แบบนี้ผิด ลักทรัพย์ ยักยอก หรือ ฉ้อโกงครับ

กระทู้คำถาม
จำเลยไปขอยืมจักรยายนต์ของ A หนึ่งวัน โดยจำเลยหลอก A ว่าจะขี่ไปเยี่ยมแม่ที่ รพ. และรถจักรยานยนต์ของจำเลยเสีย Aให้ยืมรถตามที่จำเลยต้องการ เมื่อA มอบรถจักรยานยนต์ให้จำเลย จำเลยได้ขี่รถจักรยานยนต์ไปขายให้ B ทันที  จำเลบนำเงินที่ได้จากการขายรถจักรยานยนต์ของA ไปเล่นการพนันที่บ้านของC ตามความประสงค์ที่แท้จริงของจำเลย จำเลยมีความผิดทางอาญาฐานใด ?

ม.334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ....

ม.341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้น
ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้แโกง ต้องระวางโทษ...

ม.352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ...
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
*** การพิจารณาว่าอย่างไรเป็นลักทรัพย์หรือฉ้อโกง ***
จะให้ข้อสังเกตไว้ดังนี้ คือ ให้ดูว่าได้ทรัพย์ไปอย่างไร ได้ไปจากการหลอกลวง หรือ ได้ไปจากการแย่งการครอบครอง

- หากได้ทรัพย์ไปเพราะการหลอกลวง ผิดฉ้อโกง (เจ้าของส่งมอบทรัพย์ให้โดยสมัครใจเพราะเขาถูกหลอกลวง)

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537
            การที่คนร้ายอ้างว่าชื่อ ส. และ พ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้จาก บ. ซึ่ง บ. เช่าซื้อมาจากโจทก์โดยระบุโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและใบขออนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อ บ. บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถยนต์ไปจาก บ. แล้วคนร้ายไม่นำมาคืน แสดงให้เห็นว่าคนร้าย มีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง บ. ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้ายเป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอม มีความประสงค์จะเช่ารถยนต์ บ. หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป ความจริงคนร้ายแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและไม่มีประสงค์จะเช่ารถยนต์ การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอก

- - หากได้ทรัพย์ไปเพราะแย่งการครอบครอง ผิดลักทรัพย์ (เจ้าของไม่ได้สมัครใจส่งมอบทรัพย์ให้)

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา วินิจฉัยว่าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์(โดยใช้กลอุบาย)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2553
          จำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้น การที่จำเลยเอาสุราต่างประเทศใส่ในลังน้ำปลาแล้วนำไปชำระเงินกับพนักงานแคชเชียร์ของผู้เสียหายเท่ากับราคาน้ำปลา เป็นเพียงกลอุบายของจำเลยเพื่อเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปโดยทุจริตเท่านั้น โดยพนักงานแคชเชียร์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายมิได้มีเจตนาส่งมอบการครอบครองสุราต่างประเทศให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่

เครดิต http://lawdatabase.igetweb.com/webboards/1097904/ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย-กับ-ฉ้อโกง-ต่างกันอย่างไร?.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่