สวัสดีครับ วันนี้เจอเคสอุบัติเหตุในเด็กที่เจอได้บ่อยๆ ในเด็กเล็กๆ ที่อยู่ในวัยกำลังเดินเลยมาเล่าให้ฟัง
แล้วที่สำคัญคนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บนี้มักจะเป็นคนเลี้ยงนั่นเอง นั่นคืออาการหัวข้อต่อปลายกระดูกที่ข้อศอกเคลื่อนหลุดออกจากกัน
(pulled elbow) มักเกิดจากการโดนดึงแขนโดยคนเลี้ยงหรือเกิดอุบัติเหตุเวลาเด็กเล่นกัน
แล้วอยู่ๆก็ร้องปวดข้อศอก ไม่ขยับแขน อย่างวันนี้ที่เจอคือ เด็ก4ขวบ กำลังจะเดินข้ามถนน พ่อจับข้อมือแล้วดึง(กระชาก)กลับ เท่านั้นแหละครับ เด็กร้องไห้จ้า ไม่ขยับแขน งอศอกไม่ได้ แขนเหยียดอยากเดียว นั่นเพราะหัวข้อต่อกระดูก2ชิ้นตรงข้อศอกในเด็กมันยังไม่แข็งแรง
จึงหลุดออกจากกันได้ง่าย แม้จะเป็นการบาดเจ็บไม่เป็นอันตรายอะไรมาก แต่ก็เจ็บครับ
การรักษาก็เป็นการหมุนๆดึงๆให้หัวกระดูกกลับเข้าไปสบกันเหมือนเดิม แก้ไขไม่ยากก็กลับมาปกติครับ
แต่ก็ต้องระวังเกิดซ้ำได้อีก เคสที่เจอวันนี้ผมจัดหัวกระดูกเข้าที่แค่3วินาที เด็กก็เล่น angry bird ได้ละ
(หลังดันหัวกระดูกเข้าที่ ต้องหลอกล่อให้เด็กใช้แขนข้างนั้น ดูว่าเข้าที่จริงรึป่าว)
ยังไงใครมีลูกหลานตัวเล็กๆ 1-5ขวบที่เริ่มเดินวิ่งได้ ก็ระวังดีๆนะครับ จับแขนจูงเด็ก อย่าจับมือหรือข้อมือ
โน้มตัวลงนิดหน่อยจับบริเวณต้นแขนที่กล้ามเนื้อ ข้อต่อแข็งแรงกว่าจะปลอดภัยกว่าครับ
Pulled elbow กระดูกข้อศอกเคลื่อน อุบัติเหตุในเด็กที่มักเกิดจากคนเลี้ยง
แล้วที่สำคัญคนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บนี้มักจะเป็นคนเลี้ยงนั่นเอง นั่นคืออาการหัวข้อต่อปลายกระดูกที่ข้อศอกเคลื่อนหลุดออกจากกัน
(pulled elbow) มักเกิดจากการโดนดึงแขนโดยคนเลี้ยงหรือเกิดอุบัติเหตุเวลาเด็กเล่นกัน
แล้วอยู่ๆก็ร้องปวดข้อศอก ไม่ขยับแขน อย่างวันนี้ที่เจอคือ เด็ก4ขวบ กำลังจะเดินข้ามถนน พ่อจับข้อมือแล้วดึง(กระชาก)กลับ เท่านั้นแหละครับ เด็กร้องไห้จ้า ไม่ขยับแขน งอศอกไม่ได้ แขนเหยียดอยากเดียว นั่นเพราะหัวข้อต่อกระดูก2ชิ้นตรงข้อศอกในเด็กมันยังไม่แข็งแรง
จึงหลุดออกจากกันได้ง่าย แม้จะเป็นการบาดเจ็บไม่เป็นอันตรายอะไรมาก แต่ก็เจ็บครับ
การรักษาก็เป็นการหมุนๆดึงๆให้หัวกระดูกกลับเข้าไปสบกันเหมือนเดิม แก้ไขไม่ยากก็กลับมาปกติครับ
แต่ก็ต้องระวังเกิดซ้ำได้อีก เคสที่เจอวันนี้ผมจัดหัวกระดูกเข้าที่แค่3วินาที เด็กก็เล่น angry bird ได้ละ
(หลังดันหัวกระดูกเข้าที่ ต้องหลอกล่อให้เด็กใช้แขนข้างนั้น ดูว่าเข้าที่จริงรึป่าว)
ยังไงใครมีลูกหลานตัวเล็กๆ 1-5ขวบที่เริ่มเดินวิ่งได้ ก็ระวังดีๆนะครับ จับแขนจูงเด็ก อย่าจับมือหรือข้อมือ
โน้มตัวลงนิดหน่อยจับบริเวณต้นแขนที่กล้ามเนื้อ ข้อต่อแข็งแรงกว่าจะปลอดภัยกว่าครับ