ทางเลือกพลังงาน
จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ผ่านมา สรุปได้ว่าประเทศไทยจะขาดแคลนกระแสไฟฟ้าในปี 2557 จึงต้องมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต การพิจารณาทางเลือกต่างๆ บนขอบเขตที่มีอยู่ สามารถสรุปได้ดังนี้
1 โรงไ...ฟฟ้าพลังน้ำ (เขื่อน) เนื่องจากการสร้างเขื่อนต้องมีการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ ไม่มากก็น้อย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าอยู่เพียง 33.44 % ซึ่งแตกต่างจากเมื่อ 10 ปีก่อนที่เคยมีอยู่ถึง 70 % การสร้างเขื่อนในยุคนี้จึงถือว่าขัดแย้งกับการใช้ทรัพยากรในแนวทางอนุรักษ์ เนื่องจากผืนป่าในปัจจุบันเหลือน้อยเกินไป
2 โรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตน้อย แต่จากที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินใดในประเทศไทยที่สามารถรักษามาตรฐานการควบคุมมลพิษได้ ซึ่งมลพิษจากเชื้อเพลิงประเภทถ่านหินนั้น ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในชุมชนโดยรอบอย่างร้ายแรง ยกตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ แม้จะมีระบบป้องกันหรือลดมลพิษ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้โดยแท้จริง
3 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อย และใช้ต้นทุนพลังงานในการผลิตน้อยมาก เนื่องจากนิวเคลียร์เป็นพลังงานสะอาด มีประสิทธิภาพและให้พลังงานสูง แต่การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นอกจากใช้ต้นทุนสูงแล้ว ที่สำคัญคือ ต้องมีระบบเซฟตี้ที่ดีที่สุด ไม่เช่นนั้น หากเกิดความผิดพลาดจะเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวง ประเทศที่ใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ความร้อนพุ่งสูงจากเหตุคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม แต่เนื่องจากญี่ปุ่นมีความพร้อมสูง จึงสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม หรือยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะควบคุมพลังนิวเคลียร์
4 โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ เป็น โรงไฟฟ้าที่ใช้ต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตสูงกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่ส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าถ่านหินมาก หากมีระบบป้องกันและควบคุมที่ดีก็จะไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนโดยรอบ ยกตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ของบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด ซึ่งก่อนหน้านี้มีโครงการจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่บ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่เนื่องจากไม่เป็นที่ยอมรับ ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากชุนชน จึงย้ายมาสร้างที่แก่งคอย จังหวัดสระบุรี แต่แล้วในที่สุดก็ต้องเปลี่ยนระบบจากถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติแทน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดน้อยกว่า เพราะมีการนำน้ำจากแม่น้ำป่าสักไปใช้เพียงกระบวนการหล่อเย็น มีระบบตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างเข้มงวดก่อนจะปล่อยคืนสู่ระบบนิเวศ
จึงสรุปได้ว่า หากประเทศไทยจะต้องมีการสร้างแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่ม โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เมื่อพิจารณาบนพื้นฐานความเป็นจริง และขอบเขตที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน
โรงไฟฟ้าทุกประเภท มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกแบบไหนจึงจะได้คุ้มเสียที่สุด และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แต่คงจะดีกว่านี้ หากเราเลือกที่จะไม่สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะลดการใช้พลังงานในประเทศลง ในขณะที่เรากำลังพยายามจะขยายอุตสาหกรรม ?
อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
http://www.facebook.com/EPV.or.th
ทางเลือกพลังงาน (โรงไฟฟ้า)
ทางเลือกพลังงาน
จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ผ่านมา สรุปได้ว่าประเทศไทยจะขาดแคลนกระแสไฟฟ้าในปี 2557 จึงต้องมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต การพิจารณาทางเลือกต่างๆ บนขอบเขตที่มีอยู่ สามารถสรุปได้ดังนี้
1 โรงไ...ฟฟ้าพลังน้ำ (เขื่อน) เนื่องจากการสร้างเขื่อนต้องมีการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ ไม่มากก็น้อย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าอยู่เพียง 33.44 % ซึ่งแตกต่างจากเมื่อ 10 ปีก่อนที่เคยมีอยู่ถึง 70 % การสร้างเขื่อนในยุคนี้จึงถือว่าขัดแย้งกับการใช้ทรัพยากรในแนวทางอนุรักษ์ เนื่องจากผืนป่าในปัจจุบันเหลือน้อยเกินไป
2 โรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตน้อย แต่จากที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินใดในประเทศไทยที่สามารถรักษามาตรฐานการควบคุมมลพิษได้ ซึ่งมลพิษจากเชื้อเพลิงประเภทถ่านหินนั้น ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในชุมชนโดยรอบอย่างร้ายแรง ยกตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ แม้จะมีระบบป้องกันหรือลดมลพิษ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้โดยแท้จริง
3 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อย และใช้ต้นทุนพลังงานในการผลิตน้อยมาก เนื่องจากนิวเคลียร์เป็นพลังงานสะอาด มีประสิทธิภาพและให้พลังงานสูง แต่การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นอกจากใช้ต้นทุนสูงแล้ว ที่สำคัญคือ ต้องมีระบบเซฟตี้ที่ดีที่สุด ไม่เช่นนั้น หากเกิดความผิดพลาดจะเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวง ประเทศที่ใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ความร้อนพุ่งสูงจากเหตุคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม แต่เนื่องจากญี่ปุ่นมีความพร้อมสูง จึงสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม หรือยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะควบคุมพลังนิวเคลียร์
4 โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ เป็น โรงไฟฟ้าที่ใช้ต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตสูงกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่ส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าถ่านหินมาก หากมีระบบป้องกันและควบคุมที่ดีก็จะไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนโดยรอบ ยกตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ของบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด ซึ่งก่อนหน้านี้มีโครงการจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่บ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่เนื่องจากไม่เป็นที่ยอมรับ ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากชุนชน จึงย้ายมาสร้างที่แก่งคอย จังหวัดสระบุรี แต่แล้วในที่สุดก็ต้องเปลี่ยนระบบจากถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติแทน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดน้อยกว่า เพราะมีการนำน้ำจากแม่น้ำป่าสักไปใช้เพียงกระบวนการหล่อเย็น มีระบบตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างเข้มงวดก่อนจะปล่อยคืนสู่ระบบนิเวศ
จึงสรุปได้ว่า หากประเทศไทยจะต้องมีการสร้างแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่ม โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เมื่อพิจารณาบนพื้นฐานความเป็นจริง และขอบเขตที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน
โรงไฟฟ้าทุกประเภท มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกแบบไหนจึงจะได้คุ้มเสียที่สุด และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แต่คงจะดีกว่านี้ หากเราเลือกที่จะไม่สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะลดการใช้พลังงานในประเทศลง ในขณะที่เรากำลังพยายามจะขยายอุตสาหกรรม ?
อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม http://www.facebook.com/EPV.or.th