อ่านบทความนี้แล้ว ก็อยากแสดงความเห็นสักหน่อย แต่ขี้เกียจตัดแปะ ขอแสดงความเห็นอย่างเดียวแล้วกันครับ
http://www.thairath.co.th/content/pol/347159
เนื้อหาบทความ อ่านดูแล้ว สื่อไปยังจุดที่ว่า การบริหารจัดการน้ำตามแผนที่กำลังทำอยู่นี้ เป็นการบริหารจัดการเพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างเดียว ไม่ใช่แผนบริหารจัดการน้ำที่ถูกต้อง เพราะปัญหาของน้ำที่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ น่าจะอยู่ที่จุด"น้ำใช้" มากกว่า
โดยตามแผนงานทั้งหมด เป็นการวาดภาพใหญ่ว่า ถ้าน้ำมาก จะเก็บน้ำไว้อย่างไร น้ำส่วนเกินจะขนไปทิ้งทะเลให้เร็วที่สุดอย่างไร
แต่พอมีการสร้างเขื่อนมากขึ้น ก็เพิ่มโอกาสการเกิดน้ำท่วมให้มากขึ้นด้วย เพราะลดปริมาณป่าต้นน้ำ ทำให้ต้นไม้ช่วยอุ้มน้ำได้น้อยลง
ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำที่ถูกต้องควรมองภาพองค์รวมให้ครบ ทั้งการรักษาป่าต้นน้ำ การรักษาน้ำใช้ ลดความเสี่ยงในพื้นที่สำคัญ
ไม่ใช่ใช้วิธีงบประมาณ แล้วทำโครงการให้สามารถใช้เงินก้อนนี้ทำได้เป็นหลักแบบนี้
____________________________
ดังนั้นถ้าหากการประมูลแผนบริหารจัดการน้ำ ที่ทำอยู่ตอนนี้ ที่น่าจะสรุปผลได้ในสัปดาห์นี้ ถ้าไม่สามารถได้ผู้ชนะครบทั้งหมด ผมว่ารัฐบาลน่าจะลองทบทวน วาดภาพการบริหารจัดการน้ำใหม่ เขียนแผนทั้งหมดใหม่ เปลี่ยนตัวรมต.ที่รับผิดชอบ มุ่งไปให้เงิน 3 แสนล้านที่ลงทุน สามารถสร้างผลประโยชน์ได้ครบตามวัตถุประสงค์
ดีกว่าดันทุรัง ทำต่อไป ทำได้ทำเสร็จตามแผน ก็ได้แค่ป้องกันน้ำท่วม แต่ไม่ได้ช่วยเรื่องการขาดน้ำใช้ เพราะจะว่าไป ทุกวันนี้ ประเทศไทยนอกจากผจญปัญหาน้ำท่วมแล้ว อีกปัญหาที่เจอทุกปี ก็คือเรื่องภัยแล้ง พอป้องกันน้ำท่วมได้ เวลามีน้ำมาก ก็ขนไปทิ้งทะเลได้ตามแผน แต่กลายเป็นว่า น้ำบนดินที่มีอยู่ในประเทศลดปริมาณลง เพราะน้ำผ่านเร็ว ไม่มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ ก็อาจจะทำให้ ปัญหาภัยแล้ง การขาดน้ำใช้ รุนแรงมากขึ้นอีก
สุดท้ายพอแก้ปัญหาน้ำท่วม 3 แสนล้านเสร็จ ก็ต้องไปทำแผนแก้ปัญหาน้ำแล้งอีกรอบ
และดีไม่ดี การแก้ปัญหาน้ำแล้ง อาจจะต้องไปทำลายสิ่งที่สร้างในตอนแก้ปัญหาน้ำท่วมบางอย่างก็ได้
แผนบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน คิดกลับหัวกลับหาง แก้ไม่ตรงจุด
http://www.thairath.co.th/content/pol/347159
เนื้อหาบทความ อ่านดูแล้ว สื่อไปยังจุดที่ว่า การบริหารจัดการน้ำตามแผนที่กำลังทำอยู่นี้ เป็นการบริหารจัดการเพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างเดียว ไม่ใช่แผนบริหารจัดการน้ำที่ถูกต้อง เพราะปัญหาของน้ำที่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ น่าจะอยู่ที่จุด"น้ำใช้" มากกว่า
โดยตามแผนงานทั้งหมด เป็นการวาดภาพใหญ่ว่า ถ้าน้ำมาก จะเก็บน้ำไว้อย่างไร น้ำส่วนเกินจะขนไปทิ้งทะเลให้เร็วที่สุดอย่างไร
แต่พอมีการสร้างเขื่อนมากขึ้น ก็เพิ่มโอกาสการเกิดน้ำท่วมให้มากขึ้นด้วย เพราะลดปริมาณป่าต้นน้ำ ทำให้ต้นไม้ช่วยอุ้มน้ำได้น้อยลง
ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำที่ถูกต้องควรมองภาพองค์รวมให้ครบ ทั้งการรักษาป่าต้นน้ำ การรักษาน้ำใช้ ลดความเสี่ยงในพื้นที่สำคัญ
ไม่ใช่ใช้วิธีงบประมาณ แล้วทำโครงการให้สามารถใช้เงินก้อนนี้ทำได้เป็นหลักแบบนี้
____________________________
ดังนั้นถ้าหากการประมูลแผนบริหารจัดการน้ำ ที่ทำอยู่ตอนนี้ ที่น่าจะสรุปผลได้ในสัปดาห์นี้ ถ้าไม่สามารถได้ผู้ชนะครบทั้งหมด ผมว่ารัฐบาลน่าจะลองทบทวน วาดภาพการบริหารจัดการน้ำใหม่ เขียนแผนทั้งหมดใหม่ เปลี่ยนตัวรมต.ที่รับผิดชอบ มุ่งไปให้เงิน 3 แสนล้านที่ลงทุน สามารถสร้างผลประโยชน์ได้ครบตามวัตถุประสงค์
ดีกว่าดันทุรัง ทำต่อไป ทำได้ทำเสร็จตามแผน ก็ได้แค่ป้องกันน้ำท่วม แต่ไม่ได้ช่วยเรื่องการขาดน้ำใช้ เพราะจะว่าไป ทุกวันนี้ ประเทศไทยนอกจากผจญปัญหาน้ำท่วมแล้ว อีกปัญหาที่เจอทุกปี ก็คือเรื่องภัยแล้ง พอป้องกันน้ำท่วมได้ เวลามีน้ำมาก ก็ขนไปทิ้งทะเลได้ตามแผน แต่กลายเป็นว่า น้ำบนดินที่มีอยู่ในประเทศลดปริมาณลง เพราะน้ำผ่านเร็ว ไม่มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ ก็อาจจะทำให้ ปัญหาภัยแล้ง การขาดน้ำใช้ รุนแรงมากขึ้นอีก
สุดท้ายพอแก้ปัญหาน้ำท่วม 3 แสนล้านเสร็จ ก็ต้องไปทำแผนแก้ปัญหาน้ำแล้งอีกรอบ
และดีไม่ดี การแก้ปัญหาน้ำแล้ง อาจจะต้องไปทำลายสิ่งที่สร้างในตอนแก้ปัญหาน้ำท่วมบางอย่างก็ได้