เวิร์คพอยท์ยัน"เอมเมอรัล"ไม่ใช่ผู้ป่วย


คุณธรรมสำคัญฝ่า

เวิร์คพอยท์ยันเอมเมอรัลไม่ใช่ผู้ป่วย เป็นคนปกติดี แต่แค่รู้สึกตื่นเต้นขณะออกรายการ แจงนำออกอากาศเพราะสื่อให้เห็นความมุ่งมั่น ระบุไม่มีการสร้างกระแส

น.ส.อมราพร สังข์ทอง ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ให้สัมภาษณ์กับ โพสต์ทูเดย์ ว่า จากกรณีเทปรายการไทยแลนด์ ก็อต ทาเลนท์ (ทีจีที)ซีซั่นที่ 3 ที่มีผู้เข้าแข่งขันชื่อ สิทธัตถะ เอมเมอรัล ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่มีผู้วิพากษ์วิจารณอย่างกว้างขวางนั้น ยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรเลย น้องคนนี้เขาปกติดี ทางรายการไม่ได้มองว่า บ้า เพี้ยน หรือมีปัญหาทางจิตแต่อย่างใด

"ตอนมาออดิชั่น เขาก็ดูปกติ เดินทางมาออดิชั่นกับแม่และญาติๆ แต่พอขึ้นเวที เขาอาจจะตื่นเต้น เลยควบคุมตัวเองไม่ได้ ทำให้อาจพูดจาไม่ดีกับกรรมการ ซึ่งกรรมการก็มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา หรือเดินออกจากห้องนั้นได้ ซึ่งทาง โจ จิรายุส หนึ่งในกรรมการ ก็บอกว่าที่เดินออกมา ไม่ใช่เพราะเกลียดน้องคนนี้ แต่เป็นเพราะน้องเขาพูดจาไม่ดี และไม่มีสัมมาคารวะ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสังคมไทยอย่างแรง"น.ส.อมราพรกล่าว

น.ส.อมราพรกล่าวอีกว่า การที่รายการตัดต่อเอาช่วงของผู้เข้าแข่งขันรายนี้ออกอากาศ เป็นเพราะ ทางรายการอยากนำเสนออีกด้านของคนในสังคม ว่ายังมีคนมุ่งมั่น มีความฝัน และมีความกล้าที่มีลักษณะแบบนี้อยู่ในสังคม ซึ่งยืนยันว่า ผู้เข้าแข่งขันเป็นคนปกติดี ฉะนั้นทุกคนอย่าไปตีความว่า มีปัญหาทางจิต เขาอาจเป็นคนแบบนั้น แสดงออกแบบนั้นเวลาตื่นเต้นก็ได้

"คัมภีร์ของรายการนี้ที่บริษัทซื้อลิขสิทธิ์มา ก็บอกอยู่แล้วว่า รายการนี้ต้องให้สิทธิทั้งคนที่โชว์ดีที่สุด รวมทั้งคนที่โชว์แล้วแย่ที่สุด การออดิชั่น จึงต้องให้โอกาสกับคนทุกประเภท ขอเพียงมีความมุ่งมั่น ซึ่งผู้เข้าแข่งขันรายนี้ก็มุ่งมั่นอยากมาแสดงความสามารถเหมือนซูซาน บอยล์ เราจึงให้โอกาสเขา การที่คนดูโห่ไล่ ก็เป็นสิทธิของคนดู ถ้าโชว์ดี ก็ยืนปรบมือได้ ถ้าไม่ดี ก็โห่ไล่ได้เลย คัมภีร์จากเมืองนอกเขาให้สิทธิกับคนดูในลักษณะแบบนั้นได้อยู่แล้ว"น.ส.อมราพรกล่าว

น.ส.อมราพรกล่าวอีกว่า ทางรายการไม่ได้ต้องการสร้างกระแส หรือฆ่าตัวเองแต่อย่างใด และไม่คิดที่จะทำอะไรแบบนั้นให้เกิดความเสื่อมเสียกับตัวเอง ทั้งนี้อยากให้คนไทยเปิดใจมองรายการนี้กันดีๆ อีกครั้ง เพราะรายการยังมีอะไรดีๆ อีกเยอะ อย่างเทปหน้าก็จะมีเด็กชาวเขา ลงจากดอยมาร้องเพลงเพื่อในหลวง เชื่อว่าคนดูต้องซึ้งและชื่นชอบความสามารถของน้องๆ ชาวเขา

ที่มา http://www.posttoday.com/บันเทิง/บันเทิงไทย/226318
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
สิทธัตถะ เอมเมอรัล  ไม่ได้ป่วย
ที่ป่วยก็คือปัญญา นิรันด์กุล กับประภาส ชลสรานนท์
ความคิดเห็นที่ 9
ขออนุญาติ copy ข้อความจาก FB page เข็นเด็กขึ้นภูเขา นะครับ

พอดีหมอเพิ่งมีโอกาสได้ดูคลิปยูทูปของรายการ Thailand got talent ที่กำลังเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ คือ รายการของวันที่ 2 มิย.56 ที่นาย สิทธัทถะ เอเมอรัล ผู้ชายอายุ24ปี ที่น่าจะเป็นโรคในกลุ่มออทิสติคที่เป็นลักษณะอาการไม่มาก (ส่วนตัวหมอคิดว่าน่าจะเป็นกลุ่มอาการแอสเปอเกอร์ ซึ่งเป็นออทิสติคประเภทหนึ่ง) มาออกรายการ

ส่วนตัวในฐานะจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นคิดว่าควรใช้โอกาสนี้ให้ความรู้กับสังคม เพราะสังคมปัจจุบันคนทั่วไปไม่เข้าใจว่า ลักษณะของโรคกลุ่มออทิสติคนั้น มีอาการสำคัญอย่างหนึ่ง คือ พัฒนาการทางสังคมที่บกพร่อง หรือ social deficit สิ่งที่เด็กหรือคนกลุ่มนี้บกพร่องที่เราเห็นชัดเจน เช่น ในน้องเอเมอรัล ก็คือ คนไข้กลุ่มนี้จะไม่เข้าใจความคิดความรู้สึกของคนอื่น ทำให้จะทำจะพูดอะไรก็ทำอย่างที่คิด แต่ต้องเน้นว่าไม่ใช่เพราะเห็นแก่ตัวหรือไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา แต่เป็นความบกพร่องของสมอง ซึ่งทำให้เขาไม่รู้จริงๆว่าการทำหรือพูดแบบนี้ทำให้คนอื่นไม่ชอบหรือคิดกับเขาอย่างไร ซึ่งเป็นความบกพร่องทางพัฒนาการของคนไข้กลุ่มออทิสติคที่ไม่เข้าใจในความคิดคนอื่นจริงๆ (ไม่ว่าจะเป็นออทิสติคชนิดใดก็ตาม) ซึ่งคนทั่วไปไม่เข้าใจเพราะยิ่งที่เป็นน้อยๆ คนยิ่งมองว่าดูแล้วก็เหมือนปกติดี แต่ทำไมพูดจาแบบนี้ อย่างที่เห็นในรายการ ที่พูดห้วนๆ ไม่มีหางเสียง พอกรรมการติว่าที่บ้านไม่ได้สอนมารยาทมาหรือ ก็ตอบแบบซื่อๆว่า คุณธรรมสำคัญกว่ามารยาท คนส่วนใหญ่ กรรมการ ก็คงจะคิดว่า การกระทำที่น้องเอเมอรัลที่มาออกรายการทำคือการกระทำและคำพูดที่"ไม่มีมารยาท" แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ แต่เป็นอาการแสดงตามปกติของภาวะนี้ ที่เขาจะดูพูดตรงๆ อย่างที่คิด เพราะว่าไม่ได้คิดว่าคนอื่นจะมองเขาอย่างไร คิดอะไรก็พูดเช่นนั้น ซึ่งถ้าสังคมเข้าใจ น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้คนไข้กลุ่มนี้ไม่ถูกมองว่าแปลกหรือไม่ดี ความจริงภาพยนตร์หลายเรื่องก็มีตัวเอกเป็นโรคในกลุ่มออทิสติค เช่น Forest Gump, I am Sam, Rain Man ส่วนของไทยหมอยังไม่เคยเห็นค่ะ ถ้าลองไปหาดูน่าจะทำให้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งจะนำมาสู่ความเห็นอกเห็นใจคนที่เป็นโรคกลุ่มนี้

หมอคิดว่าที่คนในรายการหรือกรรมการเองที่แสดงออกแบบนั้น เช่น หัวเราะ ดุว่า โห่ฮาไล่ เป็นการแสดงออกเพราะว่าไม่รู้และไม่เข้าใจในตัวโรค ซึ่งถ้าเข้าใจคงไม่ทำเช่นนั้น ส่วนประเด็นการคัดเลือกคนมาออกรายการ ส่วนตัวของหมอนั้นเห็นว่า ควรกลั่นกรองให้ดีก่อน หากทราบว่ามีอาการหรือโรคทางจิตเวช น่าจะมีการกลั่นกรองและเตรียมข้อมูลมากกว่านี้ ถ้าเอาเค้ามาออก ควรมีการเตรียมหรือปรึกษาจิตแพทย์ถึงลักษณะอาการ ความเหมาะสม และเตรียมกับกรรมการและคนในห้องส่ง เพื่อทำให้คนร่วมรายการและกรรมการเข้าใจคนไข้ แต่หากเอามาออกโดยตั้งใจให้เป็นโชว์ที่มุ่งผลทางเรตติ้งหรือคนดู รายการก็สมควรออกมารับผิดชอบการกระทำของตัวเองค่ะ

ไว้โอกาสหน้าหมอจะมาเล่าให้ฟังในเรื่องของโรคกลุ่มออทิสติคอีกครั้งนะคะ เพื่อความเข้าใจของคนในสังคม เด็กกลุ่มนี้มีไม่น้อย และเป็นหน้าที่ของทุกคนเหมือนกันที่ต้องร่วมกัน เข็นเค้าขึ้นภูเขา ค่ะ

#หมอมินบานเย็น —

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=553302431375614&set=a.468916916480833.98758.468898189816039&type=1&theater
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่