ณ ที่นี้ ธานี กุสินรา....
วันอัฏฐมีบูชา หรือ วันอัฏฐมี คือ วันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า
หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 8 วัน โดยมีการทำพิธี ณ มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา
แคว้นมัลละ ประเทศอินเดีย
ซึ่งเมื่อครั้งโบราณกาล วันอัฏฐมีบูชา นับเป็นวันที่ชาวพุทธมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากต้องสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุด
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละ ในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6
พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ จัดพิธีบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ ประโคมเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ในเมือง
กุสินาราตลอด 7 วัน
และให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก
ของพระนคร เพื่อถวายพระเพลิง
พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ ทั้งที่ได้ทำตาม
คำของพระอานนท์เถระ ที่ให้ห่อพระสรีระพระพุทธเจ้าด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก
ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์
และของหอมทุกชนิด ไม่สามารถจุดไฟ ถวายพระเพลิงพระสรีระได้
พระอนุรุทธะมหาเถระเจ้า จึงแจ้งว่า
" เพราะเทวดา มีความประสงค์ ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน
ไฟก็จะลุกไหม้"
พระมหากัสปะ พาหมู่ภิกษุรีบเดินทางไป ยังมกุฏพันธนเจดีย์ ใกล้เมืองกุสินารา เข้าไปยังพระเชิงตะกอน ถวายนมัสการกระทำประทักษิณ
พระเชิงตะกอน 3 รอบ เสร็จแล้วเข้าไปยืนทางเบื้องพระบาทพระบรมศพ แล้วถวายอภิวาทกราบทูลว่า
"ข้าแต่พระบรมครู ข้าพระพุทธเจ้าชื่อมหากัสสป เป็นสาวกของพระองค์ พระองค์ทรงตั้งข้าพระพุทธเจ้าไว้ในที่อันเลิศฝ่ายธุดงคปฏิบัติ
ข้าพระพุทธองค์มีความเคารพต่อพระองค์อย่างที่สุดแล้ว ด้วยคำสัตย์ของข้าพระองค์นี้ ขอให้พระบาทยุคลจงเหยียดยื่นออกมาจาก
พระหีบทองรับหัตถ์ทั้งสองของข้าพระองค์ผู้ชื่อกัสสป อันประนมน้อมนบอภิวาทอยู่ในบัดนี้"
ทันใดนั้นพระบาททั้งคู่ได้ชำแรกผ้า 2 ชั้นซึ่งหุ้มห่อพระวรกายอยู่ถึง 500 ชั้น ออกมาปรากฏ ณ ภายนอก พระมหากัสสป เหยียดหัตถ์
ทั้งสองออกรับพระพุทธบาท แล้วกราบทูลว่า
"ข้าแต่พระบรมครู ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าดำรงอยู่ในอริยภูมิ ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ทำความผิดแม้แต่น้อยหนึ่ง ในพระบรมศาสดา
ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ล่วงพระพุทธโอวาท ปฏิบัติตามธรรมของพระองค์ตลอดมา
อนึ่ง พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาแก่ข้าพระบาทเป็นอย่างมาก แต่ข้าพระบาทมิได้อยู่ปฏิบัติพระองค์ ขอพระองค์จงทรง
พระมหากรุณาโปรดอภัยแก่ข้าพระพุทธเจ้าในบัดนี้เถิด"
เมื่อพระมหากัสสปกล่าวเสร็จแล้วถวายนมัสการพระบาทยุคล ทันใดนั้นพระบาททั้งสองก็กลับคืนเข้าสู่พระหีบทองดังเดิม
พระเพลิงก็บันดาลติดพวยพุ่งขึ้นบนเชิงตะกอน ณ บัดนั้น โดยไม่ต้องมีใครจุด
สิ่งที่เหลือหลังจากไฟมอดลง คือเหลือผ้า ๑ คู่ ที่ใช้หุ้มห่อพระบรมศพชั้นในสุดและชั้นนอกสุด กับพระเขี้ยวแก้ว ๔ พระรากขวัญ ๒
สิ่งทั้ง ๗ นี้ ยังคงอยู่ปกติมิได้มอดไหม้ไป ส่วนพระบรมสารีริกธาตุ ที่เหลือแตกกระจายออกเป็น ๓ ขนาด คือขนาดใหญ่ประมาณ
เท่าเมล็ดถัวแตก ขนาดกลางประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก และขนาดเล็กประมาณเท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด และหลังจากนั้น ได้มีการ
แบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปตามที่ ปรากฏในคัมภีร์และเอกสารต่างๆ
ปัจจุบันการประกอบพิธี วันอัฏฐมีบูชา ในประเทศไทย "มีเพียงบางวัดเท่านั้น" ที่จะที่จัดให้มีการทำพิธีบำเพ็ญกุศล
ในวันอัฐมีบูชา ซึ่งปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2556
การบำเพ็ญกุศลในวัน อัฏฐมีบูชา จะปฏิบัติอย่างเดียวกันกับการประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันอื่นๆ
มีการให้ตักบาตรทำบุญบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และมีการเวียนเทียนในตอนค่ำ
ที่มา ข้อมูลจาก เว็บธรรมจักร
เพลงอัฐมีบูชา จาก Youtube :NONGORN23
~o~o~O รสก O~o~o~ ......_ _ _ อัฐมีบูชา _ _ _ ...... ~o~o~O รสก O~o~o~
วันอัฏฐมีบูชา หรือ วันอัฏฐมี คือ วันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า
หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 8 วัน โดยมีการทำพิธี ณ มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา
แคว้นมัลละ ประเทศอินเดีย
ซึ่งเมื่อครั้งโบราณกาล วันอัฏฐมีบูชา นับเป็นวันที่ชาวพุทธมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากต้องสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุด
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละ ในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6
พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ จัดพิธีบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ ประโคมเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ในเมือง
กุสินาราตลอด 7 วัน
และให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก
ของพระนคร เพื่อถวายพระเพลิง
พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ ทั้งที่ได้ทำตาม
คำของพระอานนท์เถระ ที่ให้ห่อพระสรีระพระพุทธเจ้าด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก
ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์
และของหอมทุกชนิด ไม่สามารถจุดไฟ ถวายพระเพลิงพระสรีระได้
พระอนุรุทธะมหาเถระเจ้า จึงแจ้งว่า
" เพราะเทวดา มีความประสงค์ ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน
ไฟก็จะลุกไหม้"
พระมหากัสปะ พาหมู่ภิกษุรีบเดินทางไป ยังมกุฏพันธนเจดีย์ ใกล้เมืองกุสินารา เข้าไปยังพระเชิงตะกอน ถวายนมัสการกระทำประทักษิณ
พระเชิงตะกอน 3 รอบ เสร็จแล้วเข้าไปยืนทางเบื้องพระบาทพระบรมศพ แล้วถวายอภิวาทกราบทูลว่า
"ข้าแต่พระบรมครู ข้าพระพุทธเจ้าชื่อมหากัสสป เป็นสาวกของพระองค์ พระองค์ทรงตั้งข้าพระพุทธเจ้าไว้ในที่อันเลิศฝ่ายธุดงคปฏิบัติ
ข้าพระพุทธองค์มีความเคารพต่อพระองค์อย่างที่สุดแล้ว ด้วยคำสัตย์ของข้าพระองค์นี้ ขอให้พระบาทยุคลจงเหยียดยื่นออกมาจาก
พระหีบทองรับหัตถ์ทั้งสองของข้าพระองค์ผู้ชื่อกัสสป อันประนมน้อมนบอภิวาทอยู่ในบัดนี้"
ทันใดนั้นพระบาททั้งคู่ได้ชำแรกผ้า 2 ชั้นซึ่งหุ้มห่อพระวรกายอยู่ถึง 500 ชั้น ออกมาปรากฏ ณ ภายนอก พระมหากัสสป เหยียดหัตถ์
ทั้งสองออกรับพระพุทธบาท แล้วกราบทูลว่า
"ข้าแต่พระบรมครู ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าดำรงอยู่ในอริยภูมิ ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ทำความผิดแม้แต่น้อยหนึ่ง ในพระบรมศาสดา
ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ล่วงพระพุทธโอวาท ปฏิบัติตามธรรมของพระองค์ตลอดมา
อนึ่ง พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาแก่ข้าพระบาทเป็นอย่างมาก แต่ข้าพระบาทมิได้อยู่ปฏิบัติพระองค์ ขอพระองค์จงทรง
พระมหากรุณาโปรดอภัยแก่ข้าพระพุทธเจ้าในบัดนี้เถิด"
เมื่อพระมหากัสสปกล่าวเสร็จแล้วถวายนมัสการพระบาทยุคล ทันใดนั้นพระบาททั้งสองก็กลับคืนเข้าสู่พระหีบทองดังเดิม
พระเพลิงก็บันดาลติดพวยพุ่งขึ้นบนเชิงตะกอน ณ บัดนั้น โดยไม่ต้องมีใครจุด
สิ่งที่เหลือหลังจากไฟมอดลง คือเหลือผ้า ๑ คู่ ที่ใช้หุ้มห่อพระบรมศพชั้นในสุดและชั้นนอกสุด กับพระเขี้ยวแก้ว ๔ พระรากขวัญ ๒
สิ่งทั้ง ๗ นี้ ยังคงอยู่ปกติมิได้มอดไหม้ไป ส่วนพระบรมสารีริกธาตุ ที่เหลือแตกกระจายออกเป็น ๓ ขนาด คือขนาดใหญ่ประมาณ
เท่าเมล็ดถัวแตก ขนาดกลางประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก และขนาดเล็กประมาณเท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด และหลังจากนั้น ได้มีการ
แบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปตามที่ ปรากฏในคัมภีร์และเอกสารต่างๆ
ปัจจุบันการประกอบพิธี วันอัฏฐมีบูชา ในประเทศไทย "มีเพียงบางวัดเท่านั้น" ที่จะที่จัดให้มีการทำพิธีบำเพ็ญกุศล
ในวันอัฐมีบูชา ซึ่งปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2556
การบำเพ็ญกุศลในวัน อัฏฐมีบูชา จะปฏิบัติอย่างเดียวกันกับการประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันอื่นๆ
มีการให้ตักบาตรทำบุญบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และมีการเวียนเทียนในตอนค่ำ
ที่มา ข้อมูลจาก เว็บธรรมจักร
เพลงอัฐมีบูชา จาก Youtube :NONGORN23