จากข่าวข้างล่างนี้ ผมขอเรียกร้องให้ชาว Blue Planet ทุกท่าน
ไม่เที่ยว ไม่พัก ไม่ใช้บริการ ไม่สนับสนุน ไม่แจ้งข่าวโปรโมชั่น รวมถึง ไม่นำเสนอรีวิว ไม่ว่าจะเป็น CR หรือ SR
รีสอร์ทที่บุกรุกป่าสงวน บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยนะครับ
เพื่อปกป้องผืนป่าที่เหลืออยู่อย่างน้อยนิดให้อยู่กับเราและลูกหลานตลอดไป
link รายชื่อรีสอร์ทที่กำลังถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกป่าสงวน บุกรุกอุทยานแห่งชาติ
http://2g.ppantip.com/cafe/blueplanet/topic/E13039127/E13039127.html
http://topicstock.ppantip.com/blueplanet/topicstock/2012/08/E12562093/E12562093.html
http://info-wangnamkeaw.blogspot.com/2013/01/blog-post_8188.html
----------------------------------------
นิติฯ มธ. ออกโรงรณรงค์ไม่เที่ยวรีสอร์ทรุกป่าวังน้ำเขียว-ทับลาน
วันนี้ ( 29 พ.ค. ) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาศาสตร์ โดยหลักวิชา “หลักวิชาชีพนักกฎหมาย”
ร่วมกับภาควิชากฎหมายสิ่งแวดล้อม และชมรมนักกฎหมายสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ปัญหารีสอร์ทบุกรุกอุทยานแห่งชาติ
จะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร” โดยนายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าวว่า ขณะนี้อุทยานฯ ทับลานได้จับกุมดำเนินคดี
กับรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศแล้วจำนวน 429 คดี ดำเนินการรื้อถอนตามคำสั่งศาลไปแล้วทั้งที่เจ้าของรื้อถอนเองและทางอุทยานฯ
เข้าไปรื้อถอนจำนวน 27 แห่ง จากที่มีการร้องต่อศาลปกครองไปทั้งหมดถ 50 แห่งและศาลปกครองไม่คุ้มครอง ส่วนคดีทีเหลือยืนยันว่า
เจ้าหน้าที่ยังเดินหน้าต่อ เพราะเรื่องนี้จะถอยหลังไม่ได้ ถ้าไม่ดำเนินการต่อรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศที่ถูกรื้อถอนไปแล้ว
ก็ต้องกลับมาฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอาญามาตรา 157 แน่นอน อย่างไรก็ตามต้องรอ
ขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมาย และทางผู้ใหญ่ว่าจะรื้อถอนหรือดำเนินการอย่างไรต่อไป
“ปัญหาสำคัญของการรื้อถอน รีสอร์ท ที่บุกรุกอุทยานฯ ทับลานตอนนี้ไม่ใช่การต่อสู้กับเจ้าของรีสอร์ท แต่เป็นการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ
ด้วยกันเอง รวมทั้งอำนาจเงิน ล่าสุดเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ทับลาน ไปจับคนงานชาวกัมพูชาที่เข้ามาซ่อมแซมบ้านทะเลหมอกรีสอร์ท
ที่ถูกรื้อถอนไปตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่พยายามซ่อมแซมกลับมาเพื่อเปิดให้บริการนักท่องเที่ยว แต่เมื่อเรื่องถึงพนักงานสอบสวนคือ
เจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่กลับมีคำสั่งไม่ฟ้อง โดยระบุว่าคนงานเพียงแค่เดินผ่านเข้ามาบริเวณดังกล่าวพอดี นี่คือปัญหาสำคัญในเวลานี้”
นายเทวินทร์ กล่าว
ด้านนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิบการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ กล่าวว่า ปี 2504 เป็นปีทีประเทศไทย มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติและมี พ.ร.บ.อุทยานฯ ฉบับแรก ขณะนั้นมีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ แต่เวลานี้เหลือเพียง 20%
แสดงว่าความเจริญของบ้านเมืองแลกมากับพื้นที่ป่าที่สูญเสียไป ต่างจากการพัฒนาในต่างประเทศ เช่น เยอรมัน ซึ่งเป็นประเทศที่มี
เศรษฐกิจดีที่สุดของยุโรป มีป่าไม้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่ป่าไม้ถึง 65 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
แสดงว่าการพัฒนาประเทศของไทยผิดพลาด เฉลี่ยแล้วพื้นที่สูญเสียปีละถึง 1 เปอร์เซ็นต์และอีกไม่นานประเทศไทยจะกลายเป็นทะเลทราย
นายปริญญา กล่าวอีกว่า ขณะที่สภาพแวดล้อมปัจจุบันก็สวิงสุดขั้ว คือแล้งจัดและน้ำท่วมหนัก ปัญหาคือจะรักษาป่าที่เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์
ไว้ได้อย่างไร ซึ่งขณะนี้ตนเห็นว่าการรื้อถอนรีสอร์ท บ้านพัก ที่บุกรุกอุทยานฯ ทับลาน จะเป็นจุดเปลี่ยนและเป็นความหวังของประเทศ
ถ้ารื้อถอนสำเร็จป่าจะยังคงเหลือ แต่ถ้าไม่สำเร็จประเทศไทยจะไม่เหลือป่าอยู่เลย เรื่องนี้เป็นเดิมพันของประเทศ
เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการรื้อถอนรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศที่บุกรุกป่ามาก่อน โดยเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการอย่างจริงจัง
“ถ้าศาลยังไม่พิพากษา รีสอร์ท บ้านพักก็สู้กันไป แต่ถ้าศาลพิพากษาแล้ว มีทางเดียวต้องรื้อ เวลานี้เดิมพันเราสูงมาก
เพราะถ้าถึงขนาดศาลพิพากษาแล้วยังอยู่ได้ หมดหวังแล้วประเทศไทย ป่าไม้ประเทศไทยไม่เหลือแล้ว
เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของพวกเราต่อลูกหลานในอนาคต เพราะเป็นปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในชั้นศาล
ไม่ใช่แค่ชั้นพนักงานสอบสวน ถ้าเหตุการณ์เดียวกันนี้เกิดในยุโรปหรือญี่ปุ่น ไม่ต้องรอให้เจ้าหน้าที่มารื้อ แต่ประชาชนของเขาจะไม่ไปเที่ยว
พอประชาชนไม่ไปเที่ยวก็จบ เพราะรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศ เขาสร้างมาให้คนเที่ยว ผมลงพื้นที่อุทยานฯ ทับลาน
ไม่ได้มีปัญหาเส้นแนวเขต แต่รีสอร์ท บ้านพักตั้งอยู่กลางอุทยานฯ เลย เวลานี้ต้องถึงขั้นการบังคับคดี
จะให้เจ้าหน้าที่ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ หน่วยงานดับสูงในส่วนกลางที่มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเข้าไปช่วยเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
จะอยู่เฉยไม่ได้ เพราะศาลพิพากษาแล้ว ต้องมีการบังคับคดี วันนี้ประชาชนทั้งหลายต้องเลิกเที่ยวรีอสอร์ทเหล่านี้ ผมขอเอ่ยชื่อ
เช่น บ้านทะเลหมอก บ้านผางาม ต้องเลิกเที่ยว และต้องตรวจสอบรายชื่อให้แน่ชัดก่อนว่ามีคดีอยู่หรือไม่
ไม่เช่นนั้นพวกเราประชาชนจะว่าชาวบ้าน นายทุนบุกรุกป่าได้อย่างไร ในเมื่อเราเป็นดีมานด์ของซัพพลายด์ที่เขาสร้างมาให้เราไปเที่ยว
ถ้าเราไม่ไปเที่ยว เขาก็อยู่ไม่ได้ ทั้งนี้ในเดือน มิ.ย.ที่จะถึงนี้ ทางคณะนิติศาสตร์จะพานักศึกษาเข้าไปปลูกป่าในพื้นที่ที่มีการรื้อถอนแล้ว
ร่วมกับทางอุทยานฯ ทับลานต่อไป ” นายปริญญากล่าว
นายพงธ์ชิษณุ ศักดิ์เกียรติบุตร นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 กล่าวว่า ตนพร้อมเพื่อนนักศึกษา ได้ลงพื้นที่วังน้ำเขียว ทับลาน
เพื่อตรวจสอบการบุกรุกทำลายป่าของรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศ พบว่ารีสอร์ท ส่วนใหญ่ไม่เคารพในกฎหมายแม้จะมีการบังคับใช้
โดยศาลมีคำสั่งให้รื้อถอนแล้วก็ตาม ถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเพราะสังคมต้องเคารพกฎหมาย ถ้าคำพิพากษาของศาลไม่ศักด์สิทธิ์แล้ว
สังคมจะอยู่กันอย่างไร ทั้งนี้ตนได้เปิดเฟซบุ๊กในชื่อ “เที่ยวไทย อุ่นใจไม่ทำร้ายป่า” มีคนให้ความสนใจเข้ามาให้ความสนใจพอสมควร
และจะมีการนำรายชื่อรีสอร์ท บ้านพัก ตากอากาศที่ถูกจับกุมดำเนินดคดีแล้วมาลงไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ตรวจสอบด้วย
ด้านนายดำรงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานฯ ปัญหาเรื่องทรัพยากรฯ การบุกรุกทำลายป่าอยู่ที่รัฐบาลและตัวอธิบดีกรมอุทยานฯ
เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย เพราะกฎหมายดีอยู่แล้ว แต่อยู่ที่ตัวบุคคลว่าจะมีจิตสำนึกหรือไม่ จะเลือกเรื่องทรัพยากรของประเทศ
หรือฝ่ายการเมือง ซึ่งสมัยตนๆ เลือกทรัพยากรแต่ไม่รู้ว่ายุคนี้เขาเลือกอะไร เพราะทุกวันนี้การดำเนินการทุกอย่างชะลอไปหมด
เจ้าหน้าที่ก็กลัวไม่กล้าทำอะไร ที่สำคัญขณะนี้ทราบว่ารัฐบาลได้ไปเซ็นเอ็มโอยูกับกลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ)
โดยมีเรื่องสำคัญคือการขอให้ชะลอการจับกุมพื้นที่บุกรุก และการออกโฉนดชุมชน ซึ่งในเรื่องการชะลอการจับกุมนั้น
เคยมีมติ ครม.ออกมารองรับแล้วในสมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมท เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2518 และอีกครั้งคือมติ ครม. 30 มิ.ย. 2541
ซึ่งเรื่องมติ ครม. ซึ่งมติ ครม. ทั้ง 2 ครั้งทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไปจำนวนมาก และเป็นปัญหามาจนทุกวันนี้
ส่วนมติในเรื่องโฉนดชุมชนตนไม่ได้ต่อต้าน ถ้าเป็นการใช้พื้นที่ที่เหมาะสม เช่น ที่ราชพัสดุ สปก. หรือ สทก. แต่ไม่ใช่มาใช้ป่าอนุรักษ์
เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ หรืออุทยานฯ ซึ่งตนขอดูรายละเอียดหากมีมติ ครม.ในเรื่องนี้ออกมาตนจะทำหนังสือร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.
ว่ามติครม. ดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมายหลักหรือไม่
ด้านนายวันชัย อรุณประภารัตน์ คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของป่าไม้
คือการส่งเสริมการปลูกป่าที่สวนทางกับนโยบายที่เป็นจริง เช่น ยางพารา ซึ่งควรปลูกในที่ราบ แต่กลับมีการไปปลูกในพื้นที่สูง
เช่น ที่อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ มีการปลูกยางพารากันในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้งอำเภอ ที่สำคัญหน่วยงานที่ดูแลทรัพยากรคือกรมป่าไม้
และกรมอุทยานฯ ถูกการเมืองแทรกแซงมากที่สุด ผู้บริหารไม่มีอิสระในการทำงาน นอกจากนี้พื้นที่ป่ายังมีความพยายามนำพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ไปออกเอกสารสิทธิ์ เพื่อหาเสียง ซึ่งเป็นปัญหามาทุกรัฐบาล
ที่มา
http://www.dailynews.co.th/politics/207986
ผมขอเรียกร้องให้ชาว Blue Planet ทุกท่าน แบนรีสอร์ทที่บุกรุกป่าครับ
ไม่เที่ยว ไม่พัก ไม่ใช้บริการ ไม่สนับสนุน ไม่แจ้งข่าวโปรโมชั่น รวมถึง ไม่นำเสนอรีวิว ไม่ว่าจะเป็น CR หรือ SR
รีสอร์ทที่บุกรุกป่าสงวน บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยนะครับ
เพื่อปกป้องผืนป่าที่เหลืออยู่อย่างน้อยนิดให้อยู่กับเราและลูกหลานตลอดไป
link รายชื่อรีสอร์ทที่กำลังถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกป่าสงวน บุกรุกอุทยานแห่งชาติ
http://2g.ppantip.com/cafe/blueplanet/topic/E13039127/E13039127.html
http://topicstock.ppantip.com/blueplanet/topicstock/2012/08/E12562093/E12562093.html
http://info-wangnamkeaw.blogspot.com/2013/01/blog-post_8188.html
----------------------------------------
นิติฯ มธ. ออกโรงรณรงค์ไม่เที่ยวรีสอร์ทรุกป่าวังน้ำเขียว-ทับลาน
วันนี้ ( 29 พ.ค. ) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาศาสตร์ โดยหลักวิชา “หลักวิชาชีพนักกฎหมาย”
ร่วมกับภาควิชากฎหมายสิ่งแวดล้อม และชมรมนักกฎหมายสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ปัญหารีสอร์ทบุกรุกอุทยานแห่งชาติ
จะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร” โดยนายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าวว่า ขณะนี้อุทยานฯ ทับลานได้จับกุมดำเนินคดี
กับรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศแล้วจำนวน 429 คดี ดำเนินการรื้อถอนตามคำสั่งศาลไปแล้วทั้งที่เจ้าของรื้อถอนเองและทางอุทยานฯ
เข้าไปรื้อถอนจำนวน 27 แห่ง จากที่มีการร้องต่อศาลปกครองไปทั้งหมดถ 50 แห่งและศาลปกครองไม่คุ้มครอง ส่วนคดีทีเหลือยืนยันว่า
เจ้าหน้าที่ยังเดินหน้าต่อ เพราะเรื่องนี้จะถอยหลังไม่ได้ ถ้าไม่ดำเนินการต่อรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศที่ถูกรื้อถอนไปแล้ว
ก็ต้องกลับมาฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอาญามาตรา 157 แน่นอน อย่างไรก็ตามต้องรอ
ขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมาย และทางผู้ใหญ่ว่าจะรื้อถอนหรือดำเนินการอย่างไรต่อไป
“ปัญหาสำคัญของการรื้อถอน รีสอร์ท ที่บุกรุกอุทยานฯ ทับลานตอนนี้ไม่ใช่การต่อสู้กับเจ้าของรีสอร์ท แต่เป็นการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ
ด้วยกันเอง รวมทั้งอำนาจเงิน ล่าสุดเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ทับลาน ไปจับคนงานชาวกัมพูชาที่เข้ามาซ่อมแซมบ้านทะเลหมอกรีสอร์ท
ที่ถูกรื้อถอนไปตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่พยายามซ่อมแซมกลับมาเพื่อเปิดให้บริการนักท่องเที่ยว แต่เมื่อเรื่องถึงพนักงานสอบสวนคือ
เจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่กลับมีคำสั่งไม่ฟ้อง โดยระบุว่าคนงานเพียงแค่เดินผ่านเข้ามาบริเวณดังกล่าวพอดี นี่คือปัญหาสำคัญในเวลานี้”
นายเทวินทร์ กล่าว
ด้านนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิบการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ กล่าวว่า ปี 2504 เป็นปีทีประเทศไทย มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติและมี พ.ร.บ.อุทยานฯ ฉบับแรก ขณะนั้นมีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ แต่เวลานี้เหลือเพียง 20%
แสดงว่าความเจริญของบ้านเมืองแลกมากับพื้นที่ป่าที่สูญเสียไป ต่างจากการพัฒนาในต่างประเทศ เช่น เยอรมัน ซึ่งเป็นประเทศที่มี
เศรษฐกิจดีที่สุดของยุโรป มีป่าไม้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่ป่าไม้ถึง 65 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
แสดงว่าการพัฒนาประเทศของไทยผิดพลาด เฉลี่ยแล้วพื้นที่สูญเสียปีละถึง 1 เปอร์เซ็นต์และอีกไม่นานประเทศไทยจะกลายเป็นทะเลทราย
นายปริญญา กล่าวอีกว่า ขณะที่สภาพแวดล้อมปัจจุบันก็สวิงสุดขั้ว คือแล้งจัดและน้ำท่วมหนัก ปัญหาคือจะรักษาป่าที่เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์
ไว้ได้อย่างไร ซึ่งขณะนี้ตนเห็นว่าการรื้อถอนรีสอร์ท บ้านพัก ที่บุกรุกอุทยานฯ ทับลาน จะเป็นจุดเปลี่ยนและเป็นความหวังของประเทศ
ถ้ารื้อถอนสำเร็จป่าจะยังคงเหลือ แต่ถ้าไม่สำเร็จประเทศไทยจะไม่เหลือป่าอยู่เลย เรื่องนี้เป็นเดิมพันของประเทศ
เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการรื้อถอนรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศที่บุกรุกป่ามาก่อน โดยเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการอย่างจริงจัง
“ถ้าศาลยังไม่พิพากษา รีสอร์ท บ้านพักก็สู้กันไป แต่ถ้าศาลพิพากษาแล้ว มีทางเดียวต้องรื้อ เวลานี้เดิมพันเราสูงมาก
เพราะถ้าถึงขนาดศาลพิพากษาแล้วยังอยู่ได้ หมดหวังแล้วประเทศไทย ป่าไม้ประเทศไทยไม่เหลือแล้ว
เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของพวกเราต่อลูกหลานในอนาคต เพราะเป็นปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในชั้นศาล
ไม่ใช่แค่ชั้นพนักงานสอบสวน ถ้าเหตุการณ์เดียวกันนี้เกิดในยุโรปหรือญี่ปุ่น ไม่ต้องรอให้เจ้าหน้าที่มารื้อ แต่ประชาชนของเขาจะไม่ไปเที่ยว
พอประชาชนไม่ไปเที่ยวก็จบ เพราะรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศ เขาสร้างมาให้คนเที่ยว ผมลงพื้นที่อุทยานฯ ทับลาน
ไม่ได้มีปัญหาเส้นแนวเขต แต่รีสอร์ท บ้านพักตั้งอยู่กลางอุทยานฯ เลย เวลานี้ต้องถึงขั้นการบังคับคดี
จะให้เจ้าหน้าที่ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ หน่วยงานดับสูงในส่วนกลางที่มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเข้าไปช่วยเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
จะอยู่เฉยไม่ได้ เพราะศาลพิพากษาแล้ว ต้องมีการบังคับคดี วันนี้ประชาชนทั้งหลายต้องเลิกเที่ยวรีอสอร์ทเหล่านี้ ผมขอเอ่ยชื่อ
เช่น บ้านทะเลหมอก บ้านผางาม ต้องเลิกเที่ยว และต้องตรวจสอบรายชื่อให้แน่ชัดก่อนว่ามีคดีอยู่หรือไม่
ไม่เช่นนั้นพวกเราประชาชนจะว่าชาวบ้าน นายทุนบุกรุกป่าได้อย่างไร ในเมื่อเราเป็นดีมานด์ของซัพพลายด์ที่เขาสร้างมาให้เราไปเที่ยว
ถ้าเราไม่ไปเที่ยว เขาก็อยู่ไม่ได้ ทั้งนี้ในเดือน มิ.ย.ที่จะถึงนี้ ทางคณะนิติศาสตร์จะพานักศึกษาเข้าไปปลูกป่าในพื้นที่ที่มีการรื้อถอนแล้ว
ร่วมกับทางอุทยานฯ ทับลานต่อไป ” นายปริญญากล่าว
นายพงธ์ชิษณุ ศักดิ์เกียรติบุตร นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 กล่าวว่า ตนพร้อมเพื่อนนักศึกษา ได้ลงพื้นที่วังน้ำเขียว ทับลาน
เพื่อตรวจสอบการบุกรุกทำลายป่าของรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศ พบว่ารีสอร์ท ส่วนใหญ่ไม่เคารพในกฎหมายแม้จะมีการบังคับใช้
โดยศาลมีคำสั่งให้รื้อถอนแล้วก็ตาม ถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเพราะสังคมต้องเคารพกฎหมาย ถ้าคำพิพากษาของศาลไม่ศักด์สิทธิ์แล้ว
สังคมจะอยู่กันอย่างไร ทั้งนี้ตนได้เปิดเฟซบุ๊กในชื่อ “เที่ยวไทย อุ่นใจไม่ทำร้ายป่า” มีคนให้ความสนใจเข้ามาให้ความสนใจพอสมควร
และจะมีการนำรายชื่อรีสอร์ท บ้านพัก ตากอากาศที่ถูกจับกุมดำเนินดคดีแล้วมาลงไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ตรวจสอบด้วย
ด้านนายดำรงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานฯ ปัญหาเรื่องทรัพยากรฯ การบุกรุกทำลายป่าอยู่ที่รัฐบาลและตัวอธิบดีกรมอุทยานฯ
เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย เพราะกฎหมายดีอยู่แล้ว แต่อยู่ที่ตัวบุคคลว่าจะมีจิตสำนึกหรือไม่ จะเลือกเรื่องทรัพยากรของประเทศ
หรือฝ่ายการเมือง ซึ่งสมัยตนๆ เลือกทรัพยากรแต่ไม่รู้ว่ายุคนี้เขาเลือกอะไร เพราะทุกวันนี้การดำเนินการทุกอย่างชะลอไปหมด
เจ้าหน้าที่ก็กลัวไม่กล้าทำอะไร ที่สำคัญขณะนี้ทราบว่ารัฐบาลได้ไปเซ็นเอ็มโอยูกับกลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ)
โดยมีเรื่องสำคัญคือการขอให้ชะลอการจับกุมพื้นที่บุกรุก และการออกโฉนดชุมชน ซึ่งในเรื่องการชะลอการจับกุมนั้น
เคยมีมติ ครม.ออกมารองรับแล้วในสมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมท เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2518 และอีกครั้งคือมติ ครม. 30 มิ.ย. 2541
ซึ่งเรื่องมติ ครม. ซึ่งมติ ครม. ทั้ง 2 ครั้งทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไปจำนวนมาก และเป็นปัญหามาจนทุกวันนี้
ส่วนมติในเรื่องโฉนดชุมชนตนไม่ได้ต่อต้าน ถ้าเป็นการใช้พื้นที่ที่เหมาะสม เช่น ที่ราชพัสดุ สปก. หรือ สทก. แต่ไม่ใช่มาใช้ป่าอนุรักษ์
เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ หรืออุทยานฯ ซึ่งตนขอดูรายละเอียดหากมีมติ ครม.ในเรื่องนี้ออกมาตนจะทำหนังสือร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.
ว่ามติครม. ดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมายหลักหรือไม่
ด้านนายวันชัย อรุณประภารัตน์ คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของป่าไม้
คือการส่งเสริมการปลูกป่าที่สวนทางกับนโยบายที่เป็นจริง เช่น ยางพารา ซึ่งควรปลูกในที่ราบ แต่กลับมีการไปปลูกในพื้นที่สูง
เช่น ที่อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ มีการปลูกยางพารากันในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้งอำเภอ ที่สำคัญหน่วยงานที่ดูแลทรัพยากรคือกรมป่าไม้
และกรมอุทยานฯ ถูกการเมืองแทรกแซงมากที่สุด ผู้บริหารไม่มีอิสระในการทำงาน นอกจากนี้พื้นที่ป่ายังมีความพยายามนำพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ไปออกเอกสารสิทธิ์ เพื่อหาเสียง ซึ่งเป็นปัญหามาทุกรัฐบาล
ที่มา http://www.dailynews.co.th/politics/207986