โดย สุธา ยิ้ม
เอาทักษิณกลับบ้าน
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้แถลงที่สนามทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุดรธานี อธิบายอย่างชัดเจนว่า สาเหตุสำคัญในการเสนอมพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ ก็เพื่อที่จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศไทย และยังแสดงการคาดหมายว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะได้กลับบ้านก่อนปีใหม่อย่างแน่นอน ประเด็นอยู่ที่ว่า การนำเอา พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศไทย คงไม่ใช่เรื่องที่ผิด และเป็นสิ่งที่สมควรด้วยซ้ำ แต่ต้องไม่แลกเปลี่ยนกับการนิรโทษให้กับกลุ่มฆาตกรที่สังหารประชาชน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกโค่นอำนาจโดยการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ในระหว่างที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการลี้ภัยครั้งแรก จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ พ.ต.ท.ทักษิณได้กลับมาประเทศไทย ในสมัยที่ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณก็ต้องลี้ภัยจากประเทศไทยอีกครั้งตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ปีเดียวกัน เพราะถูกศาลตัดสินคดี มาจนถึงขณะนี้ มีคดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ยังค้างอยู่ทั้งสิ้น ๙ คดี แต่เป็นคดีที่ศาลตัดสินแล้ว ๕ คดี นอกนั้นยังอยู่ในชั้นศาล
อย่างไรก็ตาม คงจะต้องอธิบายว่า คดีทั้งหมดนี้เป็นการดำเนินคดีที่มาจากกระบวนการอันไม่ชอบธรรม และเป็นผลพวงรัฐประหารทั้งสิ้น เพราะหลังจากการยึดอำนาจ คณะรัฐประหารได้ออกประกาศคณะ คปค. ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ให้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพื่อมุ่งที่จะสอบสวนความผิดในการดำเนินงานของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรี คณะกรรมชุดนี้มีระยะเวลาการทำงานจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ ปัญหาแรกสุด คือ ตัวบุคคลในคณะ คตส.ที่ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายรัฐประหาร ล้วนแต่มิได้เป็นคนที่ใจเป็นกลาง แต่เป็นพวกอคติและเป็นศัตรูของ พ.ต.ท.ทักษิณแทบทั้งสิ้น ความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณจึงถูกตั้งไว้ล่วงหน้า
ถึงกระนั้น คณะกรรมการชุดนี้กลับไม่ประสบความสำเร็จเลยในการพิสูจน์ให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่า มีการทุจริตคอรับชั่นอย่างมโหฬารในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะไม่สามารถที่จะหาหลักฐานความผิดที่เป็นจริงมาแสดงต่อสาธารณชน นอกจากนี้ การดำเนินคดีที่เกิดขึ้นก็ขัดหลักการยุติธรรมที่ควรจะเป็น กล่าวคือ การดำเนินคดีโดยทั่วไปจะถือหลักการแยกผู้สอบสวนกับผู้พิจารณาสั่งฟ้อง เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ต้องหา ดังนั้นในคดีทั่วไป ตำรวจเป็นผู้สอบสวน แต่จะไม่มีอำนาจในการยื่นฟ้อง ต้องเสนอให้อัยการเป็นผู้พิจารณาฟ้อง แต่ในกรณีนี้ คตส.เป็นผู้สอบสวนและยื่นฟ้องต่อศาลเองเสีย ๔ คดี และยื่นต่ออัยการสูงสุดให้พิจารณาฟ้อง ๗ คดี แต่ศาลไทยก็ยังอุตส่าห์รับฟ้องทุกคดี
คดีสำคัญที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกศาลตัดสินลงโทษจนต้องหนีไปต่างประเทศนั้นคือ คดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยที่ ๑ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตรเป็นจำเลยที่ ๒ ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยคดีนี้เริ่มจาก เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ คุณหญิงพจมานได้ทำการประมูลซื้อที่ดินริมถนนเทียมร่วมมิตร ย่านถนนรัชดาภิเษก ใกล้กับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เนื้อที่ประมาณ ๓๓ ไร่ ด้วยราคา ๗๗๒ ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร่วมลงนามยินยอมในฐานะคู่สมรส ปรากฏว่าศาลตัดสินว่า การซื้อที่ดินนั้นถือเป็นถือโมฆะให้คุณหญิงพจมานคืนที่ดิน และให้กองทุนคืนเงินแก่คุณหญิงพจมานพร้อมดอกเบี้ย แต่ พ.ต.ท.ทักษิณแต่เพียงผู้เดียวที่ศาลพิพากษาว่ามีความผิดต้องโทษจำคุก ๒ ปี คำตัดสินของศาลในกรณีนี้จึงไม่อาจหาเหตุผลรองรับได้ และเรื่องนี้ก็ไม่สามารถเป็นข้อพิสูจน์ถึงการทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ต่อมา ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เริ่มอ่านคำพิพากษาในคดีที่อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องขอให้ยึดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณใช้อำนาจหน้าที่ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของตน อันมีผลทำให้มูลค่าหุ้นของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น สูงขึ้น จึงให้ยึดเงินค่าขายหุ้นส่วนที่เพิ่มขึ้นและเงินปันผลรวม ๔.๖ หมื่นล้านให้ตกเป็นของแผ่นดิน ปัญหาของคดีนี้คือ ศาลไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นได้เลยว่า พ.ต.ท.ทักษิณใช้อำนาจหน้าที่ผิดอย่างไร ก็ในเมื่อสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ หุ้นก็ขึ้นทั่วทั้งตลาด
สำหรับ คดีเลี่ยงภาษีการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น มูลค่า ๓๗๘ ล้านบาท ซึ่ง คตส.ได้มอบหมายให้อัยการส่งฟ้อง คุณหญิงพจมาน นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ และนางกาญจนาภา หงส์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน โดยศาลอาญาได้พิพากษาให้จำคุกคุณหญิงพจมานและนายบรรณพจน์ คนละ ๓ ปี ส่วนนางกาญจนาภา ๒ ปี ปัญหาของคดีนี้ก็คือ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๐ ก่อน พ.ต.ท.ทักษิณตั้งพรรคเพื่อไทยด้วยซ้ำ จึงไม่อาจโยงกับการทุจริตอันใดได้เลย ยิ่งกว่านั้น ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องคดีนี้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔ และอัยการสูงสุดไม่ฏีกา
ส่วนคดีทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา ๙๐ ล้านต้น ที่มีการยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ กับพวก รวม ๔๔ คน ศาลฎีกาให้ยกฟ้องจำเลยเนื่องจากพบว่าไม่ได้กระทำความผิด
คดีทุจริตโครงการออกสลากเลขท้ายพิเศษ ๒ ตัว ๓ ตัว หรือเรียกกันว่า หวยบนดิน ซึ่ง คตส.ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งคณะและผู้บริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ศาลฎีกาฯตัดสินให้จำคุกนายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ๒ ปี นายสมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลังและประธานคณะบอร์ดกองสลาก ๒ ปี และ นายชัยวัฒน์ พสกภักดี อดีต ผอ.กองสลาก ๒ ปี แต่เนื่องจากจำเลยทั้งสามไม่เคยทำผิดมาก่อน ให้รอลงอาญา สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้เดินทางมารับฟังคำพิพากษา จึงมีการออกหมายจับ ปัญหาของคดีนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน ก็คือไม่อาจจะอธิบายการทุจริตของคณะรัฐบาลได้เลย เพราะการออกหวยบนดินทำให้รัฐได้เงินเพิ่ม การลงโทษของศาลต่อจำเลย ๓ คนเป็นเพียงความผิดทางข้อกฎหมายเท่านั้น
ส่วนคดีอื่นที่ศาลออกหมายจับ พ.ต.ท.ไว้ ก็เช่น ๑. คดีแจ้งทรัพย์สินเป็นเท็จเพราะไม่ได้แจ้งการครอบครองหุ้นชินคอร์ปฯ ๖ ครั้ง ๒.คดีปล่อยเงินกู้รัฐบาลพม่า ๔,๐๐๐ ล้าน ๓. คดีทุจริตออกพระราชกำหนดแปลงค่าภาษีสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิตเพื่อเอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปฯ ๔. คดีทุจริตธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้บริษัทกฤษดามหานครทั้งหมดล้วนเป็นคดีที่หลักฐานอ่อน และไม่สามารถพิสูจน์การทุจริตหรือฉ้อโกงประเทศชาติของ พ.ต.ท.ทักษิณได้เลยแม้แต่คดีเดียว
จากตัวอย่างคดีเหล่านี้ จึงสรุปได้ว่า คดีทั้งหลายที่สอบสวนและดำเนินการโดย คตส.จึงเป็นเรื่องเหลวไหล และถือได้ว่าเป็นเรื่องใช้อำนาจศาลมากลั่นแกล้งทางการเมืองต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เมื่อเป็นเช่นนี้ การนำ พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้านด้วยวิถีทางอันเหมาะสม รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรที่จะใช้การออกพระราชกำหนดล้มล้างผลพวงคณะรัฐประหาร โดยถือว่า คำสั่งคณะรัฐประหารทั้งหมดเป็นโมฆะ และปราศจากผล แล้วนำคดีทั้งหลายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาพิจารณาใหม่ ในกฎหมายปกติ ภายใต้กระบวนการอันโปร่งใส
เมื่อเป็นเช่นนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็จะกลับบ้านได้อย่างภาคภูมิ และไม่ต้องไปนิรโทษกรรมฆาตกร
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
จากโลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ ๔๑๓ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖
เอาทักษินกลับบ้าน โดยสุธา ยิ้ม
เอาทักษิณกลับบ้าน
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้แถลงที่สนามทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุดรธานี อธิบายอย่างชัดเจนว่า สาเหตุสำคัญในการเสนอมพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ ก็เพื่อที่จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศไทย และยังแสดงการคาดหมายว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะได้กลับบ้านก่อนปีใหม่อย่างแน่นอน ประเด็นอยู่ที่ว่า การนำเอา พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศไทย คงไม่ใช่เรื่องที่ผิด และเป็นสิ่งที่สมควรด้วยซ้ำ แต่ต้องไม่แลกเปลี่ยนกับการนิรโทษให้กับกลุ่มฆาตกรที่สังหารประชาชน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกโค่นอำนาจโดยการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ในระหว่างที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการลี้ภัยครั้งแรก จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ พ.ต.ท.ทักษิณได้กลับมาประเทศไทย ในสมัยที่ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณก็ต้องลี้ภัยจากประเทศไทยอีกครั้งตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ปีเดียวกัน เพราะถูกศาลตัดสินคดี มาจนถึงขณะนี้ มีคดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ยังค้างอยู่ทั้งสิ้น ๙ คดี แต่เป็นคดีที่ศาลตัดสินแล้ว ๕ คดี นอกนั้นยังอยู่ในชั้นศาล
อย่างไรก็ตาม คงจะต้องอธิบายว่า คดีทั้งหมดนี้เป็นการดำเนินคดีที่มาจากกระบวนการอันไม่ชอบธรรม และเป็นผลพวงรัฐประหารทั้งสิ้น เพราะหลังจากการยึดอำนาจ คณะรัฐประหารได้ออกประกาศคณะ คปค. ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ให้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพื่อมุ่งที่จะสอบสวนความผิดในการดำเนินงานของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรี คณะกรรมชุดนี้มีระยะเวลาการทำงานจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ ปัญหาแรกสุด คือ ตัวบุคคลในคณะ คตส.ที่ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายรัฐประหาร ล้วนแต่มิได้เป็นคนที่ใจเป็นกลาง แต่เป็นพวกอคติและเป็นศัตรูของ พ.ต.ท.ทักษิณแทบทั้งสิ้น ความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณจึงถูกตั้งไว้ล่วงหน้า
ถึงกระนั้น คณะกรรมการชุดนี้กลับไม่ประสบความสำเร็จเลยในการพิสูจน์ให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่า มีการทุจริตคอรับชั่นอย่างมโหฬารในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะไม่สามารถที่จะหาหลักฐานความผิดที่เป็นจริงมาแสดงต่อสาธารณชน นอกจากนี้ การดำเนินคดีที่เกิดขึ้นก็ขัดหลักการยุติธรรมที่ควรจะเป็น กล่าวคือ การดำเนินคดีโดยทั่วไปจะถือหลักการแยกผู้สอบสวนกับผู้พิจารณาสั่งฟ้อง เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ต้องหา ดังนั้นในคดีทั่วไป ตำรวจเป็นผู้สอบสวน แต่จะไม่มีอำนาจในการยื่นฟ้อง ต้องเสนอให้อัยการเป็นผู้พิจารณาฟ้อง แต่ในกรณีนี้ คตส.เป็นผู้สอบสวนและยื่นฟ้องต่อศาลเองเสีย ๔ คดี และยื่นต่ออัยการสูงสุดให้พิจารณาฟ้อง ๗ คดี แต่ศาลไทยก็ยังอุตส่าห์รับฟ้องทุกคดี
คดีสำคัญที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกศาลตัดสินลงโทษจนต้องหนีไปต่างประเทศนั้นคือ คดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยที่ ๑ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตรเป็นจำเลยที่ ๒ ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยคดีนี้เริ่มจาก เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ คุณหญิงพจมานได้ทำการประมูลซื้อที่ดินริมถนนเทียมร่วมมิตร ย่านถนนรัชดาภิเษก ใกล้กับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เนื้อที่ประมาณ ๓๓ ไร่ ด้วยราคา ๗๗๒ ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร่วมลงนามยินยอมในฐานะคู่สมรส ปรากฏว่าศาลตัดสินว่า การซื้อที่ดินนั้นถือเป็นถือโมฆะให้คุณหญิงพจมานคืนที่ดิน และให้กองทุนคืนเงินแก่คุณหญิงพจมานพร้อมดอกเบี้ย แต่ พ.ต.ท.ทักษิณแต่เพียงผู้เดียวที่ศาลพิพากษาว่ามีความผิดต้องโทษจำคุก ๒ ปี คำตัดสินของศาลในกรณีนี้จึงไม่อาจหาเหตุผลรองรับได้ และเรื่องนี้ก็ไม่สามารถเป็นข้อพิสูจน์ถึงการทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ต่อมา ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เริ่มอ่านคำพิพากษาในคดีที่อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องขอให้ยึดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณใช้อำนาจหน้าที่ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของตน อันมีผลทำให้มูลค่าหุ้นของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น สูงขึ้น จึงให้ยึดเงินค่าขายหุ้นส่วนที่เพิ่มขึ้นและเงินปันผลรวม ๔.๖ หมื่นล้านให้ตกเป็นของแผ่นดิน ปัญหาของคดีนี้คือ ศาลไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นได้เลยว่า พ.ต.ท.ทักษิณใช้อำนาจหน้าที่ผิดอย่างไร ก็ในเมื่อสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ หุ้นก็ขึ้นทั่วทั้งตลาด
สำหรับ คดีเลี่ยงภาษีการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น มูลค่า ๓๗๘ ล้านบาท ซึ่ง คตส.ได้มอบหมายให้อัยการส่งฟ้อง คุณหญิงพจมาน นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ และนางกาญจนาภา หงส์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน โดยศาลอาญาได้พิพากษาให้จำคุกคุณหญิงพจมานและนายบรรณพจน์ คนละ ๓ ปี ส่วนนางกาญจนาภา ๒ ปี ปัญหาของคดีนี้ก็คือ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๐ ก่อน พ.ต.ท.ทักษิณตั้งพรรคเพื่อไทยด้วยซ้ำ จึงไม่อาจโยงกับการทุจริตอันใดได้เลย ยิ่งกว่านั้น ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องคดีนี้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔ และอัยการสูงสุดไม่ฏีกา
ส่วนคดีทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา ๙๐ ล้านต้น ที่มีการยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ กับพวก รวม ๔๔ คน ศาลฎีกาให้ยกฟ้องจำเลยเนื่องจากพบว่าไม่ได้กระทำความผิด
คดีทุจริตโครงการออกสลากเลขท้ายพิเศษ ๒ ตัว ๓ ตัว หรือเรียกกันว่า หวยบนดิน ซึ่ง คตส.ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งคณะและผู้บริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ศาลฎีกาฯตัดสินให้จำคุกนายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ๒ ปี นายสมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลังและประธานคณะบอร์ดกองสลาก ๒ ปี และ นายชัยวัฒน์ พสกภักดี อดีต ผอ.กองสลาก ๒ ปี แต่เนื่องจากจำเลยทั้งสามไม่เคยทำผิดมาก่อน ให้รอลงอาญา สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้เดินทางมารับฟังคำพิพากษา จึงมีการออกหมายจับ ปัญหาของคดีนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน ก็คือไม่อาจจะอธิบายการทุจริตของคณะรัฐบาลได้เลย เพราะการออกหวยบนดินทำให้รัฐได้เงินเพิ่ม การลงโทษของศาลต่อจำเลย ๓ คนเป็นเพียงความผิดทางข้อกฎหมายเท่านั้น
ส่วนคดีอื่นที่ศาลออกหมายจับ พ.ต.ท.ไว้ ก็เช่น ๑. คดีแจ้งทรัพย์สินเป็นเท็จเพราะไม่ได้แจ้งการครอบครองหุ้นชินคอร์ปฯ ๖ ครั้ง ๒.คดีปล่อยเงินกู้รัฐบาลพม่า ๔,๐๐๐ ล้าน ๓. คดีทุจริตออกพระราชกำหนดแปลงค่าภาษีสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิตเพื่อเอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปฯ ๔. คดีทุจริตธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้บริษัทกฤษดามหานครทั้งหมดล้วนเป็นคดีที่หลักฐานอ่อน และไม่สามารถพิสูจน์การทุจริตหรือฉ้อโกงประเทศชาติของ พ.ต.ท.ทักษิณได้เลยแม้แต่คดีเดียว
จากตัวอย่างคดีเหล่านี้ จึงสรุปได้ว่า คดีทั้งหลายที่สอบสวนและดำเนินการโดย คตส.จึงเป็นเรื่องเหลวไหล และถือได้ว่าเป็นเรื่องใช้อำนาจศาลมากลั่นแกล้งทางการเมืองต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เมื่อเป็นเช่นนี้ การนำ พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้านด้วยวิถีทางอันเหมาะสม รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรที่จะใช้การออกพระราชกำหนดล้มล้างผลพวงคณะรัฐประหาร โดยถือว่า คำสั่งคณะรัฐประหารทั้งหมดเป็นโมฆะ และปราศจากผล แล้วนำคดีทั้งหลายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาพิจารณาใหม่ ในกฎหมายปกติ ภายใต้กระบวนการอันโปร่งใส
เมื่อเป็นเช่นนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็จะกลับบ้านได้อย่างภาคภูมิ และไม่ต้องไปนิรโทษกรรมฆาตกร
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
จากโลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ ๔๑๓ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖