เวลาประชุมนานาชาติ หูฟังที่เขาสวมกันคือหูฟังให้ได้ยินชัดๆ หรือเป็นเครื่องเเปลภาษาที่คนฟังถนัดเพราะคนพูด พูดภาษาอื่นคะ

เวลาประชุมนานาชาติกัน หูฟังที่เขาสวยกันคือเครื่องช่วยฟังให้ได้ยินชัดๆใช่ไหมคะ คือเเอบเข้าใจว่าเป็นเครื่องช่วยเเปลภาษาให้เป็นภาษาของเจ้าของภาษาที่นั่งฟังอยู่ หรือไม่ก็ภาษาอื่นตามเเต่จะเลือก เช่น อังกฤษ ถ้าคนพูด พูดภาษาอื่น เลยไม่เเน่ใจว่าคิดเยอะไปไหม 5555

ถามต่อ

เเล้วมันมีเครื่องที่รวมศัพท์ ประโยคภาษาต่างๆไว้เยอะๆ พูดปุ๊บ เเปลเลยมีไหมคะ จะพูดภาษาไหนใส่ อยากให้เครื่องเเปลภาษาไหน เลือกได้ตามใจชอบ พกพาได้หรือเอาไปติดไว้กับตุ๊กตา หรือที่ที่อยากติด มีไหมคะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
ผมเป็นล่ามอาชีพครับ มันเป็นการแปลสด ๆ ครับ มันส์มาก ท้าทาย เหมาะสำหรับพวกชอบความซาดิสท์ในการใช้สมอง

ยากที่สุดก็อีตอนที่แปลไทยเป็นอังกฤษนี่แหละ เพราะอะไรรู้มั้ยครับ ...

เพราะพี่ไทยพูดภาษาไทยไม่รู้เรื่องครับ เรียบเรียงให้มัน logical ในแบบภาษาอังกฤษยาก

ผมเคยถึงขนาดต้องหยุดแปลจนกระทั่งคนหันมามอง ผมเลยต้องบอกไปในหูฟังเลยว่า ผู้พูดกำลังพูดวกวนมาก จนจับใจความไม่ได้

แล้วที่แย่นอกจากพูดเรียบเรียงไม่รู้เรื่องแล้ว บางครั้งพี่ไทยก็พูดเร็วมากผสมเข้าไปอีก เพราะรู้เยอะ รู้ดี เก่งกาจสุด ๆ

เร็วขนาดว่าพอช่วงพักฝรั่งยังบอกเลยว่า พูดยังกะเอาก้อนหินใส่กระป๋องแล้วเขย่า

ผมเคยเจอต่างชาติพูดภาษาอังกฤษเร็ว ๆ ผมยังสามารถเรียบเรียงเป็นภาษาไทยได้ เพราะ grammar ของภาษามันมี logic กำหนดอยู่

ดังนั้น ใครก็ตามที่ต่อไปมีโอกาสได้ present ก็กรุณาเรียบเรียงภาษาไทยให้ดีก่อนพูดด้วยนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูง
ความคิดเห็นที่ 6


พวกนักแปลในการประชุมนานาชาติ ต้องแปลคำต่อคำ ความหมายไม่ผิดเพี้ยน

การแปลผิด หรือ แปลช้า อาจส่งผล ถึงผลประโยชน์ มูลค่ามหาศาล หรือ อาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาติ
ความคิดเห็นที่ 27
ผมทำบริษัทฯ ให้เช่าอุปกรณ์หูฟังแปลภาษานี้พอดีครับ เลยอยากจะขออธิบายว่า ล่ามแปลภาษานี้ มี 2 ประเทภ คือ Simultaneous Interpreter กับ Consecutive Interpreter ซึ่ง ล่ามชนิดแรก คือ ล่ามนั่งตู้ที่เรียกว่า ล่ามแปลฉับพลัน กับล่ามอันหลังคือ ล่ามแปลตาม (พูดจบประโยคนึง แล้วหยุด เพื่อให้ล่ามแปล)

ระบบตู้ล่ามแปลภาษานั้น เป็นระบบที่ค่อนข้างซับซ้อนครับ ถ้าใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานโลกแล้ว ก็จะดีมาก เพราะระบบทุกอย่างเค้าออกแบบมาอย่างดี ครอบคลุมทุกความต้องการของการใช้งาน แต่ปัจจุบันนี้มีระบบเทียมที่ต้องการลดต้นทุน เลยเอามาปรับแต่ง หาอุปกรณ์ราคาถูกมาให้ใช้งานทดแทน ถามว่าใช้งานได้มั้ย ได้ครับ แต่ก็มีหลายอย่างที่ลูกค้ามองข้าม มัวแต่ไปสนใจเรื่องของราคาถูก (อันนี้ก็ไม่ว่ากันครับ เพราะงบใครมีได้เท่าไหร่ก็ว่ากันไปตามนั้น)

ระบบแปลภาษาแบบตู้ล่ามก็มีดังนี้ครับ (สำหรับกรณีแปลภาษาเดียว เช่น อังกฤษ เป็น ไทย หรือ ไทย เป็น อังกฤษ ก่อนนะครับ) เมื่อผู้พูดที่เป็นคนอเมริกา พูดภาษาอังกฤษ คนในห้องที่เป็นคนไทยทั้งหมด ฟังภาษาอังกฤษไม่เข้าใจ สัญญานเสียงของผู้พูดจากไมค์ที่โพเดี้ยม ก็จะส่งไปที่หูฟังของล่ามที่นั่งในตู้ เมื่อล่ามได้ยินเสียงของผู้พูดแล้ว ก็จะแปลจากภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทยก่อน (แปลในสมองอย่างฉับพลัน) แล้วก็พูดในสิ่งที่แปลในสมองออกมา เข้าไปยังไมค์ของล่ามที่อยู่ภายในตู้ จากนั้น สัญญานเสียงของล่ามที่แปลเป็นไทยออกมาแล้ว ก็จะส่งต่อไปยังเครื่องส่งสัญญานเสียงที่อยู่ตรงโต๊ะคอนโทรลของทีมงานช่างชำนาญเฉพาะทางเรื่องระบบแปลภาษา แล้วส่งต่อไปยังเครื่องส่งแสงอินฟราเรด (ในระบบมาตรฐาน แต่เดี๋ยวนี้เค้าเอามาลดต้นทุน ใช้คลื่นวิทยุ UHF แทน ซึ่งนับว่าเสี่ยงมาก เพราะมันอาจจะไปกวนกับสัญญานวิทยุอื่นๆ เช่น ไมค์ลอย หรืออุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ได้ง่าย) จากเครื่องส่งแสงอินฟราเรดนี้ ก็จะส่งสัญญานแปลที่ว่า ไปยังเครื่องรับที่คนฟังสวมหูฟัง กันอยู่ ก็จะสามารถได้ยินเสียงแปลจากล่ามภาษาไทย ได้พร้อมๆ กับการพูดของผู้พูดครับ ทั้งนี้ การแปลจะช้าหรือเร็ว หรือจะมีคุณภาพแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับล่ามล้วนๆ ครับ

สำหรับกรณีมีการแปลหลายภาษา อันนี้จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นครับ ยกตัวอย่างว่า มี ภาษาอังกฤษ ไทย จีน ญี่ปุ่น (จริงๆ แล้วผมเคยทำ 10 ภาษาในห้องเดียว ถ้าใช้ระบบแท้ๆ สามารถรองรับได้ถึง 31 ภาษาในห้องเดียวเลยครับ) กรณีนี้ เราจะยึด ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักที่ล่ามจะต้องรู้อยู่แล้ว หรือ ดังนั้น การทำงานก็ไม่ยากครับ ก็เพียง เมื่อผู้พูดๆ ภาษาอังกฤษออกมา ล่าม ไทย จีน ญี่ปุ่น ก็แปลจากอังกฤษ ไปเป็นภาษาเหล่านั้น แต่ ความซับซ้อนจะเกิดขึ้นก็คือว่า หากผู้พูดๆ ภาษาจีนล่ะครับ ทำยังไง แน่นอนครับ งานนี้ ล่ามจีนรับศึกหนักที่ต้องแปลจากภาษาจีนเป็นอังกฤษก่อน แล้วล่ามไทย กับ ญี่ปุ่น ก็ต้องเลือกฟังภาษาอังกฤษ จากล่ามจีน แล้วแปลไปเป็นภาษาไทย กับ ญี่ปุ่น อีกที ถ้าเจอกรณีนี้ ไม่ยากเท่าไหร่ครับ แต่อันที่ยากยิ่งกว่า งง มากกว่าก็คือ ภาษาแปลกๆ ที่น้อยคนจะเข้าใจ ซึ่งอันนี้ผมยังไม่เคยเจอ เพราะที่เคยทำมานั้น ก็จะเป็นงานนานาชาติ ที่ใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าล่ามส่วนมากจะสามารถใช้ภาษาเหล่านี้ได้อยู่แล้ว

แต่จะขอยกตัวอย่างให้เล่นๆ นะครับ ไว้เป็นกรณีศึกษา สมมติว่าในงานนี้มีภาษายาวีเป็นหลัก แต่ดันไม่มีล่ามภาษายาวีแปลเป็นอังกฤษ มีแต่ล่ามภาษายาวี แปลเป็นจีน แต่คนฟังดันเป็นฝรั่งภาษาอังกฤษหมดเลย ทำไงดีครับ..... ทางแก้ก็คือ หาล่ามแปลจีนเป็นอังกฤษมาเพิ่มครับ กระบวนการก็จะมีดังนี้ คือ ล่ามยาวี แปล ยาวีเป็นจีนก่อน จากนั้น ล่ามจีน ก็จะแปลจีน เป็นอังกฤษ อีกทีครับ เท่านี้ผู้ฟังก็จะได้รับฟังภาษาอังกฤษได้โดยสะดวกแล้ว

ระบบการทำงานของหูฟังแปลภาษาก็มีตามนี้ครับ สงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้เลยครับ ยินดีตอบทุกข้อสงสัยเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่