กลายเป็นกระแสข่าวครึกโครมอีกครั้ง หลังจาก บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น (INTUCH) ถูกบริษัท Morgan Stanley Capital International หรือ MSCI ออกแถลงการณ์ทบทวนและไม่นำ INTUCH เข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Standard ตามแผนที่กำหนดไว้ในวันที่ 3 มิ.ย.นี้ เนื่องจากมีข้อสงสัยในสัญชาติของ "แอสเพน โฮลดิ้งส์" ผู้ถือหุ้นใหญ่ INTUCH ว่าเป็นไทยหรือต่างชาติ
เพราะหากตีความว่า "แอสเพนฯ" ไม่ใช่นิติบุคคลไทยจะทำให้นักลงทุนต่างชาติรายอื่นมีโอกาสเข้ามาลงทุนได้น้อยลง ไม่เพียงพอตามหลักเกณฑ์ที่ MSCI กำหนด เนื่องจากปัจจุบัน "แอสเพนฯ" ถือครองหุ้น INTUCH อยู่แล้วถึง 41.62%
อย่างไรก็ตาม กรณีการพิสูจน์สัญชาติผู้ถือหุ้นใหญ่ใน INTUCH ดูเหมือนไม่มีใครอาสาจะเป็นผู้ชี้แจง แม้แต่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ยังระบุว่า ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเป็นการทั่วไป ซึ่งหมายความว่าไม่มีอำนาจ หน้าที่ให้ข้อมูลนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจน "ประชาชาติธุรกิจ" จึงได้ตรวจสอบไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 23 พ.ค. 56 "แอสเพนฯ" มีสถานะเป็น "ต่างชาติ" อย่างไม่ต้องสงสัย เนื่องจากผู้ถือหุ้นทั้ง 3 รายใน "แอสเพนฯ" ได้แก่ แอนเดอร์ตั้น อินเวสเม้นท์ พีทีอี แอลทีดี จำนวน 3.99 ล้านหุ้น, ชิคคามอร์ อินเวสเม้นท์ โฮลดิ้งส์ พีทีอี แอลทีดี 1 หุ้น และแอคควาโนวา พีทีอี แอลทีดี 1 หุ้น ล้วนมีสัญชาติ "สิงคโปร์"
ส่วนบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่มีสัดส่วนถือครองหุ้น INTUCH 13.35% และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เบอร์ 2 ยังคงถูกฟันธงว่ามี "สัญชาติไทย" เนื่องจากผู้ถือหุ้นทั้ง 7 ราย ได้แก่ บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ จำกัด, บริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด,ธนาคารไทยพาณิชย์, นางสาวบุญรัตน์ อภิวิศาลกิจ, นางสาวพิณประภัสร์ จาติกวนิช,นางสาวสายฝน เจริญเกียรติ และนางสาว อรุณี ธำรงค์ธนกิจ ล้วนมีสถานะเป็นไทย
จากข้อมูลทั้งหมดทำให้ข้อสงสัยของ MSCI มีเค้าความจริงว่า INTUCH ไม่มีคุณสมบัติจะให้นักลงทุนต่างชาติเข้าลงทุนเพิ่มได้อีก แล้วสะท้อนไปที่ราคา INTUCH ให้ร่วงลงไปปิดตลาด ณ วันที่ 23 พ.ค.ที่ระดับ 92.75 บาท จากก่อนหน้านี้ที่มีการเก็งกำไรจากประเด็น MSCI จนหนุนราคาขึ้นไปสูงสุดถึง 99.75 บาท
อย่างไรก็ตาม แม้ INTUCH ไม่มีช่องว่างให้นักลงทุนต่างชาติแล้ว แต่สำหรับนักลงทุนไทยยังถือว่ามีโอกาสจะปรับตัวสร้างกำไรจากการลงทุนได้ โดยจะเห็นได้จากการประเมินของแต่ละโบรกเกอร์อย่าง "บล.ธนชาต" แนะนำ "ซื้อ" INTUCH และให้ราคาเป้าหมายที่ 115 บาท เนื่องจากราคาหุ้น INTUCH ยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับหุ้นที่บริษัทเข้าไปลงทุน ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ถือในสัดส่วน 40% และ บมจ.ไทยคม (THCOM) 41%
ทั้งเชื่อว่าเงินปันผลต่อหุ้นของ INTUCH จะเพิ่มขึ้นราว 32% ในปีนี้ คิดเป็นอัตราเงินปันผล (dividend yield) ที่ 6% สูงที่สุดเมื่อเทียบกับหุ้น big cap 10 อันดับแรก ส่วนความกังวลเกี่ยวกับการขายหุ้น INTUCH ของซีดาร์ฯ หลังจากนี้ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญ แม้เกิดขึ้นจริง ก็จะไม่มีผลต่อการดำเนินงานและปัจจัยพื้นฐานของบริษัท
ส่วนการลงทุนระยะสั้น "บล.เอเซีย พลัส" แนะนำให้ "ขาย" ทำกำไร เนื่องจากราคาปัจจุบันใกล้ระดับเป้าหมายที่ 98 บาทต่อหุ้นแล้ว จึงถือว่ามีอัพไซด์เหลือน้อย
การขอทบทวนนำ INTUCH เข้าคำนวณในดัชนี MSCI Global Standard ครั้งนี้ จึงให้บทเรียนว่า ความเสี่ยงจากประเด็นแวดล้อมเกิดขึ้นได้ตลอด แต่สุดท้ายอยู่ที่นักลงทุนควรตั้งมั่นกับนโยบายการลงทุนของตัวเองว่าจะ "เก็งกำไร" หรือ "ลงทุนยาว"
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เครดิต
http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=44795
>>>พิสูจน์สัญชาติ INTUCH ไขปริศนาหลุดดัชนี MSCI<<<
เพราะหากตีความว่า "แอสเพนฯ" ไม่ใช่นิติบุคคลไทยจะทำให้นักลงทุนต่างชาติรายอื่นมีโอกาสเข้ามาลงทุนได้น้อยลง ไม่เพียงพอตามหลักเกณฑ์ที่ MSCI กำหนด เนื่องจากปัจจุบัน "แอสเพนฯ" ถือครองหุ้น INTUCH อยู่แล้วถึง 41.62%
อย่างไรก็ตาม กรณีการพิสูจน์สัญชาติผู้ถือหุ้นใหญ่ใน INTUCH ดูเหมือนไม่มีใครอาสาจะเป็นผู้ชี้แจง แม้แต่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ยังระบุว่า ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเป็นการทั่วไป ซึ่งหมายความว่าไม่มีอำนาจ หน้าที่ให้ข้อมูลนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจน "ประชาชาติธุรกิจ" จึงได้ตรวจสอบไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 23 พ.ค. 56 "แอสเพนฯ" มีสถานะเป็น "ต่างชาติ" อย่างไม่ต้องสงสัย เนื่องจากผู้ถือหุ้นทั้ง 3 รายใน "แอสเพนฯ" ได้แก่ แอนเดอร์ตั้น อินเวสเม้นท์ พีทีอี แอลทีดี จำนวน 3.99 ล้านหุ้น, ชิคคามอร์ อินเวสเม้นท์ โฮลดิ้งส์ พีทีอี แอลทีดี 1 หุ้น และแอคควาโนวา พีทีอี แอลทีดี 1 หุ้น ล้วนมีสัญชาติ "สิงคโปร์"
ส่วนบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่มีสัดส่วนถือครองหุ้น INTUCH 13.35% และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เบอร์ 2 ยังคงถูกฟันธงว่ามี "สัญชาติไทย" เนื่องจากผู้ถือหุ้นทั้ง 7 ราย ได้แก่ บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ จำกัด, บริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด,ธนาคารไทยพาณิชย์, นางสาวบุญรัตน์ อภิวิศาลกิจ, นางสาวพิณประภัสร์ จาติกวนิช,นางสาวสายฝน เจริญเกียรติ และนางสาว อรุณี ธำรงค์ธนกิจ ล้วนมีสถานะเป็นไทย
จากข้อมูลทั้งหมดทำให้ข้อสงสัยของ MSCI มีเค้าความจริงว่า INTUCH ไม่มีคุณสมบัติจะให้นักลงทุนต่างชาติเข้าลงทุนเพิ่มได้อีก แล้วสะท้อนไปที่ราคา INTUCH ให้ร่วงลงไปปิดตลาด ณ วันที่ 23 พ.ค.ที่ระดับ 92.75 บาท จากก่อนหน้านี้ที่มีการเก็งกำไรจากประเด็น MSCI จนหนุนราคาขึ้นไปสูงสุดถึง 99.75 บาท
อย่างไรก็ตาม แม้ INTUCH ไม่มีช่องว่างให้นักลงทุนต่างชาติแล้ว แต่สำหรับนักลงทุนไทยยังถือว่ามีโอกาสจะปรับตัวสร้างกำไรจากการลงทุนได้ โดยจะเห็นได้จากการประเมินของแต่ละโบรกเกอร์อย่าง "บล.ธนชาต" แนะนำ "ซื้อ" INTUCH และให้ราคาเป้าหมายที่ 115 บาท เนื่องจากราคาหุ้น INTUCH ยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับหุ้นที่บริษัทเข้าไปลงทุน ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ถือในสัดส่วน 40% และ บมจ.ไทยคม (THCOM) 41%
ทั้งเชื่อว่าเงินปันผลต่อหุ้นของ INTUCH จะเพิ่มขึ้นราว 32% ในปีนี้ คิดเป็นอัตราเงินปันผล (dividend yield) ที่ 6% สูงที่สุดเมื่อเทียบกับหุ้น big cap 10 อันดับแรก ส่วนความกังวลเกี่ยวกับการขายหุ้น INTUCH ของซีดาร์ฯ หลังจากนี้ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญ แม้เกิดขึ้นจริง ก็จะไม่มีผลต่อการดำเนินงานและปัจจัยพื้นฐานของบริษัท
ส่วนการลงทุนระยะสั้น "บล.เอเซีย พลัส" แนะนำให้ "ขาย" ทำกำไร เนื่องจากราคาปัจจุบันใกล้ระดับเป้าหมายที่ 98 บาทต่อหุ้นแล้ว จึงถือว่ามีอัพไซด์เหลือน้อย
การขอทบทวนนำ INTUCH เข้าคำนวณในดัชนี MSCI Global Standard ครั้งนี้ จึงให้บทเรียนว่า ความเสี่ยงจากประเด็นแวดล้อมเกิดขึ้นได้ตลอด แต่สุดท้ายอยู่ที่นักลงทุนควรตั้งมั่นกับนโยบายการลงทุนของตัวเองว่าจะ "เก็งกำไร" หรือ "ลงทุนยาว"
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เครดิต
http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=44795