างอย่างมาก โดยอนุญาตให้บริจาคอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายได้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น (ซึ่งทัศนะนี้ไม่ถูกยอมรับจากนักวิชการเท่าใดนัก เพราะเปิดช่องว่างมากเกินไป)
ส่วนประเด็นการบริจาคศพของมุสลิม คำถามข้อนี้ตอบได้เลยว่า ไม่มีช่องทางให้มุสลิมบริจาคศพของตนเองอย่างเด็ดขาด เพราะศาสนากำหนดว่า วาญิบ (จำเป็น) คนเป็นจะต้องทำให้แก่คนตายมี 4 ประการ (1) อาบน้ำ (2) กะฝั่น (การห่อศพ), (3) นมาซ (4) และฝัง ซึ่งศพมุสลิมจะต้องถูกฝัง โดยพยายามฝังศพให้เร็วที่สุด
แต่ถ้าสมมติว่า ศพมุสลิมผู้นั้นถูกฆาตกรรม ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการพิสูจน์ศพ เช่นนี้อนุญาตให้ฝังล่าช้าได้เพราะมีความจำเป็น, อาจจะมีคำถามว่า ถ้าไม่ใช้ศพของมุสลิมในการวิจัยหรือไว้ศึกษาทางการแพทย์ เช่นนั้นประเทศมุสลิม ก็ไม่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาแพทย์เลยกระนั้นหรือ ? มิได้ครับ
นักวิชาการมีทัศนะว่าหากเป็นเช่นนั้นจริงก็ให้ใช้ศพของเชลยศึกที่ตายในสงครามมาเป็นประโยชน์ทางด้านการแพทย์ได้ (วัลลอฮุอะอฺลัม) คำถามที่สอง ผมขอหยิบยกหะดีษของท่านอบูดัรดาอฺที่เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า “ แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงประทานโรคควบคู่กับยารักษา และพระองค์ทรงทำให้ทุกๆ โรคมียารักษา “ (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 3864)
ฉะนั้นมุสลิมทุกคนต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ เช่น ทุกโรคที่อยู่บนโลกดุนยาแห่งนี้ล้วนมียารักษาทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นโรคเอดส์, โรคซาส์, โรคระบาดต่างๆ หรือโรคที่มีชื่อแปลกๆ แม้ว่าในปัจจุบันอาจจะยังไม่ค้นพบตัวยารักษาได้ แต่อนาคตข้างหน้าจะต้องมีตัวยารักษาโรคนั้นๆ ได้อย่างแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัยเลยครับ (วัลลอฮุอะอฺลัมบิศเศาะวาบ) วัสสลา