ภาษาไทยวันละคำวันนี้ เสนอคำว่า...............................สลิ่ม..................................

กระทู้สนทนา
แท้จริงแล้ว คำว่า สลิ่ม ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน  ที่ถูกคือต้องเขียนว่า “ซาหริ่ม” ซึ่งเป็นชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้งถั่วเขียวคล้ายลอดช่อง

แต่จากการค้นคว้าและวิจัยของ ดร.ทรามวัน ฟักทอง แห่งสถาบันหนองผาเงิบได้ค้นพบว่า หากเขียนคำว่า ซาหริ่ม นั้นจะทำให้เสียเวลามากกว่าเขียนคำว่า สลิ่ม ไปถึง 3.10 วินาที ( อันนี้อ่านว่า จ๋าม จุด หนึ่ง จู๋น ห๊ะ..อะไรนะ...อ๋อ ถูกแล้ว ) เนื่องจากต้องเสียเวลายกแคร่ตอนพิมพ์ตัว ซ.โซ่ ซ้ำยังต้องพิมพ์สระน้องพ่อเพิ่มขึ้นอีกตั้งหนึ่งตัว

(อืมมห์....ยกแคร่  ไม่น่าใช้คำนี้เลย คนอ่านรู้เลยว่าตูแก่)

ดังนั้นคำว่าซาหริ่ม จึงกลายพันธ์มาเป็นคำว่าสลิ่ม ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยลดโลกร้อน ลดพลังงานทั้งการออกเสียงและการเขียน  หลังจากที่คำคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ออกมาเคลื่อนไหวในทางการเมือง

หลังจากที่คุณสลิ่มรักจริง ได้ตั้งกระทู้ด้วยความสงสัยว่า สลิ่มเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เกิดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ และใครบ้างที่เป็นสลิ่ม ทำให้ผมเกิดความสนใจเรื่องนี้ขึ้นมา

จึงได้ไปศึกษาค้นคว้าในพงศาวดือ  พบว่า แท้จริงแล้ว สลิ่มอยู่คู่ในสังคมไทยมานานแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ผู้ค้นพบสลิ่มเป็นคนแรกชื่อว่า  หลวงนรินทร์ม่วงชุมแสงกลมใสกระจ่างเนติบัณฑิตบูรพาผาเงิบ ฯ   อาจจะเรียกได้ว่าเป็น บรรพบุรุษผู้ให้กำเนิดสลิ่มในเมืองไทยก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม สลิ่มได้หายสาบสูญไปจากสังคมไทยหลายร้อยปี จนกระทั่ง

เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว ผมได้ไปขึ้นโรงพักเพื่อแจ้งความเรื่องการละเมิดสินค้าลิขสิทธิ์ที่ สภอ.พิษณุโลก  ระหว่างรอคิวก็มีโอกาสได้นั่งฟังร้อยเวรสอบสวนวัยรุ่นคนหนึ่งที่ถูกแจ้งความข้อหาทำร้ายร่างกาย

“นายเก่ง ( นามสมมุติ)  เราไปต่อยเค้าทำไม “

นายเก่ง(นามสมมุติ) ยิ้มแค่นๆ

“มันมาดูถูกเหยียดหยามผมก่อนครับ ผมเลยอัดมันไปหนึ่งดอก”

ร้อยเวรขมวดคิ้วถาม

“เค้าดูถูกอะไรคุณ”

“มันมาด่าผมครับ”

“เค้าด่าคุณว่าอะไรเหรอ”

นายเก่งนิ่งไปสักครู่หนึ่ง ก่อนจะตอบหน้าตาเฉย

“มันด่าผมว่าสลิ่ม”

ร้อยเวรอ้าปากหวอ  ส่วนผมกับเพื่อนที่ไปด้วยกันกลั้นหัวเราะแทบแย่ ( สาบานว่าเรื่องที่เล่านี้เป็นเรื่องจริง ถ้าผมโกหกขอให้ฟ้าผ่าคุณทนายเนติบัณฑิตคนหนึ่งเลยเอ้า)  ผมเห็นร้อยเวรส่ายหัวแล้วบ่นพึมพำ ส่วนผมกับเพื่อนทนไม่ไหวต้องออกมายืนหัวเราะกันข้างนอก คือตอนนั้นก็ไม่เข้าใจจริงๆว่า คำว่าสลิ่ม ในความหมายของวัยรุ่นมันเป็นคำด่าที่แสดงถึงการเหยียดหยามดูถูกได้อย่างไร

แต่หลังจากนั้น ผมก็ไม่เห็นวัยรุ่นที่ไหนเอาคำว่าสลิ่ม มาใช้เป็นคำด่าอีก อาจเป็นเพราะสมัยนั้นอินเตอร์เนตยังไม่เข้าถึงประเทศไทยอย่างทั่วถึง คำนี้จึงจำกัดอยู่ในวงแคบและไม่แพร่หลาย อีกอย่างคนทั่วไปที่โดนด่าว่าเป็นสลิ่ม ก็คงไม่รู้สึกเจ็บปวดอันใด เพราะฟังดูเป็นขนมหวานที่น่ากินมากกว่า ( แต่มีบางคนแถวนี้ก็ดิ้นเหมือนกันนะ เวลาถูกเรียกว่าสลิ่ม คงเจ็บอยู่แหละ)

สลิ่ม กลายมาเป็นคำฮิตอีกครั้ง จากหมอตุลย์ "คนกันอวย"ของพลพรรคแมลงสาปที่เคยโหนกลุ่มเสื้อเหลืองขับไล่รัฐบาล ( งานประท้วงขับไล่รัฐบาลคืออาชีพหลักของหมอตุลย์ อาชีพเสริมคือเป็นหมอรักษาคนไข้ )  หลังจากสีเหลืองเริ่มเรตติ้งตก สปอนเซอร์ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการเริ่มถอนตัว หมอตุลย์ก็เปลี่ยนมาใส่เสื้อสีชมพู  พอสีชมพูไม่ฮิตติดตลาด คราวนี้หมอตุลย์ เริ่มหมดมุข เลยบอกว่า เมริงมาเหอะ จะสีซาบาเฮ่อะไรก็ได้ ขอให้มาช่วยไล่รัฐบาลก็พอ นั่นจึงเป็นที่มาของเสื้อหลากสี  ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นคำว่า สลิ่ม ในที่สุด

สลิ่ม เป็นได้ทุกเพศทุกวัย แต่ถ้ามีเฟซบุ๊คเป็นของตัวเองจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ขอแค่กดแชร์ไลค์เก่งๆ คอยจับผิดคำพูด เสื้อผ้าหน้าผมของนายก คอยนั่งหาข่าวจากเมเนเซ่อ แนวเน่า เนชั่ว โพสท์ทูเด..รัจจ๋าน  คม ชัก เละ แล้วเอาข่าวหรือความเห็นจากคอลัมนิสต์ต่างๆของสื่อสวะพวกนี้มาโพสท์ แชร์ ไลค์  โดยไม่ต้องกลั่นกรองข้อมูลใดๆ แต่ต้องกดไลค์ให้มากที่สุด เร็วที่สุด  

เคยมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า สลิ่มเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเคยเป็นลูกค้าเก่าแก่ของร้านขนมหม้อแกงแม่กิมไล้ มาก่อน   (หมายเหตุ เวลาอ่าน ช่วยออกเสียงให้ถูกต้องด้วย แม่กิมไล้-เขอะ  ไม่ใช่แม่กิมไล้ )

สลิ่มมักจะกระดี๊ กระด๊า ดีอกดีใจเป็นพิเศษ เวลาได้เจอข่าวอะไรก็ได้ที่บอกว่า ประเทศชาติของตัวเองจะชริบหาย  เศรษฐกิจจะแย่ นักลงทุนจะย้ายฐานการผลิต  วู๊ดดี้เกิดมาคุยประกาศลดเครดิต ( แอบไม่เข้าใจเหมือนกันว่ามิงจะดีใจหาโพ่งเหรอ ประเทศก็ของตัวเองแท้ๆ)

สลิ่มส่วนใหญ่มารวมตัวกันโดยไม่ได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองใดๆ  ขอให้เกลียดทักษิณฟินพี่มาร์คก็พอ เค้าให้ใส่หน้ากากก็ใส่ เค้าให้รัฐบาลก็ไล่  แต่พอถามว่าไล่รัฐบาลไปแล้วไง เมริงจะทำไงต่อ  

สลิ่มบอกKuไม่รู้                                                                                                                                แสด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่