สวัสดีค่าาาา =^__^= นักลงทุนทุกท่าน ตลาดแดงๆแบบนี้ เรามาพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสกัน ด้วยเทคนิคการลงทุนที่ชื่อว่า "Dividend Valuation Matrix" ซึ่งช่วยให้เราทำกำไรได้โดยไม่ง้อกราฟ ...มาดูกันค่ะว่าเป็นอย่างไร^^
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Dividend Valuation Matrix (DVM) ชื่ออาจจะดูยากไปหน่อย แต่ความจริงวิธีการนี้เป็นการคาดการณ์จำนวนเงินปันผลต่อหุ้นที่เราจะได้รับ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Dividend Per Share (DPS) จากนั้นนำ DPS นี้ไปหาราคาที่เหมาะสมในการเข้าซื้อหุ้นเทียบกับ Yield ที่ได้ อ่านไปอ่านมา อาจจะงง เอาเป็นว่าไปดูวิธีการดีกว่าครับ
ก่อนอื่นเรามาหา DPS กันก่อน โดยเราจะใช้ข้อมูล 3 อย่างได้แก่
1.นโยบายการจ่ายเงินปันผล (Dividend Policy) เพื่อดู Payout Ratio ว่าบริษัทมีนโยบายจ่ายปันผลเท่าใด เช่น จ่ายปันผลไม่น้อยกว่า 50% ต่อปี แปลว่า ถ้าบริษัทมีกำไร 10 บาทจะจ่ายปันผลอย่างน้อย 5 บาท เป็นต้น โดยการดู Payout ratio นั้นสามารถดูได้ที่ www.settrade.com โดยเลือกชื่อบริษัทและเลือกที่ บริษัท/หลักทรัพย์ จะมีข้อมูลนโยบายจ่ายเงินปันผล ให้ทราบ กรอบสีแดงตามภาพครับ
2.รายได้ที่คาดว่าจะทำได้ (Expected Revenues) โดย 90% จะมาจากยอดขายเพื่อประมาณการยอดขายของบริษัท อาจดูได้จากข่าวว่าบริษัทมีการตั้งเป้ารายได้เท่าใด หรือ ตั้งเป้าหมายว่ายอดขายจะเติบโตเท่าใด วิธีการดูก็ไม่ยาก เข้าแบบเดียวกับข้อที่ 1 ใน www.settrade.com แล้วเลื่อนลงมาด้านล่างสุดก็จะพบกับตารางแสดงรายได้ของบริษัท กรอบสีแดงตามภาพเลยครับ แต่ข้อมูลที่ได้นั้นจะเป็นข้อมูลในอดีต (ที่เกิดขึ้นแล้ว) หากต้องการ Expected Revenues ให้ทำดังนี้ (ขอใช้ตัวอย่างจากภาพ) สมมติ มีข่าวว่าบริษัทตั้งเป้าว่าจะทำรายได้ให้ถึง 6,000 ล้าน ก็ให้เรานำ 6,000 ล้านบาทมาคิด แต่ถ้าบริษัทตั้งเป้าเป็น % เช่น ยอดขายเติบโต 14% ก็ให้นำ 1.14 x 5,289 ล้านบาท (ซึ่งเป็นข้อมูลในอดีต) หลังจากคำนวณอย่างง่ายๆ แล้วจะได้ค่าประมาณ 6,029 ล้านบาท เป็นต้น
3.อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) เพื่อดูว่าสุดท้ายแล้วกำไรของบริษัทนั้นเป็นกี่ % ของยอดขาย เช่น บริษัทมีกำไร 100 ล้านบาท จากยอดขาย 1,000 ล้านบาท แปลว่า บริษัทนี้มีอัตรากำไรสุทธิ เท่ากับ 10% หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว โดยอัตรากำไรสุทธิของบริษัทก็อยู่บรรทัดล่างสุดในตารางเดียวกับข้อที่ 2 เลย เห็นไหมครับ (ย้อนขึ้นไปดูได้เลยครับ)
ที่นี้เรามาดูตัวอย่างกันเลยครับ สมมติว่า จะทำ DVM บริษัท AAA ซึ่งเป็นหุ้นปันผล และจ่ายปันผลลสม่ำเสมอ
หา Dividend Policy สมมติว่าจ่ายปันผล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50% ของกำไรสุทธิ
หา Expected Revenues สมมติบริษัททำยอดขายได้ 1,000 ล้านบาท และตั้งเป้าว่ายอดขายจะเติบโต 20% ค่า Expected Revenues = 1.20 x 1,000 = 1,200 ล้านบาท
สมมติว่าบริษัทมี อัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin) = 40 % แปลว่า หากในอนาคตบริษัทมีกำไร 1,200 ล้านบาท จะมีกำไรสุทธิ = 1,200 x 0.4 = 480 ล้านบาท โดยบริษัทจ่ายปันผลสม่ำเสมอ และพบว่าในปีก่อนๆ นั้น จ่ายปันผลออกมาเป็น 60% ของกำไรสุทธิ (จ่ายมากกว่าที่บอกเอาไว้) โดยเราจะแยกเป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 ถ้าบริษัทจ่ายตามที่บอกเอาไว้ คือ 50% แปลว่าจะจ่ายปันผล = 0.5 x 480 = 240 ล้านบาท หากบริษัทมีจำนวนหุ้น = 1000 ล้านหุ้น แปลว่า จะจ่ายปันผลหุ้นละ 0.24 บาท/หุ้น ซึ่ง 2.4 บาทนี่แหละครับ คือ Divident Per Share (DPS) ที่เราต้องการหานี่เอง
กรณีที่ 2 ถ้าบริษัทจ่ายอย่างที่เคยจ่าย คือ 60% แปลว่าจะจ่ายปันผล = 0.6 x 480 = 288 ล้านบาท หากบริษัทมีจำนวนหุ้น = 1000 ล้านหุ้น แปลว่า จะจ่ายปันผลหุ้นละ 0.288 บาท
หมายเหตุ : จำนวนหุ้นนั้นดูได้ใน www.settrade.com แล้วเลือกบริษัท/หลักทรัพย์เหมือนกับในข้อ 1 และ 2 โดยดูตรงหัวข้อ จำนวนหุ้นชำระแล้ว (จะอยู่ด้านล่างของนโยบายจ่ายปันผล)
นำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างตาราง DVM จะได้ตารางดังภาพ
การตีความ ก็คือ หากราคาหุ้นลดต่ำลง สมมติว่า ต่ำถึง 2 บาท แปลว่า ถ้าหากเราซื้อที่ราคานี้ เราจะได้ Dividend Yield อย่างน้อย 12% (คิดจาก 0.24 บาท) และ 14.4% (คิดจาก 0.288 บาท) และหากราคาขึ้นไปที่ 4.8 บาทแปลว่า เราจะ Dividend Yield อย่างน้อย 5% (คิดจาก 0.24 บาท) และ 6% (คิดจาก 0.288 บาท) จะเห็นได้ว่าหากเราสร้างตารางนี้ขึ้นมาได้ โดยดูจากข้อมูลในอดีต นั้นเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้กราฟเทคนิคในการหาจังหวะซื้อขายแต่อย่างใด แต่ถ้าใช้เป็นก็จะดียิ่งขึ้นเพราะ จะได้ทั้งปันผล และส่วนต่างราคาอย่างเป็นกอบเป็นกำ (แถมเอาปันผลไปเครดิตภาษีคืนได้อีก) เท่ากับว่าได้ 3 เด้งเลยทีเดียว แต่ถ้าดูไม่เป็นก็ไม่เป็นไร ใช้ตารางนี้แล้วดูราคา แล้วเข้าซื้อเท่านี้ก็ได้ปันผลอิ่มแล้วจริงไหมครับ ^____^
Credit :
http://www.investmentory.com/2013/05/dividend-valuation-matrix.html#more เข้าไปอ่านบทความอื่นๆ กันได้นะคะ ^^
ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook :
http://www.facebook.com/I2invest
"Dividend Valuation Matrix" เทคนิคทำกำไรโดยไม่ต้องพึ่งกราฟ!!!!!
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Dividend Valuation Matrix (DVM) ชื่ออาจจะดูยากไปหน่อย แต่ความจริงวิธีการนี้เป็นการคาดการณ์จำนวนเงินปันผลต่อหุ้นที่เราจะได้รับ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Dividend Per Share (DPS) จากนั้นนำ DPS นี้ไปหาราคาที่เหมาะสมในการเข้าซื้อหุ้นเทียบกับ Yield ที่ได้ อ่านไปอ่านมา อาจจะงง เอาเป็นว่าไปดูวิธีการดีกว่าครับ
ก่อนอื่นเรามาหา DPS กันก่อน โดยเราจะใช้ข้อมูล 3 อย่างได้แก่
1.นโยบายการจ่ายเงินปันผล (Dividend Policy) เพื่อดู Payout Ratio ว่าบริษัทมีนโยบายจ่ายปันผลเท่าใด เช่น จ่ายปันผลไม่น้อยกว่า 50% ต่อปี แปลว่า ถ้าบริษัทมีกำไร 10 บาทจะจ่ายปันผลอย่างน้อย 5 บาท เป็นต้น โดยการดู Payout ratio นั้นสามารถดูได้ที่ www.settrade.com โดยเลือกชื่อบริษัทและเลือกที่ บริษัท/หลักทรัพย์ จะมีข้อมูลนโยบายจ่ายเงินปันผล ให้ทราบ กรอบสีแดงตามภาพครับ
2.รายได้ที่คาดว่าจะทำได้ (Expected Revenues) โดย 90% จะมาจากยอดขายเพื่อประมาณการยอดขายของบริษัท อาจดูได้จากข่าวว่าบริษัทมีการตั้งเป้ารายได้เท่าใด หรือ ตั้งเป้าหมายว่ายอดขายจะเติบโตเท่าใด วิธีการดูก็ไม่ยาก เข้าแบบเดียวกับข้อที่ 1 ใน www.settrade.com แล้วเลื่อนลงมาด้านล่างสุดก็จะพบกับตารางแสดงรายได้ของบริษัท กรอบสีแดงตามภาพเลยครับ แต่ข้อมูลที่ได้นั้นจะเป็นข้อมูลในอดีต (ที่เกิดขึ้นแล้ว) หากต้องการ Expected Revenues ให้ทำดังนี้ (ขอใช้ตัวอย่างจากภาพ) สมมติ มีข่าวว่าบริษัทตั้งเป้าว่าจะทำรายได้ให้ถึง 6,000 ล้าน ก็ให้เรานำ 6,000 ล้านบาทมาคิด แต่ถ้าบริษัทตั้งเป้าเป็น % เช่น ยอดขายเติบโต 14% ก็ให้นำ 1.14 x 5,289 ล้านบาท (ซึ่งเป็นข้อมูลในอดีต) หลังจากคำนวณอย่างง่ายๆ แล้วจะได้ค่าประมาณ 6,029 ล้านบาท เป็นต้น
3.อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) เพื่อดูว่าสุดท้ายแล้วกำไรของบริษัทนั้นเป็นกี่ % ของยอดขาย เช่น บริษัทมีกำไร 100 ล้านบาท จากยอดขาย 1,000 ล้านบาท แปลว่า บริษัทนี้มีอัตรากำไรสุทธิ เท่ากับ 10% หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว โดยอัตรากำไรสุทธิของบริษัทก็อยู่บรรทัดล่างสุดในตารางเดียวกับข้อที่ 2 เลย เห็นไหมครับ (ย้อนขึ้นไปดูได้เลยครับ)
ที่นี้เรามาดูตัวอย่างกันเลยครับ สมมติว่า จะทำ DVM บริษัท AAA ซึ่งเป็นหุ้นปันผล และจ่ายปันผลลสม่ำเสมอ
หา Dividend Policy สมมติว่าจ่ายปันผล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50% ของกำไรสุทธิ
หา Expected Revenues สมมติบริษัททำยอดขายได้ 1,000 ล้านบาท และตั้งเป้าว่ายอดขายจะเติบโต 20% ค่า Expected Revenues = 1.20 x 1,000 = 1,200 ล้านบาท
สมมติว่าบริษัทมี อัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin) = 40 % แปลว่า หากในอนาคตบริษัทมีกำไร 1,200 ล้านบาท จะมีกำไรสุทธิ = 1,200 x 0.4 = 480 ล้านบาท โดยบริษัทจ่ายปันผลสม่ำเสมอ และพบว่าในปีก่อนๆ นั้น จ่ายปันผลออกมาเป็น 60% ของกำไรสุทธิ (จ่ายมากกว่าที่บอกเอาไว้) โดยเราจะแยกเป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 ถ้าบริษัทจ่ายตามที่บอกเอาไว้ คือ 50% แปลว่าจะจ่ายปันผล = 0.5 x 480 = 240 ล้านบาท หากบริษัทมีจำนวนหุ้น = 1000 ล้านหุ้น แปลว่า จะจ่ายปันผลหุ้นละ 0.24 บาท/หุ้น ซึ่ง 2.4 บาทนี่แหละครับ คือ Divident Per Share (DPS) ที่เราต้องการหานี่เอง
กรณีที่ 2 ถ้าบริษัทจ่ายอย่างที่เคยจ่าย คือ 60% แปลว่าจะจ่ายปันผล = 0.6 x 480 = 288 ล้านบาท หากบริษัทมีจำนวนหุ้น = 1000 ล้านหุ้น แปลว่า จะจ่ายปันผลหุ้นละ 0.288 บาท
หมายเหตุ : จำนวนหุ้นนั้นดูได้ใน www.settrade.com แล้วเลือกบริษัท/หลักทรัพย์เหมือนกับในข้อ 1 และ 2 โดยดูตรงหัวข้อ จำนวนหุ้นชำระแล้ว (จะอยู่ด้านล่างของนโยบายจ่ายปันผล)
นำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างตาราง DVM จะได้ตารางดังภาพ
การตีความ ก็คือ หากราคาหุ้นลดต่ำลง สมมติว่า ต่ำถึง 2 บาท แปลว่า ถ้าหากเราซื้อที่ราคานี้ เราจะได้ Dividend Yield อย่างน้อย 12% (คิดจาก 0.24 บาท) และ 14.4% (คิดจาก 0.288 บาท) และหากราคาขึ้นไปที่ 4.8 บาทแปลว่า เราจะ Dividend Yield อย่างน้อย 5% (คิดจาก 0.24 บาท) และ 6% (คิดจาก 0.288 บาท) จะเห็นได้ว่าหากเราสร้างตารางนี้ขึ้นมาได้ โดยดูจากข้อมูลในอดีต นั้นเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้กราฟเทคนิคในการหาจังหวะซื้อขายแต่อย่างใด แต่ถ้าใช้เป็นก็จะดียิ่งขึ้นเพราะ จะได้ทั้งปันผล และส่วนต่างราคาอย่างเป็นกอบเป็นกำ (แถมเอาปันผลไปเครดิตภาษีคืนได้อีก) เท่ากับว่าได้ 3 เด้งเลยทีเดียว แต่ถ้าดูไม่เป็นก็ไม่เป็นไร ใช้ตารางนี้แล้วดูราคา แล้วเข้าซื้อเท่านี้ก็ได้ปันผลอิ่มแล้วจริงไหมครับ ^____^
Credit : http://www.investmentory.com/2013/05/dividend-valuation-matrix.html#more เข้าไปอ่านบทความอื่นๆ กันได้นะคะ ^^
ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook : http://www.facebook.com/I2invest