โรงไฟฟ้ากระบี่ ท่าเรือน้ำลึกปากบาราสตูล จะไปทำที่ทวาย

ไฟดับภาคใต้ เป็นข้อคิดที่ดี ความเจริญในท้องถิ่นต้องใช้ทรัพยากรเช่นกัน ความเจริญด้านท่องเที่ยว ประมงก็ต้องใช้พลังงาน ไฟฟ้า หินสวย น้ำใสอย่างเดียวไม่ได้

สตูลเป็นจังหวัดที่เจริญช้ามาก เมื่อ 40กว่าปีที่แล้ว ทางเข้าตัวเมืองมีเพียงถนน จากหาดใหญ่ 2 เลนลาดยางเส้นเดียว แต่8-9ปีที่ผ่านมาเจริญขึ้นเร็ว แต่ด้วยราคาของความทุกข์ยากของคนในสามจังหวัดภาคใต้ที่ฆ่ากันรายวัน การย้ายที่อยู่มาสตูลจึงเกิดขึ้นถนนจากหาดใหญ่ขยายเป็น คอนกรีต 4 เลน เช่นเดียวกับถนนไปอำเภอละงู สู่ท่าเรือไปเกาะหลีเปะ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมปากบารา ริเริ่มมาได้ร่วม50 ปีแล้วไม่ปรากฏว่าคนในพื้นที่ต่อต้าน ตรงข้ามกับเรียกร้องให้มาทำแทนที่จะทำในจังหวัดอื่นเช่น สงขลาหรือประจวบ
แต่ครั้นเมื่อจะเอาจริงมีที่ท่าเป็นไปได้ ก็เกิดกลุม ngo มาต่อต้าน อ้างเรื่องวิถึชีวิตประมงและท่องเที่ยว

ขอบอกว่าการท่องเที่ยวนั้นอุตทยานแห่งชาติตะรุเตา เกาะใหญ่ทั้งหมดเช่นตารุเตาะ อาดัง เป็นของรัฐ ไม่มี โรงแรมของเอกชน เว้นเฉพาะเกาะหลีเปะซึ่งเล็กนิดเดียว ขณะที่ เกาะอาดังซึ่งอยู่ตรงข้าม ปิดไฟ สามทุ่ม หลีเปะเปิดไฟทั้งคืน ด้วยโรงปั้นไฟเอกชน ค่าไฟแพงมาก
นักท่องเที่ยวเงินหนา จึงแล่นเรือยอร์จหรือบินมาพักที่เกาะลังกาวีของมาเลเซีย(อยู่ตรงข้ามอาดัง) แล้วก็นั่งเรือขนาดเล็กมาเที่ยวหลีเปะหรือชมปะการัง ตามหมู่เกาะต่างในอุทยานของไทย(ทรัพยากรธรรมชาติไทย) แล้วกลับไปใช้จ่ายเงินที่ลังกาวี

ปัญหาการต่อต้านโรงไฟฟ้ากระบี่ หรือท่าเรือ น้ำลึกปากบาราโดย ngo แต่อาศัยเหตผลด้านท่องเที่ยวและประมง นั้นไม่สมเหตุผล การมีท่าเรือและโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จะเป็นการช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆซึ่งกัน ในกรณีของสตุล จะช่วยแก้ปัญหาสามจังหวัดใต้ทางอ้อมได้ด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่