วีรพงษ์ รามางกูร "ไฟฟ้าจะไม่พอ"....พูดถึงเอ็นจีโอแล้วของขึ้น .... มติชนออนไลน์

กระทู้สนทนา
กระแสทรรศน์  ไฟฟ้าจะไม่พอ มติชน 30 พ.ค. 2556


วันก่อนไปพบท่าน รมว.กระทรวงพลังงานก็เลยนั่งคุยกับท่านเรื่องไฟฟ้าจะไม่พอใช้ช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน
ของทุกปี ท่านกรุณาเล่าให้ฟังว่า สำหรับปีนี้คงจะผ่านวิกฤตไปได้อย่างหวุดหวิด เพราะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
ตั้งแต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตตลอดจนผู้ใช้ไฟรายใหญ่ๆ เช่น โรงงาน โรงแรม หน่วยงานราชการ ตลอดจนประชาชนต่อไป

แต่ในที่สุดก็เกิดวิกฤตการณ์ไฟฟ้าดับที่ภาคใต้ทั้งภาค เพราะมีการใช้ไฟฟ้าเกินกว่ากำลังการผลิต ไฟจากภาคกลาง
ไหลไปไม่พอ ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ที่น่าห่วงมาก ถ้ายังขืนคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าต่อไป

แต่ในอนาคตเป็นเรื่องน่าห่วงเพราะเอ็นจีโอท่านไม่ให้สร้างเขื่อน หรือโรงไฟฟ้าในประเทศเลย ไม่ว่าจะใช้ถ่านหิน
ก๊าซธรรมชาติ หรืออะไรก็แล้วแต่ จะไปสร้างที่ประเทศเพื่อนบ้านท่านก็จะตามไปคัดค้านหมด แต่อาจจะเบากว่า
เพราะประเทศเพื่อนบ้านเขาไม่สนใจเอ็นจีโอเท่าไหร่ ไม่เหมือนประเทศไทยเรา

แต่แม้ว่าจะไปสร้างโรงไฟฟ้าที่ประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยต้นทุนค่าหัวคิวและค่าสายส่งที่สูงกว่า ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่อง
ระยะทาง เพราะเมื่อส่งไฟเข้าระบบสายส่งแรงสูง ไฟฟ้าก็เหมือนน้ำ คือจะไหลจากแหล่งกำเนิดของมันไปสู่ที่ใกล้ๆ
ก่อนจะวิ่งไปปลายทาง

พื้นที่ที่ไกลมีอยู่ 2 พื้นที่ที่ไฟจะวิ่งมาถึงไม่พอคือ กรุงเทพฯและปริมณฑล กับภาคใต้ทั้งหมด ตั้งแต่ชุมพรลง
ไปถึงหาดใหญ่ กรุงเทพฯเป็นพื้นที่ใช้ไฟฟ้ามากที่สุด ส่วนภาคใต้เป็นพื้นที่ไกลที่สุด สายส่งแรงสูงจาก
ภาคกลางต้องไปไกลกว่า 1,000 กม. แหล่งกำเนิดไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นเขื่อนพลังน้ำ หรือโรงไฟฟ้าที่ใกล้กรุงเทพฯ
ไม่มี ต้องเสริมด้วยโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้น้ำมันแต่ราคาแพง ภาคใต้ก็เหมือนกัน

โรงไฟฟ้าที่บางปะกงก็ใกล้ไปทางพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ไฟก็ไหลไปทางชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี
จันทบุรี และตราด เหลือเข้ากรุงเทพฯก็ไม่มากเท่าที่ควร จะมีก็โรงไฟฟ้าใช้ก๊าซธรรมชาติจากพม่าที่ราชบุรี
เมื่อพม่าปิดท่อส่งก๊าซเพื่อซ่อมบำรุง กรุงเทพฯก็มีปัญหาทันที เพราะกำลังผลิตสำรองของเรามีน้อย มีเหลือ
เพียง 400 เมกะวัตต์ ในปลายเดือนมีนาคมกับต้นเดือนเมษายน แผนจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ประจวบคีรีขันธ์
เมื่อหลายปีก่อนก็โดนต่อต้านจนล้มเลิกไป

ภาคใต้เป็นภาคที่น่าห่วงที่สุด เพราะอยู่ไกลจากแหล่งผลิตไฟฟ้าใหญ่ๆ ไฟฟ้าจากเขื่อนอย่างเขื่อนเชี่ยวหลานก็มี
ไม่พอ และมีความมั่นคงน้อย สุดแท้แต่ปริมาณน้ำแต่ละปีเหมือนกับเขื่อนอื่นๆ ทั่วไป

จะสร้างโรงไฟฟ้าที่ขนอมเมื่อหลายปีก่อนท่านเอ็นจีโอก็ไม่เอา จะไปซื้อไฟจากมาเลเซียเขาก็มีน้อยแล้วก็ราคาแพง
เขาสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเพื่อป้อนตลาดของเขาเอง มิได้มีจุดประสงค์เพื่อขายประเทศไทย เขมรที่
เกาะกงก็อยู่ไกล แม้ว่าจะทำได้แต่ก็อยู่นอกประเทศต้องเสียค่าหัวคิวแพง



บัดนี้เทคโนโลยีในเรื่องขจัดมลภาวะก็ไปถึงไหนต่อไหนแล้ว แต่ท่านเอ็นจีโอก็ไม่ยอมรับ ยังหลอกชาวบ้าน
ไปเรื่อยๆ ยิ่งถ้า

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯจะสร้าง ยิ่งค้านเสียงดัง

ถ้าเอกชนลงทุนสร้างค่อยยังชั่วหน่อย

เพราะเอกชนมีช่องทางเจรจากับแกนนำเอ็นจีโอได้ แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯทำไม่ได้ ไม่รู้จะลงบัญชีอย่างไร ถ้าเป็น
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็เช่นกัน

ยิ่งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ต้นทุนถูกที่สุด ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน อเมริกา เวียดนาม
ก็กำลังสร้าง เขาก็ใช้กันทั้งนั้น พอเกิดแผ่นดินไหว สึนามิ

ที่ญี่ปุ่น โรงไฟฟ้า นิวเคลียร์รุ่นเก่าหมดอายุ เกิด กัมมันตภาพรังสีรั่วไหล ก็เข้าทางท่านเอ็นจีโอ ไม่มีทางที่
ประเทศไทยจะสร้างได้ คงต้องไปสร้าง

ที่จีน เวียด นาม พม่า ลาว และกัมพูชา และส่งเข้ามาขายในประเทศไทย ถ้ามีอุบัติเหตุ

กัมมันตภาพรังสีรั่วไหล คิดหรือว่าลมจะไม่พัดมาถึงประเทศไทย ไม่เป็นไรอย่าสร้างในประเทศไทยก็แล้วกัน
เพราะท่านไม่เชื่อว่าคนไทยจะมีความรอบคอบพอที่จะไว้ใจได้ ไม่เหมือนจีน เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา
เพราะประเทศเหล่านี้จะทำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งนั้น ไฟฟ้าที่ฮ่องกงใช้ก็มาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

อเมริกาเป็นคนจุดพลุเรื่องโลกร้อน แต่เมื่อชาวโลกตกลงกันทำสัญญาโตเกียวจะคิดค่าปล่อยคาร์บอน ไดออกไซด์
และให้ค่าตอบแทนต่อผู้ปลูกต้นไม้ที่เรียกว่า "คาร์บอนเครดิต" ตัวเองก็ไม่ยอมมาลงนามในสนธิสัญญาโตเกียว

ยิ่งอเมริกาค้นพบวิธีนำเอาก๊าซและน้ำมันมาใช้ การรณรงค์เรื่องโลกร้อนโดยท่านเอ็นจีโออเมริกัน ก็คงจะซาลงไป
จะเหลือก็แต่ท่านเอ็นจีโอไทยที่ยังจะเต้นแร้งเต้นกาเรื่อง

โลกร้อนและ คาร์บอนเครดิตร่วมกับยุโรปอยู่ชาติเดียว ในเอเชียดูเหมือนไทยเราจะเป็นชาติที่กลัวโลกร้อนกว่าชาติใดๆ
ไม่เชื่อก็ลองนึกดู

เอ็นจีโออเมริกาไม่ต่อต้าน เราใช้ก๊าซธรรมชาติในอ่าวเมาะตะมะ เพราะบริษัทเจาะก๊าซทั้ง 2 ตัว

เป็นบริษัทขุดเจาะน้ำมันของอเมริกา

ส่วนถ่านหินไม่ใช่เอ็นจีโอ อเมริกันก็เลยยุให้พวกเราต่อต้านกันเอง



ทีนี้เราลองมาดูความต้องการการใช้ไฟฟ้า ความต้องการขยายตัวขึ้นทุกปีไม่มีใครหยุดยั้งได้ ยิ่งเราพัฒนามากขึ้น
คนมีรายได้มากขึ้น ความต้องการใช้ไฟฟ้าก็มากขึ้นและมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าการขยายตัวของรายได้ประชาชาติ
เราใช้เครื่องมือเครื่องจักรแทนแรงงานโคกระบือ แทนแรงงานมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ เครื่องมือเครื่องจักรเหล่านี้ใช้
ไฟฟ้าทั้งนั้น

ยิ่งจะมีการปฏิรูประบบการขนส่งจากถนนมาเป็นระบบรางทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ระบบขนส่งมวลชนระบบรถไฟ

ความเร็วสูงสร้างเสร็จแล้วอาจจะไม่มีไฟฟ้าใช้เดินรถก็ได้ เพราะเอ็นจีโอท่านไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้าในเมืองไทยเลย
ถึงตอนนั้นท่านก็คงเงียบหรือไม่ก็แถไปเรื่องอื่นๆ เช่น ให้ใช้พลังงานจากลม จากแสงแดด โดยไม่ลืมตาดูบ้างว่าจะ
ใช้ได้มากน้อยแค่ไหน

ระบบการผลิตไฟฟ้าก็เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สุดอันหนึ่ง จะคอยดูว่าท่านเอ็นจีโอจะเสียสละนอนตากลมผึ่งพุง
ได้ไหม ถ้าไม่มีไฟฟ้าให้ท่านเปิดเครื่องปรับอากาศ

พูดถึงเอ็นจีโอแล้วของขึ้น

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1369894956&grpid=&catid=02&subcatid=0200

อ่านที่ ดร.โกร่ง  ...เขียน  แล้ว  ของขี้นตามไหม ...สาวเหลือน้อย  ...ขึ้น "ปรู๊ด"  เลย  เพราะหมั่นไส้มานานแล้ว
หน้าที่ของ NGO  คือค้าน  ทุกเรื่อง  ...  ไม่เคยเสนอ...อะไรเลย...ไม่ใช่หน้าที่ การหาทางออกเป็นเรืองของรัฐ ...
ทุกม็อบ  ต่อต้าน  การทำงานของรัฐ...ในเรื่อง  พลังงาน  ไปสืบเถอะ  เบื้องหลังคือ  NGO ... แล้วเราจะเอาพลังงาน
มาจากไหน ...โน่น ก็ไม่เอา  นี่ ..ก็ไม่เอา
       ยิ้ม


สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่