ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
หลังจากรัฐบาลประกาศว่าได้ทำความตกลงกับรัฐบาลจีนให้แพนด้า "หลินปิง" อยู่ที่ไทยต่อไปอีก 15 ปี ด้วยงบประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือราว 29 ล้านบาท คนไทยหลายคนจึงเพิ่งรู้ว่า ทูตสันถวไมตรีจากจีนมี "ค่าตัว" แพงขนาดนี้ หลายคนวิจารณ์ว่า เงินจำนวนนี้น่าจะใช้ดูแลสัตว์คู่บ้านคู่เมืองอย่างเช่นช้าง หรือใช้เพื่อการศึกษา แต่ฝ่ายแพนด้าแฟนคลับก็มองว่าเงินจำนวนนี้คุ้มแสนคุ้ม และยังแสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างไทย-จีน เพราะมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกี่ได้รับแพนด้าจากรัฐบาลจีน
"การทูตแพนด้า" ของจีนมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง เมื่อจักรพรรดินีบูเช็กเทียนมอบแพนด้า 1 คู่ให้แก่จักรพรรดิของญี่ปุ่นเพื่อตอบแทนที่ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี แต่ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของจีน การมอบแพนด้าในฐานะ "ของขวัญ" เปิดฉากขึ้นในปี ค.ศ. 1941 เมื่อนางซ่งเหม่ยหลิง ภรรยาของนายพลเจียงไคเช็ก ผู้นำสาธารณรัฐจีน เดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา และได้มอบแพนด้า 1 คู่ให้เพื่อขอบคุณที่ชาวอเมริกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากนั้นในปี ค.ศ. 1946 รัฐบาลเจียงไคเช็กยังมอบแพนด้า 1 ตัวให้แก่อังกฤษ หมียักษ์สีขาวดำจึงกลายเป็น "ของกำนัลแทนไมตรี" นับแต่บัดนั้น
หลังพรรคคอมมิวนิสต์สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน แพนด้าถูกขึ้นบัญชีเป็น "สมบัติชาติ" เพราะแพนด้าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และมีเฉพาะในประเทศจีนที่เดียวในโลก รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนได้มอบแพนด้าเป็นของขวัญให้เฉพาะมิตรประเทศเท่านั้น โดยสหภาพโซเวียตเป็นชาติแรกที่ได้รับแพนด้า "ผิงผิง" และ "อันอัน" เป็นของกำนัลจากจีนในปี ค.ศ. 1957 ส่วนเพื่อนรักอย่างเกาหลีเหนือได้รับแพนด้าจากจีนถึง 5 ตัวในช่วงปี 1965 ถึง 1980
ในช่วงที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนยังไม่เปิดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก แต่สวนสัตว์ในหลายประเทศก็ปรารถนาจะได้แพนด้าไปอวดโฉม สวนสัตว์ไมอามี่และชิคาโกของสหรัฐเคยส่งจดหมายถึงสวนสัตว์ปักกิ่งขอแลกเปลี่ยนสัตว์หายาก โดยเฉพาะแพนด้า แต่สวนสัตว์ปักกิ่งในขณะนั้นมีแพนด้าเพียงแค่ 3 ตัว ซึ่งเตรียมจะมอบให้แก่โซเวียต ซ้ำในช่วงนั้น สหรัฐยังเป็นแกนนำคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน คำขอดังกล่าวจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ กระทรวงการต่างประเทศจีนได้ตั้งเงื่อนไขตอบกลับไปว่า " โดยหลักการแล้วสามารถแลกเปลี่ยนได้ แต่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องส่งผู้แทนมารับแลกเปลี่ยนโดยตรง ห้ามผ่านประเทศที่สาม" แน่นอนว่าสภาคองเกรสของสหรัฐในขณะนั้นซึ่งยึดนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ไม่ตอบรับเงื่อนไขของฝ่ายจีน
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-จีนถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เปิดสัมพันธ์กับรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ และเป็นผู้นำสหรัฐคนแรกที่เดินทางเยือนจีนในปี 1972 บันทึกของกระทรวงการต่างประเทศจีนเล่าถึงช่วงที่ประธานาธิบดีนิกสันและภริยาพบกับนายกฯ โจวเอินไหลว่า นายกฯ โจวยื่นบุหรี่ยี่ห้อแพนด้าให้แก่ภริยาของนิกสัน แต่เธอตอบว่า "ไม่สูบบุหรี่" โจวเอินไหลจึงชี้ไปที่รูปแพนด้าบนซองบุหรี่พร้อมกล่าวว่า "ชอบไหม? รัฐบาลปักกิ่งยินดีมอบแพนด้าหนึ่งคู่เป็นของขวัญแด่ชาวสหรัฐ" ข้อเสนอของนายกฯ จีนทำให้สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐถึงกับตกตะลึง
แพนด้า "หลิงหลิง" "ซิ่งซิ่ง" เดินทางถึงสหรัฐในปีเดียวกัน และเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก เครื่องบินซึ่งขนส่งแพนด้าจากจีนติดป้ายขนาดใหญ่ว่า "ของขวัญจากจีนแดง" กระแสแพนด้าแพร่สะพัดทั่วประเทศ รัฐบาลสหรัฐประกาศให้ปี 1972 เป็น "ปีแพนด้า" ชาวอเมริกันมากกว่า 3 ล้านคนแห่ไปชมหมียักษ์จากจีนในปีเดียว
ในช่วงปี 1957 ถึง 1982 รัฐบาลจีนมอบแพนด้า 23 ตัวให้แก่มิตรประเทศ 9 ชาติ คือ โซเวียต เกาหลีเหนือ สหรัฐ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ เม็กซิโก สเปน และเยอรมนี ทั้งหมดเป็นการมอบให้โดยไม่คิดค่าตอบแทน แพนด้าทั้งหมดโอนสัญชาติและถือเป็นสิทธิ์ขาดของประเทศผู้รับมอบ ทุกวันนี้เหลือเพียงแพนด้าที่เยอรมนี 1 ตัวและลูก 3 ตัวของแพนด้าที่เม็กซิโกที่ยังมีชีวิตอยู่
หลังปี 1982 จำนวนแพนด้าในจีนลดลงอย่างน่าใจหาย รัฐบาลจีนจึงประกาศยุติการมอบแพนด้าเป็นของขวัญ แต่เจ้าหมียักษ์ก็ไม่ได้สิ้นสุดการเดินทางไปต่างแดน เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบมาเป็น "การเช่ายืม"
ปี 1984 จีนให้สหรัฐยืมแพนด้า 2 ตัวเพื่อใช้ในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกลอสแองเจลิส หลังจากนั้นสวนสัตว์ทั่วสหรัฐหลายสิบแห่ง รวมทั้งสวนสัตว์ในญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ และเยอรมนี ต่างขอเช่ายืมแพนด้าจากจีนด้วยค่าตัวหลายแสนดอลลาร์ แม้แต่ซูเปอร์มาร์เก็ตและนิทรรศการต่างๆ ก็ต้องการแพนด้าไปโชว์ตัว หมียักษ์ "สมบัติชาติ" ของจีนถูกใช้ไม่แตกต่างจากละครสัตว์ แม้แต่สวนสัตว์เม็กซิโกที่ได้แพนด้าไปจากจีนก็ยังเลียนแบบ นำลูกแพนด้า 4 ตัวให้สวนสัตว์ของสหรัฐเช่ายืมต่อ
การเช่ายืมแพนด้าสร้างรายได้มหาศาลให้แก่องค์กรสวนสัตว์แห่งชาติจีน การล่าแพนด้าจากป่าเกิดขึ้นอย่างมากมาย แต่เงินที่ได้จากน้ำพักน้ำแรงของแพนด้ากลับถูกนำไปใช้สร้างตึก สร้างถนน ไม่ได้ถูกใช้เพื่อการอนุรักษ์เสียทั้งหมด หรือตอบแทนให้แก่เจ้าหมียักษ์แต่อย่างใด
การเช่ายืมแพนด้าถูกองค์กรพิทักษ์สัตว์ต่อต้านอย่างหนัก จนกระทั่งปี 1996 ภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ หรือไซเตส ออกกฎห้ามประเทศสมาชิกใช้สัตว์อนุรักษ์เพื่อการค้า ทำให้องค์กรสวนสัตว์แห่งชาติจีนได้คิดค้นวิธีส่งออกแพนด้าแบบใหม่ คือ "วิจัยร่วมกัน"
วิจัยแพนด้า ปีละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
กรมป่าไม้ของจีนตั้งเงื่อนไขในการยืมตัวแพนด้าเพื่อวิจัยร่วมกัน คือ ประเทศคู่สัญญาต้องบริจาคเงินให้ฝ่ายจีนปีละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินนี้ร้อยละ 60 จะถูกใช้เพื่อการอนุรักษ์แพนด้า และร้อยละ 40 จะเป็นค่าตอบแทนบุคลากรในการวิจัยแพนด้า โดยระยะเวลายืมตัวแพนด้า 10 ปี สิทธิทุกอย่างในตัวแพนด้าเป็นของฝ่ายจีน หากมีลูกจะต้องจ่ายเพิ่มอีกปีละ 6 แสนดอลลาร์ และลูกแพนด้าถือเป็นกรรมสิทธิ์ของจีน นอกจากนี้ หากแพนด้าตาย ศพก็ยังเป็นของจีน และถึงแม้เงื่อนไขจะมากมายเพียงนี้ก็ไม่ใช่ทุกประเทศจะได้สิทธิ์ร่วมวิจัยแพนด้ากับจีน ขณะนี้มีเพียง 12 ประเทศที่ได้รับแพนด้าจากจีน โดยบางประเทศยังได้รับ "ส่วนลดพิเศษ" เช่น ออสเตรเลีย และแพนด้า "ช่วงช่วง" "หลินฮุ่ย" ของไทยที่จีนคิดค่าตัวเพียงปีละ 3 แสนดอลลาร์
ใครใครก็อยากได้แพนด้า
นอกจากค่าตัวปีละ 1 ล้านดอลลาร์แล้ว ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูแพนด้ายังสูงถึงปีละ 10 ล้านบาท สูงกว่าการเลี้ยงช้างถึง 5 เท่าตัว นอกจากต้องสร้างที่พักติดแอร์แล้ว ยังต้องมีต้นไผ่ 40 กิโลกรัมต่อวันเพื่อเป็นอาหาร ไผ่ที่ใช้เลี้ยงต้องไม่ใช้ยาฆ่าแมลงหรือปนเปื้อนมลพิษ และในจำนวนไผ่กว่า 200 พันธุ์นั้น มีเพียง 20 พันธุ์ที่ "ถูกปาก" เจ้าหมียักษ์
สวนสัตว์แอตแลนตาของสหรัฐต้องให้อาสาสมัคร 400 คนปลูกไผ่ที่สวนหลังบ้านของตัวเองเพื่อเลี้ยงแพนด้า ขณะที่สวนสัตว์หลายประเศต้องนำเข้าไผ่ ค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่วทำให้สวนสัตว์เมืองเมมฟิสและแอตแลนตาขาดทุนถึง 3 แสนดอลลาร์ต่อปี และต้องต่อรองให้ทางจีนลด "ค่าตัว" เจ้าหมียักษ์ลง
อย่างไรก็ตาม สวนสัตว์ส่วนใหญ่ได้กำไรมหาศาลจากแพนด้า เช่น สวนสัตว์เชียงให่ที่พลิกจากการขาดทุนมาทำกำไร กระแสแพนด้าฟีเวอร์ของคนไทยเป็นข่าวที่ชาวจีนรู้ดี ล่าสุด สถานีโทรทัศน์อินเทอร์เน็ตในเครือข่ายของซีซีทีวีได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยแพนด้าเมืองเฉิงตู เปิดตัว "สถานีโทรทัศน์ช่องแพนด้า" แบบเดียวกับของไทยเรา
นานาชาติยังต้องการ "ขอยืมตัว" แพนด้าจากจีนอย่างไม่ขาดสาย ประเทศล่าสุดที่ได้รับแพนด้าคือ สิงคโปร์ และปลายปีนี้ มาเลเซียก็จะได้รับแพนด้า 1 คู่เพื่อฉลองวาระ 40 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต รัฐบาลมาเลเซียทุ่มเงินถึง 200 ล้านบาทเพื่อสร้างที่พักแพนด้า ขณะที่อีกหลายประเทศยังรอคอยการอนุมัติจากทางการจีน แม้แต่เพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้ก็ยังไม่มีแพนด้า
ไต้หวันกับแพนด้าการเมือง
ในบรรดาประเทศที่ได้รับมอบแพนด้าจากจีน ไม่มีที่ไหนถูกเชื่อมโยงกับการเมืองเท่ากับไต้หวัน หลังจากสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1949 จีนและไต้หวันตัดขาดความสัมพันธ์ต่อกัน ไมมีการติดต่อโดยตรง ไม่มีการไปมาหาสู่กัน จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ปี 2005 นายเหลียนจั้น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ฝ่ายค้านของไต้หวันในขณะนั้น เดินทางเยือนจีน โดยถือเป็นผู้นำระดับสูงสุดของไต้หวันที่เยือนแผ่นดินใหญ่ หลังการเยือนครั้งประวัติศาสตร์ รัฐบาลจีนประกาศมอบแพนด้าหนึ่งคู่เป็นของขวัญแก่ไต้หวัน
แต่ใช่ว่าชาวไต้หวันทุกคนจะยินดีรับของขวัญจากจีน เพราะชาวไต้หวันมีความคิดแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ต้องการผูกไมตรีกับจีน และฝ่ายที่ต้องการแยกไต้หวันเป็นเอกราช โดยเฉพาะรัฐบาลของประธานาธิบดีเฉินสุยเปี่ยนในขณะนั้น ยืนตรงข้ามกับจีนแผ่นดินใหญ่อย่างชัดแจ้ง นักการเมืองพรรคของเฉินสุยเปี่ยนมองว่า แพนด้าเป็นเครื่องมือซื้อใจและโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายจีน กระแส "ไม่เอาแพนด้า" ถูกโหมแรงยิ่งขึ้น เมื่อฝ่ายจีนประกาศตั้งชื่อแพนด้าที่จะมอบให้ไต้หวันว่า "ถวนถวน" และ "หยวนหยวน" ซึ่งคำว่า "ถวนหยวน" แปลว่า "รวมญาติ" ฝ่ายสนับสนุนเอกราชไต้หวันจึงตีความว่ามีนัยถึงการ "รวมชาติ" กับแผ่นดินใหญ่นั่นเอง
รัฐบาลไต้หวันในยุคของเฉินสุยเปี่ยนใช้ข้ออ้างว่า สถานที่และบุคลากรไม่พร้อม ปฏิเสธที่จะอนุญาตนำเข้าแพนด้าจากจีน "ถวนถวน" "หยวนหยวน" จึงต้องรอเก้ออยู่ที่แผ่นดินใหญ่นานถึง 3 ปี จนกระทั่งประธานาธิบดีเฉินสิ้นอำนาจเมื่อปลายปี 2008 และรัฐบาลไต้หวันเปลี่ยนไปสู่การนำของนายหม่าอิงจิ๋ว ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ที่ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่
ประธานาธิบดีหม่าผลักดันนโยบายสานสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเปิดทางยอมรับของขวัญจากฝ่ายจีน "ถวนถวน" "หยวนหยวน" จึงถูกส่งถึงสวนสัตว์เมืองไทเปในวันที่ 23 ธันวาคม 2008
2 แพนด้าจากจีนได้รับความนิยมจากชาวไต้หวันอย่างมาก จนทางสวนสัตว์ต้องจำกัดเวลาให้ชมได้คนละ 3 นาที แต่กระแสแพนด้าฮิตในไต้หวันได้ไม่ทันจะข้ามปี ก็เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก กิจการที่เกาะกระแสแพนด้าต้องปิดตัวลงเป็นทิวแถว ส่วนจำนวนผู้เข้าชมแพนด้าลดลงจากที่ประมาณการไว้ถึงครึ่งหนึ่ง และลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้
เมืองเซนไดไม่เอาแพนด้า
หลังเกิดเหตุคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหวถล่มญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 นายกฯ เวินเจียเป่าของจีนได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบภัยที่เมืองเซนได เด็กหญิงคนหนึ่งที่ได้รับตุ๊กตาแพนด้าจากผู้นำจีนเขียนจดหมายส่งถึงกรุงปักกิ่งบอกว่าเธอชอบแพนด้ามาก ซึ่งนายกฯ เวินเจียเป่าได้เขียนจดหมายตอบกลับ พร้อมบอกว่าจะมอบแพนด้าหนึ่งคู่ให้แก่เมืองเซนไดเพื่อใช้หารายได้ฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ และเป็นสัญลักษณ์ในวาระครบรอบ 40 ปีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ญี่ปุ่น แผน "ขอยืม" แพนด้าได้รับการตอบรับอย่างดีจากรัฐบาลเมืองเซนได และรัฐบาลกลางของนายกฯ โยชิฮิโกะ โนดะ
อย่างไรก็ตาม ชาวเมืองเซนไดบางส่วนกลับคัดค้านการยืมแพนด้าจากจีน ด้วยเหตุผลว่า ควรนำเงินภาษี 1 ล้านดอลลาร์ไปฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยมากกว่า รวมทั้งคัดค้านการนำสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างแพนด้ามาเป็นเครื่องมือทางการค้าและการเมือง
ไม่นานหลังจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่น-จีนเลวร้ายลงจากกรณีพิพาทเกาะเซนกากุ กระแสต่อต้านลุกลามในหมู่ประชาชนทั้งสองชาติ ถึงขนาดที่นายชินทาโร อิชิฮาระ ผู้ว่าการกรุงโตเกียว ประกาศว่า จะตั้งชื่อลูกแพนด้าที่เพิ่งเกิดใหม่ที่สวนสัตว์กรุงโตเกียวว่า "เซนกากุ" พร้อมส่งคืนให้แก่จีน ทำให้ในที่สุดรัฐบาลเมืองเซนไดจำต้องบอกเลิกการขอยืมแพนด้าจากจีน
ศุภชัย วุฒิชูวงศ์
แพนด้า..การทูต การเมือง และต้นทุน
หลังจากรัฐบาลประกาศว่าได้ทำความตกลงกับรัฐบาลจีนให้แพนด้า "หลินปิง" อยู่ที่ไทยต่อไปอีก 15 ปี ด้วยงบประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือราว 29 ล้านบาท คนไทยหลายคนจึงเพิ่งรู้ว่า ทูตสันถวไมตรีจากจีนมี "ค่าตัว" แพงขนาดนี้ หลายคนวิจารณ์ว่า เงินจำนวนนี้น่าจะใช้ดูแลสัตว์คู่บ้านคู่เมืองอย่างเช่นช้าง หรือใช้เพื่อการศึกษา แต่ฝ่ายแพนด้าแฟนคลับก็มองว่าเงินจำนวนนี้คุ้มแสนคุ้ม และยังแสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างไทย-จีน เพราะมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกี่ได้รับแพนด้าจากรัฐบาลจีน
"การทูตแพนด้า" ของจีนมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง เมื่อจักรพรรดินีบูเช็กเทียนมอบแพนด้า 1 คู่ให้แก่จักรพรรดิของญี่ปุ่นเพื่อตอบแทนที่ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี แต่ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของจีน การมอบแพนด้าในฐานะ "ของขวัญ" เปิดฉากขึ้นในปี ค.ศ. 1941 เมื่อนางซ่งเหม่ยหลิง ภรรยาของนายพลเจียงไคเช็ก ผู้นำสาธารณรัฐจีน เดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา และได้มอบแพนด้า 1 คู่ให้เพื่อขอบคุณที่ชาวอเมริกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากนั้นในปี ค.ศ. 1946 รัฐบาลเจียงไคเช็กยังมอบแพนด้า 1 ตัวให้แก่อังกฤษ หมียักษ์สีขาวดำจึงกลายเป็น "ของกำนัลแทนไมตรี" นับแต่บัดนั้น
หลังพรรคคอมมิวนิสต์สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน แพนด้าถูกขึ้นบัญชีเป็น "สมบัติชาติ" เพราะแพนด้าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และมีเฉพาะในประเทศจีนที่เดียวในโลก รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนได้มอบแพนด้าเป็นของขวัญให้เฉพาะมิตรประเทศเท่านั้น โดยสหภาพโซเวียตเป็นชาติแรกที่ได้รับแพนด้า "ผิงผิง" และ "อันอัน" เป็นของกำนัลจากจีนในปี ค.ศ. 1957 ส่วนเพื่อนรักอย่างเกาหลีเหนือได้รับแพนด้าจากจีนถึง 5 ตัวในช่วงปี 1965 ถึง 1980
ในช่วงที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนยังไม่เปิดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก แต่สวนสัตว์ในหลายประเทศก็ปรารถนาจะได้แพนด้าไปอวดโฉม สวนสัตว์ไมอามี่และชิคาโกของสหรัฐเคยส่งจดหมายถึงสวนสัตว์ปักกิ่งขอแลกเปลี่ยนสัตว์หายาก โดยเฉพาะแพนด้า แต่สวนสัตว์ปักกิ่งในขณะนั้นมีแพนด้าเพียงแค่ 3 ตัว ซึ่งเตรียมจะมอบให้แก่โซเวียต ซ้ำในช่วงนั้น สหรัฐยังเป็นแกนนำคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน คำขอดังกล่าวจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ กระทรวงการต่างประเทศจีนได้ตั้งเงื่อนไขตอบกลับไปว่า " โดยหลักการแล้วสามารถแลกเปลี่ยนได้ แต่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องส่งผู้แทนมารับแลกเปลี่ยนโดยตรง ห้ามผ่านประเทศที่สาม" แน่นอนว่าสภาคองเกรสของสหรัฐในขณะนั้นซึ่งยึดนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ไม่ตอบรับเงื่อนไขของฝ่ายจีน
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-จีนถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เปิดสัมพันธ์กับรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ และเป็นผู้นำสหรัฐคนแรกที่เดินทางเยือนจีนในปี 1972 บันทึกของกระทรวงการต่างประเทศจีนเล่าถึงช่วงที่ประธานาธิบดีนิกสันและภริยาพบกับนายกฯ โจวเอินไหลว่า นายกฯ โจวยื่นบุหรี่ยี่ห้อแพนด้าให้แก่ภริยาของนิกสัน แต่เธอตอบว่า "ไม่สูบบุหรี่" โจวเอินไหลจึงชี้ไปที่รูปแพนด้าบนซองบุหรี่พร้อมกล่าวว่า "ชอบไหม? รัฐบาลปักกิ่งยินดีมอบแพนด้าหนึ่งคู่เป็นของขวัญแด่ชาวสหรัฐ" ข้อเสนอของนายกฯ จีนทำให้สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐถึงกับตกตะลึง
แพนด้า "หลิงหลิง" "ซิ่งซิ่ง" เดินทางถึงสหรัฐในปีเดียวกัน และเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก เครื่องบินซึ่งขนส่งแพนด้าจากจีนติดป้ายขนาดใหญ่ว่า "ของขวัญจากจีนแดง" กระแสแพนด้าแพร่สะพัดทั่วประเทศ รัฐบาลสหรัฐประกาศให้ปี 1972 เป็น "ปีแพนด้า" ชาวอเมริกันมากกว่า 3 ล้านคนแห่ไปชมหมียักษ์จากจีนในปีเดียว
ในช่วงปี 1957 ถึง 1982 รัฐบาลจีนมอบแพนด้า 23 ตัวให้แก่มิตรประเทศ 9 ชาติ คือ โซเวียต เกาหลีเหนือ สหรัฐ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ เม็กซิโก สเปน และเยอรมนี ทั้งหมดเป็นการมอบให้โดยไม่คิดค่าตอบแทน แพนด้าทั้งหมดโอนสัญชาติและถือเป็นสิทธิ์ขาดของประเทศผู้รับมอบ ทุกวันนี้เหลือเพียงแพนด้าที่เยอรมนี 1 ตัวและลูก 3 ตัวของแพนด้าที่เม็กซิโกที่ยังมีชีวิตอยู่
หลังปี 1982 จำนวนแพนด้าในจีนลดลงอย่างน่าใจหาย รัฐบาลจีนจึงประกาศยุติการมอบแพนด้าเป็นของขวัญ แต่เจ้าหมียักษ์ก็ไม่ได้สิ้นสุดการเดินทางไปต่างแดน เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบมาเป็น "การเช่ายืม"
ปี 1984 จีนให้สหรัฐยืมแพนด้า 2 ตัวเพื่อใช้ในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกลอสแองเจลิส หลังจากนั้นสวนสัตว์ทั่วสหรัฐหลายสิบแห่ง รวมทั้งสวนสัตว์ในญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ และเยอรมนี ต่างขอเช่ายืมแพนด้าจากจีนด้วยค่าตัวหลายแสนดอลลาร์ แม้แต่ซูเปอร์มาร์เก็ตและนิทรรศการต่างๆ ก็ต้องการแพนด้าไปโชว์ตัว หมียักษ์ "สมบัติชาติ" ของจีนถูกใช้ไม่แตกต่างจากละครสัตว์ แม้แต่สวนสัตว์เม็กซิโกที่ได้แพนด้าไปจากจีนก็ยังเลียนแบบ นำลูกแพนด้า 4 ตัวให้สวนสัตว์ของสหรัฐเช่ายืมต่อ
การเช่ายืมแพนด้าสร้างรายได้มหาศาลให้แก่องค์กรสวนสัตว์แห่งชาติจีน การล่าแพนด้าจากป่าเกิดขึ้นอย่างมากมาย แต่เงินที่ได้จากน้ำพักน้ำแรงของแพนด้ากลับถูกนำไปใช้สร้างตึก สร้างถนน ไม่ได้ถูกใช้เพื่อการอนุรักษ์เสียทั้งหมด หรือตอบแทนให้แก่เจ้าหมียักษ์แต่อย่างใด
การเช่ายืมแพนด้าถูกองค์กรพิทักษ์สัตว์ต่อต้านอย่างหนัก จนกระทั่งปี 1996 ภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ หรือไซเตส ออกกฎห้ามประเทศสมาชิกใช้สัตว์อนุรักษ์เพื่อการค้า ทำให้องค์กรสวนสัตว์แห่งชาติจีนได้คิดค้นวิธีส่งออกแพนด้าแบบใหม่ คือ "วิจัยร่วมกัน"
วิจัยแพนด้า ปีละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
กรมป่าไม้ของจีนตั้งเงื่อนไขในการยืมตัวแพนด้าเพื่อวิจัยร่วมกัน คือ ประเทศคู่สัญญาต้องบริจาคเงินให้ฝ่ายจีนปีละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินนี้ร้อยละ 60 จะถูกใช้เพื่อการอนุรักษ์แพนด้า และร้อยละ 40 จะเป็นค่าตอบแทนบุคลากรในการวิจัยแพนด้า โดยระยะเวลายืมตัวแพนด้า 10 ปี สิทธิทุกอย่างในตัวแพนด้าเป็นของฝ่ายจีน หากมีลูกจะต้องจ่ายเพิ่มอีกปีละ 6 แสนดอลลาร์ และลูกแพนด้าถือเป็นกรรมสิทธิ์ของจีน นอกจากนี้ หากแพนด้าตาย ศพก็ยังเป็นของจีน และถึงแม้เงื่อนไขจะมากมายเพียงนี้ก็ไม่ใช่ทุกประเทศจะได้สิทธิ์ร่วมวิจัยแพนด้ากับจีน ขณะนี้มีเพียง 12 ประเทศที่ได้รับแพนด้าจากจีน โดยบางประเทศยังได้รับ "ส่วนลดพิเศษ" เช่น ออสเตรเลีย และแพนด้า "ช่วงช่วง" "หลินฮุ่ย" ของไทยที่จีนคิดค่าตัวเพียงปีละ 3 แสนดอลลาร์
ใครใครก็อยากได้แพนด้า
นอกจากค่าตัวปีละ 1 ล้านดอลลาร์แล้ว ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูแพนด้ายังสูงถึงปีละ 10 ล้านบาท สูงกว่าการเลี้ยงช้างถึง 5 เท่าตัว นอกจากต้องสร้างที่พักติดแอร์แล้ว ยังต้องมีต้นไผ่ 40 กิโลกรัมต่อวันเพื่อเป็นอาหาร ไผ่ที่ใช้เลี้ยงต้องไม่ใช้ยาฆ่าแมลงหรือปนเปื้อนมลพิษ และในจำนวนไผ่กว่า 200 พันธุ์นั้น มีเพียง 20 พันธุ์ที่ "ถูกปาก" เจ้าหมียักษ์
สวนสัตว์แอตแลนตาของสหรัฐต้องให้อาสาสมัคร 400 คนปลูกไผ่ที่สวนหลังบ้านของตัวเองเพื่อเลี้ยงแพนด้า ขณะที่สวนสัตว์หลายประเศต้องนำเข้าไผ่ ค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่วทำให้สวนสัตว์เมืองเมมฟิสและแอตแลนตาขาดทุนถึง 3 แสนดอลลาร์ต่อปี และต้องต่อรองให้ทางจีนลด "ค่าตัว" เจ้าหมียักษ์ลง
อย่างไรก็ตาม สวนสัตว์ส่วนใหญ่ได้กำไรมหาศาลจากแพนด้า เช่น สวนสัตว์เชียงให่ที่พลิกจากการขาดทุนมาทำกำไร กระแสแพนด้าฟีเวอร์ของคนไทยเป็นข่าวที่ชาวจีนรู้ดี ล่าสุด สถานีโทรทัศน์อินเทอร์เน็ตในเครือข่ายของซีซีทีวีได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยแพนด้าเมืองเฉิงตู เปิดตัว "สถานีโทรทัศน์ช่องแพนด้า" แบบเดียวกับของไทยเรา
นานาชาติยังต้องการ "ขอยืมตัว" แพนด้าจากจีนอย่างไม่ขาดสาย ประเทศล่าสุดที่ได้รับแพนด้าคือ สิงคโปร์ และปลายปีนี้ มาเลเซียก็จะได้รับแพนด้า 1 คู่เพื่อฉลองวาระ 40 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต รัฐบาลมาเลเซียทุ่มเงินถึง 200 ล้านบาทเพื่อสร้างที่พักแพนด้า ขณะที่อีกหลายประเทศยังรอคอยการอนุมัติจากทางการจีน แม้แต่เพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้ก็ยังไม่มีแพนด้า
ไต้หวันกับแพนด้าการเมือง
ในบรรดาประเทศที่ได้รับมอบแพนด้าจากจีน ไม่มีที่ไหนถูกเชื่อมโยงกับการเมืองเท่ากับไต้หวัน หลังจากสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1949 จีนและไต้หวันตัดขาดความสัมพันธ์ต่อกัน ไมมีการติดต่อโดยตรง ไม่มีการไปมาหาสู่กัน จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ปี 2005 นายเหลียนจั้น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ฝ่ายค้านของไต้หวันในขณะนั้น เดินทางเยือนจีน โดยถือเป็นผู้นำระดับสูงสุดของไต้หวันที่เยือนแผ่นดินใหญ่ หลังการเยือนครั้งประวัติศาสตร์ รัฐบาลจีนประกาศมอบแพนด้าหนึ่งคู่เป็นของขวัญแก่ไต้หวัน
แต่ใช่ว่าชาวไต้หวันทุกคนจะยินดีรับของขวัญจากจีน เพราะชาวไต้หวันมีความคิดแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ต้องการผูกไมตรีกับจีน และฝ่ายที่ต้องการแยกไต้หวันเป็นเอกราช โดยเฉพาะรัฐบาลของประธานาธิบดีเฉินสุยเปี่ยนในขณะนั้น ยืนตรงข้ามกับจีนแผ่นดินใหญ่อย่างชัดแจ้ง นักการเมืองพรรคของเฉินสุยเปี่ยนมองว่า แพนด้าเป็นเครื่องมือซื้อใจและโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายจีน กระแส "ไม่เอาแพนด้า" ถูกโหมแรงยิ่งขึ้น เมื่อฝ่ายจีนประกาศตั้งชื่อแพนด้าที่จะมอบให้ไต้หวันว่า "ถวนถวน" และ "หยวนหยวน" ซึ่งคำว่า "ถวนหยวน" แปลว่า "รวมญาติ" ฝ่ายสนับสนุนเอกราชไต้หวันจึงตีความว่ามีนัยถึงการ "รวมชาติ" กับแผ่นดินใหญ่นั่นเอง
รัฐบาลไต้หวันในยุคของเฉินสุยเปี่ยนใช้ข้ออ้างว่า สถานที่และบุคลากรไม่พร้อม ปฏิเสธที่จะอนุญาตนำเข้าแพนด้าจากจีน "ถวนถวน" "หยวนหยวน" จึงต้องรอเก้ออยู่ที่แผ่นดินใหญ่นานถึง 3 ปี จนกระทั่งประธานาธิบดีเฉินสิ้นอำนาจเมื่อปลายปี 2008 และรัฐบาลไต้หวันเปลี่ยนไปสู่การนำของนายหม่าอิงจิ๋ว ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ที่ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่
ประธานาธิบดีหม่าผลักดันนโยบายสานสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเปิดทางยอมรับของขวัญจากฝ่ายจีน "ถวนถวน" "หยวนหยวน" จึงถูกส่งถึงสวนสัตว์เมืองไทเปในวันที่ 23 ธันวาคม 2008
2 แพนด้าจากจีนได้รับความนิยมจากชาวไต้หวันอย่างมาก จนทางสวนสัตว์ต้องจำกัดเวลาให้ชมได้คนละ 3 นาที แต่กระแสแพนด้าฮิตในไต้หวันได้ไม่ทันจะข้ามปี ก็เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก กิจการที่เกาะกระแสแพนด้าต้องปิดตัวลงเป็นทิวแถว ส่วนจำนวนผู้เข้าชมแพนด้าลดลงจากที่ประมาณการไว้ถึงครึ่งหนึ่ง และลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้
เมืองเซนไดไม่เอาแพนด้า
หลังเกิดเหตุคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหวถล่มญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 นายกฯ เวินเจียเป่าของจีนได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบภัยที่เมืองเซนได เด็กหญิงคนหนึ่งที่ได้รับตุ๊กตาแพนด้าจากผู้นำจีนเขียนจดหมายส่งถึงกรุงปักกิ่งบอกว่าเธอชอบแพนด้ามาก ซึ่งนายกฯ เวินเจียเป่าได้เขียนจดหมายตอบกลับ พร้อมบอกว่าจะมอบแพนด้าหนึ่งคู่ให้แก่เมืองเซนไดเพื่อใช้หารายได้ฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ และเป็นสัญลักษณ์ในวาระครบรอบ 40 ปีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ญี่ปุ่น แผน "ขอยืม" แพนด้าได้รับการตอบรับอย่างดีจากรัฐบาลเมืองเซนได และรัฐบาลกลางของนายกฯ โยชิฮิโกะ โนดะ
อย่างไรก็ตาม ชาวเมืองเซนไดบางส่วนกลับคัดค้านการยืมแพนด้าจากจีน ด้วยเหตุผลว่า ควรนำเงินภาษี 1 ล้านดอลลาร์ไปฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยมากกว่า รวมทั้งคัดค้านการนำสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างแพนด้ามาเป็นเครื่องมือทางการค้าและการเมือง
ไม่นานหลังจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่น-จีนเลวร้ายลงจากกรณีพิพาทเกาะเซนกากุ กระแสต่อต้านลุกลามในหมู่ประชาชนทั้งสองชาติ ถึงขนาดที่นายชินทาโร อิชิฮาระ ผู้ว่าการกรุงโตเกียว ประกาศว่า จะตั้งชื่อลูกแพนด้าที่เพิ่งเกิดใหม่ที่สวนสัตว์กรุงโตเกียวว่า "เซนกากุ" พร้อมส่งคืนให้แก่จีน ทำให้ในที่สุดรัฐบาลเมืองเซนไดจำต้องบอกเลิกการขอยืมแพนด้าจากจีน
ศุภชัย วุฒิชูวงศ์