วันในอดีต "นช.แม้ว" โกงจริง! ศาลฎีกานักการเมืองพิพากษายึดเงิน 4.6 หมื่นล้านของทักษิณ พจมาน ตกเป็นของแผ่นดิน

"นช.แม้ว" โกงจริง! ศาลฎีกานักการเมืองพิพากษายึดเงิน 4.6 หมื่นล้านของ "ทักษิณ - พจมาน" ตกเป็นของแผ่นดิน หลักฐานชัดนอมินีก่อนขายให้กลุ่มทุนเทมาเส็ก ชี้แอมเพิลริชของทักษิณ ใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ธุรกิจเครือชินฯ จนร่ำรวยผิดปกติ

วันที่ 26 ก.พ.2553 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาเจ้าของสำนวนยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมองค์คณะ รวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่อม.4/2551 ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ เนื่องจากขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจออกนโยบายที่เอื้อประโยชน์ธุรกิจของครอบครัวและการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมและทรัพย์สินของคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภริยาและครอบครัวรวมทั้งนิติบุคคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินรวม 22 ราย ผู้คัดค้านคดีนี้ จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 มาตรา 80

อ่านฉบับเต็ม : https://fad-lll.blogspot.com/2022/01/26.html
#สกุลชิน #ฟาดสามกีบ 




วันที่ 26 ก.พ.2553
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาเจ้าของสำนวนยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมองค์คณะ รวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่อม.4/2551 ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ เนื่องจากขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจออกนโยบายที่เอื้อประโยชน์ธุรกิจของครอบครัวและการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมและทรัพย์สินของคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภริยาและครอบครัวรวมทั้งนิติบุคคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินรวม 22 ราย ผู้คัดค้านคดีนี้ จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 มาตรา 80

**มติเอกฉันท์ศาลมีอำนาจพิพากษา**
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ขณะเป็นนายกฯ ร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากหรือได้มาโดยไม่สมควรสืบเนื่องจากตำแหน่งหน้าที่ ขอให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน เป็นการดำเนินการตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบความเสียหายที่ก่อให้เกิดแก่รัฐ (คตส.) และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลฎีกาฯ หาใช่เป็นการฟ้องละเมิดที่จะต้องมีการออกคำสั่งทางปกครองที่จะอยู่ในอำนาจของศาลปกครองตัดสิน ทั้งไม่ใช่เป็นการร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง องค์คณะจึงมีมติด้วยเสียงเอกฉันท์ว่า ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

ปัญหาว่า คตส.ผู้ร้องมีอำนาจร้องคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า คปค.ฉบับที่ 30 เป็นประกาศที่ให้อำนาจ คตส.ตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ การตรวจสอบไต่สวนในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินการภายในขอบเขตหน้าที่ พ.ต.ท.ทักษิณและผู้คัดค้านอ้างว่า คตส.สอบสวนล่วงเลยเวลา 2 ปี จึงเป็นการสอบสวนไม่ชอบนั้น เห็นว่า คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 11 วรรคหนึ่งได้กำหนดกรอบการตรวจสอบภายใน 1 ปี โดยเมื่อพ้นระยะเวลาให้ ปปช.ทำการสอบสวนต่อไปตามหน้าที่ กรณีจึงถือได้ว่า คตส.ได้ตรวจสอบภายในกรอบเวลาที่กฎหมายบัญญัติ และคณะอนุกรรมการไต่สวนพิสูจน์ทรัพย์สินได้ให้โอกาส พ.ต.ท.ทักษิณกับผู้คัคค้านต่อสู้คัดค้านโดยชอบแล้ว การคัดค้านตัว คตส. ประกอบด้วยนายกล้านรงค์ จันทิก นายบรรเจิด สิงคะเนติ และนายแก้วสรร อติโพธิ แสดงความคิดเห็นในเวทีการเมืองก็เป็นความเห็นทางวิชาการ และไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับ พ.ต.ท.ทักษิณ คตส.ที่ถูกคัดค้านเหล่านี้จึงไม่มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะเป็นปรปักษ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ

**ข้ออ้าง"ทักษิณ - พจมาน"ไม่น่ารับฟัง**
นอกจากนี้ที่อ้างว่ามีการจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามค่าหุ้นที่ซื้อขายกันไปแล้วตั้งแต่ปี 2542 แต่เนื่องจากทำตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับดังกล่าวหาย และเมื่อคุณหญิงพจมาน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคุณหญิงจึงออกตั๋วสัญญาใหม่โดยใช้คำนำหน้านามว่าคุณหญิง ศาลเห็นว่าเป็นข้ออ้างที่กลับทำให้มีพิรุธ เพราะตั๋วสัญญาใช้เงินในการโอนขายหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ที่ผ่านมามีหลายฉบับแต่กลับหายเฉพาะฉบับนี้ จึงเป็นข้ออ้างที่ไม่น่ารับฟัง

ส่วนการซื้อหุ้นชินคอร์ปของนายพานทองแท้ น.ส.พินทองทา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ใช้วิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินและไม่ชำระค่าหุ้นครบตามจำนวน และคุณหญิงพจมานก็ไม่เคยเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินกระทั่งชินคอร์ปมีการจ่ายเงินปันผลจึงนำเงินมาชำระค่าหุ้น โดยเฉพาะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ซึ่งอ้างว่าได้รับเงินปันผล 6 งวด 97 ล้านบาทหลังนำเงินส่วนหนึ่งไปชำระค่าหุ้นแต่ไม่มีหลักฐานว่าเงินที่เหลือนำไปทำอะไร ทั้งที่เป็นเงินจำนวนมาก

**แอมเพิลริช ของ ดร.ที ชินวัตร**
ส่วนหุ้นชินคอร์ปในแอมเพิลริช รับฟังได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ก่อตั้งเมื่อปี 2542 โดยโอนหุ้นชินคอร์ปให้แอมเพิลริช จำนวน 32 ล้านหุ้นราคาพาร์ 10 บาท ต่อมาปี 2543โอนหุ้นแอมเพิลริชให้นายพานทองแท้ แต่ปรากฏหลักฐานคำเบิกความของนางกาญจนาภา หงส์เหิน เลขานุการคุณหญิงพจมาน ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการแอมเพิลริชว่าหลังก่อตั้งแอมเพิลริชไม่ได้ดำเนินการกิจการอะไร แต่เบิกความรับว่าบัญชีเงินของแอมเพิลริช ที่เปิดกับธนาคารยูบีเอสเอจี สิงคโปร์ มียอดเงินโอนเข้าแต่ไม่รู้ว่าเป็นเงินของใคร แต่ผู้มีอำนาจเบิกจ่ายคือ ดร.ที ชินวัตร ต่อมาในปี 2546 – 2548 แอมเพิลริชได้เงินปันผลจากชินคอร์ปรวม 5 ครั้งเป็นเงิน 1 พันล้านบาทและ ดร.ที ชินวัตร คือผู้เบิกจ่ายเพียงคนเดียว ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างว่าโอนหุ้นแอมเพิลริชซึ่งเป็นผู้ถือครองหุ้นชินคอร์ปให้นายพานทองแท้ แล้วในปี 2543 แต่ผู้มีอำนาจเบิกจ่ายเงินในบัญชีแอมเพิลริชยังเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงผู้เดียวในช่วงหลังจากอ้างว่ามีการโอนหุ้นให้นายพานทองแท้ ในปี 2543 แล้วถึง 4 ปีต่อมา อีกทั้งการโอนหุ้นแอมเพิลริชซึ่งถือครองหุ้นชินคอร์ปถึง 32 ล้านหุ้นให้นายพานทองแท้ โดยคิดราคาเพียง 1 เหรียญสหรัฐอเมริกาก็เป็นข้ออ้างที่ไม่เหตุผลให้รับฟังได้

ประเด็นข้อต่อสู้ว่า นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา เป็นเจ้าของแอมเพิลริช จึงถูกกรมสรรพากรเรียกให้เสียภาษี ดังนั้นจึงเห็นว่าแอมเพิลริชจึงไม่ใช่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เห็นว่า การที่กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีก็เป็นไปตามประมวลรัษฏากรมาตรา 61 เกี่ยวกับผู้มีรายได้ เมื่อบุคคลมีชื่อในหนังสือสำคัญถือได้ว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ดังนั้นการเรียกเก็บภาษีจากหุ้นดังกล่าวก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ข้อคัดค้านนี้จึงฟังไม่ขึ้น

**มติเอกฉันท์"แม้ว - อ้อ"เจ้าของหุ้นชิน**
ประเด็นวินมาร์ค ซึ่งถือครองหุ้นเอสซี แอสเสท และบริษัทอสังหาริมทรัพย์อีก 5 บริษัทรับฟังผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และกรมสอบสวนคดีพิเศษว่าเป็นการอำพรางหุ้น องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ยังคงเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปที่ขายให้กองทุนเทมาเส็ก 1,419 ล้านหุ้นเศษตามคำร้องของอัยการสูงสุดในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 วาระ

**เอื้อประโยชน์ให้เอไอเอสธุรกิจเครือชิน**
ประเด็นเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งโดยมิชอบเอื้อประโยชน์ชินคอร์ปหรือไม่ ได้ความจากนายสมเกียรติ ตั้งวานิช ผอ.ทีดีอาร์ไอ เบิกความนำเสนอความเห็นว่าจากผลการทำวิจัยว่าการแปรหรือไม่แปรสัญญาณสัมปทาน จะต้องได้รับความสมัครใจจากทั้งสองฝ่าย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ แต่ต้องไม่ให้เอกชนได้รับผลประโยชน์มากกว่าสัญญาเดิม ที่ครม.มีมติออกพ.ร.ก. 2 ฉบับ ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องำหนดภาษีสรรพสามิตร และครม.มีมติให้นำภาษีหักค่าสัมปทานได้นั้น ขัดกับหลักการและเหตุผลที่ครม.ดำเนินการออกพ.ร.ก.ภาษีในครั้งนี้ที่มุ่ประสงค์หารายได้เข้ารัฐแต่กลับยอมให้เอกชนนำค่าภาษีไปหักค่าสัมปทานอีกทั้งกิจการโทรคมนาคมเป็นประโยชน์กับประเทศรัฐควรส่งเสริมไม่ควรเรียกเก็บภาษีเพราะไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยและเป็นการผลักภาระให้ประชาชนการที่มติครม.ให้นำเอาภาษีสัมพสามิตรไปหักค่าสัมปทานทำให้ ทศท.ไม่ได้ประโยชน์อะไร ดังนั้นเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหา เป็นการทำให้รัฐเสียหายเอื้อประโยชน์ให้กับชินคอร์ปโดยได้ความจากพยานผู้ร้องว่า การออกนโยบายดังกล่าวทำให้รัฐสูญเสียรายได้ 6 หมื่นล้านบาทเศษ จึงมีมติเสียงข้างมากว่า พ.ต.ท.ทักษิณใช้อำนาจในตำแหน่งเอื้อประโยชน์ทำให้รัฐเสียหาย

ประเด็นการแก้ไขสัญญาอัตราจัดเก็บภาษีมือถือระบบเติมเงินหรือพรีเพด ได้ความว่า นอกจากเอสไอเอสแล้วยังมีดีแทคได้รับสัญญาสัมปทานเป็นเวลา 27 ปี แต่แทคต้องจ่ายค่าเชื่อมโยงสัญญาณจาก ทศท. 200 บาทต่อหนึ่งเลขหมายต่อมามีระบบพรีเพด ทศท.ปรับลดอัตราภาษีให้กับ
แทคเนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องค่าเชื่อมโยงเป็นเหตุให้เอไอเอสขอลดบ้างโดยอ้างว่า สัญญาที่เอไอเอสทำกับ ทศท.แตกต่างกับแทคโดยจะเห็นได้ว่าเอไอเอส ได้ให้บริการพรีเพดตั้งแต่ปี 2541 โดยอ้างว่าเป็นโปรโมชั่นให้ผู้ใช้บริการ จึงเป็นภาระเอไอเอสที่จะต้องลงทุนปรับระบบซึ่งเชื่อว่าเอไอเอสมีกำไรจากระบบพรีเพดเพราะเมื่อครบสัญญาก็ยังขอขยายเวลาอีก 3 ปีถ้าไม่กำไรคงไม่ขอต่อ ดังนั้นการแก้ไขสัญญากับ ทศท.จึงเป็นการผิดหลักเกณฑ์ เอไอเอสได้ประโยชน์จากระบบพรีเพดจากเดิมมีเพียง 2.7 แสนคนเป็น 17 ล้านคนมีรายได้กว่า 5.8 หมื่นล้านบาทเสียงข้างมากจึงมีมติเห็นว่า เป็นการใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ให้เอไอเอสธุรกิจเครือชินคอร์ป

***ได้รับประโยชน์แก้ไขสัญญา**
ประเด็นการแก้ไขสัญญาเชื่อมต่อสัญญาณ หรือโรมมิ่ง ได้ความว่า ชินคอร์ปถือหุ้นในเอไอเอสถึง 42.90% เมื่อปี 2533 เอไอเอสได้รับสัญญาสัมปทานโทรศัพท์ 20 ปีต่อมาปี 2539 ขยายเวลาเป็น 25 ปีและต้องการขยายลูกค้าโดยไม่ลงทุนสร้างเครือข่ายเพิ่มแต่กลับใช้บริการของดีพีซี ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการด้านโครงข่ายที่เอไอเอสถือหุ้นแล้วมาขอแก้ไขสัญญาโรมมิ่ง โดยอ้างว่า ทศท.ไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ให้เพียงพอรองรับลูกค้าได้ ซึ่ง ทศท.ควรรับผิดชอบเห็นว่า ข้ออ้างดังกล่าวเป็นข้ออ้างของเอไอเอสที่ไม่ลงทุนทางธุรกิจในการขยายโครงข่ายเพราะเรื่องคลื่นความถี่เอไอเอสสามารถคาดการได้อยู่แล้วในช่วงการทำสัญญากับ ทศท.ว่าจะมีขีดความสามารถให้บริการได้เท่าไร เมื่อ ทศท.จัดสรรคลื่นให้เอไอเอสจนเต็มความสามารถแล้วจึงไม่อยู่ในข่ายที่ ทศท.ต้องรับผิดชอบ การที่เอไอเอสเลือกขยายเครือข่ายโดยใช้บริการดีพีซีของเอไอเอสแทนที่จะก่อสร้างเครือข่ายเพิ่มจึงไม่อาจนำมาอ้างได้ เสียงข้างมากจึงมีมติเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับประโยชน์จากการแก้ไขสัญญา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่