อาการเจ็บศอกด้านในหรือที่เรียกกันว่า Golfer's elbow เมื่อหงายมือและกระดกข้อมือ(wrist flexion)จะกระตุ้นให้มีอาการปวดมากขึ้น
เกิดการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเพียงเล็กน้อย และเมื่อผู้ป่วยยังคงทำกิจวัตรตามปกติทำให้เกิดการฉีกขาดมากขึ้น
แล้วเกิดการอักเสบในที่สุด โรคนี้มักพบในนักกีฬาประเภทตีกอล์ฟ โบว์ลิ่ง ว่ายน้ำ เทนนิส และกีฬาประเภทที่ต้องมีการขว้าง
มักจะเกิดกับกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี
โดยผู้ป่วยมักจะมีอากาารปวดและมีจุดกดเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านใน ตรงบริเวณเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่มีการบาดเจ็บ
เมื่อกระดกข้อมือขึ้นในขณะที่เหยียดข้อศอก จะมีอาการปวดมากขึ้น หรือเพียงแค่ขยับข้อศอกก็มีอาการปวดได้ในบางรายที่มีการบาดเจ็บที่รุนแรงมาก
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1.ในระยะแรกให้ประคบเย็นบริเวณที่ปวดเป็นเวลา 10-15 นาที เพื่อลดการอักเสบและให้หยุดการใช้งานหนัก
หรือการเล่นกีฬาของแขนข้างที่มีการอักเสบ ในผู้ที่มีอาการปวดมากๆ แนะนำให้ใส่ที่พยุงศอก (elbow support) เพื่อบรรเทาอาการปวด
2.ทำการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยการใช้เครื่อง Ultrasounds , การกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดปวดลดอักเสบ หรือในผู้ที่ยังต้องมีการใช้งานแขนซ้ำๆ สามารถใช้การรักษาโดยการ Tapping เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อลงและลดอาการปวด
3.เมื่ออาการปวดลดลงหรือไม่มีแล้ว ควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เริ่มต้นด้วยท่าหงายมือ โดยจัดท่าทางให้อยู่ในท่าสบาย จากนั้นถือดัมเบลหรือขวดนํ้าแล้วกระดกข้อมือขึ้น ทำซ้ำ 10 ครั้ง/set 3set/วัน
4.การยืดกล้ามเนื้อ โดยเหยียดข้อศอกให้ตึงไปทางด้านหลังพร้อมกระดกข้อมือขึ้นจนรู้สึกตึงค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
โดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ
เกิดการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเพียงเล็กน้อย และเมื่อผู้ป่วยยังคงทำกิจวัตรตามปกติทำให้เกิดการฉีกขาดมากขึ้น
แล้วเกิดการอักเสบในที่สุด โรคนี้มักพบในนักกีฬาประเภทตีกอล์ฟ โบว์ลิ่ง ว่ายน้ำ เทนนิส และกีฬาประเภทที่ต้องมีการขว้าง
มักจะเกิดกับกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี
โดยผู้ป่วยมักจะมีอากาารปวดและมีจุดกดเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านใน ตรงบริเวณเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่มีการบาดเจ็บ
เมื่อกระดกข้อมือขึ้นในขณะที่เหยียดข้อศอก จะมีอาการปวดมากขึ้น หรือเพียงแค่ขยับข้อศอกก็มีอาการปวดได้ในบางรายที่มีการบาดเจ็บที่รุนแรงมาก
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1.ในระยะแรกให้ประคบเย็นบริเวณที่ปวดเป็นเวลา 10-15 นาที เพื่อลดการอักเสบและให้หยุดการใช้งานหนัก
หรือการเล่นกีฬาของแขนข้างที่มีการอักเสบ ในผู้ที่มีอาการปวดมากๆ แนะนำให้ใส่ที่พยุงศอก (elbow support) เพื่อบรรเทาอาการปวด
2.ทำการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยการใช้เครื่อง Ultrasounds , การกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดปวดลดอักเสบ หรือในผู้ที่ยังต้องมีการใช้งานแขนซ้ำๆ สามารถใช้การรักษาโดยการ Tapping เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อลงและลดอาการปวด
3.เมื่ออาการปวดลดลงหรือไม่มีแล้ว ควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เริ่มต้นด้วยท่าหงายมือ โดยจัดท่าทางให้อยู่ในท่าสบาย จากนั้นถือดัมเบลหรือขวดนํ้าแล้วกระดกข้อมือขึ้น ทำซ้ำ 10 ครั้ง/set 3set/วัน
4.การยืดกล้ามเนื้อ โดยเหยียดข้อศอกให้ตึงไปทางด้านหลังพร้อมกระดกข้อมือขึ้นจนรู้สึกตึงค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
โดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด