มุมมองทักษิณ
1. เศรษฐกิจไปได้ดีจากนโยบายรัฐ แต่เสี่ยงจากนโยบาย ธปท ไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
2. ธปท ควรมีการทำงานให้นโยบายสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ไม่ควรมีอิสระ 100%
3. หุ้นร้อนแรง แต่ไม่น่ากังวลในช่วงสั้น แต่ถ้าร้อนแรงในอีก 2-3 ปี ควรต้องระวัง นโยบายการเงินควรใช้ในการควบคุมความร้อนแรงของสินทรัพย์
4. ควรลบดอกเบี้ย เพื่อควบคุมการแข็งค่าของเงินบาท
มุมมองกรณ์
1. เศรษฐกิจไปได้ดีมากอีกสิบปีและเป็นศูนย์กลางภุมิภาคอาเซียน แต่มีความเสี่ยงคนชรา น่าจะช่วงปี 2020 และนโยบายภาครัฐ
2. ธปท ควรมีอิสระ 100% การทำงานมีเป้าหมายเงินเฟ้อที่รายงายให้รัฐบาลชัดเจน ซึ่งสะท้อนการทำงานที่สอดคล้องกันอยู่แล้ว รัฐบาลไม่ควรแทรกแซงการทำงานของ ธปท
3. หุ้นยังมีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุน นโยบายการเงินควรใช้ในการควบคุมความร้อนแรงของสินทรัพย์
4. ไม่ควรลดดอกเบี้ยในการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาท
มุมมอง Bernanke
1. ทั้งสองคนมองน่าตรงกัน คือ เศรษฐกิจไทยไปได้ดีจากทั้งพื้นฐานเรื่อง AEC และนโยบายรัฐบาล แต่ความเสี่ยงก็มีทั้งการใช้นโยบายการเงินและการคลังต้องสอดคล้องกัน ความเสี่ยงเรื่องนโยบายรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจว่ามีประสิทธิภาพไหม ทั้งจำนำข้าว ว่า นอกจากจะช่วยเหลือชาวนาแล้ว ควรหาแนวทางให้ชาวนามีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ผลิตเพิ่มขึ้น การทำตลาดข้าวอย่างไร ที่เพิ่มมูลค่าให้แตกต่างจากเพื่อนบ้าน อาจเน้นข้าวคุณภาพ ปลอดสารพิษ
2. เรื่อง ธปท เห็นว่า กรณ์ถูกคือ ธปท ควรเป็นอิสระ 100% จากรัฐ รัฐไม่ควรแทรกแซง ธปท แต่แน่นอนว่ารัฐบาลได้คุยกรอบเงินเฟ้อกับ ธปท เป็นการทำงานที่ตรวจสอบ ธปท วันนี้คิดว่ากรอบิงเนเฟ้ของไทยกว้างไป 0.5-3% ในสหรัฐมีเป้าเพียง 2% ญี่ปุ่นที่ 2% ซึ่งทำให้ ธปท ไม่ต้องทำงานอะไรเลยแม้เศรษฐกิจจะขึ้นจะลง คลังและรัฐบาลควรประชุมจะกำหนดกรอบเงินเฟ้อพื้นฐานใหม่ คลังควรเสนอในการประชุม ครม คราวหน้าเลยยิ่งดี เช่น เป้าหมายควรอยู่ที่ 3% ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับภาคเศรษฐกิจไทยในระยะยาว อย่งนี้ไม่ใช่การแทรกแซง แต่ทำงานร่วมกัน แน่นอน ธปท ก็ต้องทำงานตามนโยบายรัฐ แต่มีหลักการในการทำงานร่วมกัน
3. ทั้งสองมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้น แต่ก็กังวลว่าร้อนแรงไปไหม แน่นอนว่า หุ้นเป็นเรื่องของมูลค่าในอนาคต คิดกลับมาซื้อขายปัจจุบัน คงไม่แปลกที่หุ้นในกลุ่มอาเซียนจะขึ้น เพราะหลายคนคาดการณ์ว่า AEC เกิด ไทยจะขยายตลาดที่ใหญ่ขึ้น และถ้าดูหุ้นไทย หุ้นที่ขึ้นก็หุ้นพื้นฐานทั้ง SCC ที่จะเป็นผู้นำอาเซียนด้านวัสดุก่อสร้าง AOT ได้ประโยชน์จากการบินระหว่างประเทศ ขนาดกำไรปีนี้โตขนาดนี้ ปี 2015 ไม่รู้โตขนาดไหน PE ต่ำ 10 เลยในปี 2015 หุ้นธนาคารที่บอกว่าแพง แต่ PE ปีนี้ไม่ถึง 13 เท่า ปีหน้าไม่ถึง 11 เท่า โตจากการลงทุนข้ามชาติก็ AEC หุ้นอาหารจะได้ผลบวกจากการเปิดเสรีการค้า ภาษีสินค้าหลายตัวเป็น 0% จากผู้บริโภครายใหญ่ขงไทยทั้งอินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ หุ้นสื่อสาร นอกจากสามจีและการเพิ่ม smart phone ที่ทำให้กำไรเพิ่มสองเท่าในอีก 3 ปีข้างหน้า AEC จะทำให้ไทยเป็นเจ้าการสื่อสาร เพราะภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ สื่อสารได้ขยายลงทุนในอาเซียนกันมากในอนาคต บริการการแพทย์ โรงแรม ห้าง อสังหาริมทรัพย์ รับเหมาก่อสร้าง ได้ประโยชน์หมด
คำถาม หุ้นอาจร้อนแรงตอนนี้เพราะมีเหตุผลว่าจะโตอย่างมากในอนาคต ถ้าหลังปี 2015 กำไรบริษัทพวกนี้โตมาก ก็ไม่มีปัญหาฟองสบู่ เลยมองว่าคุณทักษิณอาจกังวลมากไป ส่วนคุณกรณ์แกอยู่หุ้นมานาน ข้อนี้ยกให้แก
ส่วนเรื่องนโยบายการเงินในการควบคุมฟองสบู่คิดว่าทั้งสองท่านผิดหมด เพราะการศึกษาของ Bernanke และนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกเห็นตรงกันว่า นโยบายการเงินควรมีเป้าหมายเพื่อเสถียรภาพราคาเท่านั้น ถ้านโยบายการเงินเน้นราคาสินทรัพย์จะทำให้เศรษฐกิจมีความผันผวน และเติบโตได้ช้า นโยบายการเงินจะผันผวนตามตลาดหุ้น แนวทางที่ควรใช้การควบคุมราคาสินทรัพย์ควรเป็น macro prudent policy เช่น การควบคุมการปล่อยสินเชื่อ การสร้างให้ภาคธนาคารแข็งแกร่งมากกว่า
4. แนวทางแก้ไขเงินบาท เห็นว่าข้อนี้ คุณทักษิณถูกในนโยบายค่าเงิน เพราะแนวทางในการแก้ปัญหาค่าเงินรอบนี้ เงินเข้าตราสารหนี้ เพราะผลตอบแทนไทยจูงใจต่างชาติ เงินส่วนใหญ่เป็นระยะยาว แต่การลดดอกเบี้ยควรสอดคล้องกับเสถียรภาพราคาด้วย ปัจจุบันเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.1% มีอัตราเร่งตัวรายไตรมาสที่ 0.5-0.6% ซึ่งสะท้อนว่า ธปท ควรลดดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินเฟ้อ ที่บางส่วนต่ำจากค่าเงินแข็งค่าด้วย
แนวทางดูแลเสถียรภาพค่าเงินมีความสำคัญในประเทศที่มีการค้าที่สูงเช่นไทย แนวทางมีหลายวิธีทั้งแทรกแซงค่าเงิน ลดดอกเบี้ย สนับสนุนเงินไหลออก รัฐบาลเน้นลงทุนเพิ่ม เป็นต้น
หมัดต่อหมัดมุมมองทางเศรษฐกิจถือว่าสูสีระหว่างทักษิณกับกรณ์ ก็คงต้องตามดูว่าว่าใครจะเสนออะไรดีๆ เพื่อชาติไทยต่อไป เสนอความคิดดีดีก็ควรรับฟังกัน เห็นต่างก็คุยกัน ไม่ควรทะเลาะกัน และบอกว่าใครผิดหรือถูก
ทักษิณและกรณ์ สองมุมมองต่อเศรษฐกิจ ธปท ค่าเงิน และหุ้น
1. เศรษฐกิจไปได้ดีจากนโยบายรัฐ แต่เสี่ยงจากนโยบาย ธปท ไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
2. ธปท ควรมีการทำงานให้นโยบายสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ไม่ควรมีอิสระ 100%
3. หุ้นร้อนแรง แต่ไม่น่ากังวลในช่วงสั้น แต่ถ้าร้อนแรงในอีก 2-3 ปี ควรต้องระวัง นโยบายการเงินควรใช้ในการควบคุมความร้อนแรงของสินทรัพย์
4. ควรลบดอกเบี้ย เพื่อควบคุมการแข็งค่าของเงินบาท
มุมมองกรณ์
1. เศรษฐกิจไปได้ดีมากอีกสิบปีและเป็นศูนย์กลางภุมิภาคอาเซียน แต่มีความเสี่ยงคนชรา น่าจะช่วงปี 2020 และนโยบายภาครัฐ
2. ธปท ควรมีอิสระ 100% การทำงานมีเป้าหมายเงินเฟ้อที่รายงายให้รัฐบาลชัดเจน ซึ่งสะท้อนการทำงานที่สอดคล้องกันอยู่แล้ว รัฐบาลไม่ควรแทรกแซงการทำงานของ ธปท
3. หุ้นยังมีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุน นโยบายการเงินควรใช้ในการควบคุมความร้อนแรงของสินทรัพย์
4. ไม่ควรลดดอกเบี้ยในการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาท
มุมมอง Bernanke
1. ทั้งสองคนมองน่าตรงกัน คือ เศรษฐกิจไทยไปได้ดีจากทั้งพื้นฐานเรื่อง AEC และนโยบายรัฐบาล แต่ความเสี่ยงก็มีทั้งการใช้นโยบายการเงินและการคลังต้องสอดคล้องกัน ความเสี่ยงเรื่องนโยบายรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจว่ามีประสิทธิภาพไหม ทั้งจำนำข้าว ว่า นอกจากจะช่วยเหลือชาวนาแล้ว ควรหาแนวทางให้ชาวนามีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ผลิตเพิ่มขึ้น การทำตลาดข้าวอย่างไร ที่เพิ่มมูลค่าให้แตกต่างจากเพื่อนบ้าน อาจเน้นข้าวคุณภาพ ปลอดสารพิษ
2. เรื่อง ธปท เห็นว่า กรณ์ถูกคือ ธปท ควรเป็นอิสระ 100% จากรัฐ รัฐไม่ควรแทรกแซง ธปท แต่แน่นอนว่ารัฐบาลได้คุยกรอบเงินเฟ้อกับ ธปท เป็นการทำงานที่ตรวจสอบ ธปท วันนี้คิดว่ากรอบิงเนเฟ้ของไทยกว้างไป 0.5-3% ในสหรัฐมีเป้าเพียง 2% ญี่ปุ่นที่ 2% ซึ่งทำให้ ธปท ไม่ต้องทำงานอะไรเลยแม้เศรษฐกิจจะขึ้นจะลง คลังและรัฐบาลควรประชุมจะกำหนดกรอบเงินเฟ้อพื้นฐานใหม่ คลังควรเสนอในการประชุม ครม คราวหน้าเลยยิ่งดี เช่น เป้าหมายควรอยู่ที่ 3% ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับภาคเศรษฐกิจไทยในระยะยาว อย่งนี้ไม่ใช่การแทรกแซง แต่ทำงานร่วมกัน แน่นอน ธปท ก็ต้องทำงานตามนโยบายรัฐ แต่มีหลักการในการทำงานร่วมกัน
3. ทั้งสองมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้น แต่ก็กังวลว่าร้อนแรงไปไหม แน่นอนว่า หุ้นเป็นเรื่องของมูลค่าในอนาคต คิดกลับมาซื้อขายปัจจุบัน คงไม่แปลกที่หุ้นในกลุ่มอาเซียนจะขึ้น เพราะหลายคนคาดการณ์ว่า AEC เกิด ไทยจะขยายตลาดที่ใหญ่ขึ้น และถ้าดูหุ้นไทย หุ้นที่ขึ้นก็หุ้นพื้นฐานทั้ง SCC ที่จะเป็นผู้นำอาเซียนด้านวัสดุก่อสร้าง AOT ได้ประโยชน์จากการบินระหว่างประเทศ ขนาดกำไรปีนี้โตขนาดนี้ ปี 2015 ไม่รู้โตขนาดไหน PE ต่ำ 10 เลยในปี 2015 หุ้นธนาคารที่บอกว่าแพง แต่ PE ปีนี้ไม่ถึง 13 เท่า ปีหน้าไม่ถึง 11 เท่า โตจากการลงทุนข้ามชาติก็ AEC หุ้นอาหารจะได้ผลบวกจากการเปิดเสรีการค้า ภาษีสินค้าหลายตัวเป็น 0% จากผู้บริโภครายใหญ่ขงไทยทั้งอินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ หุ้นสื่อสาร นอกจากสามจีและการเพิ่ม smart phone ที่ทำให้กำไรเพิ่มสองเท่าในอีก 3 ปีข้างหน้า AEC จะทำให้ไทยเป็นเจ้าการสื่อสาร เพราะภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ สื่อสารได้ขยายลงทุนในอาเซียนกันมากในอนาคต บริการการแพทย์ โรงแรม ห้าง อสังหาริมทรัพย์ รับเหมาก่อสร้าง ได้ประโยชน์หมด
คำถาม หุ้นอาจร้อนแรงตอนนี้เพราะมีเหตุผลว่าจะโตอย่างมากในอนาคต ถ้าหลังปี 2015 กำไรบริษัทพวกนี้โตมาก ก็ไม่มีปัญหาฟองสบู่ เลยมองว่าคุณทักษิณอาจกังวลมากไป ส่วนคุณกรณ์แกอยู่หุ้นมานาน ข้อนี้ยกให้แก
ส่วนเรื่องนโยบายการเงินในการควบคุมฟองสบู่คิดว่าทั้งสองท่านผิดหมด เพราะการศึกษาของ Bernanke และนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกเห็นตรงกันว่า นโยบายการเงินควรมีเป้าหมายเพื่อเสถียรภาพราคาเท่านั้น ถ้านโยบายการเงินเน้นราคาสินทรัพย์จะทำให้เศรษฐกิจมีความผันผวน และเติบโตได้ช้า นโยบายการเงินจะผันผวนตามตลาดหุ้น แนวทางที่ควรใช้การควบคุมราคาสินทรัพย์ควรเป็น macro prudent policy เช่น การควบคุมการปล่อยสินเชื่อ การสร้างให้ภาคธนาคารแข็งแกร่งมากกว่า
4. แนวทางแก้ไขเงินบาท เห็นว่าข้อนี้ คุณทักษิณถูกในนโยบายค่าเงิน เพราะแนวทางในการแก้ปัญหาค่าเงินรอบนี้ เงินเข้าตราสารหนี้ เพราะผลตอบแทนไทยจูงใจต่างชาติ เงินส่วนใหญ่เป็นระยะยาว แต่การลดดอกเบี้ยควรสอดคล้องกับเสถียรภาพราคาด้วย ปัจจุบันเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.1% มีอัตราเร่งตัวรายไตรมาสที่ 0.5-0.6% ซึ่งสะท้อนว่า ธปท ควรลดดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินเฟ้อ ที่บางส่วนต่ำจากค่าเงินแข็งค่าด้วย
แนวทางดูแลเสถียรภาพค่าเงินมีความสำคัญในประเทศที่มีการค้าที่สูงเช่นไทย แนวทางมีหลายวิธีทั้งแทรกแซงค่าเงิน ลดดอกเบี้ย สนับสนุนเงินไหลออก รัฐบาลเน้นลงทุนเพิ่ม เป็นต้น
หมัดต่อหมัดมุมมองทางเศรษฐกิจถือว่าสูสีระหว่างทักษิณกับกรณ์ ก็คงต้องตามดูว่าว่าใครจะเสนออะไรดีๆ เพื่อชาติไทยต่อไป เสนอความคิดดีดีก็ควรรับฟังกัน เห็นต่างก็คุยกัน ไม่ควรทะเลาะกัน และบอกว่าใครผิดหรือถูก