ฝันค้าง สำนึก ฝันร้าย พฤษภาคม ของ"อภิสิทธิ์"วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 13:00:23 น.
(ที่มา:มติชนรายวัน 16 พ.ค.2556)
ชะตากรรมของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นชะตากรรมอันใกล้เคียงอย่างยิ่งกับของ จอมพลถนอม กิตติขจร กับของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
ทุกเดือนตุลาคม จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้องผวา
ทุกเดือนพฤษภาคม พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นต้องผวา
แต่อาการผวาของ จอมพลถนอม กิตติขจร กับ อาการผวาของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ก็แผกต่างไปจากของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ชดใช้ "กรรม" เรียบร้อยแล้ว
ไม่เพียงเพราะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วเดินทางออกนอกประเทศ
หากเมื่อหวนกลับประเทศก็ทำตัวเงียบๆ โลว์โปรไฟล์
เช่นเดียวกับ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เมื่อลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทุกอย่างก็จบ พำนักอยู่ที่บ้านซอยระนองตามปกติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปอีกอย่างน้อยก็จนถึงเดือนกรกฎาคม 2554
แต่ก็ไม่เป็นสุขเท่าใดนัก
เหมือนกับชะตากรรมของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความเหนือกว่าทั้ง จอมพลถนอม กิตติขจร และ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
เพราะไม่ต้องยื่นใบลาออก
เพราะยังสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป เพราะยังสามารถผาดโผนอยู่ในยุทธจักรการเมืองได้
อย่างน้อยก็มีตำแหน่งหัวหน้าพรรค
แต่สิ่งที่จะเป็นเหมือน "เงา" ติดตามตัวของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปอีกยาวนานก็คือ คดีความ
คดีความที่ทำให้ประชาชนตาย
แม้ไม่ถึงกับต้องแบกรับ 90 กว่าคดี แต่เท่าที่เห็นและเป็นอยู่ก็ปาเข้าไป 3 คดีแล้วจากสถานการณ์การลั่นกระสุนจริงเข้าใส่
และยังมีอีกหลายคดี
นี่ย่อมมิได้เป็นเรื่องของสิ่งที่เรียกว่า "ชายชุดดำ" หากแต่บทสรุปของศาลก็คือ เป็นการเสียชีวิตจากการยิงของเจ้าหน้าที่ทหาร อันเป็นไปตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
ตายจากคำสั่ง "อภิสิทธิ์"
หากเปรียบเทียบกับกรณีของ จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อเดือนตุลาคม 2516 กรณีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535
เด่นชัดว่า 2 คน โชคดีกว่า
อย่างน้อยการลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ทำให้คดีความต่างๆ จบสิ้น แม้ในทางปฏิบัติจะยังค้างคาในความรู้สึกของชาวบ้าน
แต่ก็ถือว่ารับ "กรรม" แล้ว
ตรงกันข้าม กรณีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหมือนกับจะเป็นชะตากรรมอันดำรงอยู่เหนือกว่า จอมพลถนอม กิตติขจร และหรือ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
แต่สภาพที่กำลังแบกรับเด่นชัดว่า-ไม่ใช่
อย่างน้อยการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 คนไทยทั้งประเทศก็ลงโทษ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ไปแล้วระดับหนึ่ง ชัยชนะของพรรคเพื่อไทย ชัยชนะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือคำตอบ
แต่ที่หนักหนาสาหัสยิ่งกว่ากลับเป็น "คดีความ"
เป็นคดีความอันยิ่งจะตอกย้ำให้เห็นถึงการตัดสินใจใช้ความรุนแรงกับประชาชน เป็นคดีความที่มาตรการทางการทหารมิได้เป็นคำตอบให้กับความขัดแย้งทางการเมือง
กรรมย่อมตามไปดุจร่างกับเงา
จากภาพที่ปรากฏ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อาจแย้มยิ้มโอภาเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ทั้งๆ ที่ความจริงเมื่อเดือนเมษายนต่อเดือนพฤษภาคม 2553 มีการตาย เลือดนองถนนราชดำเนิน เลือดนองราชประสงค์ เลือดนองวัดปทุมวนาราม
นี่ย่อมเป็นฝันร้ายตลอดกาลของเจ้าของ "คำสั่ง"
ฝันค้าง สำนึก ฝันร้าย พฤษภาคม ของ"อภิสิทธิ์
(ที่มา:มติชนรายวัน 16 พ.ค.2556)
ชะตากรรมของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นชะตากรรมอันใกล้เคียงอย่างยิ่งกับของ จอมพลถนอม กิตติขจร กับของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
ทุกเดือนตุลาคม จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้องผวา
ทุกเดือนพฤษภาคม พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นต้องผวา
แต่อาการผวาของ จอมพลถนอม กิตติขจร กับ อาการผวาของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ก็แผกต่างไปจากของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ชดใช้ "กรรม" เรียบร้อยแล้ว
ไม่เพียงเพราะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วเดินทางออกนอกประเทศ
หากเมื่อหวนกลับประเทศก็ทำตัวเงียบๆ โลว์โปรไฟล์
เช่นเดียวกับ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เมื่อลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทุกอย่างก็จบ พำนักอยู่ที่บ้านซอยระนองตามปกติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปอีกอย่างน้อยก็จนถึงเดือนกรกฎาคม 2554
แต่ก็ไม่เป็นสุขเท่าใดนัก
เหมือนกับชะตากรรมของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความเหนือกว่าทั้ง จอมพลถนอม กิตติขจร และ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
เพราะไม่ต้องยื่นใบลาออก
เพราะยังสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป เพราะยังสามารถผาดโผนอยู่ในยุทธจักรการเมืองได้
อย่างน้อยก็มีตำแหน่งหัวหน้าพรรค
แต่สิ่งที่จะเป็นเหมือน "เงา" ติดตามตัวของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปอีกยาวนานก็คือ คดีความ
คดีความที่ทำให้ประชาชนตาย
แม้ไม่ถึงกับต้องแบกรับ 90 กว่าคดี แต่เท่าที่เห็นและเป็นอยู่ก็ปาเข้าไป 3 คดีแล้วจากสถานการณ์การลั่นกระสุนจริงเข้าใส่
และยังมีอีกหลายคดี
นี่ย่อมมิได้เป็นเรื่องของสิ่งที่เรียกว่า "ชายชุดดำ" หากแต่บทสรุปของศาลก็คือ เป็นการเสียชีวิตจากการยิงของเจ้าหน้าที่ทหาร อันเป็นไปตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
ตายจากคำสั่ง "อภิสิทธิ์"
หากเปรียบเทียบกับกรณีของ จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อเดือนตุลาคม 2516 กรณีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535
เด่นชัดว่า 2 คน โชคดีกว่า
อย่างน้อยการลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ทำให้คดีความต่างๆ จบสิ้น แม้ในทางปฏิบัติจะยังค้างคาในความรู้สึกของชาวบ้าน
แต่ก็ถือว่ารับ "กรรม" แล้ว
ตรงกันข้าม กรณีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหมือนกับจะเป็นชะตากรรมอันดำรงอยู่เหนือกว่า จอมพลถนอม กิตติขจร และหรือ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
แต่สภาพที่กำลังแบกรับเด่นชัดว่า-ไม่ใช่
อย่างน้อยการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 คนไทยทั้งประเทศก็ลงโทษ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ไปแล้วระดับหนึ่ง ชัยชนะของพรรคเพื่อไทย ชัยชนะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือคำตอบ
แต่ที่หนักหนาสาหัสยิ่งกว่ากลับเป็น "คดีความ"
เป็นคดีความอันยิ่งจะตอกย้ำให้เห็นถึงการตัดสินใจใช้ความรุนแรงกับประชาชน เป็นคดีความที่มาตรการทางการทหารมิได้เป็นคำตอบให้กับความขัดแย้งทางการเมือง
กรรมย่อมตามไปดุจร่างกับเงา
จากภาพที่ปรากฏ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อาจแย้มยิ้มโอภาเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ทั้งๆ ที่ความจริงเมื่อเดือนเมษายนต่อเดือนพฤษภาคม 2553 มีการตาย เลือดนองถนนราชดำเนิน เลือดนองราชประสงค์ เลือดนองวัดปทุมวนาราม
นี่ย่อมเป็นฝันร้ายตลอดกาลของเจ้าของ "คำสั่ง"