บทความ เอสเอ็มอีแบงก์žเจ๊งเพราะใคร

ขอบคุณข้อมูล : ข่าวสดออนไลน์ , Wikipedia
ภาพ : เวบไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์

ภาพวันแถลงฟื้นฟูกิจการ http://www.thaifranchisecenter.com/info/PR/TheSME-Bank-1.jpg
ที่มา : www.thaifranchisecenter.com

เอสเอ็มอีแบงก์žเจ๊งเพราะใคร http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk1EYzJPRGN6TXc9PQ==

               ขยะที่อยู่ใต้พรมของ เอสเอ็มอีแบงก์Ž เริ่มโผล่ออกมาทีละนิด ถึงวันนี้สถานการณ์น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง หนี้เสียŽ ที่เคยเผยว่ามีแค่ 1.8 หมื่นล้านบาทเอาเข้าจริงโป่งไปเกือบๆ 4 หมื่นล้านบาท กระทั่งมีข้อเสนอของเวิลด์แบงก์ให้นำไปรวมกับแบงก์ออมสิน

               เพื่อความเป็นธรรมกับเอสเอ็มอีแบงก์อันที่จริงปัญหาเน่าเฟะติดตัวมาตั้งแต่ยังไม่คลอด เพราะเกิดจากการเอาของเน่าอยู่ก่อนคือ บรรษัทอุตสาหกรรมขนาดย่อมŽ หรือ บอย.Ž มาใส่ตะกร้าล้างน้ำใหม่ในสมัยไทยรักไทยเพื่อให้เอสเอ็มอีแบงก์ปล่อยกู้ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอี กรณีเดียวกับการก่อตั้ง ไอเอฟซีทีŽ เพื่อปล่อยกู้ให้กับภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากแบงก์พาณิชย์ไม่ยอมปล่อยกู้ ครั้นภาคอุตสาหกรรมเติบโตแบงก์พาณิชย์หันมารุมปล่อยกู้กันใหญ่ไอเอฟซีทีต้องอันตรธานไป

               เช่นเดียวกันในยุคแรกๆ แบงก์พาณิย์ไม่สนใจปล่อยกู้ธุรกิจเอสเอ็มอีจึงต้องให้เอสเอ็มอีแบงก์มาทำหน้าที่แทน แต่เมื่อธุรกิจเอสเอ็มอีบูมแบงก์พาณิชย์พากันหันมาปล่อยกู้กลายมาเป็นคู่แข่งแย่งลูกค้าไป แถมทำได้ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขการปล่อยกู้ และการบริการ

               ที่สำคัญเอสเอ็มอีแบงก์ที่ผ่านมากลายเป็นขุมทรัพย์ให้นักการเมืองสูบไปใช้หาเสียงในนโยบายประชานิยม ทุกรัฐบาลจะปั้นโครงการต่างๆ ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการชะลอเลิกจ้างในช่วงวิกฤตซับไพรม์ของประชาธิปัตย์ สินเชื่อน้ำท่วม สินเชื่อราชประสงค์ สินเชื่อไทยเข้มแข็ง ล้วนแต่เป็นนโยบายการเมืองทั้งสิ้น

               เอสเอ็มอีแบงก์บอบช้ำเพราะนำไปรองรับนโยบายของรัฐบาลมากเกินไป รวมทั้ง ใบสั่งการเมืองŽ ในการขออนุมัติสินเชื่อบางโครงการหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่พอประกอบกับตัวโปรเจ็กต์ก็โหลยโท่ยปั้นขึ้นมาปั๊มเงินโดยเฉพาะ บางโครงการเหนือเมฆกว่านั้น ตอนแรกๆ ก็ใช้หลักทรัพย์คุณภาพดีมูลค่าเกินวงเงินปล่อยกู้มาค้ำพอได้รับอนุมัติแล้วกลับเอาที่ดินเน่าๆ รกร้างว่างเปล่าŽ มูลค่าต่ำกว่าสินเชื่อมาค้ำแทน

               ในสมัยที่เอสเอ็มอีบูมใหม่ๆ เล่าลือกันว่าพนักงานไม่ค่อยทำงานวันธรรมดา มักจะขยันนัดลูกค้ามาเจรจาวันเสาร์อาทิตย์แทน การบริหารภายในมีปัญหามาตั้งแต่ก่อตั้งใหม่ๆ แบ่งฝักแบ่งฝ่ายตามสายการเมืองที่ฝากเข้ามา เกิดปัญหาคนล้นแบงก์แต่ไร้คุณภาพ แถมบางส่วนถูกแขวนเดินเตะฝุ่นฟุ้งอยู่เต็มแบงก์

               อย่างนี้ไม่เจ๊งจะไหวหรือ




ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

               ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือเอสเอ็มอีแบงก์) เป็นธนาคารที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 เพื่อประกอบธุรกิจอันเป็นการพัฒนา ส่งเสริม ช่วยเหลือ และสนับสนุนการจัดตั้ง การดำเนินงาน การขยาย หรือการปรับปรุงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการให้สินเชื่อค้ำประกัน ร่วมลงทุน สนับสนุนบริการทางการเงิน ให้คำปรึกษาแนะนำหรือให้บริการที่จำเป็นแก่ผู้ประกอบการไทย

               การดำเนินงาน

               ธพว. มีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีผู้ถือหุ้นทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกัน (จาก พ.ร.บ. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 มาตรา 8 ให้กำหนดทุนเรือนหุ้นของธนาคารไว้หนึ่งหมื่นล้านบาท แบ่งออกเป็นหนึ่งร้อยล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละหนึ่งร้อยบาท โดยให้ธนาคารขายหุ้นให้แก่กระทรวงการคลัง สถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของธนาคาร

               ธพว. มีจำนวนสาขาทั่วประเทศไทย 83 สาขา มีกำไรในปี พ.ศ. 2553 รวมสุทธิ 128.48 ล้านบาท แต่พบภายหลังว่า ธพว. ตกแต่งบัญชีผลกำไรเท็จ ทั้งนี้ ธพว. มีผลประกอบการขาดทุนในปี พ.ศ. 2553 รวมสุทธิ 1,612.56 ล้านบาท

               จากการประเมินสภาวะการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ธพว. เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีสภาวะวิกฤต มีผลการดำเนินงานผันผวนตามสภาพตลาด และเป็น 1 ใน 4 รัฐวิสาหกิจของไทยที่มีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์วิกฤต ในปี พ.ศ. 2553

               ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2555 ธพว. มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 4,039.31 ล้านบาท รวมเป็นยอดขาดทุนสะสมเท่ากับ 9,755 ล้านบาท มีอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 1% โดยยอดหนี้เอ็นพีแอลคิดเป็น 40.68% และอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ

               การทุจริตและประพฤติมิชอบ

               ในระหว่างปี 2547-2549 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ได้ปล่อยสินเชื่อโดยทุจริตและส่งผลให้เกิดความเสียหายรวม 2,592 ล้านบาท ซึ่งพบว่า มีการให้กู้เงินโดยจำนองที่ดินเปล่ายังไม่พัฒนาโดยประเมินราคาสูงกว่าราชการ 10 เท่า ใช้เอกสารปลอมในการทำสัญญาและเบิกจ่ายเงินกู้ หรือกรณีลูกหนี้ประกอบการที่เดียวกัน มีกรรมการชุดเดียวกัน มาขอกู้เงินธนาคารโดยลูกหนี้ทุกรายเป็นคู่สัญญาระหว่างกันและกู้ไปแล้วไม่ได้มีการดำเนินการ และช่วงเวลาเดียวกันได้เกิดการทุจริตธุรกรรม Floating Rate Certificate of Deposit (FRCD)  ซึ่งมีการสอบสวนในเวลาต่อมา

               ในปี 2550 กระทรวงการคลังได้สอบสวนกรณีการทุจริตปล่อยสินเชื่อของธนาคารจำนวน 27 โครงการ มูลค่าความเสียหายมากกว่า 16,000 ล้านบาท

               ในปี 2551 มีการสอบสวนการทุจริตในการปล่อยสินเชื่อ วงเงิน 2,500 ล้านบาท จำนวน 80 เรื่อง

               ในปี 2552 มีการสอบสวนการทุจริตธุรกรรม FRCD โดยนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้ลงนามแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการไต่สวนอดีตผู้บริหารของเอสเอ็มอีแบงก์ 4 ราย โดยมีนายภักดี โพธิศิริ เป็นประธาน และมีตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการของเอสเอ็มอีแบงก์ได้ดำเนินการทางวินัยและอาญากับผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด

               ในปี 2553 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ตกแต่งบัญชีและแจ้งผลกำไรเป็นเท็จ โดยธนาคารมิได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้ครบถ้วนตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมทั้งสิ้น 1,741.04 ล้านบาท ทำให้รายการเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ในงบการเงินเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553 สูงเกินไปในจำนวนที่เท่ากันคือ 1,741.04 ล้านบาท และหากธนาคารตั้งสำรองเงินอย่างครบถ้วน จะทำให้ผลการดำเนินงานสิ้นปี 2553 ขาดทุนทั้งสิ้น 1,612.56 ล้านบาท โดยมิได้มีกำไรสุทธิ 128.48 ล้านบาทตามที่แจ้ง

               ในปี 2554 รายงานการตรวจสอบธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ของ ธปท. ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 พบว่า ลูกหนี้บางรายถูกปรับโครงสร้างหนี้ไปถึง 11 ครั้ง โดยไม่มีลายมือชื่อของลูกหนี้ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ได้เข้าตรวจสอบและพบว่าได้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจริง ถือว่าเป็นการประพฤติมิชอบ

               ในปี 2555 กระทรวงการคลังตรวจพบการปล่อยสินเชื่อที่ผิดวัตถุประสงค์เป็นสินเชื่อรายใหญ่จำนวนมาก มีวงเงินต่อรายมากกว่า 20 ล้านบาท โดยใช้หลักประกันเป็นสินทรัพย์ที่เสื่อมมูลค่า และพบการทุจริตในรูปแบบการรับซื้อเช็คในการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวรวมมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งกรณีนี้มีความเป็นไปได้ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) จะเข้าทำการตรวจสอบ

               กระทรวงการคลังยังพบกรณีการร้องเรียนการเรียกรับค่าหัวคิว 10% ก่อนการปล่อยสินเชื่อ  และนอกจากนี้ธนาคารได้ถูกร้องเรียนไปยังดีเอสไอ เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวกับการปรับปรุงสำนักงานสาขา เพราะไม่มีการเปิดประมูลทำให้ถูกมองว่าร่วมกันสมคบคิด (ฮั้ว) การว่าจ้าง โดยดีเอสไอจะตรวจสอบ ซึ่งกรณีที่มีมูลความผิดจริงจะต้องถูกดำเนินคดี

               ในปีเดียวกัน คณะกรรมการธนาคารได้สอบสวนกรรมการผู้จัดการเรื่องการทุจริต 9 กรณี ประกอบด้วย
1. การอำนวยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำในโครงการชะลอเลิกจ้างแรงงาน เกินวงเงินของโครงการ
2. การอำนวยสินเชื่อผิดหลักเกณฑ์ให้กับลูกค้ากลุ่มเดียวกันเกิน 500 ล้านบาท
3. การอำนวยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่มีลักษณะซื้อที่ดินราคาถูกมาเป็นหลักประกัน
4. การอนมัติทำแพ็กกิ้งเครดิตโดยผิดหลักเกณฑ์ ทำให้ลูกค้าได้รับสินเชื่อซ้ำซ้อน
5. การประชุมเวียนเพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้ารายใหญ่โดยไม่โปร่งใส
6. การรายงานเท็จต่อคณะกรรมการธนาคาร และกระทรวงการคลัง เรื่องจำนวนลูกค้าที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อภายใน 45 วัน
7. การประวิงเวลาปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเรื่องการออกหลักเกณฑ์สินเชื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
8. การแก้ไขคำสั่งเพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานเบิกค่าที่พัก ได้เกินกว่าที่จ่ายจริง
9. การปลอมแปลงและปกปิด ข้อมูลที่แสดงสถานะที่แท้จริงของธนาคาร และนำไปรายงานต่อคณะกรรมการธนาคาร และกระทรวงการคลัง รวมถึงมีรายงานว่าเกิดการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างทำระบบคอร์แบงกิ้งของธนาคาร มูลค่า 300 ล้านบาท ซึ่งตามกฎหมายธนาคารไม่สามารถรับฝากเงินได้ แต่ระบบที่ติดตั้งกลับมีระบบรับฝากเงิน ซึ่งส่งผลให้ธนาคารต้องจ่ายเงินแพงกว่าที่จำเป็น

               ผลการสอบสวนพบว่ากรรมการผู้จัดการมีความผิดจริง ทำให้กรรมการธนาคารมีมติเลิกจ้างและให้มีผลทันที ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2555 โดยไม่บอกกล่าวและไม่ต้องจ่ายสินไหมทดแทน


ที่มา : Facebook

จะรอดไหมเนี่ย ==''
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่